หลายคนอาจเคยสงสัยว่าการดื่มนมที่มีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกส่วนที่สึกหรอของร่างกายจริงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การดื่มนมไฮแคลเซียมไม่ได้มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างกระดูกมากกว่านมธรรมดาอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน
แคลเซียมสูงไม่สำคัญเท่ากับ “ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์” ได้ทั้งหมด
การดื่มนมแคลเซียมสูงหรือนมถั่วเหลืองแคลเซียมสูง ไม่ได้พิเศษไปกว่าการดื่มนมธรรมดา เพราะถึงแม้จะมีปริมาณแคลเซียมสูงจริง แต่แคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายในการดื่มนมแต่ละครั้ง ร่างกายจะไม่ดูดซึมเอาแคลเซียมไปใช้ได้ทั้งหมด เพราะร่างกายมีกลไกเฉพาะในการดูดซึมธาตุแคลเซียม กล่าวคือหากเข้าไปมากในครั้งเดียวร่างกายจะดูดซึมน้อย แต่หากทยอยเข้าไปทีละน้อย ร่างกายจะดูดซึมมาก
นอกจากนี้แคลเซียมไม่ได้มีอยู่แต่ในนมเท่านั้น ในอาหารอย่างเต้าหู้แข็ง ถั่ว งา ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบ ปลาป่น กะปิ กุ้งแห้ง หรือผัก อย่างคะน้า กวางตุ้ง ก็มีแคลเซียมสูงเช่นกัน ยังมีวิจัยอื่นรายงานอีกว่า แคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นมจะถูกขับออกทางปัสสาวะมากกว่าแคลเซียมที่ได้จากอาหารแหล่งอื่นที่ไม่ใช่นม จึงทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมมากกว่าการกินอาหารแหล่งอื่น
อาหารที่มีแคลเซียมสูงและเหมาะสำหรับมนุษย์มากที่สุดไม่ใช่นมวัว
นมวัวมีแคลเซียมที่ร่างกายต้องการก็จริง แต่อาหารชนิดอื่นก็มีแคลเซียม เช่น ผักสีเขียวชนิดต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วฝัก (beans) ถั่วเปลือกแข็ง (nuts) และเมล็ดพืช (seeds) ซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมเช่นเดียวกัน
ส่วนในนมถั่วเหลืองให้สารอาหารคล้ายกับนมวัว ให้ปริมาณโปรตีนและแคลเซียมสูงใกล้เคียงกับนมวัว แต่ว่ามีสารไฟเตท (phytate) มาก พบมากในพืชตระกูลถั่ว ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ซึ่งรบกวนการดูดซึมธาตุแคลเซียม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี ดังนั้นหากกินนมถั่วเหลือง จึงควรกินสารเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 25 แต่ถ้าได้กินอาหารเหล่านี้เป็นประจำ ร่างกายจะผลิตน้ำย่อยไฟเตทเพิ่มขึ้นได้ และในที่สุดก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารดังกล่าวได้ตามปกติ
เรียบเรียงโดย : อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
ข้อมูลประกอบ : www.breastfeedingthai.comและ www.chaladsue.com
แคลเซียมสูงไม่สำคัญเท่ากับ “ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์” ได้ทั้งหมด
การดื่มนมแคลเซียมสูงหรือนมถั่วเหลืองแคลเซียมสูง ไม่ได้พิเศษไปกว่าการดื่มนมธรรมดา เพราะถึงแม้จะมีปริมาณแคลเซียมสูงจริง แต่แคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายในการดื่มนมแต่ละครั้ง ร่างกายจะไม่ดูดซึมเอาแคลเซียมไปใช้ได้ทั้งหมด เพราะร่างกายมีกลไกเฉพาะในการดูดซึมธาตุแคลเซียม กล่าวคือหากเข้าไปมากในครั้งเดียวร่างกายจะดูดซึมน้อย แต่หากทยอยเข้าไปทีละน้อย ร่างกายจะดูดซึมมาก
นอกจากนี้แคลเซียมไม่ได้มีอยู่แต่ในนมเท่านั้น ในอาหารอย่างเต้าหู้แข็ง ถั่ว งา ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบ ปลาป่น กะปิ กุ้งแห้ง หรือผัก อย่างคะน้า กวางตุ้ง ก็มีแคลเซียมสูงเช่นกัน ยังมีวิจัยอื่นรายงานอีกว่า แคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นมจะถูกขับออกทางปัสสาวะมากกว่าแคลเซียมที่ได้จากอาหารแหล่งอื่นที่ไม่ใช่นม จึงทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมมากกว่าการกินอาหารแหล่งอื่น
อาหารที่มีแคลเซียมสูงและเหมาะสำหรับมนุษย์มากที่สุดไม่ใช่นมวัว
นมวัวมีแคลเซียมที่ร่างกายต้องการก็จริง แต่อาหารชนิดอื่นก็มีแคลเซียม เช่น ผักสีเขียวชนิดต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วฝัก (beans) ถั่วเปลือกแข็ง (nuts) และเมล็ดพืช (seeds) ซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมเช่นเดียวกัน
ส่วนในนมถั่วเหลืองให้สารอาหารคล้ายกับนมวัว ให้ปริมาณโปรตีนและแคลเซียมสูงใกล้เคียงกับนมวัว แต่ว่ามีสารไฟเตท (phytate) มาก พบมากในพืชตระกูลถั่ว ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ซึ่งรบกวนการดูดซึมธาตุแคลเซียม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี ดังนั้นหากกินนมถั่วเหลือง จึงควรกินสารเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 25 แต่ถ้าได้กินอาหารเหล่านี้เป็นประจำ ร่างกายจะผลิตน้ำย่อยไฟเตทเพิ่มขึ้นได้ และในที่สุดก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารดังกล่าวได้ตามปกติ
เรียบเรียงโดย : อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
ข้อมูลประกอบ : www.breastfeedingthai.comและ www.chaladsue.com