ถ้ามองภาพรวมของสถานการณ์ในเมืองไทยเรา ทั้งมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ ก็กล่าวได้ว่ามีปัญหามากมายคล้ายอยู่ในสภาพป่วยหนัก หรือผิดปกติมากจนมีกระแสกดดันให้ยอมรับกันว่า “ต้องปฏิรูป” จริงจัง
ก็ต้องจับตาดูกันว่า กลไกและกระบวนการขับเคลื่อนที่หวังว่าจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เรียกว่า “ปฏิรูป” จะเกิดผลขึ้นจริงแค่ไหนท่ามกลางสภาวะสังคมที่มีการเรียนรู้ข้อผิดพลาดและอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงสู่หนทางที่ดีขึ้น
น่ายินดีที่เราได้เห็นความเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้ใฝ่ดี ในวงการธุรกิจซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม บทบาทมากขึ้นในการมีส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในแนวทางที่มุ่งสู่คุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม ซึ่งจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้นำองค์กรที่ส่งเสริมแนวคิดเช่นนี้ ให้กลายเป็นวัฒนธรรม ที่เกิดเป็นค่านิยม และแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ ที่จะสร้างแต่คุณค่าและไม่สร้างความเสียหายต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นปัจจัยสำคัญของหลักการ CSR ที่เป็นกระแสที่โลกยอมรับในยุคนี้
การเกิดเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ Social Venture Network Asia Thailand ซึ่งเรียกย่อว่า SVN Asia (Thailand) ที่น่าสนใจที่เป็นเครือข่ายนักธุรกิจ นักวิชาการ และบุคคลผู้สนใจปัญหาสังคม ก่อตั้งในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 ด้วยความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการดำเนินธุรกิจด้วยจิตวิญญาณแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) โดยประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชน ภาครัฐ และองค์กรสาธารณะประโยชน์ต่างๆ
สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง อดีตประธาน SVN เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า จากการที่อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้รับรางวัล Alternative Noble Prize ขององค์กรเอกชนที่ยุโรป ซึ่งจัดงานคู่กับการให้รางวัล Noble Prize และได้พบกับนักธุรกิจกลุ่มคือ SVNในยุโรป ซึ่งต้องการขยายแนวคิดแถบเอเชียและได้มาพูดคุยกับนักธุรกิจไทยเช่น ปรีดา เตียสุวรรณ์ จากแพรนดาจิวเวลรี่ ปรีชา ส่งวัฒนาผู้บริหารจากบริษัท ฟลายนาว วิสุทธิ์ วิทย์ฐานะกรแห่งบริษัท น้ำมันพืชองุ่นหลายราย และตกลงก่อตั้งเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ SVN เกิดเป็นครั้งแรกในเอเชียที่ประเทศไทยเมื่อปี 2540
ภารกิจหลักคือเรื่องการส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อมในวงการธุรกิจ โดยการคำนึงถึงผลลัพธ์ 3 มิติ (Triple Bottom Line) คือ 1.People คนในกระบวนการธุรกิจ คนในชุมชน รวมถึงผู้บริโภค 2.Planet เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 3.Profit คือกำไรเป็นธุรกิจ เป้าหมายไม่ใช่มุ่งกำไรสูงสุด เพราะต้องคำนึงถึงความสมดุลทั้ง3 ด้าน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืน
ดังนั้น การดำเนินธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ลึกลงไปทั้ง 6 มิติคือ
1.มีธรรมาภิบาล (Corporate Governance) 2.ดูแลพนักงาน การดูแลระบบงานและกระบวนการผลิตที่ดี 3.คำนึงถึงผู้บริโภคที่จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณประโยชน์เหมาะสมกับราคาและมีความปลอดภัย 4.คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่กิจการจะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม 5.ดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม(Fair Trade) ต่อคู่ค้าและคู่แข่ง 6.การสร้างประโยชน์คืนสู่สังคม
วัลลภ พิชญ์พงศา ประธานกรรมการ SVN Asia (Thailand) เล่าถึงกิจกรรมสมาชิกในการประสานหลังเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี
มีการจัดงานสัมนาหรือเสวนา SVN Talk โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาแบ่งปันประสบการณ์ตามแนวทาง SVN หรือประเด็นที่น่าสนใจในการพัฒนาการดำเนินงาน หรือกรณีศึกษามีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม SVN Visit ได้นำสมาชิกเยื่ยมชมกิจการ ธุรกิจที่เป็นกรณีตัวอย่างที่โดดเด่นด้านการบริหารด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรียนรู้รูปแบบการพัฒนาธุรกิจของชุมชน หรือกรณีการรวมกลุ่มแก้ปัญหาการจัดการการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงานมอบรางวัล SVN Award เป็นประจำทุกปีโดยคัดเลือกองค์กรที่มีแนวทางสอดคล้องกับอุดมการณ์ของ SVN คือ บริหารกิจการที่ดีขณะที่ดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมได้ดี ทั้งที่เป็นกิจการธุรกิจ กลุ่มชุมชน มูลนิธิ กลุ่มเยาวชน องค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสังคม และปีนี้ได้มีการยกย่องกิจการเพื่อสังคมดีเด่น 2 ราย
ข้อคิด...
ปีนี้นอกจากงานการมอบรางวัล SVN Awardsซึ่งได้รับเกียรติจากอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยาชุน ในฐานะประธานที่ปรึกษา SVN เป็นผู้มอบรางวัล ณ สยามสมาคม
จุดเด่นในงานที่น่าพูดถึงก็คือ มีการกำหนดให้เป็น งาน "ขยะเป็นศูนย์" (zero waste) ซึ่งวางแผนตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน จนจบงาน ในการที่จะให้มีขยะเหลือน้อยทีสุด หรือ ( ไม่มีเลย) เพื่อลดภาระกับผู้เก็บงาน และเจ้าหน้าที่ กทม.
ผู้ไปร่วมงานได้รับทราบและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การคัดแยกขยะ การล้างภาชนะ การนำภาชนะเดิมกลับมาใช้ใหม่ งด การใช้โฟม ชานอ้อย พลาสติก ทุกชนิด และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ร่วมงานได้ตระหนักว่า ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยกันได้ง่าย ๆ โดยเน้นการเห็นจริง และลงมือทำจริง ผลที่ได้คือ มีขยะทั่วไป รวมเศษอาหารประมาณ 3-5กิโลกรัม ซึ่งนับว่าน้อยมากกว่าทุกครั้ง ส่วนขยะพวก ขวด หรือแก้วพลาสติกมีบ้างเล็กน้อยจากที่
ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่3ในการทำการคัดแยกขยะในงาน SVNและถือเป็นครั้งที่ได้รับความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายตั้งแต่ คณะกรรมการSVN ผู้ออกร้านอาหาร เจ้าหน้าที่ และ แขกที่ไปร่วมงานที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการคัดแยกขยะ และ ล้างภาชนะอีกด้วย
suwatmgr@gmail.com