xs
xsm
sm
md
lg

มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และดีแทค มอบรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2557

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

มอบ 10 รางวัล ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ ประจำปี 2557
มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมกับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2557” ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Smart Farmer เพื่อเฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผนพัฒนา ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเอง และเตรียมพร้อมสำหรับการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะเสริมประสิทธิภาพทางการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมไทยในเวทีโลก
บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า “หากเกษตรกรซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของคนไทยสามารถพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือชุมชนให้มีความเข้มแข็งผ่านการรวมกลุ่มในรูปวิสาหกิจ จะสามารถกำหนดรูปแบบ ราคา วิธีการส่งสินค้า และปริมาณการผลิตได้เอง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีอำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือ และพึ่งพาพ่อค้าคนกลางและกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ น้อยลง ทั้งนี้ บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์ รักบ้านเกิด.คอม ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกร จะเป็นผู้สนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในเครือข่าย เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการค้าขายออนไลน์ระหว่างคนไทยกับทั่วโลก”
ด้าน ซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า “ภายใต้กลยุทธ์‘Internet for All’ ที่ดีแทคมุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกันเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ดีแทคจะยังคงเดินหน้าพันธกิจนี้ โดยกำหนดเป้าหมายให้คนไทย 80% มีอินเทอร์เน็ตใช้ภายในปี พ.ศ.2560 รวมไปถึงการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคปัจจุบัน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตรกรรม เพื่อช่วยสร้างรูปแบบในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ให้มีการผลิตและการค้าขายสินค้าดิจิทัล และนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป”
รางวัล ‘เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด’ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2551 เพื่อยกย่องบุคลากรผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรในสาขาต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเอง ปลอดสารเคมี และประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรอื่นๆ ตลอดจนมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์เหล่านั้นสู่สาธารณะผ่านแอพพลิเคชั่น FARMER INFO ที่ร่วมพัฒนาโดยดีแทค
สำหรับปีนี้ กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก Smart Farmer ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในเชิงธุรกิจและการตลาด และมีการวางแผนรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกว่า 100 ราย ผ่านการคัดเลือกและสัมภาษณ์โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จนเหลือเพียง 10 ราย ในการประกวดรอบสุดท้าย ซึ่งทั้งหมดจะได้รับเงินและของรางวัลมูลค่ากว่า 450,000 บาท เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เตรียมรองรับการค้าขายสินค้าเกษตรทางออนไลน์แบบเต็มตั
ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประจำปี พ.ศ.2557 คือ เอกสิทธิ์ จันทกลาง เกษตรกรอายุ 31 ปี จากจังหวัดลำพูน เจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งจากดอกลำไย
ผลการตัดสินและมอบรางวัล

ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประจำปี พ.ศ.2557 คือ เอกสิทธิ์ จันทกลาง เกษตรกรอายุ 31 ปี จากจังหวัดลำพูน เจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งจากดอกลำไย โดยเขาได้เสนอแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ชาสมุนไพรอบน้ำผึ้ง เพิ่มเติมอีก 3 แบบ จากเดิมมีอยู่แล้ว 4 แบบ โดยจะทำเป็นชา 7 สี 7 วัน เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันที่คำนึงถึงสุขภาพ พร้อมกับสร้างจุดเด่นที่น่าจดจำด้านสรรพคุณ และบรรจุภัณฑ์ให้แก่ตัวสินค้าผ่านทางเว็บไซต์อยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์
รองชนะเลิศ อันดับ 1 คือ อิสรีย์ ฮอลล์ จากจังหวัดสุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ออร์แกนิค โครงการปรับปรุงโรงเรือน เพื่อพัฒนาสินค้าตามมาตรฐาน GMP
รองชนะเลิศ อันดับ 2 คือ ชินวุฒิ ปิดทองคำ จากจังหวัดลพบุรี ผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ โครงการจัดทำเว็บไซต์ ปรับปรุงสถานที่เก็บสินค้าและวัตถุดิบก่อนการแปรรูป
รางวัลชมเชย 7 รางวัล ได้แก่ 1.จิรฐา มีผิว (จันทบุรี) ผลิตภัณฑ์มังคุดกวน โครงการปรับปรุงรสชาติ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 2. บุญทวี ทะนันไชย (น่าน) ผลิตภัณฑ์ชาอัสสัม (ชาเมี่ยง) จัดทำเว็บไซต์บอกเล่าเรื่องราวของชาเมี่ยง ยอดชาอ่อนออร์แกนิค 3.ปกรณ์ ทรัพย์เจริญ (นครนายก) ผลิตภัณฑ์แชมพูใบหมี่ โครงการปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูจากใบหมี่ 4.ประยงค์ วงษ์สกุล (นครปฐม) ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศราชินี โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ 5.ปาริชาติ เทพเจริญ(สุราษฎร์ธานี) ผลิตภัณฑ์เห็ดแปรรูป โครงการปรับปรุงสถานที่ผลิต เพื่อรองรับมาตรฐาน GMPและ อย. 6. รุ่งทิวา อันตรเสน (พิษณุโลก) ผลิตภัณฑ์เห็ดสด 14 สายพันธุ์ โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ‘ชุดเห็ดเพื่อสุขภาพ’ และ 7.วิสุทธิ์ สิทธิเดช (ระนอง) ผลิตภัณฑ์กะปิผง โครงการปรับปรุงโรงผลิตและอุปกรณ์ เพื่อรองรับมาตรฐานGMP และ อย.
กำลังโหลดความคิดเห็น