ปัจจุบันนี้ “มาตรฐานกรีนระดับโลก” ส่งผลต่อการพัฒนาการอุตสาหกรรมกรีนในแต่ละประเภทธุรกิจจนกระทั่งทำให้บรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแต่ละประเภทใส่ใจกันมากขึ้น และพยายามจะก้าวไปแตะมาตรฐานที่เรียกว่า “กรีนอินดัสตรี” (Green Industry)
เมื่อไม่นานนี้ นิตยสารฟอร์จูนได้จัดเสวนาเรื่อง Fortune Brainstrom Greenโดยเชิญอุตสาหกรมกรีนชั้นนำหลายราย และองค์กร NGO มาร่วมการเสวนา ประเด็นที่น่าสนใจจากเสวนานี้ คือ “ลูกค้าส่วนใหญ่ยังไม่ยอมจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับผลิตภัณฑ์ไม้ที่ใส่ใจความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม” และในหลายกรณีการศึกษายังพบว่า “ผู้บริโภคมีมุมมองทางลบกับผลิตภัณฑ์ไม้ที่อยู่ในข่าย “กรีน” ด้วยซ้ำ”
นั่นทำให้ผู้บริหารของโฮมโปรต้องเพิ่มเวลาและทรัพยากรในการให้การศึกษากับลูกค้าและพนักงานในประเทศกำลังพัฒนาถึงข้อดีด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้ FSC Certificate พร้อมทั้งพยายามตรึงราคาขายไว้ไม่ให้สูงกว่าสินค้าที่ไม่ได้อุตสาหกรรมกรีน ซึ่งเป็นไปได้เพราะขนาดของการประกอบการและอำนาจการต่อรอง และกำลังซื้อของกิจการมากพอที่จะบริหารต้นทุนสินค้าได้
นอกจากโฮมโปรแล้ว กิจการอย่างโลวี่ (Lowe) ซึ่งจำหน่ายก๊อกน้ำ100% และเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมกรีนมากว่า 3 ปี ด้วยจุดเด่นของการออกแบบให้จำกัดระดับความแรงของน้ำที่ไหล รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ครัวเรือนและระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่เป็นอุตสาหกรมกรีนประเภท Energy Star อีกมากมาย เรียกว่ามากกว่าผู้ค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าในการปรับปรุงบ้านและอาคารรายใดๆ ในโลก
อุตสาหกรรมกรีนอีกประเภทหนึ่งที่ปรับโครงสร้างธุรกิจไปมาก คือ กิจการรับบริการส่งสินค้าและพัสดุชื่อ UPS ที่ใช้ซอฟท์แวร์ที่ทันสมัยและข้อมูลในการค้นหาและเลือกช่องทางการจัดแพคเกจการจัดส่งสินค้าที่ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุด และนำส่วนที่ประหยัดได้คืนกลับให้แก่ลูกค้า และในอนาคตนี้ UPS กำลังปรับเปลี่ยนตัวยานพาหนะในการจัดส่งให้มีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันมากขึ้น ทั้งการปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า ไอบริดจ์ และแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติเหลว
ส่วนอุตสาหกรรมกรีนในกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าที่นำเสนอแนวคิดในการเสวนาครั้งนี้คือ ลีวาย สเตร้าท์ ที่ปรับธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรมกรีนด้วยเทคนิค Back Door ผ่านการปรับการปลูกฝ้ายและผ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตยีนส์ ที่มีผลทางบวกต่อการปลูกฝ้ายของเกษตรกรกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก โดยไม่ได้ทำให้ลูกค้าต้องจ่ายเงินค่าเสื้อผ้ายีนส์เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ภายใต้โปรแกรมและกลยุทธ์ของลีลายที่เรียกว่า Environmental Sustainability for Better Cotton ซึ่งขณะนี้ลีวายยังไม่ได้เพิ่มป้ายสัญลักษณ์ Better Cotton ลงในสินค้าของตน เพื่อรอให้วัสดุที่ส่งให้ลีวายมีความพร้อมที่จะทำการผลิตแบบขนานใหญ่และออกสินค้าใหม่นี้ออกไปทั่วโลกได้
ในกรณีของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ ที่เคยถูกติเตียนว่าไม่เห็นจะคิดหาทางใช้แก้วกาแฟแบบรีไซเคิ้ลเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมเลย ได้มีการปรับตัวด้านอุตสาหกรรมกรีนเช่นกัน ด้วยการปรับกลยุทธ์มาเพิ่มความใส่ใจกับซับพลายเออร์กาแฟเป็นสำคัญ
โดยเน้นเมล็ดกาแฟที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ตามแนวพึงปฏิบัติที่ดี ภายใต้โปรแกรมการจัดซื้อกาแฟของสตาร์บัคส์ที่มีชื่อว่า C.A.F.E. Practices ที่ดำเนินการมากว่า 10 ปีแล้ว เป็นโปรแกรมที่เน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจ่ายค่าจ้างผลิตที่เหมาะสมตามค่าจ้างขั้นต่ำ ใส่ใจสุขอนามัยและการเพิ่มพูนการศึกษา ความรู้แก่แรงงานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกาแฟที่นำส่งสตาร์บัคส์ จนทำให้ 84% ของกาแฟสตาร์บัคส์ผลิตโดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมและฑรรมาภิบาล และยังประกษว่าภายในปี 2015 สินค้ากาแฟของสตาร์บัคส์ทั้ง 100% จะมาจากซับพลายเออร์ที่ผ่านการรับรองด้านอุตสาหกรรมกรีนทั้งหมด
ตัวอย่างของกิจการที่เป็นอุตสาหกรรมกรีนที่ประสบความล้มเหลวในการพัฒนาธุรกิจแบบกรีนก็มีเหมือนกัน ที่กล่าวถึงกันมากคือกรณีของแบรนด์คลอร๊อกซ์ ที่ไม่ประสบความสำเร็จในความเป็นอุตสาหกรรมกรีน ทั้งที่ใช้ความพยายามหลายปีติดต่อกัน จนใช้แบรนด์ทำความสะอาด คลอร๊อกซ์ กรีน เวิร์ค โฮม เมื่อปี 2008 ซึ่งในระยะแรกได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจนยอดการจำหน่ายทะลุขึ้นไปถึงกว่า 100 ล้านดอลลาร์ภายใน 2 ปีแรก
แต่หลังจากนั้น ยอดการจำหน่ายได้ลดลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าจะปรับลดราคาขายลงต่ำกว่าสินค้าที่ไม่ใช่กรีนโปรดักส์ ก็ไม่สามารถกระตุ้นยอดการจำหน่ายได้
4 มาตรฐานกรีนระดับโลก
มาตรฐานแรก ได้แก่ ออร์แกนิก Organic ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้เครื่องปรุงออร์แกนิก
มาตรฐานที่สอง ได้แก่ เอนเนอจี้ สตาร์ Energy Star ใช้กับเครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในบ้านเรือน ที่ประหยัดพลังงาน
มาตรฐานที่สาม ได้แก่ LEED เป็นมาตรฐานที่ใช้กับธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ใช้อาคารเป็นสถานที่ทำการ ประกอบธุรกิจหลัก และการบริหารที่พักอาศัยส่วนบุคคล
มาตรฐานที่สี่ ได้แก่ FSC เป็นมาตรฐานของผู้ประกอบการสินค้าประเภทไม้
การที่เกิดอุตสาหกรรมกรีน ได้มีส่วนทำให้เกิดอาชีพ สายงานใหม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เรียกว่า Green Job โดยมีทั้งอาชีพที่มีอยู่แล้ว แต่ปรับกระบวนการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้ประกอบการที่เป็น กรีนอินดัสตรี อย่างเช่น อาชีพในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิตทางอุตสาหกรรม งานในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยมีการวางมาตรฐาน Green Job เพื่อใช้ประเมินทักษะและความสามารถของแรงงานในตลาดใหม่นี้ เช่น
มาตรฐาน อุตสาหกรรมก่อสร้างและที่เกี่ยวข้อง Construction-related-jobs
มาตรฐาน อุตสาหกรรมรถยนต์ Auto-worker
มาตรฐาน อุตสาหกรรมสาธารณูปโภค Utility
มาตรฐาน อุตสาหกรรมการผลิต Manufacturing-related jobs
ส่วนใหญ่มาตรฐานงานในส่วนนี้ กำหนดให้ผู้ที่ได้การรับรองสายอาชีพต้องผ่านงานในกิจการที่เป็นอุตสาหกรรมกรีน หรือโครงการที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมมาก่อน หรือผ่านการศึกษาในการทำงานกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรมกรีนมาแล้ว
ส่วนประเภทของงาน Green Job ที่มีการกำหนดมาตรฐานไว้เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำเรื่องของผ่านการพิจารณาเพื่อหางานใหม่ หรือเปลี่ยนคุณสมบัติของตนเอง ประกอบด้วย กิจการเกษตรกรรม ไบโอเทคโนโลยี การก่อสร้าง พลังงาน การบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ทนายความ การขนส่ง