หลายคนอาจจะเคยรู้สึกปวดฟัน ถึงขั้นปวดรุนแรง ทานยาเท่าไรก็ไม่หายสักที นับวันก็ยิ่งปวดหนักขึ้นเรื่อยๆ จนแทบจะกินอะไรไม่ได้ บางวันเป็นแล้วหยุดไป อีกวันกลับมาเป็นใหม่ เป็นอยู่บ่อยครั้ง ไปหาหมอฟันก็แล้ว อาการก็กลับมาเป็นซ้ำอีก หากใครที่เป็นเช่นนี้อยู่ ลองสังเกตดูว่าตัวเองรักษาได้ถูกโรคและถูกวิธีหรือไม่ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะมีอีกหนึ่งโรคที่ซ่อนอยู่แบบที่เราไม่คาดคิดมาก่อน
ถ้าเป็นในลักษณะข้างต้น โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) ซึ่งจะพบได้บ่อยทั้งผู้ชายและผู้หญิงในวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ ที่จะมีอาการปวดบริเวณใบหน้า รวมถึงปวดบริเวณเหงือกและฟัน จนทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด คิดว่าเป็นอาการปวดฟัน ซึ่งตำแหน่งที่ว่านี้เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทใบหน้าคู่ที่ 5 (จากเส้นประสาทที่ควบคุมสมองของคนเรามี 12 คู่) จะทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยวอาหาร และรับความรู้สึกบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส รู้สึกเมื่อมีสิ่งรบกวน ทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ อาจส่งผลให้เกิดอารมณ์ผิดปกติตามมาได้
สาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทเกิดความผิดปกติ
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการที่เส้นเลือดที่อยู่ใกล้เคียงกับเส้นประสาทมากเกินไป เกิดการกระแทกหรือถูกกดทับเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทใบหน้าผิดปกติและยังไวต่อการถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่า หรือเกิดการอักเสบขึ้น
โดยในผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดขึ้นที่บริเวณใบหน้า มีอาการปวดแปลบคล้ายไฟช็อตที่ใบหน้า ในบางรายอาจคล้ายกับการปวดฟัน ปวดเหงือก และอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย แต่จะไม่เกิดขึ้นซ้ำในวันเดียวกัน
แนวทางการรักษานั้น ทำได้ดังนี้
1.รักษาโดยการใช้ยา ในช่วงแรกเมื่อทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นเส้นประสาทใบหน้าเกิดผิดปกติ ควรจะขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาญ ในการหาวิธีรักษา เบื้องต้นอาจจะต้องรับยากันชักไปกิน เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์ก็อาจจะพิจารณาแนวทางในการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ต่อไป
2.รักษาด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะทำการผ่าตัด เพื่อแยกเส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาทออก วิธีนี้เป็นการช่วยผู้ป่วยได้ถึง 80-85% ให้หายขาดได้ แต่ในเรื่องความเสี่ยงก็มีคล้ายๆ กับการผ่าตัดทั่วไป
3.การรักษาด้วยการฉายรังสี เพื่อทำลายเส้นประสาทให้เกิดการชาบริเวณใบหน้าให้แทนอาการปวด แต่การใช้วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วย มีอาการชาบริเวณใบหน้าอยู่ตลอดเวลา หรือในบางรายอาจมีผลข้างเคียง ทั้งปวด ทั้งชา
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com
ถ้าเป็นในลักษณะข้างต้น โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) ซึ่งจะพบได้บ่อยทั้งผู้ชายและผู้หญิงในวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ ที่จะมีอาการปวดบริเวณใบหน้า รวมถึงปวดบริเวณเหงือกและฟัน จนทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด คิดว่าเป็นอาการปวดฟัน ซึ่งตำแหน่งที่ว่านี้เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทใบหน้าคู่ที่ 5 (จากเส้นประสาทที่ควบคุมสมองของคนเรามี 12 คู่) จะทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยวอาหาร และรับความรู้สึกบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส รู้สึกเมื่อมีสิ่งรบกวน ทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ อาจส่งผลให้เกิดอารมณ์ผิดปกติตามมาได้
สาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทเกิดความผิดปกติ
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการที่เส้นเลือดที่อยู่ใกล้เคียงกับเส้นประสาทมากเกินไป เกิดการกระแทกหรือถูกกดทับเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทใบหน้าผิดปกติและยังไวต่อการถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่า หรือเกิดการอักเสบขึ้น
โดยในผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดขึ้นที่บริเวณใบหน้า มีอาการปวดแปลบคล้ายไฟช็อตที่ใบหน้า ในบางรายอาจคล้ายกับการปวดฟัน ปวดเหงือก และอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย แต่จะไม่เกิดขึ้นซ้ำในวันเดียวกัน
แนวทางการรักษานั้น ทำได้ดังนี้
1.รักษาโดยการใช้ยา ในช่วงแรกเมื่อทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นเส้นประสาทใบหน้าเกิดผิดปกติ ควรจะขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาญ ในการหาวิธีรักษา เบื้องต้นอาจจะต้องรับยากันชักไปกิน เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์ก็อาจจะพิจารณาแนวทางในการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ต่อไป
2.รักษาด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะทำการผ่าตัด เพื่อแยกเส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาทออก วิธีนี้เป็นการช่วยผู้ป่วยได้ถึง 80-85% ให้หายขาดได้ แต่ในเรื่องความเสี่ยงก็มีคล้ายๆ กับการผ่าตัดทั่วไป
3.การรักษาด้วยการฉายรังสี เพื่อทำลายเส้นประสาทให้เกิดการชาบริเวณใบหน้าให้แทนอาการปวด แต่การใช้วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วย มีอาการชาบริเวณใบหน้าอยู่ตลอดเวลา หรือในบางรายอาจมีผลข้างเคียง ทั้งปวด ทั้งชา
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com