กว่า 13 ปี ที่โครงการ “รักษ์ใจไทย” โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และมูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ช่วยผ่าตัดหัวใจให้ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่ด้อยโอกาส โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มากกว่า 735 ราย
วันนี้ พันธกิจหลักที่ว่าด้วยการตอบแทนสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยใช้ความสามารถศักยภาพ และทรัพยากรที่โรงพยาบาลมีอยู่เพื่อช่วยสังคมให้ดีขึ้น ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสในประเทศไทย หากยังถูกขยายออกไปช่วยเหลือกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นคนในเมือง หรือในชนบท
โครงการ “ผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ยากไร้ในประเทศเวียดนาม” เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ สมาคมช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ ณ นครโฮจิมินห์ และสายการบินไทยแอร์เอเชีย
ซึ่งได้ทำการคัดเลือกชาวเวียดนาม ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดรวม 5 คนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประเทศไทยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสในประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและศักยภาพของโรงพยาบาล
อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี รวมถึงเฉลิมฉลอง 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมทั้งในโอกาสที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ครบ 36 ปีด้วย
นี่คือความรู้สึกผู้ป่วยโรคหัวใจชาวเวียดนาม 2 คน ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 5 คน ที่ได้รับการรักษาจากโครงการฯ พวกเขา และเธอรู้สึกอย่างไร และการผ่าตัดช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตมากแค่ไหน ไปฟังพร้อม ๆ กันได้เลย
Vo Van Lien (หวอวันเหลียง) ชายหนุ่มวัย 29 ปี ที่ต้องทนทุกข์มาตลอดทั้งชีวิตกับโรคหัวใจที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เล่าว่า เขาเป็นชาวนาที่เช่าที่นาปลูกข้าวเพื่อยังชีพ โดยมีรายได้อันน้อยนิดพยุงตนเองภรรยาและลูกน้อยวัย 7 ขวบ และ 4 ขวบ
โรคหัวใจทำร้ายเขาอย่างหนัก มาตั้งแต่อายุ 17 ปี โดยมีอาการหายใจไม่ออกเหนื่อยง่ายหัวใจเต้นเร็วอย่างผิดจังหวะ และรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างหนักหน่วง ทำให้ไม่สามารถทำงาน ที่ต้องใช้เรี่ยวแรงได้อีกต่อไป
หวอวันเหลียง เข้ารับการรักษาที่ประเทศเวียดนามการผ่าตัดครั้งแรก ทำให้เขาดีขึ้น แต่ก็เพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยาม เพราะไม่กี่ปีให้หลังจากนั้น อาการของเขาก็เริ่มหนักมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งมีอาการไอเสียงแหบพร่าแต่ที่ร้ายแรงที่สุด คือไม่สามารถนอนหลับได้เหมือนกับคนปกติ จนต้องนั่งหลับแทน เพราะทุกครั้งที่ทิ้งตัวลงนอน จะทำให้หายใจไม่ออก
"ผมถือว่าตัวเองโชคดีมาก เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ หลังจากรู้ว่าผ่านการคัดเลือก และมีโอกาสเดินทางมารักษาที่ประเทศไทย" หวอวันเหลียง เล่าความรู้สึก
หลังเข้ารับการผ่าตัด หวอวันเหลียง รู้สึกมีกำลังวังชาขึ้นมาเรื่อยๆการเดินเหินเข้าสู่ภาวะปกติที่สำคัญคือเขาสามารถนอนราบได้เหมือนคนทั่วๆไป และความหวังของชีวิตก็เริ่มประกายแสงให้อีกครั้งพร้อมเป้าหมายที่จะกลับไปทำการเกษตรอีกครั้ง
Thach Thi Chi (ถัค ถิ ชี) ในวัย 33 ปี เข้ารับการรักษาผ่าตัดโรคหัวใจเช่นกัน เธอเดินทางมายังประเทศไทยพร้อมกับสามี ทั้งสองเป็นชาวนาที่ประเทศเวียดนาม มีรายได้ต่อวันเพียงแค่ 150 บาท
2 ปีก่อนเธอเหนื่อยง่ายหายใจติดขัด และมีอาการแน่นหน้าอก กระทั่งทำงานต่อไปไม่ไหวบวกกับอาการข้างต้นเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆสามีจึงตัดสินใจพาเธอไปพบหมอที่โรงพยาบาลท้องถิ่น จากการวินิจฉัยก็พบว่าเธอเป็นโรคหัวใจ และทางรอดทางเดียวที่มี คือการผ่าตัด
แต่ราคาค่ารักษาราว 1.5-2 แสนบาท ก็แพงเกินกว่าครอบครัว ถัค ถิ ชี จะรับไหว ความเครียดเริ่มเกาะกุมตัวเธอ ความคิดวิ่งวนในหัวว่าต้องยอมรับสภาพเพราะหากจะไปรักษาด้วยการผ่าตัดเธอและสามีจะหาเงินจากที่ไหน
ขณะที่สามีบอกว่า ถึงแม้จะไม่มีเงิน แต่ก็ขอไม่ยอมแพ้ เขาพยายามหาทุกวิถีทาง เพื่อให้สุขภาพคู่ชีวิตดีขึ้น กระทั่งมาเจอโครงการฯจากประเทศไทย จึงสมัครเข้าโครงการแทนภรรยาผ่านหมู่บ้านเพราะคิดว่าทางรอดเดียวที่จะเกิดขึ้นได้คือโครงการนี้เท่านั้น ท้ายสุดได้ผ่านการคัดเลือกและขึ้นเครื่องบินมาผ่าตัดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
"ผมมีความสุขมากๆภรรยาผมจะกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง" สามีของเธอ ย้ำถึงความรู้สึกหลังภรรยาได้รับการผ่าตัดหัวใจ "คุณหมอเก่งดีใจมากที่จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆขอบคุณมากๆที่ดูแลรักษาคนยากไร้อย่างเราแม้จะต่างบ้านต่างเมืองกันก็ตาม"
นายแพทย์ปรีชา เลาหคุณากร กุมารเวชแพทย์โรคหัวใจเด็กโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์แพทย์ในโครงการฯ กล่าวเสริมว่า นับเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โครงการรักษ์ใจไทยได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในประเทศเวียดนาม
“โครงการนี้ ได้ช่วยผ่าตัดหัวใจผู้ใหญ่ 4 ราย และเด็กเล็กอายุเพียง 7เดือน 1 ราย ซึ่งการผ่าตัดหัวใจโดยเฉพาะเด็กเล็กนั้นมีความยากและซับซ้อนกว่าผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ด้วยความแตกต่างของขนาดหัวใจสำหรับกรณีของเด็กเล็ก ประกอบกับมีอาการของปากแหว่งร่วมด้วย
หลังจากการผ่าตัดหัวใจแล้วเสร็จ และเด็กมีอาการดีขึ้น ทางโครงการ จึงได้ช่วยผ่าตัดตกแต่งปากแหว่งให้ เพื่อให้เด็กน้อยคนนี้ได้มีคุณภาพชีวิตที่เป็นปกติ ซึ่งทางโรงพยาบาลฯเองมีความพร้อมในด้านนี้อยู่แล้ว จึงมีความยินดีช่วยเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม ขอขอบคุณสถานกงสุลใหญ่ นครโฮจิมินห์ สมาคมช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ นครโฮจิมินห์ และสายการบินไทยแอร์เอเชียที่ร่วมกันช่วยเหลือหัวใจของผู้ป่วยโรคหัวใจ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเรา”
วันนี้ พันธกิจหลักที่ว่าด้วยการตอบแทนสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยใช้ความสามารถศักยภาพ และทรัพยากรที่โรงพยาบาลมีอยู่เพื่อช่วยสังคมให้ดีขึ้น ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสในประเทศไทย หากยังถูกขยายออกไปช่วยเหลือกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นคนในเมือง หรือในชนบท
โครงการ “ผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ยากไร้ในประเทศเวียดนาม” เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ สมาคมช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ ณ นครโฮจิมินห์ และสายการบินไทยแอร์เอเชีย
ซึ่งได้ทำการคัดเลือกชาวเวียดนาม ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดรวม 5 คนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประเทศไทยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสในประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและศักยภาพของโรงพยาบาล
อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี รวมถึงเฉลิมฉลอง 40 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมทั้งในโอกาสที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ครบ 36 ปีด้วย
นี่คือความรู้สึกผู้ป่วยโรคหัวใจชาวเวียดนาม 2 คน ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 5 คน ที่ได้รับการรักษาจากโครงการฯ พวกเขา และเธอรู้สึกอย่างไร และการผ่าตัดช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตมากแค่ไหน ไปฟังพร้อม ๆ กันได้เลย
Vo Van Lien (หวอวันเหลียง) ชายหนุ่มวัย 29 ปี ที่ต้องทนทุกข์มาตลอดทั้งชีวิตกับโรคหัวใจที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เล่าว่า เขาเป็นชาวนาที่เช่าที่นาปลูกข้าวเพื่อยังชีพ โดยมีรายได้อันน้อยนิดพยุงตนเองภรรยาและลูกน้อยวัย 7 ขวบ และ 4 ขวบ
โรคหัวใจทำร้ายเขาอย่างหนัก มาตั้งแต่อายุ 17 ปี โดยมีอาการหายใจไม่ออกเหนื่อยง่ายหัวใจเต้นเร็วอย่างผิดจังหวะ และรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างหนักหน่วง ทำให้ไม่สามารถทำงาน ที่ต้องใช้เรี่ยวแรงได้อีกต่อไป
หวอวันเหลียง เข้ารับการรักษาที่ประเทศเวียดนามการผ่าตัดครั้งแรก ทำให้เขาดีขึ้น แต่ก็เพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยาม เพราะไม่กี่ปีให้หลังจากนั้น อาการของเขาก็เริ่มหนักมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งมีอาการไอเสียงแหบพร่าแต่ที่ร้ายแรงที่สุด คือไม่สามารถนอนหลับได้เหมือนกับคนปกติ จนต้องนั่งหลับแทน เพราะทุกครั้งที่ทิ้งตัวลงนอน จะทำให้หายใจไม่ออก
"ผมถือว่าตัวเองโชคดีมาก เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ หลังจากรู้ว่าผ่านการคัดเลือก และมีโอกาสเดินทางมารักษาที่ประเทศไทย" หวอวันเหลียง เล่าความรู้สึก
หลังเข้ารับการผ่าตัด หวอวันเหลียง รู้สึกมีกำลังวังชาขึ้นมาเรื่อยๆการเดินเหินเข้าสู่ภาวะปกติที่สำคัญคือเขาสามารถนอนราบได้เหมือนคนทั่วๆไป และความหวังของชีวิตก็เริ่มประกายแสงให้อีกครั้งพร้อมเป้าหมายที่จะกลับไปทำการเกษตรอีกครั้ง
Thach Thi Chi (ถัค ถิ ชี) ในวัย 33 ปี เข้ารับการรักษาผ่าตัดโรคหัวใจเช่นกัน เธอเดินทางมายังประเทศไทยพร้อมกับสามี ทั้งสองเป็นชาวนาที่ประเทศเวียดนาม มีรายได้ต่อวันเพียงแค่ 150 บาท
2 ปีก่อนเธอเหนื่อยง่ายหายใจติดขัด และมีอาการแน่นหน้าอก กระทั่งทำงานต่อไปไม่ไหวบวกกับอาการข้างต้นเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆสามีจึงตัดสินใจพาเธอไปพบหมอที่โรงพยาบาลท้องถิ่น จากการวินิจฉัยก็พบว่าเธอเป็นโรคหัวใจ และทางรอดทางเดียวที่มี คือการผ่าตัด
แต่ราคาค่ารักษาราว 1.5-2 แสนบาท ก็แพงเกินกว่าครอบครัว ถัค ถิ ชี จะรับไหว ความเครียดเริ่มเกาะกุมตัวเธอ ความคิดวิ่งวนในหัวว่าต้องยอมรับสภาพเพราะหากจะไปรักษาด้วยการผ่าตัดเธอและสามีจะหาเงินจากที่ไหน
ขณะที่สามีบอกว่า ถึงแม้จะไม่มีเงิน แต่ก็ขอไม่ยอมแพ้ เขาพยายามหาทุกวิถีทาง เพื่อให้สุขภาพคู่ชีวิตดีขึ้น กระทั่งมาเจอโครงการฯจากประเทศไทย จึงสมัครเข้าโครงการแทนภรรยาผ่านหมู่บ้านเพราะคิดว่าทางรอดเดียวที่จะเกิดขึ้นได้คือโครงการนี้เท่านั้น ท้ายสุดได้ผ่านการคัดเลือกและขึ้นเครื่องบินมาผ่าตัดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
"ผมมีความสุขมากๆภรรยาผมจะกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง" สามีของเธอ ย้ำถึงความรู้สึกหลังภรรยาได้รับการผ่าตัดหัวใจ "คุณหมอเก่งดีใจมากที่จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆขอบคุณมากๆที่ดูแลรักษาคนยากไร้อย่างเราแม้จะต่างบ้านต่างเมืองกันก็ตาม"
นายแพทย์ปรีชา เลาหคุณากร กุมารเวชแพทย์โรคหัวใจเด็กโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์แพทย์ในโครงการฯ กล่าวเสริมว่า นับเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โครงการรักษ์ใจไทยได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในประเทศเวียดนาม
“โครงการนี้ ได้ช่วยผ่าตัดหัวใจผู้ใหญ่ 4 ราย และเด็กเล็กอายุเพียง 7เดือน 1 ราย ซึ่งการผ่าตัดหัวใจโดยเฉพาะเด็กเล็กนั้นมีความยากและซับซ้อนกว่าผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ด้วยความแตกต่างของขนาดหัวใจสำหรับกรณีของเด็กเล็ก ประกอบกับมีอาการของปากแหว่งร่วมด้วย
หลังจากการผ่าตัดหัวใจแล้วเสร็จ และเด็กมีอาการดีขึ้น ทางโครงการ จึงได้ช่วยผ่าตัดตกแต่งปากแหว่งให้ เพื่อให้เด็กน้อยคนนี้ได้มีคุณภาพชีวิตที่เป็นปกติ ซึ่งทางโรงพยาบาลฯเองมีความพร้อมในด้านนี้อยู่แล้ว จึงมีความยินดีช่วยเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม ขอขอบคุณสถานกงสุลใหญ่ นครโฮจิมินห์ สมาคมช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ นครโฮจิมินห์ และสายการบินไทยแอร์เอเชียที่ร่วมกันช่วยเหลือหัวใจของผู้ป่วยโรคหัวใจ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเรา”