บทความโดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
มหาวิทยาลัยรังสิต
องค์ความรู้ที่ว่าความสัมพันธ์การนอนหลับคุณภาพต่ำ (นอนไม่หลับ, หลับๆตื่นๆ, หลับไม่เต็มอิ่มหรือไม่เพียงพอ) กับโรคสมองเสื่อมนั้นมีมานานแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีใครทราบได้ว่าอะไรคือเหตุ และอะไรคือผลระหว่างการนอนหลับคุณภาพต่ำทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม หรือความจริงแล้ว โรคสมองเสื่อมกลับทำให้การนอนหลับมีคุณภาพต่ำกันแน่?
แต่งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะมีการนอนตอนกลางวันมากขึ้น [1]-[3] และจากผลการวิเคราะห์จากรายงาน 24 ชิ้น พบว่าประมาณ 20%-30% ของผู้สูงวัยจะมีประสบการณ์ในการหลับผลอยหรือหลับบ่อยๆ ในตอนกลางวัน [1]
ในการศึกษาตามยาวหลายชิ้น (longitudinal studies) พบว่าการนอนเกินในตอนกลางวันเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม!!! [4] - [8]
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาก็ยังไม่ชัดเจนว่ากลไกที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นคืออะไร? อย่างไรก็ตามมีการศึกษาพบสิ่งที่น่าสนใจ 2 ปัจจัย กล่าวคือ การถูกรบกวนการนอนหลับและโรคความเสื่อมของระบบประสาท น่าจะมีส่วนสำคัญ [9] [10]
ก่อนที่จะหาคำตอบเรื่องการนอนกับโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์นั้น ท่านผู้อ่านควรจะให้ความสนใจการวิจัยในเรื่อง การสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติบางอย่างในสมอง เรียกว่า เบต้า อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ที่ทำให้เกิดการอักเสบเสื่อมสลายของเซลล์สมอง ก่อให้เกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ตามมา
ซึ่งการนอนหลับจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะดำเนินการ “ขจัด” เบต้า อะไมลอยด์เจ้าปัญหาที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์สมองนี้ [11] [12] และการถูกรบกวนการนอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ การนอนหลับๆตื่นๆ การนอนไม่เต็มอิ่ม ฯลฯ มีความสัมพันธ์ทำให้เบต้า อะไมลอยด์เพิ่มสูงขึ้นด้วย [13] - [16]
แต่ในมุมกลับกันกลับพบการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่าเบต้า อะไมลอยด์ที่เพิ่มสูงขึ้นกลับทำให้คุณภาพการนอนด้อยลง [17] ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ก็ยังพบการศึกษาในมนุษย์อีกด้วย [18]
แต่ที่แน่ๆ คือการนอนไม่หลับ หรือ คุณภาพการนอนไม่ดีตอนกลางคืน ก็อาจทำให้ผู้สูงวัยต้องมานอนในเวลากลางวันเพิ่มเติมด้วย งานวิจัยที่มีความสับสนข้างต้นทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าถ้าการนอนมีผลดีลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมเพราะช่วยลดเบต้า อะไมลอยด์ลงได้แล้ว เหตุใดการนอนกลางวันเพิ่มขึ้นจึงพบความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมได้?
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Neueology ที่เผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 ได้ทำการศึกษาประชากรประมาณ 2,900 คน โดยเฉพาะได้รวมถึงการสำรวจประชากรผู้สูงวัยจำนวน 283 คน ซึ่งมีอายุ 70 ปีขึ้นไป และ “ไม่มีโรคสมองเสื่อมมาก่อน” หรือสรุปง่ายจากผู้สูงวัยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม และสำรวจไปพร้อมกับพฤติกรรมการนอน โดยที่มีการสแกนสมองสำรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อดูไปถึงเบต้า อะไมลอยด์ด้วย โดยการศึกษาดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 7 ปีเศษ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวพบเรื่องที่น่าสนใจว่า
“การนอนตอนกลางวันเพิ่มเติมทำให้เบต้า อะไมลอยด์ในผู้สูงวัยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มสูงขึ้น จึงแนะนำว่ากลุ่มประชากรที่นอนกลางวันอาจจะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางด้านพยาธิวิทยาอ่อนแอลงซึ่งสัมพันธ์กับโรความจำเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์” [19]
สรุปให้เข้าใจง่ายๆ และสั้นๆ ก็คือ คนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือความจำเสื่อม หากนอนกลางวันมากขึ้นเป็นประจำจะแสดงให้เห็นถึงสัญญาณเสี่ยงเพิ่มความเสี่ยงโรคความจำเสื่อมมากขึ้น
ผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น นักวิจัยคณะดังกล่าวนี้เห็นว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าการนอนกลางวันคือสัญญาณทางการแพทย์ที่ระบุถึงสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณว่าการนอนหลับไม่มีเสถียรภาพมากขึ้น หรือเป็นเพราะเกิดปัญหากระแสประสาท หรือเป็นปัญหาความเสื่อมของระบบประสาท แต่อย่างน้อยก็ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักมากขึ้นว่าการนอนเกินตอนกลางวันคือสัญญาณบ่งชี้ของผู่ป่วยโรคความจำเสื่อม และการแก้ปัญหาคุณภาพการนอนที่ผิดปกติสามารถที่จะลดเบต้า อะไมลอยด์ ได้
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเสี้ยวหนึ่งในเนื้อหาอีกจำนวนมากที่ท่านผู้อ่านซึ่งสนใจสามารถจะเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อ “ลดการใช้ยา ด้วยบูรณาการแห่งปัญญา รักษาที่เหตุแห่งโรค” ได้ที่หลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ (Lifestyle Medicine) รุ่นที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต เรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
สามารถสมัครเรียนได้โดยไม่จำกัดอายุและวุฒิการศึกษา ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สนใจติดต่อสมัครเรียนได้ที่สถาบันรังสิตวิชชาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เบอร์โทรติดต่อ 02-791-5681, 02-791-5683, 02-791-5684
อ้างอิง
[1] Young TB. Epidemiology of daytime sleepiness: definitions, symptomatology, and prevalence. J Clin Psychiatry. 2004;65(suppl 16):12-16.
[2] Hayley AC, Williams LJ, Kennedy GA, Berk M, Brennan SL, Pasco JA. Prevalence of excessive daytime sleepiness in a sample of the Australian adult population. Sleep Med. 2014;15(3):348-354.
[3] Bixler EO, Vgontzas AN, Lin HM, Calhoun SL, Vela-Bueno A, Kales A. Excessive daytime sleepiness in a general population sample: the role of sleep apnea, age, obesity, diabetes, and depression. J Clin Endocrinol Metab. 2005;90(8):4510-4515.
[4] Foley D, Monjan A, Masaki K, et al. Daytime sleepiness is associated with 3-year incident dementia and cognitive decline in older Japanese-American men. J Am Geriatr Soc. 2001;49(12):1628-1632.
[5] Jaussent I, Bouyer J, Ancelin ML, et al. Excessive sleepiness is predictive of cognitive decline in the elderly. Sleep. 2012;35(9):1201-1207.
[6] Tsapanou A, Gu Y, Manly J, et al. Daytime sleepiness and sleep inadequacy as risk factors for dementia. Dement Geriatr Cogn Dis Extra. 2015;5(2):286-295.
[7] Elwood PC, Bayer AJ, Fish M, Pickering J, Mitchell C, Gallacher JE. Sleep disturbance and daytime sleepiness predict vascular dementia. J Epidemiol Community Health. 2011;65(9):820-824.
[8] Keage HA, Banks S, Yang KL, Morgan K, Brayne C, Matthews FE. What sleep characteristics predict cognitive decline in the elderly? Sleep Med. 2012;13(7):886-892.
[9] Cedernaes J, Osorio RS, Varga AW, Kam K, Schiöth HB, Benedict C. Candidate mechanisms underlying the association between sleep-wake disruptions and Alzheimer’s disease. Sleep Med Rev. 2017;31:102-111.
[10] Xie L, Kang H, Xu Q, et al. Sleep drives metabolite clearance from the adult brain. Science. 2013;342(6156):373-377.
[11] Xie L, Kang H, Xu Q, et al. Sleep drives metabolite clearance from the adult brain. Science. 2013;342(6156):373-377
[12] Kang JE, Lim MM, Bateman RJ, et al. Amyloid-beta dynamics are regulated by orexin and the sleep-wake cycle. Science. 2009;326(5955):1005-1007.
[13] Varga AW, Wohlleber ME, Giménez S, et al. Reduced slow-wave sleep is associated with high cerebrospinal fluid Aβ42 levels in cognitively normal elderly. Sleep. 2016;39(11):2041-2048
[14] Spira AP, Gamaldo AA, An Y, et al. Self-reported sleep and β-amyloid deposition in community-dwelling older adults. JAMA Neurol. 2013;70(12):1537-1543.
[15] Sprecher KE, Bendlin BB, Racine AM, et al. Amyloid burden is associated with self-reported sleep in nondemented late middle-aged adults. Neurobiol Aging. 2015;36(9):2568-2576.
[16] Ju YE, McLeland JS, Toedebusch CD, et al. Sleep quality and preclinical Alzheimer disease. JAMA Neurol. 2013;70(5):587-593.
[17] Roh JH, Huang Y, Bero AW, et al. Disruption of the sleep-wake cycle and diurnal fluctuation of β-amyloid in mice with Alzheimer’s disease pathology. Sci Transl Med. 2012;4(150):150ra122.
[18] Mander BA, Marks SM, Vogel JW, et al. β-Amyloid disrupts human NREM slow waves and related hippocampus-dependent memory consolidation. Nat Neurosci. 2015;18(7):1051-1057.
[19] D iego Z. Carvalho, MD; Erik K. St Louis, MD, MS; David S. Knopman, MD; et al, Association of Excessive Daytime Sleepiness With Longitudinal β-Amyloid Accumulation in Elderly Persons Without Dementia, JAMA Neurol. Published online March 12, 2018. doi:10.1001/jamaneurol.2018.0049
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย
มหาวิทยาลัยรังสิต
องค์ความรู้ที่ว่าความสัมพันธ์การนอนหลับคุณภาพต่ำ (นอนไม่หลับ, หลับๆตื่นๆ, หลับไม่เต็มอิ่มหรือไม่เพียงพอ) กับโรคสมองเสื่อมนั้นมีมานานแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีใครทราบได้ว่าอะไรคือเหตุ และอะไรคือผลระหว่างการนอนหลับคุณภาพต่ำทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม หรือความจริงแล้ว โรคสมองเสื่อมกลับทำให้การนอนหลับมีคุณภาพต่ำกันแน่?
แต่งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะมีการนอนตอนกลางวันมากขึ้น [1]-[3] และจากผลการวิเคราะห์จากรายงาน 24 ชิ้น พบว่าประมาณ 20%-30% ของผู้สูงวัยจะมีประสบการณ์ในการหลับผลอยหรือหลับบ่อยๆ ในตอนกลางวัน [1]
ในการศึกษาตามยาวหลายชิ้น (longitudinal studies) พบว่าการนอนเกินในตอนกลางวันเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม!!! [4] - [8]
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาก็ยังไม่ชัดเจนว่ากลไกที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นคืออะไร? อย่างไรก็ตามมีการศึกษาพบสิ่งที่น่าสนใจ 2 ปัจจัย กล่าวคือ การถูกรบกวนการนอนหลับและโรคความเสื่อมของระบบประสาท น่าจะมีส่วนสำคัญ [9] [10]
ก่อนที่จะหาคำตอบเรื่องการนอนกับโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์นั้น ท่านผู้อ่านควรจะให้ความสนใจการวิจัยในเรื่อง การสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติบางอย่างในสมอง เรียกว่า เบต้า อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ที่ทำให้เกิดการอักเสบเสื่อมสลายของเซลล์สมอง ก่อให้เกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ตามมา
ซึ่งการนอนหลับจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะดำเนินการ “ขจัด” เบต้า อะไมลอยด์เจ้าปัญหาที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์สมองนี้ [11] [12] และการถูกรบกวนการนอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ การนอนหลับๆตื่นๆ การนอนไม่เต็มอิ่ม ฯลฯ มีความสัมพันธ์ทำให้เบต้า อะไมลอยด์เพิ่มสูงขึ้นด้วย [13] - [16]
แต่ในมุมกลับกันกลับพบการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่าเบต้า อะไมลอยด์ที่เพิ่มสูงขึ้นกลับทำให้คุณภาพการนอนด้อยลง [17] ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ก็ยังพบการศึกษาในมนุษย์อีกด้วย [18]
แต่ที่แน่ๆ คือการนอนไม่หลับ หรือ คุณภาพการนอนไม่ดีตอนกลางคืน ก็อาจทำให้ผู้สูงวัยต้องมานอนในเวลากลางวันเพิ่มเติมด้วย งานวิจัยที่มีความสับสนข้างต้นทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าถ้าการนอนมีผลดีลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมเพราะช่วยลดเบต้า อะไมลอยด์ลงได้แล้ว เหตุใดการนอนกลางวันเพิ่มขึ้นจึงพบความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมได้?
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Neueology ที่เผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 ได้ทำการศึกษาประชากรประมาณ 2,900 คน โดยเฉพาะได้รวมถึงการสำรวจประชากรผู้สูงวัยจำนวน 283 คน ซึ่งมีอายุ 70 ปีขึ้นไป และ “ไม่มีโรคสมองเสื่อมมาก่อน” หรือสรุปง่ายจากผู้สูงวัยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม และสำรวจไปพร้อมกับพฤติกรรมการนอน โดยที่มีการสแกนสมองสำรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อดูไปถึงเบต้า อะไมลอยด์ด้วย โดยการศึกษาดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 7 ปีเศษ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวพบเรื่องที่น่าสนใจว่า
“การนอนตอนกลางวันเพิ่มเติมทำให้เบต้า อะไมลอยด์ในผู้สูงวัยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มสูงขึ้น จึงแนะนำว่ากลุ่มประชากรที่นอนกลางวันอาจจะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางด้านพยาธิวิทยาอ่อนแอลงซึ่งสัมพันธ์กับโรความจำเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์” [19]
สรุปให้เข้าใจง่ายๆ และสั้นๆ ก็คือ คนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือความจำเสื่อม หากนอนกลางวันมากขึ้นเป็นประจำจะแสดงให้เห็นถึงสัญญาณเสี่ยงเพิ่มความเสี่ยงโรคความจำเสื่อมมากขึ้น
ผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น นักวิจัยคณะดังกล่าวนี้เห็นว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าการนอนกลางวันคือสัญญาณทางการแพทย์ที่ระบุถึงสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณว่าการนอนหลับไม่มีเสถียรภาพมากขึ้น หรือเป็นเพราะเกิดปัญหากระแสประสาท หรือเป็นปัญหาความเสื่อมของระบบประสาท แต่อย่างน้อยก็ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักมากขึ้นว่าการนอนเกินตอนกลางวันคือสัญญาณบ่งชี้ของผู่ป่วยโรคความจำเสื่อม และการแก้ปัญหาคุณภาพการนอนที่ผิดปกติสามารถที่จะลดเบต้า อะไมลอยด์ ได้
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเสี้ยวหนึ่งในเนื้อหาอีกจำนวนมากที่ท่านผู้อ่านซึ่งสนใจสามารถจะเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อ “ลดการใช้ยา ด้วยบูรณาการแห่งปัญญา รักษาที่เหตุแห่งโรค” ได้ที่หลักสูตรวิถีชีวาเวชศาสตร์ (Lifestyle Medicine) รุ่นที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต เรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
สามารถสมัครเรียนได้โดยไม่จำกัดอายุและวุฒิการศึกษา ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สนใจติดต่อสมัครเรียนได้ที่สถาบันรังสิตวิชชาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เบอร์โทรติดต่อ 02-791-5681, 02-791-5683, 02-791-5684
อ้างอิง
[1] Young TB. Epidemiology of daytime sleepiness: definitions, symptomatology, and prevalence. J Clin Psychiatry. 2004;65(suppl 16):12-16.
[2] Hayley AC, Williams LJ, Kennedy GA, Berk M, Brennan SL, Pasco JA. Prevalence of excessive daytime sleepiness in a sample of the Australian adult population. Sleep Med. 2014;15(3):348-354.
[3] Bixler EO, Vgontzas AN, Lin HM, Calhoun SL, Vela-Bueno A, Kales A. Excessive daytime sleepiness in a general population sample: the role of sleep apnea, age, obesity, diabetes, and depression. J Clin Endocrinol Metab. 2005;90(8):4510-4515.
[4] Foley D, Monjan A, Masaki K, et al. Daytime sleepiness is associated with 3-year incident dementia and cognitive decline in older Japanese-American men. J Am Geriatr Soc. 2001;49(12):1628-1632.
[5] Jaussent I, Bouyer J, Ancelin ML, et al. Excessive sleepiness is predictive of cognitive decline in the elderly. Sleep. 2012;35(9):1201-1207.
[6] Tsapanou A, Gu Y, Manly J, et al. Daytime sleepiness and sleep inadequacy as risk factors for dementia. Dement Geriatr Cogn Dis Extra. 2015;5(2):286-295.
[7] Elwood PC, Bayer AJ, Fish M, Pickering J, Mitchell C, Gallacher JE. Sleep disturbance and daytime sleepiness predict vascular dementia. J Epidemiol Community Health. 2011;65(9):820-824.
[8] Keage HA, Banks S, Yang KL, Morgan K, Brayne C, Matthews FE. What sleep characteristics predict cognitive decline in the elderly? Sleep Med. 2012;13(7):886-892.
[9] Cedernaes J, Osorio RS, Varga AW, Kam K, Schiöth HB, Benedict C. Candidate mechanisms underlying the association between sleep-wake disruptions and Alzheimer’s disease. Sleep Med Rev. 2017;31:102-111.
[10] Xie L, Kang H, Xu Q, et al. Sleep drives metabolite clearance from the adult brain. Science. 2013;342(6156):373-377.
[11] Xie L, Kang H, Xu Q, et al. Sleep drives metabolite clearance from the adult brain. Science. 2013;342(6156):373-377
[12] Kang JE, Lim MM, Bateman RJ, et al. Amyloid-beta dynamics are regulated by orexin and the sleep-wake cycle. Science. 2009;326(5955):1005-1007.
[13] Varga AW, Wohlleber ME, Giménez S, et al. Reduced slow-wave sleep is associated with high cerebrospinal fluid Aβ42 levels in cognitively normal elderly. Sleep. 2016;39(11):2041-2048
[14] Spira AP, Gamaldo AA, An Y, et al. Self-reported sleep and β-amyloid deposition in community-dwelling older adults. JAMA Neurol. 2013;70(12):1537-1543.
[15] Sprecher KE, Bendlin BB, Racine AM, et al. Amyloid burden is associated with self-reported sleep in nondemented late middle-aged adults. Neurobiol Aging. 2015;36(9):2568-2576.
[16] Ju YE, McLeland JS, Toedebusch CD, et al. Sleep quality and preclinical Alzheimer disease. JAMA Neurol. 2013;70(5):587-593.
[17] Roh JH, Huang Y, Bero AW, et al. Disruption of the sleep-wake cycle and diurnal fluctuation of β-amyloid in mice with Alzheimer’s disease pathology. Sci Transl Med. 2012;4(150):150ra122.
[18] Mander BA, Marks SM, Vogel JW, et al. β-Amyloid disrupts human NREM slow waves and related hippocampus-dependent memory consolidation. Nat Neurosci. 2015;18(7):1051-1057.
[19] D iego Z. Carvalho, MD; Erik K. St Louis, MD, MS; David S. Knopman, MD; et al, Association of Excessive Daytime Sleepiness With Longitudinal β-Amyloid Accumulation in Elderly Persons Without Dementia, JAMA Neurol. Published online March 12, 2018. doi:10.1001/jamaneurol.2018.0049