ปรากฎการณ์ทางสังคมที่มีการแสดงออกโดยการไม่ยอมรับหรือต่อต้านความไม่ถูกต้อง ความไม่เป็นธรรมและความฉ้อฉลทำร้ายสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติในประเด็นต่างๆ
นั่นเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นส่วนก้าวหน้าในสังคมไทยที่นับวันจะได้ตื่นรู้กันมากขึ้นในยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อเนื่องมาถึงเครือข่าย “กปปส” ชื่อย่อของ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ที่มีมวลมหาประชาชนร่วมกดดันให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้สังคมไทยหลุดพ้นจากวงจรอุบาทเสียที
บทบาทเช่นนี้นับเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับบุคคล หรือ ISR (Individual Social Responsibility) ซึ่งมีความสำคัญที่จะให้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) เกิดพลังที่ยั่งยืนได้จริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือสื่อสารของผู้คนที่เรียกว่า Social Media โดยใช้ได้ทั้งโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต บทบาทของเครือข่ายผู้คนในสังคมที่แสดงออกเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ ISR ก็ยิ่งมีพลังมากขึ้น
มีตัวอย่างชุมชนคนมีจิตสำนึกดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้แสดงออกผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ค Change.org/th ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ช่องทางนี้มากกว่า 1.2 ล้านคนแล้ว นับว่ามากที่สุดในเอเชีย
ทั้งหมดนี่แสดงว่ามีคนที่กล้าจะลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การเริ่มเรื่องรณรงค์ใหม่ๆ ซึ่งปีนี้มีมากกว่า 2,500 เรื่องและการร่วมลงชื่อสนับสนุนการรณรงค์ต่างๆ ซึ่งมีมากถึง 1,050,000 ชื่อ ไปจนถึงการไปร่วมกิจกรรม “ออฟไลน์” ตามต่างจังหวัดต่างๆอีกหลายหมื่นพันคน
เมื่อดูการประมวลผล 10 อันดับ “ที่สุด” ของปี 2556 นับว่าน่าสนใจมาก
1. ข่าวหน้าหนึ่งครั้งแรกของปี
เป็นการรณรงค์ของกลุ่ม #finfreethai ที่เชิญชวนให้โรงแรมห้าดาวต่างๆทั่วประเทศหยุดจำหน่ายหูฉลาม จาก1โรงแรมที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเดือนกุมภาฯ ปัจจุบันมีมากกว่า 50โรงแรมแล้วที่ได้ประกาศหยุดจำหน่ายหูฉลาม
2. เรื่องรณรงค์ที่เป็นข่าวมากที่สุด
มีทั้งสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และวิทยุ รวมแล้วกว่า 67ครั้ง ที่เรื่องราวรณรงค์นี้ถูกพูดถึงในช่วงเวลาสั้นๆเพียงสองสัปดาห์ที่มีประชาชนมาร่วมลงชื่อกว่า 20,000คน และช่วยให้การรณรงค์ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งกระทรวงศึกษาประกาศยกเลิกการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และเปลี่ยนมาตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงคุณภาพฯขึ้นมาแทน
3. เรื่องรณรงค์ที่มีคนลงชื่อมากที่สุด
ผลจากการที่คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นแห่งประเทศไทยได้เริ่มรณรงค์ “ขอล้านชื่อหยุดกฎหมายล้างผิดคดีโกง”www.change.org/noamnesty ที่มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 600,000 คน มากที่สุดในประวัติศาสตร์เว็บchange.org ภูมิภาคเอเชีย
4. ภาพที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด
ด้วยยอดชมราว 100,000ครั้ง ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ที่พูดถึงการรวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นคัดค้านเขื่อนแม่วงก์กลายเป็นภาพที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดบน facebook ของ change.orgประเทศไทย
5. ภาพที่มีคนแชร์มากที่สุด
ด้วยยอดชมกว่า 5หมื่น และยอดแชร์กว่าพันครั้ง ภาพการยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนการรณรงค์เรียกร้องให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้คืนทางขึ้นเขาใหญ่ กลายเป็นภาพที่ถูกแชร์มากที่สุดผ่าน facebook ของ change ประเทศไทย
6. เรื่องรณรงค์ที่มีศิลปินเข้าร่วมมากที่สุด
คอนเสิร์ต"ร้องแทนต้นไม้ - รวมใจเพื่อมักกะสัน"” ของกลุ่ม “เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์” ที่มีศิลปินอินดี้มากมายเช่น แป้งโกะ โบ-TK เล็ก Greasy Cafe บี๋ คณาคำ อภิรดี Gapi และอีกมากมาย
7. เรื่องรณรงค์ที่ต้องลุ้นที่สุด
เป็นเรื่องรณรงค์ที่ต้องเดินทางไปยื่นรายชื่อซ้ำมากกว่า 3ครั้ง จนกว่า ขสมก.จะตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายรับปากผู้พิการว่าจะจัดซื้อรถเมล์ที่มีพื้นต่ำเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้
8. เรื่องรณรงค์ที่สร้างสรรค์ที่สุด
การรณรงค์ของชาวฉะเชิงเทราที่เรียกร้องจนสำเร็จสามารถหยุดยั้ง EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน เป็นความสำเร็จทั้งทางด้านวิชาการไปจนถึงความคิดสร้างสรรค์ในการรณรงค์ที่มีการนำผัก พลไม้ที่พวกเขาเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบมายื่นพร้อมรายชื่อประชาชนผู้สนับสนุน ให้กับคณะกรรมการผู้พิจารณารายงาน
9. เรื่องรณรงค์ที่ผู้ยื่นรายชื่อต้องเดินทางไกลที่สุด
จากการเดินทางเพื่อเชิญชวนชาวประมงตลอดชายฝั่งภาคใต้และภาคตะวันออกเพื่อร่วมลงชื่อ ไปจนถึงการเดินทางเพื่อยื่นรายชื่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุณบรรจง นะแส และกลุ่มรักษ์ทะเลไทยทำงานอย่างหนักจนทำให้กรมประมงยกเลิกแนวคิดที่จะนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน
10. เศร้าที่สุด
เรื่องรณรงค์ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญของน้องการ์ตูนที่ถูกลักพาตัวและทำร้ายจนเสียชีวิต คุณเพทาย กันนิยมได้เริ่มรณรงค์เรียกร้องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดตั้งศูนย์ติดตามคนหายของภาครัฐอย่างจริงจัง และในวันพุธที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้เดินทางพร้อมกับมูลนิธิกระจกเงาเพื่อยื่น 30,000 รายชื่อ โดยพลตำรวจเอกจรัมพร สุระมณี รอง ผบตร.รับปากว่าจะดำเนินการตั้งศูนย์จัดการบริหารคนหายและศพนิรนามทันที พร้อมเปิด hotline 1599 และจัดทำ Application แจ้งคนหายผ่านระบบมือถือ
suwatmgr@gmail.com
นั่นเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นส่วนก้าวหน้าในสังคมไทยที่นับวันจะได้ตื่นรู้กันมากขึ้นในยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อเนื่องมาถึงเครือข่าย “กปปส” ชื่อย่อของ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ที่มีมวลมหาประชาชนร่วมกดดันให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้สังคมไทยหลุดพ้นจากวงจรอุบาทเสียที
บทบาทเช่นนี้นับเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับบุคคล หรือ ISR (Individual Social Responsibility) ซึ่งมีความสำคัญที่จะให้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) เกิดพลังที่ยั่งยืนได้จริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือสื่อสารของผู้คนที่เรียกว่า Social Media โดยใช้ได้ทั้งโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต บทบาทของเครือข่ายผู้คนในสังคมที่แสดงออกเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ ISR ก็ยิ่งมีพลังมากขึ้น
มีตัวอย่างชุมชนคนมีจิตสำนึกดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้แสดงออกผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ค Change.org/th ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ช่องทางนี้มากกว่า 1.2 ล้านคนแล้ว นับว่ามากที่สุดในเอเชีย
ทั้งหมดนี่แสดงว่ามีคนที่กล้าจะลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การเริ่มเรื่องรณรงค์ใหม่ๆ ซึ่งปีนี้มีมากกว่า 2,500 เรื่องและการร่วมลงชื่อสนับสนุนการรณรงค์ต่างๆ ซึ่งมีมากถึง 1,050,000 ชื่อ ไปจนถึงการไปร่วมกิจกรรม “ออฟไลน์” ตามต่างจังหวัดต่างๆอีกหลายหมื่นพันคน
เมื่อดูการประมวลผล 10 อันดับ “ที่สุด” ของปี 2556 นับว่าน่าสนใจมาก
1. ข่าวหน้าหนึ่งครั้งแรกของปี
เป็นการรณรงค์ของกลุ่ม #finfreethai ที่เชิญชวนให้โรงแรมห้าดาวต่างๆทั่วประเทศหยุดจำหน่ายหูฉลาม จาก1โรงแรมที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเดือนกุมภาฯ ปัจจุบันมีมากกว่า 50โรงแรมแล้วที่ได้ประกาศหยุดจำหน่ายหูฉลาม
2. เรื่องรณรงค์ที่เป็นข่าวมากที่สุด
มีทั้งสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และวิทยุ รวมแล้วกว่า 67ครั้ง ที่เรื่องราวรณรงค์นี้ถูกพูดถึงในช่วงเวลาสั้นๆเพียงสองสัปดาห์ที่มีประชาชนมาร่วมลงชื่อกว่า 20,000คน และช่วยให้การรณรงค์ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งกระทรวงศึกษาประกาศยกเลิกการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และเปลี่ยนมาตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงคุณภาพฯขึ้นมาแทน
3. เรื่องรณรงค์ที่มีคนลงชื่อมากที่สุด
ผลจากการที่คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นแห่งประเทศไทยได้เริ่มรณรงค์ “ขอล้านชื่อหยุดกฎหมายล้างผิดคดีโกง”www.change.org/noamnesty ที่มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 600,000 คน มากที่สุดในประวัติศาสตร์เว็บchange.org ภูมิภาคเอเชีย
4. ภาพที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด
ด้วยยอดชมราว 100,000ครั้ง ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ที่พูดถึงการรวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นคัดค้านเขื่อนแม่วงก์กลายเป็นภาพที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดบน facebook ของ change.orgประเทศไทย
5. ภาพที่มีคนแชร์มากที่สุด
ด้วยยอดชมกว่า 5หมื่น และยอดแชร์กว่าพันครั้ง ภาพการยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนการรณรงค์เรียกร้องให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้คืนทางขึ้นเขาใหญ่ กลายเป็นภาพที่ถูกแชร์มากที่สุดผ่าน facebook ของ change ประเทศไทย
6. เรื่องรณรงค์ที่มีศิลปินเข้าร่วมมากที่สุด
คอนเสิร์ต"ร้องแทนต้นไม้ - รวมใจเพื่อมักกะสัน"” ของกลุ่ม “เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์” ที่มีศิลปินอินดี้มากมายเช่น แป้งโกะ โบ-TK เล็ก Greasy Cafe บี๋ คณาคำ อภิรดี Gapi และอีกมากมาย
7. เรื่องรณรงค์ที่ต้องลุ้นที่สุด
เป็นเรื่องรณรงค์ที่ต้องเดินทางไปยื่นรายชื่อซ้ำมากกว่า 3ครั้ง จนกว่า ขสมก.จะตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายรับปากผู้พิการว่าจะจัดซื้อรถเมล์ที่มีพื้นต่ำเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้
8. เรื่องรณรงค์ที่สร้างสรรค์ที่สุด
การรณรงค์ของชาวฉะเชิงเทราที่เรียกร้องจนสำเร็จสามารถหยุดยั้ง EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน เป็นความสำเร็จทั้งทางด้านวิชาการไปจนถึงความคิดสร้างสรรค์ในการรณรงค์ที่มีการนำผัก พลไม้ที่พวกเขาเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบมายื่นพร้อมรายชื่อประชาชนผู้สนับสนุน ให้กับคณะกรรมการผู้พิจารณารายงาน
9. เรื่องรณรงค์ที่ผู้ยื่นรายชื่อต้องเดินทางไกลที่สุด
จากการเดินทางเพื่อเชิญชวนชาวประมงตลอดชายฝั่งภาคใต้และภาคตะวันออกเพื่อร่วมลงชื่อ ไปจนถึงการเดินทางเพื่อยื่นรายชื่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุณบรรจง นะแส และกลุ่มรักษ์ทะเลไทยทำงานอย่างหนักจนทำให้กรมประมงยกเลิกแนวคิดที่จะนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน
10. เศร้าที่สุด
เรื่องรณรงค์ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญของน้องการ์ตูนที่ถูกลักพาตัวและทำร้ายจนเสียชีวิต คุณเพทาย กันนิยมได้เริ่มรณรงค์เรียกร้องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดตั้งศูนย์ติดตามคนหายของภาครัฐอย่างจริงจัง และในวันพุธที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้เดินทางพร้อมกับมูลนิธิกระจกเงาเพื่อยื่น 30,000 รายชื่อ โดยพลตำรวจเอกจรัมพร สุระมณี รอง ผบตร.รับปากว่าจะดำเนินการตั้งศูนย์จัดการบริหารคนหายและศพนิรนามทันที พร้อมเปิด hotline 1599 และจัดทำ Application แจ้งคนหายผ่านระบบมือถือ
suwatmgr@gmail.com