สธ.เผย คนไทยฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า ติดอันดับ 3 ของโลก รองจากญี่ปุ่นและสวีเดน ขณะที่ WHO ระบุว่า อีก 4 ปีข้างหน้า วิกฤติด้านจิตเวชจะพุ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของโรคทั้งหมด แพทย์แนะวิธีรับมือโรคซึมเศร้า ก่อนคิดสั้นฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้ากลายเป็นสาเหตุคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยิ่งขึ้นทุกวัน โดยข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2557 คนไทยฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า ประมาณปีละ 4,000 คน เฉลี่ยเดือนละ 300 กว่าคน ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอันดับ 1 คือประเทศญี่ปุ่น และอันดับ 2 คือสวีเดน นับเป็นประเด็นที่ควรตื่นตัวตระหนักรู้ และนี่ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตที่เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2563 โรคซึมเศร้า จะมีผู้ป่วยมากเป็นอันดับสอง
ทั้งนี้ จากผลสำรวจ ยังพบอีกว่า เพศชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิง สิ่งกระตุ้นหลักๆ คือ การดื่มสุรา ปัญหาสุขภาพ มีทั้งสุขภาพจิตที่เป็นโรคซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังบางราย เกิดความคิดไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน ทำให้คิดสั้น และที่พบมาก คือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เกิดการทะเลาะกันภายในครอบครัว ผิดหวังเรื่องความรัก ขาดการดูแลเอาใจใส่
ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลว่า คนที่คิดฆ่าตัวตายมักจะเกิดอารมณ์ซึมเศร้านำมาก่อน อาการอาจมีน้อยหรือมากต่างกันไป ซึ่งมีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้
1.อารมณ์ไม่สนุกสนานเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ หงุดหงิด และเศร้า
2.หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
3.เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก บางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
4.นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วนอนต่อไม่ได้บางคนนอนมากขึ้น เนื่องจากไม่อยากทำอะไร พยายามนอนแต่ก็ไม่หลับ
5.เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
6.ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า ไม่มั่นใจตนเอง ไม่กล้าคิด ลังเลตัดสินใจลำบาก
7.สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลืมง่าย ความจำลดลง
8.คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
9.คิดอยากตายและพยายามฆ่าตัวตาย
ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ระบุว่า เหตุผลส่วนหนึ่งซึ่งทำให้อาการของโรคซึมเศร้าบานปลายจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ก็คือการกลัวที่จะถามเรื่องการฆ่าตัวตาย
“ความจริงแล้ว การถามเรื่องการฆ่าตัวตายจะช่วยให้ผู้ที่กำลังคิดจะทำ ได้เปิดเผยเรื่องอารมณ์ซึมเศร้าและเรื่องการคิดอยากตาย เมื่อเปิดเผยแล้ว ความรู้สึกจะดีขึ้นจนไม่ฆ่าตัวตาย สำหรับคนที่ไม่ได้คิดเรื่องนี้ ไม่เป็นการกระตุ้นให้คิดหรือกระทำแต่อย่างใด การสอบถามกันเรื่องนี้ยังสื่อให้ผู้นั้นเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ ที่มีคนสนใจเป็นห่วงใยเอื้ออาทร เกิดความรู้สึกดีต่อสังคมและการมีชีวิตอยู่ต่อไป และเมื่อทราบว่าใครกำลังคิดทำร้ายตัวเองหรือซึมเศร้ามากๆ ควรพยายามชักจูงให้เขาได้มาพบจิตแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาได้ผลดีมาก บางคนหายเป็นปกติกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม อารมณ์ซึมเศร้ามากๆ มักเกิดจากโรคซึมเศร้า ที่เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งซึ่งรักษาให้หายได้ด้วยยาและการพูดคุยกัน ไม่ใช่โรคจิตโรคประสาทที่น่ากลัวแต่ประการใด”
การรักษาโรคซึมเศร้า เป็นการแก้ไขสาเหตุของการฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ เรารู้สาเหตุแล้วว่าเกิดจากการทำงานแปรปรวนของสารสื่อนำประสาทที่มีผลต่ออารมณ์ ยารักษาโรคซึมเศร้าช่วยให้การทำงานของสารสื่อนำประสาทนั้นกลับมาเป็นปกติ ผู้ป่วยร้อยละ 80 รักษาให้หายได้ เมื่อได้รับยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจ
หากเราสงสัยว่าคนใกล้ชิดมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า เช่น ซึมเฉย เงียบ ไม่พูดไม่จา เฉื่อยชา เชื่องช้า ทำอะไรผิดไปจากเดิมมาก ๆ การเรียนหรือการทำงานเสียไป บางคนอาจใช้คำพูด เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม” “ฝากดูแลลูกด้วยนะ” หรือดำเนินการบางอย่างที่น่าสงสัยว่าจะไม่อยากมีชีวิตต่อไป เช่น ทำพินัยกรรมโอนทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน เราควรให้ความห่วงใยสอบถามถึงความรู้สึก ความคิดและอาการของโรคซึมเศร้า เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ทำให้คนที่กำลังซึมเศร้ารู้สึกว่ามีคนห่วงใย มีเพื่อน มีที่พึ่ง ช่วยให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นและไม่คิดอยากฆ่าตัวตาย
“ถ้าพบว่าผู้ใดมีอาการของโรคซึมเศร้าข้างต้นเกิน 5 ข้อ ควรแนะนำให้ผู้นั้นมาพบจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจและช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว การรักษาโรคซึมเศร้าได้เร็วจะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้” ผศ.นพ.พนม ชี้แนะ
โรคซึมเศร้ากลายเป็นสาเหตุคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยิ่งขึ้นทุกวัน โดยข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2557 คนไทยฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า ประมาณปีละ 4,000 คน เฉลี่ยเดือนละ 300 กว่าคน ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอันดับ 1 คือประเทศญี่ปุ่น และอันดับ 2 คือสวีเดน นับเป็นประเด็นที่ควรตื่นตัวตระหนักรู้ และนี่ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตที่เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2563 โรคซึมเศร้า จะมีผู้ป่วยมากเป็นอันดับสอง
ทั้งนี้ จากผลสำรวจ ยังพบอีกว่า เพศชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิง สิ่งกระตุ้นหลักๆ คือ การดื่มสุรา ปัญหาสุขภาพ มีทั้งสุขภาพจิตที่เป็นโรคซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังบางราย เกิดความคิดไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน ทำให้คิดสั้น และที่พบมาก คือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เกิดการทะเลาะกันภายในครอบครัว ผิดหวังเรื่องความรัก ขาดการดูแลเอาใจใส่
ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลว่า คนที่คิดฆ่าตัวตายมักจะเกิดอารมณ์ซึมเศร้านำมาก่อน อาการอาจมีน้อยหรือมากต่างกันไป ซึ่งมีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้
1.อารมณ์ไม่สนุกสนานเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ หงุดหงิด และเศร้า
2.หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
3.เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก บางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
4.นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วนอนต่อไม่ได้บางคนนอนมากขึ้น เนื่องจากไม่อยากทำอะไร พยายามนอนแต่ก็ไม่หลับ
5.เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
6.ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า ไม่มั่นใจตนเอง ไม่กล้าคิด ลังเลตัดสินใจลำบาก
7.สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลืมง่าย ความจำลดลง
8.คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
9.คิดอยากตายและพยายามฆ่าตัวตาย
ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ระบุว่า เหตุผลส่วนหนึ่งซึ่งทำให้อาการของโรคซึมเศร้าบานปลายจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ก็คือการกลัวที่จะถามเรื่องการฆ่าตัวตาย
“ความจริงแล้ว การถามเรื่องการฆ่าตัวตายจะช่วยให้ผู้ที่กำลังคิดจะทำ ได้เปิดเผยเรื่องอารมณ์ซึมเศร้าและเรื่องการคิดอยากตาย เมื่อเปิดเผยแล้ว ความรู้สึกจะดีขึ้นจนไม่ฆ่าตัวตาย สำหรับคนที่ไม่ได้คิดเรื่องนี้ ไม่เป็นการกระตุ้นให้คิดหรือกระทำแต่อย่างใด การสอบถามกันเรื่องนี้ยังสื่อให้ผู้นั้นเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ ที่มีคนสนใจเป็นห่วงใยเอื้ออาทร เกิดความรู้สึกดีต่อสังคมและการมีชีวิตอยู่ต่อไป และเมื่อทราบว่าใครกำลังคิดทำร้ายตัวเองหรือซึมเศร้ามากๆ ควรพยายามชักจูงให้เขาได้มาพบจิตแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาได้ผลดีมาก บางคนหายเป็นปกติกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม อารมณ์ซึมเศร้ามากๆ มักเกิดจากโรคซึมเศร้า ที่เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งซึ่งรักษาให้หายได้ด้วยยาและการพูดคุยกัน ไม่ใช่โรคจิตโรคประสาทที่น่ากลัวแต่ประการใด”
การรักษาโรคซึมเศร้า เป็นการแก้ไขสาเหตุของการฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ เรารู้สาเหตุแล้วว่าเกิดจากการทำงานแปรปรวนของสารสื่อนำประสาทที่มีผลต่ออารมณ์ ยารักษาโรคซึมเศร้าช่วยให้การทำงานของสารสื่อนำประสาทนั้นกลับมาเป็นปกติ ผู้ป่วยร้อยละ 80 รักษาให้หายได้ เมื่อได้รับยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจ
หากเราสงสัยว่าคนใกล้ชิดมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า เช่น ซึมเฉย เงียบ ไม่พูดไม่จา เฉื่อยชา เชื่องช้า ทำอะไรผิดไปจากเดิมมาก ๆ การเรียนหรือการทำงานเสียไป บางคนอาจใช้คำพูด เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม” “ฝากดูแลลูกด้วยนะ” หรือดำเนินการบางอย่างที่น่าสงสัยว่าจะไม่อยากมีชีวิตต่อไป เช่น ทำพินัยกรรมโอนทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน เราควรให้ความห่วงใยสอบถามถึงความรู้สึก ความคิดและอาการของโรคซึมเศร้า เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ทำให้คนที่กำลังซึมเศร้ารู้สึกว่ามีคนห่วงใย มีเพื่อน มีที่พึ่ง ช่วยให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นและไม่คิดอยากฆ่าตัวตาย
“ถ้าพบว่าผู้ใดมีอาการของโรคซึมเศร้าข้างต้นเกิน 5 ข้อ ควรแนะนำให้ผู้นั้นมาพบจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจและช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว การรักษาโรคซึมเศร้าได้เร็วจะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้” ผศ.นพ.พนม ชี้แนะ