ไวรัสตับอักเสบบี หลายคนคงเคยได้ยินมาจากที่ไหนสักแห่ง แต่อย่าพึ่งปล่อยให้มันผ่านไป เพราะอนุภาพการทำรายล้างของโรคนี้มีมากกว่าที่จะรักษาให้หายได้ทันประเทศไทยเริ่มจะมีการระบาดขึ้นเรื่อยๆ จนแพทย์ไม่สามารถละเลยโรคนี้ไปได้ เพราะไวรัสตับอักเสบบีสามารถเกิดกับใครก็ได้ โดยที่คุณไม่รู้ตัว
ไวรัสตับอักเสบบี คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี สามารถติดต่อได้ทางน้ำเชื้อ สารคัดหลั่ง น้ำเหลือง ไวรัสตัวนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการอักเสบของตับและทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นอาการเรื้อรัง จะทำให้เกิดพังผืด ตับแข็ง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งตับ ที่คนไทยส่วนใหญ่จบชีวิตลงด้วยโรคนี้อย่างง่ายดาย เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่จะแสดงเมื่ออาการรุนแรง และเสียชีวิตในที่สุด
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีนี้สามารถแบ่งอาการ ได้ 2 ระยะ คือ
1. ระยะเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ 1-4 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ จะมีอาการไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดข้อ ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงเพราะเซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดภาวะตับวายและเสียชีวิตได้ หากภายใน 1-4 สัปดาห์ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมดจะทำให้เกิดอาการเรื้อรัง
2. ระยะเรื้อรัง แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่เป็นพาหะ ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ แต่จะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ดังนั้นก่อนแต่งงาน หรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสพบีก่อน และผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง คือผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสในร้างกาย เมื่อตรวจเลือดจะพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะนี้จะพบได้บ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด
นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้โดย
1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3. การใช้เข็มสักตามตัว ใช้สีในการสักร่วมกัน แม้กระทั่งการเจาะหู
4. การใช้แปลงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
5. ติดเชื้อจากแม่ที่มีเชื้อ ลูกจะมีโอกาสได้เชื้อ 90 %
6. การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด หรือสารคัดหลั่ง
แนวทางการป้องกันการติดเชื้อ แบ่งได้ 2 ทาง คือ
1. ได้รับวัคซีนป้องกัน คือช่วงเด็กแรกเกิดควรได้รับวัคซีนมากที่สุด เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ ส่วนผู้ใหญ่หากต้องการวัคซีนควรจะเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาไวรัส แต่ถ้าผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว หรือมีภูมิต้านทานอยู่แล้วก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม
2. ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะการติดเชื้อ หาค่าการทำงานของตับ หาไวรัสตับอักเสบบี ก่อนจะได้รัควัคซีน
การรับมือเมื่อพบไวรัสตับอักเสบแบบเฉียบพลัน ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง ขณะที่มีเชื้ออยู่ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ซื้อยามากินเอง
2. เข้ารับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่า ตับมีการอักเสบมากหรือน้อย
3. เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง
4. งดบริจาคเลือด
5. ไม่ควรดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
6. พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน
8. เลือกกินอาหารที่พอเหมาะและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก แผละผลไม้ ไม่ควรกินอาหารกระป๋อง ของหมักดอง อาหารที่ไหม้เกรียม ของเค็ม เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ตับทำหน้าที่บกพร่อง
9. ควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อหาระดับสารที่บ่งบอกถึงมะเร็งตับ อย่างนี้ปีละ 1 ครั้ง
10. เมื่อต้องการผ่าตัด หรือทำฟัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และหญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร ความฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมง
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com
ไวรัสตับอักเสบบี คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี สามารถติดต่อได้ทางน้ำเชื้อ สารคัดหลั่ง น้ำเหลือง ไวรัสตัวนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการอักเสบของตับและทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นอาการเรื้อรัง จะทำให้เกิดพังผืด ตับแข็ง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งตับ ที่คนไทยส่วนใหญ่จบชีวิตลงด้วยโรคนี้อย่างง่ายดาย เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่จะแสดงเมื่ออาการรุนแรง และเสียชีวิตในที่สุด
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีนี้สามารถแบ่งอาการ ได้ 2 ระยะ คือ
1. ระยะเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ 1-4 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ จะมีอาการไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดข้อ ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงเพราะเซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดภาวะตับวายและเสียชีวิตได้ หากภายใน 1-4 สัปดาห์ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมดจะทำให้เกิดอาการเรื้อรัง
2. ระยะเรื้อรัง แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่เป็นพาหะ ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ แต่จะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ดังนั้นก่อนแต่งงาน หรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสพบีก่อน และผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง คือผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสในร้างกาย เมื่อตรวจเลือดจะพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะนี้จะพบได้บ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด
นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้โดย
1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3. การใช้เข็มสักตามตัว ใช้สีในการสักร่วมกัน แม้กระทั่งการเจาะหู
4. การใช้แปลงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
5. ติดเชื้อจากแม่ที่มีเชื้อ ลูกจะมีโอกาสได้เชื้อ 90 %
6. การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด หรือสารคัดหลั่ง
แนวทางการป้องกันการติดเชื้อ แบ่งได้ 2 ทาง คือ
1. ได้รับวัคซีนป้องกัน คือช่วงเด็กแรกเกิดควรได้รับวัคซีนมากที่สุด เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ ส่วนผู้ใหญ่หากต้องการวัคซีนควรจะเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาไวรัส แต่ถ้าผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว หรือมีภูมิต้านทานอยู่แล้วก็ไม่ต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม
2. ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะการติดเชื้อ หาค่าการทำงานของตับ หาไวรัสตับอักเสบบี ก่อนจะได้รัควัคซีน
การรับมือเมื่อพบไวรัสตับอักเสบแบบเฉียบพลัน ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง ขณะที่มีเชื้ออยู่ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ซื้อยามากินเอง
2. เข้ารับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่า ตับมีการอักเสบมากหรือน้อย
3. เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง
4. งดบริจาคเลือด
5. ไม่ควรดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
6. พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน
8. เลือกกินอาหารที่พอเหมาะและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก แผละผลไม้ ไม่ควรกินอาหารกระป๋อง ของหมักดอง อาหารที่ไหม้เกรียม ของเค็ม เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ตับทำหน้าที่บกพร่อง
9. ควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อหาระดับสารที่บ่งบอกถึงมะเร็งตับ อย่างนี้ปีละ 1 ครั้ง
10. เมื่อต้องการผ่าตัด หรือทำฟัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และหญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร ความฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมง
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
https://www.bumrungrad.com