ต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านบนไตทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด ซึ่ง 1 ในฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดคือ “คอร์ติซอล” หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนเครียด” เพื่อให้ร่างกายสามารถรับมือกับสภาวะความเครียดต่างๆที่เกิดขึ้นได้
นอกจากอาการเครียดเป็นประจำ ที่อาจมีสาเหตุมาจากต่อมหมวกไตทำงานลดลง จนเกิดภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ซึ่งส่งสัญญาณว่า ต่อมหมวกไตของเรากำลังจะแย่ ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
และนี่คือ 12 อาการสัญญาณที่ต้องสังเกตกันให้ดีๆ
1. รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
หากภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าเกิดขึ้น มันไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อยชั่วครั้งคราว แต่จะทำให้รู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะได้นอนหลับอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน หรือได้งีบหลับช่วงกลางวันแล้วก็ตาม
เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย หลายคนจึงหันไปพึ่งสารคาเฟอีน เช่น ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังตลอดทั้งวัน เพื่อกระตุ้นให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า โดยหารู้ไม่ว่า นั่นอาจทำให้ปัญหาแย่ลงกว่าเดิม
2. ประจำเดือนผิดปกติ
ผู้หญิงที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจส่งผลกระทบถึงฮอร์โมนเพศหญิงอื่นๆ เช่น โปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติ มีอาการเหมือนวัยใกล้หมดประจำเดือน คือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หรือมีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างรุนแรง ได้แก่ เต้านมคัด ท้องอืด ปวดท้องน้อย หงุดหงิด ขณะที่ผู้หญิงบางคนมีความต้องการทางเพศลดลง
3. ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา
ต่อมหมวกไตที่อ่อนล้า อาจนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ผิวหนังและเส้นผม บางครั้งอาจทำให้ขนร่วง เส้นผมบางและแห้งเสีย บางคนอาจมีสีผิวเปลี่ยนไป และใต้ตามีรอยดำคล้ำ รวมทั้งผิวแห้งก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยเช่นกัน
4. อยากกินอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด
บางรายที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า มักแสดงอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือบางครั้งน้ำหนักเพิ่มขึ้น
อีกหนึ่งอาการที่พบบ่อยคือ อยากกินอาหารรสเค็มจัดหรือหวานจัดมากจนผิดปกติ เนื่องจากต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ซึ่งช่วยให้ไตควบคุมการขับถ่ายของเหลวและแร่ธาตุ เมื่อต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนดังกล่าวน้อยลง ทำให้ไตขับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ โซเดียม โปตัสเซียม และแมกนีเซียม ออกทางปัสสาวะมากเกินไป ส่งผลให้เกิดความอยากทานของเค็มและหวานจัด เช่น มันฝรั่งทอด ช็อกโกแลต เป็นต้น
5. เจ็บป่วยบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ
ภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ป่วยเป็นไข้หวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยขึ้น และเมื่อเป็นแล้ว อาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติจึงจะหายป่วย ซึ่งภูมิคุ้มกันโรคที่อ่อนแอนี้ คือหนึ่งในภัยร้ายแรงที่สุดของภาวะต่อมหมวกไตล้า
6. มีปัญหาความดันโลหิต
ขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่า ภาวะต่อมหมวกไตล้า แค่ทำให้ความดันโลหิตสูงเท่านั้น แต่ความจริงคือ มันอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้เช่นกัน ที่สำคัญ คนที่มีต่อมหมวกไตล้ามักจะมีความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ส่งผลให้รู้สึกมึนงงหรือวิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเปลี่ยนท่าจากนั่งหรือนอนเพื่อยืนขึ้น
7. มีเรี่ยวแรงในตอนเย็น
หากตื่นนอนตอนเช้า และรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย ตลอดช่วงเช้าถึงบ่าย แต่พอช่วงเย็นถึงค่ำ กลับรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีแรงเรี่ยวขึ้นทันที นั่นอาจเป็นเพราะภาวะต่อมหมวกไตล้า ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานผิดปกติ
8. นอนไม่ค่อยหลับ
ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับๆตื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า และแม้ว่าจะคุณได้นอนหลับอย่างเพียงพอ แต่เมื่อตื่นนอนในตอนเช้า ก็ยังรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ดี
9. รับมือกับความเครียดได้ไม่ดีนัก
เมื่อต่อมหมวกไตล้า ระดับคอร์ติซอลจะลดต่ำลง ร่างกายจึงรับมือกับสภาวะเครียดได้ไม่ดีนัก หรือยากที่จะจัดการกับความเครียดต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ ในบางคนอาจมีอาการตกใจกลัว หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรงร่วมด้วย
10. จิตใจสับสนและขาดสมาธิ
คนที่มีปัญหาต่อมหมวกไตล้าจะมีสภาพจิตใจที่สับสนและขาดสมาธิ กล่าวคือ มีอาการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาเบื่องต้นไม่ค่อยได้ รวมถึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความจำระยะสั้น และความคิดชั่วแล่นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
11. เจ็บปวดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
หนึ่งในอาการที่แย่ที่สุดของภาวะต่อมหมวกไตล้า คือ อาการปวดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ และมีหลายคนที่รู้สึกปวดครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายอาการเริ่มแรกของไข้หวัดใหญ่
12. อาการอื่นๆ
นอกจากอาการที่พบบ่อยดังที่กล่าวมาข้างต้น ยังอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะของภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า ได้แก่ หืดหอบ ภูมิแพ้ หายใจลำบาก น้ำตาลในเลือดต่ำ ปัสสาวะบ่อย ปวดหลังช่วงล่าง นิ้วมือชา หรืออ่อนเพลียอย่างหนักหลังการออกกำลังกาย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย เบญญา)
นอกจากอาการเครียดเป็นประจำ ที่อาจมีสาเหตุมาจากต่อมหมวกไตทำงานลดลง จนเกิดภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ซึ่งส่งสัญญาณว่า ต่อมหมวกไตของเรากำลังจะแย่ ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
และนี่คือ 12 อาการสัญญาณที่ต้องสังเกตกันให้ดีๆ
1. รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
หากภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าเกิดขึ้น มันไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อยชั่วครั้งคราว แต่จะทำให้รู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะได้นอนหลับอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน หรือได้งีบหลับช่วงกลางวันแล้วก็ตาม
เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย หลายคนจึงหันไปพึ่งสารคาเฟอีน เช่น ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังตลอดทั้งวัน เพื่อกระตุ้นให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า โดยหารู้ไม่ว่า นั่นอาจทำให้ปัญหาแย่ลงกว่าเดิม
2. ประจำเดือนผิดปกติ
ผู้หญิงที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจส่งผลกระทบถึงฮอร์โมนเพศหญิงอื่นๆ เช่น โปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติ มีอาการเหมือนวัยใกล้หมดประจำเดือน คือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หรือมีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างรุนแรง ได้แก่ เต้านมคัด ท้องอืด ปวดท้องน้อย หงุดหงิด ขณะที่ผู้หญิงบางคนมีความต้องการทางเพศลดลง
3. ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา
ต่อมหมวกไตที่อ่อนล้า อาจนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ผิวหนังและเส้นผม บางครั้งอาจทำให้ขนร่วง เส้นผมบางและแห้งเสีย บางคนอาจมีสีผิวเปลี่ยนไป และใต้ตามีรอยดำคล้ำ รวมทั้งผิวแห้งก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยเช่นกัน
4. อยากกินอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด
บางรายที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า มักแสดงอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือบางครั้งน้ำหนักเพิ่มขึ้น
อีกหนึ่งอาการที่พบบ่อยคือ อยากกินอาหารรสเค็มจัดหรือหวานจัดมากจนผิดปกติ เนื่องจากต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ซึ่งช่วยให้ไตควบคุมการขับถ่ายของเหลวและแร่ธาตุ เมื่อต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนดังกล่าวน้อยลง ทำให้ไตขับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ โซเดียม โปตัสเซียม และแมกนีเซียม ออกทางปัสสาวะมากเกินไป ส่งผลให้เกิดความอยากทานของเค็มและหวานจัด เช่น มันฝรั่งทอด ช็อกโกแลต เป็นต้น
5. เจ็บป่วยบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ
ภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ป่วยเป็นไข้หวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยขึ้น และเมื่อเป็นแล้ว อาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติจึงจะหายป่วย ซึ่งภูมิคุ้มกันโรคที่อ่อนแอนี้ คือหนึ่งในภัยร้ายแรงที่สุดของภาวะต่อมหมวกไตล้า
6. มีปัญหาความดันโลหิต
ขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่า ภาวะต่อมหมวกไตล้า แค่ทำให้ความดันโลหิตสูงเท่านั้น แต่ความจริงคือ มันอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้เช่นกัน ที่สำคัญ คนที่มีต่อมหมวกไตล้ามักจะมีความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ส่งผลให้รู้สึกมึนงงหรือวิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเปลี่ยนท่าจากนั่งหรือนอนเพื่อยืนขึ้น
7. มีเรี่ยวแรงในตอนเย็น
หากตื่นนอนตอนเช้า และรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย ตลอดช่วงเช้าถึงบ่าย แต่พอช่วงเย็นถึงค่ำ กลับรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีแรงเรี่ยวขึ้นทันที นั่นอาจเป็นเพราะภาวะต่อมหมวกไตล้า ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานผิดปกติ
8. นอนไม่ค่อยหลับ
ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับๆตื่นๆ เหล่านี้ล้วนเป็นอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า และแม้ว่าจะคุณได้นอนหลับอย่างเพียงพอ แต่เมื่อตื่นนอนในตอนเช้า ก็ยังรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ดี
9. รับมือกับความเครียดได้ไม่ดีนัก
เมื่อต่อมหมวกไตล้า ระดับคอร์ติซอลจะลดต่ำลง ร่างกายจึงรับมือกับสภาวะเครียดได้ไม่ดีนัก หรือยากที่จะจัดการกับความเครียดต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ ในบางคนอาจมีอาการตกใจกลัว หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรงร่วมด้วย
10. จิตใจสับสนและขาดสมาธิ
คนที่มีปัญหาต่อมหมวกไตล้าจะมีสภาพจิตใจที่สับสนและขาดสมาธิ กล่าวคือ มีอาการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาเบื่องต้นไม่ค่อยได้ รวมถึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความจำระยะสั้น และความคิดชั่วแล่นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
11. เจ็บปวดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
หนึ่งในอาการที่แย่ที่สุดของภาวะต่อมหมวกไตล้า คือ อาการปวดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ และมีหลายคนที่รู้สึกปวดครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายอาการเริ่มแรกของไข้หวัดใหญ่
12. อาการอื่นๆ
นอกจากอาการที่พบบ่อยดังที่กล่าวมาข้างต้น ยังอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะของภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า ได้แก่ หืดหอบ ภูมิแพ้ หายใจลำบาก น้ำตาลในเลือดต่ำ ปัสสาวะบ่อย ปวดหลังช่วงล่าง นิ้วมือชา หรืออ่อนเพลียอย่างหนักหลังการออกกำลังกาย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย เบญญา)