วันนี้เรื่อง “ความยั่งยืน” กลายเป็นกระแสฮอตฮิตในเกือบทุกมิติของโลก แม้กระทั่งฟุตบอลโลกในปี 2557 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ ยังประกาศว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีความยั่งยืนที่สุด โดยจะมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนภายหลังการแข่งขัน ภายใต้มาตรฐานการรายงานของ GRI (Global Reporting Initiative)
จะเห็นว่าความยั่งยืนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของทุกธุรกิจ ทุกองค์กร และทุกกิจกรรมของคนทั้งโลกไปแล้ว
ความยั่งยืนนั้นหมายรวมถึงทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากกล่าวถึงด้านสิ่งแวดล้อมสิ่งที่เป็นสนใจในวงกว้าง คือผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเกิดภาวะโลกร้อนอันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิต พื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบ รวมทั้งส่งผลต่อการผลิตอาหารของโลก ทุกคนในโลกล้วนได้รับผลกระทบนี้อย่างถ้วนหน้าไม่มากก็น้อยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้น การลดก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรภาคธุรกิจ ที่ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก หรือลดการเกิดภาวะโลกร้อน
หลายประเทศในโลกจึงได้นำเรื่องของการลดภาวะโลกร้อนมาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการนำเข้าสินค้า การให้ใบอนุญาตในการดำเนินกิจการองค์กรธุรกิจจึงต้องรักษาสมดุลการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร?
ประการแรก คือ นโยบายองค์กรต้องชัดเจน
ประการที่สอง ผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและอย่างต่อเนื่อง
ประการที่สาม ในการดำเนินโครงการใดๆ ต้องพิจารณาถึงศักยภาพขององค์กรว่ามีทรัพยากรอะไรที่จะนำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ จากนั้นต้องสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่นในประโยชน์ของโครงการแก่ทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกองค์กร
“ภาคธุรกิจที่ต้องการเดินไปบนถนนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) จะต้องทำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการ มีการวัดผลและรายงานได้”
ดังนั้น ภาคธุรกิจที่ต้องการเดินไปบนถนนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) จะต้องทำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการ มีการวัดผลและรายงานได้ เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการจัดทำมาตรฐานในเรื่องความยั่งยืนองค์กรที่ใช้ทำรายงานและนิยมใช้กันทั่วโลก นั่นคือ GRI (Global Reporting Initiative)
โดยในรายงาน GRI กำหนดไว้ว่า องค์กรธุรกิจจะต้องมีการเก็บข้อมูล และรายงานใน 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.เศรษฐกิจ 2. สังคม 3. สิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนองค์กร (Sustainability Development-SD) ที่อิงตามมาตรฐาน GRI ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การจัดทำรายงานตามมาตรฐาน GRI ถือเป็นพื้นฐานที่ทุกองค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันที่ต้องดำเนินการทุกปี แต่ในระดับโลกปัจจุบันความเข้มข้นในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง มีการประเมินและจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เรียกว่า ดาวน์โจนส์อินเด็กซ์ (Dow Jones Sustainability Indexes - DJSI) เป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางธุรกิจที่ไม่เพียงคำนึงถึงผลทางธุรกิจ หากยังมองครอบคลุมไปยังมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
DJSI ให้ความสำคัญเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนไม่เฉพาะเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้นแต่ครอบคลุมในเรื่องของ Eco-Efficiency ด้วย โดย Eco มี 2 นัยยะ คือ Economy ซึ่งแปลว่าเศรษฐศาสตร์ และ Ecology ที่เแปลว่า นิเวศวิทยา Eco-efficiency เป็นสัดส่วนระหว่างมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product or service value) กับผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) eco-efficiency เป็นการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีมูลค่ามากที่สุดโดยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยสุด เพื่อให้การจัดการในภาคธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าในอนาคต คำว่า carbon Efficiency ซึ่งเป็นการดูประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหรือบริการเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านโลกร้อนหรือการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเป็น 1 ใน KPI ที่จะวัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซี.พี.)ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ยุคแรกในการก่อตั้งบริษัท เมื่อ 93 ปีที่แล้ว นอกจากระบุวันหมดอายุบนซองเมล็ดพันธุ์แล้วยังมีการพัฒนาวิจัยเมล็ดพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริหารยึดมั่นมาตลอดว่าเกษตรกรคือคู่ชีวิต หากเกษตรกรอยู่ไม่ได้บริษัทก็อยู่ไม่ได้การดำเนินธุรกิจจึงยัดหลักเรื่องของคุณภาพและความซื่อสัตย์ต่อคู่ค้า ต่อเกษตรกรเป็นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจมาตลอด
และเมื่อกระแสภาวะโลกร้อนเริ่มรุนแรงขึ้น องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรก็ได้เชิญชวนและสอบถามเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรชั้นนำทั่วโลกที่เรียกว่า Carbon Disclosure Project หรือ CDP โดยพยายามขอความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกให้มีการเปิดเผยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เนื่องจาก ทางCDP เห็นว่าเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่กลุ่มผู้ลงทุนให้ความสนใจมากในยุคปัจจุบัน
หลักการของ CDP จะให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการภาวะโลกร้อนในองค์กรว่าใครเป็นผู้ดูแล ถ้าบอร์ดบริหารดูแลเอง คะแนน CDP จะสูง แต่หากเป็นระดับ HR head หรืออยู่ที่ระดับ safety health head คะแนนก็จะลดลงมา นอกจากนี้ CDP ยังดูว่าแต่ละองค์กรมีการให้รางวัลในเรื่องการบริหารจัดการภาวะโลกร้อนที่ดีหรือไม่ บางบริษัทอาจตั้งเป็น KPI ขององค์กร บางบริษัทอาจจะให้เป็นรางวัลในการจัดกิจกรรมกลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะโลกร้อนขององค์กร ที่สำคัญ CDP ยังดูด้วยว่ากลยุทธ์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรเป็นอย่างไร
ซี.พี.ได้ส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจนำเรื่องการบริหารจัดการภาวะโลกร้อนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่มีกระแสโลกร้อน
เพียงไม่กี่ปีที่ซี.พี.เดินตามแนวทางนี้ก็สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้มหาศาล
จะเห็นว่าความยั่งยืนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของทุกธุรกิจ ทุกองค์กร และทุกกิจกรรมของคนทั้งโลกไปแล้ว
ความยั่งยืนนั้นหมายรวมถึงทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากกล่าวถึงด้านสิ่งแวดล้อมสิ่งที่เป็นสนใจในวงกว้าง คือผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเกิดภาวะโลกร้อนอันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิต พื้นที่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบ รวมทั้งส่งผลต่อการผลิตอาหารของโลก ทุกคนในโลกล้วนได้รับผลกระทบนี้อย่างถ้วนหน้าไม่มากก็น้อยทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้น การลดก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรภาคธุรกิจ ที่ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก หรือลดการเกิดภาวะโลกร้อน
หลายประเทศในโลกจึงได้นำเรื่องของการลดภาวะโลกร้อนมาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการนำเข้าสินค้า การให้ใบอนุญาตในการดำเนินกิจการองค์กรธุรกิจจึงต้องรักษาสมดุลการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร?
ประการแรก คือ นโยบายองค์กรต้องชัดเจน
ประการที่สอง ผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและอย่างต่อเนื่อง
ประการที่สาม ในการดำเนินโครงการใดๆ ต้องพิจารณาถึงศักยภาพขององค์กรว่ามีทรัพยากรอะไรที่จะนำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ จากนั้นต้องสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่นในประโยชน์ของโครงการแก่ทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกองค์กร
“ภาคธุรกิจที่ต้องการเดินไปบนถนนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) จะต้องทำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการ มีการวัดผลและรายงานได้”
ดังนั้น ภาคธุรกิจที่ต้องการเดินไปบนถนนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) จะต้องทำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการ มีการวัดผลและรายงานได้ เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการจัดทำมาตรฐานในเรื่องความยั่งยืนองค์กรที่ใช้ทำรายงานและนิยมใช้กันทั่วโลก นั่นคือ GRI (Global Reporting Initiative)
โดยในรายงาน GRI กำหนดไว้ว่า องค์กรธุรกิจจะต้องมีการเก็บข้อมูล และรายงานใน 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.เศรษฐกิจ 2. สังคม 3. สิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนองค์กร (Sustainability Development-SD) ที่อิงตามมาตรฐาน GRI ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การจัดทำรายงานตามมาตรฐาน GRI ถือเป็นพื้นฐานที่ทุกองค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันที่ต้องดำเนินการทุกปี แต่ในระดับโลกปัจจุบันความเข้มข้นในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง มีการประเมินและจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เรียกว่า ดาวน์โจนส์อินเด็กซ์ (Dow Jones Sustainability Indexes - DJSI) เป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางธุรกิจที่ไม่เพียงคำนึงถึงผลทางธุรกิจ หากยังมองครอบคลุมไปยังมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
DJSI ให้ความสำคัญเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนไม่เฉพาะเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้นแต่ครอบคลุมในเรื่องของ Eco-Efficiency ด้วย โดย Eco มี 2 นัยยะ คือ Economy ซึ่งแปลว่าเศรษฐศาสตร์ และ Ecology ที่เแปลว่า นิเวศวิทยา Eco-efficiency เป็นสัดส่วนระหว่างมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product or service value) กับผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) eco-efficiency เป็นการผลิตสินค้าหรือบริการให้มีมูลค่ามากที่สุดโดยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยสุด เพื่อให้การจัดการในภาคธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าในอนาคต คำว่า carbon Efficiency ซึ่งเป็นการดูประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหรือบริการเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านโลกร้อนหรือการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเป็น 1 ใน KPI ที่จะวัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซี.พี.)ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ยุคแรกในการก่อตั้งบริษัท เมื่อ 93 ปีที่แล้ว นอกจากระบุวันหมดอายุบนซองเมล็ดพันธุ์แล้วยังมีการพัฒนาวิจัยเมล็ดพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริหารยึดมั่นมาตลอดว่าเกษตรกรคือคู่ชีวิต หากเกษตรกรอยู่ไม่ได้บริษัทก็อยู่ไม่ได้การดำเนินธุรกิจจึงยัดหลักเรื่องของคุณภาพและความซื่อสัตย์ต่อคู่ค้า ต่อเกษตรกรเป็นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจมาตลอด
และเมื่อกระแสภาวะโลกร้อนเริ่มรุนแรงขึ้น องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรก็ได้เชิญชวนและสอบถามเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรชั้นนำทั่วโลกที่เรียกว่า Carbon Disclosure Project หรือ CDP โดยพยายามขอความร่วมมือจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกให้มีการเปิดเผยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เนื่องจาก ทางCDP เห็นว่าเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่กลุ่มผู้ลงทุนให้ความสนใจมากในยุคปัจจุบัน
หลักการของ CDP จะให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการภาวะโลกร้อนในองค์กรว่าใครเป็นผู้ดูแล ถ้าบอร์ดบริหารดูแลเอง คะแนน CDP จะสูง แต่หากเป็นระดับ HR head หรืออยู่ที่ระดับ safety health head คะแนนก็จะลดลงมา นอกจากนี้ CDP ยังดูว่าแต่ละองค์กรมีการให้รางวัลในเรื่องการบริหารจัดการภาวะโลกร้อนที่ดีหรือไม่ บางบริษัทอาจตั้งเป็น KPI ขององค์กร บางบริษัทอาจจะให้เป็นรางวัลในการจัดกิจกรรมกลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะโลกร้อนขององค์กร ที่สำคัญ CDP ยังดูด้วยว่ากลยุทธ์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรเป็นอย่างไร
ซี.พี.ได้ส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจนำเรื่องการบริหารจัดการภาวะโลกร้อนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่มีกระแสโลกร้อน
เพียงไม่กี่ปีที่ซี.พี.เดินตามแนวทางนี้ก็สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้มหาศาล
ความเคลื่อนไหวขององค์กรธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องความยั่งยืนในปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลายองค์กร แต่หากทุกองค์กรนำเรื่องความยั่งยืนมาเป็นพันธกิจหลักในการดำเนินธุรกิจ ก็จะไม่เพียงทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่ยังจะช่วยให้โลกนี้อยู่ได้อย่างยั่งยืนด้วย
โดย สมเจตนา ภาสกานนท์
ผู้จัดการทั่วไป สำนักพัฒนาความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์