อีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทย คือภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งสาเหตุนี้มาจากความผิดปกติของหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือแม้กระทั่งรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ เป็นเหตุให้หัวใจหยุดทำงานและเสียชีวิตในที่สุด แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และกลุ่มที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
สังเกตง่ายๆ หากพบอาการดังนี้
1.อาการหายใจเหนื่อย เป็นอาการสำคัญของโรคนี้ จะเห็นได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และโรคความดัน โดยอาการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการออกแรง หายใจไม่สะดวกขณะที่นอนราบกับพื้น หรือในขณะนอนหลับต้องตื่นขึ้นมา เนื่องจากรู้สึกหายใจไม่สะดวก
2.อาการอ่อนเพลีย เกิดจากเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง ทำให้ความสามารถในการทนต่อการทำกิจกรรมในแต่ละวันลดลง
3.มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำ และเกลือ เช่น บริเวณเท้าและขามีลักษณะบวม หรือมีน้ำคั่งในปอด และอวัยวะภายใน เช่น ตับ ม้าม ไต มีน้ำในช่องท้องทำให้มีอาการท้องบวม ท้องโต และแน่นอึดอัด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
1.สาเหตุที่มาจากหัวใจ เช่นหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าเกินไป
2.สาเหตุอื่นที่อาจจะมาจาก ขาดการควบคุมและดูแลน้ำ เกลือ และยา การได้รับยาที่ออกฤทธิ์ที่เป็นพิษต่อหัวใจ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไตทำงานผิดปกติ มีความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การรับประทานยาที่ไม่สม่ำเสมอ อาจรับประทานยาที่ทำให้น้ำและเกลือคั่ง หรือยาที่กดการทำงานของหัวใจ และรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มเกินไป
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว ความรุนแรงของโรค โดยต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดอาการป่วยและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้ผู้ป่วย
1. การรักษาด้วยยา เช่นยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกร็ดเลือด ยาต้านหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น โดยต้องได้รับการควบคุมดูแลจากแพทย์เท่านั้น
2. การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ชนิดฝังในร่างกาย หรือการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร ที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน
3. การผ่าตัดเครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
4. การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ (เป็นการตัดสินใจของครอบครัว)
การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
1. เรียนรู้อาการต่างๆ ของภาวะคั่งน้ำและเกลือ ได้แก่อาการน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เหนื่อยนอนราบไม่ได้ นอนไม่ได้ต้องตื่นกลายดึกขึ้นมานั่งหอบ หากมีอาการต้องปรึกษาแพทย์ทันที
2. ชั่งน้ำหนักตัวเองและทำการจดบันทึกไว้เสมอ หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าหลังหลังขับถ่ายเสร็จแล้ว และต้องชั่งก่อนกินอาหารเช้า หากพบว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1กิโลกรัม ภายใน1-2 วันแสดงว่าเกิดภาวะการคั่งน้ำและเกลือ สังเกตเท้าจะเริ่มบวมกว่าปกติ
3. เลี่ยงการรับประทานเกลือโซเดียม อาหารที่มีรสเค็ม อาหารกระป๋อง ของหมักดอง และไม่เติมเกลือ น้ำปลา หรือซอสเพิ่ม ไปในอาหาร
4. ในกรณีที่น้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หากมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง มีน้ำหนักลดลง 5 กิโลกรัม ในเวลา 6 เดือน ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละไม่มาก แต่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร
5. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของหัวใจ และยังทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
6. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ หรือผลข้างเคียงควรปรึกษาแพทย์ และหยุดรับประทาน ถ้าต้องการซื้อยามารับประทานเองต้องปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อมาทาน
7. ลดความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการออกกำลังกายที่พอเหมาะ การทำสมาธิ
8. เลี่ยงการเดินทางไกล หรือนั่งเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นต้องเดินทางไม่ควรเดินทางเพียงลำพัง และไม่ควรโดยสารโคยเครื่องบิน
9. เข้าพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด อย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com
สังเกตง่ายๆ หากพบอาการดังนี้
1.อาการหายใจเหนื่อย เป็นอาการสำคัญของโรคนี้ จะเห็นได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และโรคความดัน โดยอาการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการออกแรง หายใจไม่สะดวกขณะที่นอนราบกับพื้น หรือในขณะนอนหลับต้องตื่นขึ้นมา เนื่องจากรู้สึกหายใจไม่สะดวก
2.อาการอ่อนเพลีย เกิดจากเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง ทำให้ความสามารถในการทนต่อการทำกิจกรรมในแต่ละวันลดลง
3.มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำ และเกลือ เช่น บริเวณเท้าและขามีลักษณะบวม หรือมีน้ำคั่งในปอด และอวัยวะภายใน เช่น ตับ ม้าม ไต มีน้ำในช่องท้องทำให้มีอาการท้องบวม ท้องโต และแน่นอึดอัด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
1.สาเหตุที่มาจากหัวใจ เช่นหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าเกินไป
2.สาเหตุอื่นที่อาจจะมาจาก ขาดการควบคุมและดูแลน้ำ เกลือ และยา การได้รับยาที่ออกฤทธิ์ที่เป็นพิษต่อหัวใจ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไตทำงานผิดปกติ มีความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การรับประทานยาที่ไม่สม่ำเสมอ อาจรับประทานยาที่ทำให้น้ำและเกลือคั่ง หรือยาที่กดการทำงานของหัวใจ และรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มเกินไป
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว ความรุนแรงของโรค โดยต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดอาการป่วยและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้ผู้ป่วย
1. การรักษาด้วยยา เช่นยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกร็ดเลือด ยาต้านหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น โดยต้องได้รับการควบคุมดูแลจากแพทย์เท่านั้น
2. การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ชนิดฝังในร่างกาย หรือการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร ที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน
3. การผ่าตัดเครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
4. การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ (เป็นการตัดสินใจของครอบครัว)
การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
1. เรียนรู้อาการต่างๆ ของภาวะคั่งน้ำและเกลือ ได้แก่อาการน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เหนื่อยนอนราบไม่ได้ นอนไม่ได้ต้องตื่นกลายดึกขึ้นมานั่งหอบ หากมีอาการต้องปรึกษาแพทย์ทันที
2. ชั่งน้ำหนักตัวเองและทำการจดบันทึกไว้เสมอ หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าหลังหลังขับถ่ายเสร็จแล้ว และต้องชั่งก่อนกินอาหารเช้า หากพบว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1กิโลกรัม ภายใน1-2 วันแสดงว่าเกิดภาวะการคั่งน้ำและเกลือ สังเกตเท้าจะเริ่มบวมกว่าปกติ
3. เลี่ยงการรับประทานเกลือโซเดียม อาหารที่มีรสเค็ม อาหารกระป๋อง ของหมักดอง และไม่เติมเกลือ น้ำปลา หรือซอสเพิ่ม ไปในอาหาร
4. ในกรณีที่น้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หากมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง มีน้ำหนักลดลง 5 กิโลกรัม ในเวลา 6 เดือน ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละไม่มาก แต่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร
5. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของหัวใจ และยังทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
6. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ หรือผลข้างเคียงควรปรึกษาแพทย์ และหยุดรับประทาน ถ้าต้องการซื้อยามารับประทานเองต้องปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อมาทาน
7. ลดความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการออกกำลังกายที่พอเหมาะ การทำสมาธิ
8. เลี่ยงการเดินทางไกล หรือนั่งเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นต้องเดินทางไม่ควรเดินทางเพียงลำพัง และไม่ควรโดยสารโคยเครื่องบิน
9. เข้าพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด อย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com