xs
xsm
sm
md
lg

กฟผ. คาดอีก 20 ปี ไทยประสบวิกฤตพลังงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“หากว่าประเทศไทยไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าพลังงานหลักที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าจะมาจากแหล่งผลิตใดก็อาจจะเกิดวิกฤตพลังงาน เนื่องจากภายใน 15-20 ปีข้างหน้า แหล่งเชื้อเพลิงในอ่าวไทยจะหมดไป ไทยจึงจำเป็นต้องหาพลังงานอื่นๆ มาช่วยผลิตไฟฟ้า แต่ถ้าไม่ทำการหาแหล่งผลิตพลังงานใหม่เพิ่มเติม และคงพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศก็ย่อมจะเกิดความเสี่ยงสูงจนทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้นแน่”
พงษ์ดิษฐ พจนา ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กล่าวถึงประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีผู้ผลิตไฟฟ้า 10 บริษัท แบ่งตามพื้นที่ให้บริการ มีกำลังการผลิตรวม 150,000 เมกะวัตต์ต่อวัน ซึ่งมีทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น โดย 1 ใน 3 เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินมัตสึอุระ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเปิด เป็นเทคโนโลยีสะอาด สามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
พงษ์ดิษฐ พจนา
ด้วยเหตุดังกล่าว กฟผ. จึงมีแนวคิดที่จะยกระดับเรื่องพลังงานไฟฟ้าเป็นวาระแห่งชาติ โดยมี 4 แนวทางเลือกในการหาพลังงานทดแทน ประกอบด้วย พลังงานหมุนเวียน พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าหน่วยละ 8 ถึง 9 บาท อนึ่ง พลังงานนิวเคลียร์มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 2.30 สตางค์ต่อหน่วย พลังงานก๊าซธรรมชาติ หรือ (Liquefied natural gas: LNG) มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3.20 สตางค์ต่อหน่วย และพลังงานถ่านหินนำเข้ามีต้นทุนการผลิต 2.36 สตางค์ต่อหน่วย โดยพลังงานทั้งหมดนี้เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่ กฟผ.ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีต้นทุนอยู่ที่ 11.16 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น ดังนั้น อยากให้รัฐบาลนำร่อง หรือร่วมมือกับ กฟผ.ในการทำความเข้าใจกับชุมชน โดยเฉพาะองค์การพัฒนาเอกชน ในการหาพลังงานใหม่มาทดแทน
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของไทยจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการสร้างความเข้าใจกับภาคประชาชนบนพื้นฐานความเป็นจริง ประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาพรวม ก็จะต้องมีความชัดเจนถึงทิศทางด้านพลังงานของรัฐบาล และทำให้อัตราค่าไฟไม่สูงเกินไป
กำลังโหลดความคิดเห็น