ในยุคปัจจุบันนี้ การดำเนินธุรกิจทุกประเภท ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบจากการทำธุรกิจ อาทิ การดูแลชุมชนรอบข้าง ดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งบริเวณที่ตั้งโรงงาน และในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงกระบวนการลดการเกิดของเสีย เป็นต้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยดูแลรักษาโลกใบนี้ และรักษาทรัพยากรต่างๆ ให้กับลูกหลานในอนาคต
เรียกได้ว่าทุกอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวมากขึ้น ในแนวทาง “อุตสาหกรรมสีเขียว” (Green Industry) เพื่อเกาะให้ทันกระแสโลก และสร้างคุณสมบัติให้ผู้บริโภคเกิดการยอมรับในตัวสินค้าและบริการ
ตัวอย่างของอุตสาหกรรมสีเขียว ที่เห็นได้ชัดอีกประเภทหนึ่ง คือ อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งหากจะมองย้อนไปในอดีตแล้วนับเป็นตัวอย่างที่ดี ที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ แนวคิด และการปรับสมดุลของการผลิตให้เข้ากับสถานการณ์โลก และสร้างการยอมรับที่เห็นชัดมากที่สุด
ต้องยอมรับว่าเหล็กอยู่คู่กับมนุษย์โลกมานานหลายพันปี วิวัฒนาการของการผลิตเหล็กถูกพัฒนามาต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัย 5000 ปีก่อนคริสตกาล และจากการบันทึกประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า 3500 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์เราเริ่มหลอมเหล็กใช้เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นช่วง 770-746 ก่อน ค.ศ. จีนเป็นประเทศที่บุกเบิกการหล่อเหล็กและการถลุงเหล็กด้วยเตาพ่นลม และมีการพัฒนาเครื่องไม้เครืองมือผลิตเหล็กเรื่อยมา จนมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคปัจจุบัน
เนื่องจากเหล็กเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ดังนั้นตัวเลขความต้องการใช้เหล็กสูงมากขึ้น การผลิตเหล็กจากผู้ผลิตเหล็กก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สมัยก่อนอุตสาหกรรมเหล็ก ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นภาพขมุกขมัว ผู้คนมองเห็นว่าเป็นแหล่งสร้างมลภาวะ ทั้งฝุ่นละออง เขม่าควัน ปัญหาจากการขนส่ง ฯลฯ แต่ปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการเหล็กรายใหญ่ๆ ของโลก อาทิ อุตสาหกรรมเหล็กในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และยุโรป ได้รับการยอมรับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและลดต้นทุนทางพลังงาน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศที่มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าที่ถลุงจากแร่เหล็ก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และเวียดนามที่มีการกำหนดแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ เช่น บริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น ที่เมืองโออิตะมีการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อย่างเข้มงวด
เมืองโออิตะ ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และเป็นอ่าวที่มีธรรมชาติสวยงาม มีแม่น้ำ Ono ไหลผ่านด้านตะวันออกของโรงงาน หรือบริษัท POSCO Steel ในเกาหลีใต้ได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลโดยสมัครใจในการลดปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากกระบวนการผลิต
รวมถึงบริษัท เอสเอสไอยูเค (สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ยูเค -SSI UK) ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำของสหวิริยา มีการดำเนินโยบายการผลิตที่รักษาสิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับชุมชน ตัวอย่างเช่น ในกระบวนการผลิตของเอสเอสไอ ยูเค ทำให้เกิดเศษผงเหล็กอ็อกไซด์ (iron oxide waste) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ ลดกากของเสีย และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการจัดโครงการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เช่น ผู้ผลิตน้ำมันในชุมชนได้นำ waste oil ของบริษัทมาผลิตเป็น fuel oil เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก เครือสหวิริยา อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ ที่มีการผนึกกำลังจากชุมชนและภาครัฐช่วยกันกำกับตรวจสอบงานสิ่งแวดล้อม สังคม และอื่นๆ อาทิ การไม่ปล่อยน้ำเสียออกภายนอกโรงงาน การตรวจวัดคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ อ.บางสะพาน ร่วมกับชุมชน ฯลฯ การันตีโดยรางวัลต่างๆ ที่ได้รับจากภาครัฐ บมจ. สหวิริยาสตีลอินดัสตรี รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย บจก.บี.เอส.เมทัล รับรางวัล CSR-DIW ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ต่อเนื่อง 3 ปี เป็นต้น รวมถึงการดำเนินงานด้าน CSR ตั้งแต่ในสายการผลิต - ลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ฯลฯ จนถึง CSR สู่ภายนอก- การมีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน อาทิ การสนับสนุนด้านการศึกษา เศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น โดยหน่วยงาน CSR และหน่วยงานด้านกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่เครือสหวิริยาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
วิสัยทัศน์ของการเป็น Green Industry สามารถตอบโจทย์และลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมถึงการนำไปสู่การเป็นบริษัทที่มีธรรมภิบาล และร่วมกันสร้างโลกของเราให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
มีหลากหลายคำนิยามที่อุตสาหกรรมนำมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ อาทิ Eco Factory - โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ Eco Industrial Town - เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี การมีส่วนร่วม นำไปสู่การอยู่ดีมีสุขของสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคและกระแสของโลก
จะเห็นได้ชัดว่าในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ การรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภค รวมถึงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ไม่ได้มองแค่ว่าผู้ประกอบใดจะผลิตสินค้าใดออกมาวางจำหน่ายแค่นั้น แต่ให้ความสนใจไปถึงต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทางของผู้ผลิตว่า มีส่วนช่วยโลก สิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าให้ผู้มีส่วนได้เสียมากน้อยอย่างไร สินค้านั้นจึงจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค และที่สำคัญยังมีการมองยาวไปถึงนโยบายระดับประเทศที่จำเป็นต้องมีการเกื้อหนุนให้เกิดทิศทางการลงทุนที่ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน
เรียกได้ว่าทุกอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวมากขึ้น ในแนวทาง “อุตสาหกรรมสีเขียว” (Green Industry) เพื่อเกาะให้ทันกระแสโลก และสร้างคุณสมบัติให้ผู้บริโภคเกิดการยอมรับในตัวสินค้าและบริการ
ตัวอย่างของอุตสาหกรรมสีเขียว ที่เห็นได้ชัดอีกประเภทหนึ่ง คือ อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งหากจะมองย้อนไปในอดีตแล้วนับเป็นตัวอย่างที่ดี ที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ แนวคิด และการปรับสมดุลของการผลิตให้เข้ากับสถานการณ์โลก และสร้างการยอมรับที่เห็นชัดมากที่สุด
ต้องยอมรับว่าเหล็กอยู่คู่กับมนุษย์โลกมานานหลายพันปี วิวัฒนาการของการผลิตเหล็กถูกพัฒนามาต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัย 5000 ปีก่อนคริสตกาล และจากการบันทึกประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า 3500 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์เราเริ่มหลอมเหล็กใช้เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นช่วง 770-746 ก่อน ค.ศ. จีนเป็นประเทศที่บุกเบิกการหล่อเหล็กและการถลุงเหล็กด้วยเตาพ่นลม และมีการพัฒนาเครื่องไม้เครืองมือผลิตเหล็กเรื่อยมา จนมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคปัจจุบัน
เนื่องจากเหล็กเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ดังนั้นตัวเลขความต้องการใช้เหล็กสูงมากขึ้น การผลิตเหล็กจากผู้ผลิตเหล็กก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สมัยก่อนอุตสาหกรรมเหล็ก ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นภาพขมุกขมัว ผู้คนมองเห็นว่าเป็นแหล่งสร้างมลภาวะ ทั้งฝุ่นละออง เขม่าควัน ปัญหาจากการขนส่ง ฯลฯ แต่ปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการเหล็กรายใหญ่ๆ ของโลก อาทิ อุตสาหกรรมเหล็กในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และยุโรป ได้รับการยอมรับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและลดต้นทุนทางพลังงาน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศที่มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าที่ถลุงจากแร่เหล็ก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และเวียดนามที่มีการกำหนดแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ เช่น บริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น ที่เมืองโออิตะมีการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อย่างเข้มงวด
เมืองโออิตะ ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และเป็นอ่าวที่มีธรรมชาติสวยงาม มีแม่น้ำ Ono ไหลผ่านด้านตะวันออกของโรงงาน หรือบริษัท POSCO Steel ในเกาหลีใต้ได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลโดยสมัครใจในการลดปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากกระบวนการผลิต
รวมถึงบริษัท เอสเอสไอยูเค (สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ยูเค -SSI UK) ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำของสหวิริยา มีการดำเนินโยบายการผลิตที่รักษาสิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับชุมชน ตัวอย่างเช่น ในกระบวนการผลิตของเอสเอสไอ ยูเค ทำให้เกิดเศษผงเหล็กอ็อกไซด์ (iron oxide waste) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ ลดกากของเสีย และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการจัดโครงการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เช่น ผู้ผลิตน้ำมันในชุมชนได้นำ waste oil ของบริษัทมาผลิตเป็น fuel oil เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก เครือสหวิริยา อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ ที่มีการผนึกกำลังจากชุมชนและภาครัฐช่วยกันกำกับตรวจสอบงานสิ่งแวดล้อม สังคม และอื่นๆ อาทิ การไม่ปล่อยน้ำเสียออกภายนอกโรงงาน การตรวจวัดคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ อ.บางสะพาน ร่วมกับชุมชน ฯลฯ การันตีโดยรางวัลต่างๆ ที่ได้รับจากภาครัฐ บมจ. สหวิริยาสตีลอินดัสตรี รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย บจก.บี.เอส.เมทัล รับรางวัล CSR-DIW ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ต่อเนื่อง 3 ปี เป็นต้น รวมถึงการดำเนินงานด้าน CSR ตั้งแต่ในสายการผลิต - ลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ฯลฯ จนถึง CSR สู่ภายนอก- การมีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน อาทิ การสนับสนุนด้านการศึกษา เศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น โดยหน่วยงาน CSR และหน่วยงานด้านกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่เครือสหวิริยาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
วิสัยทัศน์ของการเป็น Green Industry สามารถตอบโจทย์และลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมถึงการนำไปสู่การเป็นบริษัทที่มีธรรมภิบาล และร่วมกันสร้างโลกของเราให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
มีหลากหลายคำนิยามที่อุตสาหกรรมนำมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ อาทิ Eco Factory - โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ Eco Industrial Town - เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี การมีส่วนร่วม นำไปสู่การอยู่ดีมีสุขของสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคและกระแสของโลก
จะเห็นได้ชัดว่าในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ การรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภค รวมถึงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ไม่ได้มองแค่ว่าผู้ประกอบใดจะผลิตสินค้าใดออกมาวางจำหน่ายแค่นั้น แต่ให้ความสนใจไปถึงต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทางของผู้ผลิตว่า มีส่วนช่วยโลก สิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าให้ผู้มีส่วนได้เสียมากน้อยอย่างไร สินค้านั้นจึงจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค และที่สำคัญยังมีการมองยาวไปถึงนโยบายระดับประเทศที่จำเป็นต้องมีการเกื้อหนุนให้เกิดทิศทางการลงทุนที่ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน
ปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการเหล็กรายใหญ่ๆ ของโลก อาทิ อุตสาหกรรมเหล็กในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และยุโรป ได้รับการยอมรับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและลดต้นทุนทางพลังงาน
อนุวัต ชัยกิตติวนิช
ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนวิสาหกิจ เครือสหวิริยา