xs
xsm
sm
md
lg

ชอบกินดึกๆ ต้องเลิก! เพราะเสี่ยงหลายโรค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ใครก็ตามที่ชอบรับประทานอาหารไม่ว่าจะนิดเดียวหรือเป็นมื้อเลยก็ตาม ‘ในช่วงเวลากลางคืนดึกดื่น’ นั้น รู้หรือไม่ว่า คุณอาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรค Night eating Syndrome หรือ โรคอาการที่คล้ายอาหารกินผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานในช่วงเวลาดังกล่าว

ถึงแม้ว่า การรับประทานอาหารนั้น จะเป็นการช่วยซ่อมแซมการสึกหรอของร่างกายก็ตามที แต่หากเลือกรับประทานในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ควรปราศจากการทำกิจกรรมต่างๆแล้ว นอกจากจะได้อาจจะได้ความอ้วนอยู่แล้ว อาจจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน

อะไรคือ Night eating Syndrome

อาการนี้ คือ อาการที่คล้ายอาการกินผิดปกติ (Eating Disorder) แต่ก็ไม่ใช่เลยซะทีเดียว ซึ่งผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะมีความรู้สึกหิวและอยากกินในช่วงเวลากลางคืน แม้จะนอนไปแล้วแต่ก็จะมีการสะดุ้งตื่นมากินอาหารหรือขนมในช่วงตอนดึก อย่างบางรายอาจจะสะดุ้งตื่นมาเพื่อกินถึง 3-4 รอบ เพราะรู้สึกว่าถ้าไม่กินมื้อดึกก็อาจนอนไม่หลับ ทั้งๆ ที่ตอนเช้าหรือระหว่างวันจะไม่ค่อยรู้สึกหิวหรืออยากกินอาหารสักเท่าไหร่

โดยโรคดังกล่าว ถือว่าไม่ได้เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ แต่มันถูกค้นพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 โดย Albert Stunkard นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่พบว่าคนไข้ของตัวเองนั้นมีน้ำหนักตัวเกินเป็นผิดปกติ มักจะมีอาการไม่รู้สึกหิวในช่วงเช้าและระหว่างวัน แต่จะมีพฤติกรรมที่รับประทานอาหารในช่วงเย็น จนลงเอยด้วยอาการอ้วนในที่สุด

สาเหตุและอาการของโรค

จากหลักฐานทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยโรคดังกล่าว ส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับผู้ป่วยโรคจิตเวช มีปัญหาเสพติดอะไรบางอย่าง และจะทำจนเคยชินกับพฤติกรรมนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุคือ มาจากความผิดปกติของฮอร์โมน ระดับเมลาโทนิน และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียด โรคนอนไม่หลับ ก็มีโอกาสจะเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน

สำหรับสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้มีดังนี้

-ตื่นเช้ามาไม่ค่อยรู้สึกหิว แต่จะเริ่มรับประทานก็ตอนมื้อเย็นเลย
-มีบ่อยครั้งที่ไม่กินมื้อเช้า และระหว่างวันก็กินได้น้อยมาก
-นอนไม่ค่อยหลับ มักจะสะดุ้งตื่นมากินอาหารมากกว่า 3 ครั้งต่อคืน
-มีความคิดว่า ถ้าไม่กินมื้อดึกอาจจะนอนไม่หลับ ซึ่งถ้าได้ทานแล้ว อาจจะนอนหลับสบาย
-เคยละเมอมากินอาหารตอนกลางดึก
-รู้สึกว่าการทานอาหารมื้อดึกนั้น สามารถคลายความเครียดได้

ส่วนอาการของโรคที่ตามมา หากเกิดภาวะโรคดังกล่าวมีดังนี้

-ทานมื้อดึกบ่อยๆ แล้วเข้านอนอาจทำให้เกิดโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือโรคกรดไหลย้อนได้
-หากมีการทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา จะนำมาเกิดการสุ่มเสี่ยงต่อโรคกระเพาะได้
-การสะดุ้งตื่นมากินอาหารในตอนกลางคืนบ่อยๆ อาจจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ และลดประสิทธิภาพในการทำงานของสมองและร่างกายระยะยาวด้วย
-และจากภาวะที่น้ำหนักเกิน ก็นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

วิธีการรักษา

1.ปรับพฤติกรรมการกินใหม่ทั้งหมด

โดยในขั้นแรก อาจจะให้นักโภชนาการมาดูแลพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วย โดยจัดตารางการกินให้มาอยู่ในช่วงเวลาปกติ

2.ลดความเครียด

ในกรณีที่มีการวินิจฉัยแล้วว่า ผู้ป่วยมีความเครียดจนนอนไม่หลับ แล้วต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อคลายเครียดนั้น แพทย์อาจจะเปลี่ยนความสนใจไปที่การรักษาโรคเครียดด้วยยา หรือแนะนำวิธีแก้โรคนอนไม่หลับให้ผู้ป่วยแทน

3.การรักษาด้วยวิธีจิตวิทยา
 
จิตแพทย์จะทำการรักษาอาการด้วยวิธี CBT หรือ การบำบัดด้วยการรับรู้และพฤติกรรม โดยให้ผู้ป่วยเผชิญกับสาเหตุของโรคด้วยตัวเอง ประมาณว่า ถ้ากินมื้อดึกเพราะนอนไม่หลับ ก็จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนมาเป็นแก้ปัญหาเป็นโรคนอนไม่หลับแทน และไม่ใช้วิธีการกินมื้อดึกเป็นการแก้ปัญหา

4.รักษาด้วยฮอร์โมน

หากผู้ป่วยบางรายมีปัญหาในเรื่องความผิดปกติในเรื่องฮอร์โมน ทางแพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยตัวย หรือวิธีปรับฮอร์โมนให้คนไข้กลับมาเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

กำลังโหลดความคิดเห็น