ปฏิเสธไม่ได้ว่า วันนี้คนไทยทั้งในกลุ่มที่มีอายุน้อยๆ และกลุ่มผู้สูงอายุ กำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกปลิ้น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ฯลฯ อันมีสาเหตุมาจากการยกของหนัก เล่นกีฬาที่มีการกระแทกเยอะๆ หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย ที่สำคัญแนวโน้มการเจ็บป่วยจะเพิ่มมากขึ้น
นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยอาการเบื้องต้นว่า สำหรับผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท จะมีอาการได้ 3 รูปแบบ คือ อาการปวด อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรืออาการชา ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วจะหายได้เอง 80-90% ซึ่งก็เปรียบเหมือนการมีแผล เมื่อแผลสมานก็หาย
“แต่อีกประมาณ 10% ที่มีข้อบ่งชี้เป็นต้นว่า มีอาการอ่อนแรง ยกเท้าไม่ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ทุพพลภาพ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นแล้วไม่หายปวด ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือปวดแล้วปวดอีก ลุกจากเตียงไม่ได้ ให้ยาแล้วยังไม่หาย เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และหลีกเลี่ยงความสูญเสีย สำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังรุนแรงกลุ่มนี้ ต้องได้รับการผ่าตัดภายใน 1-2 อาทิตย์”
สำหรับแนวทางการรักษา แพทย์จะเน้นการรับประทานยา และการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง หากอาการยังไม่ทุเลา ก็อาจฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบ แต่หากยังไม่ได้ผล หรือมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เจ็บปวดเรื้อรังเกิน 3 เดือน ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระได้ แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดขั้นตอนการรักษาขั้นสุดท้าย
ในอดีตมีเพียงวิธีการผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ที่กลางหลัง ต้องเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกเป็นบริเวณกว้างเพื่อให้ทำการผ่าตัดได้สะดวก การเลาะกล้ามเนื้อนี่เองเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดจากการผ่าตัดมาก และทำให้ฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้ช้า อย่างไรก็ดี ประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา นพ.เซบาสเตียน รุทเทน แห่งศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลังและการบำบัดความปวดโรงพยาบาลเซนต์แอนนา ประเทศเยอรมนี ได้บุกเบิกเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปขึ้นมา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา
วิธีการนี้ แพทย์จะเปิดแผลเล็กๆ ที่บริเวณหลัง แล้วสอดกล้องเอ็นโดสโคปเข้าไปถึงจุดที่ทำการรักษา เช่น กรณีผ่าตัดหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หลังจากที่ผู้ป่วยดมยาสลบแล้ว แพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคปขนาด 7.9 มิลลิเมตรเข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับอยู่โดยตรง โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทอย่างชัดเจน สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อและเส้นเอ็นก็ตาม
“ข้อดีของเทคนิคนี้คือ ผู้ป่วยสามารถใช้เวลาฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดได้เร็ว ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลนานๆ และกลับไปอยู่กับครอบครัวได้รวดเร็ว อย่างไรก็ดี เทคนิคไม่สามารถใช้รักษาโรคกระดูกสันหลังได้ทุกประเภท เป็นเทคนิคที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนที่ค่อนข้างมาก เพื่อให้มีความชำนาญ และได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย”
ทั้งนี้ ในทางการแพทย์ การจะพิสูจน์ว่าเป็นเทคนิคมาตรฐานต้องผ่านเวลา 20-30 ปี แพทย์ส่วนใหญ่ต้องสามารถใช้เทคนิคนี้ในการรักษา และเมื่อรักษาแล้วต้องได้ผลใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันยังไปไม่ถึงจุดนั้น ดังนั้น ในขั้นแรกต้องทำให้แพทย์สามารถใช้เทคนิคผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปให้ได้มากๆ เสียก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และต้องมีการจัดฝึกอบรมเรื่อยๆ มีศัลยแพทย์จากหลายประเทศในเอเชียเข้าร่วมรับการอบรม เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมทั้งไทย
นพ.วีระพันธ์ กล่าวอีกว่าโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมในภูมิภาคเอเชีย เพราะตนได้เห็นเทคนิคนี้จาก นพ.รุทเทน เมื่อ 10 กว่าปีก่อนและได้นำกลับมาใช้ทำการรักษาคนไข้ในไทย ขณะเดียวกัน นพ.รุทเทน ก็ต้องการพาร์ทเนอร์เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในเอเชีย ประกอบกับนโยบายของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เองที่สนับสนุนการขยายองค์ความรู้ด้านการศึกษาและวิจัย เพื่อพัฒนาไปสู่ Gold Standard ในอนาคต มันอาจจะเป็นเทคนิคมาตรฐานในอีก 10-20 ปี ซึ่งหาก 70-80% ของโรงพยาบาลใหญ่ๆ สามารถทำได้ คนที่ได้ประโยชน์ก็คือคนไข้นั่นเอง
นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยอาการเบื้องต้นว่า สำหรับผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท จะมีอาการได้ 3 รูปแบบ คือ อาการปวด อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรืออาการชา ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วจะหายได้เอง 80-90% ซึ่งก็เปรียบเหมือนการมีแผล เมื่อแผลสมานก็หาย
“แต่อีกประมาณ 10% ที่มีข้อบ่งชี้เป็นต้นว่า มีอาการอ่อนแรง ยกเท้าไม่ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ทุพพลภาพ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นแล้วไม่หายปวด ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือปวดแล้วปวดอีก ลุกจากเตียงไม่ได้ ให้ยาแล้วยังไม่หาย เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และหลีกเลี่ยงความสูญเสีย สำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังรุนแรงกลุ่มนี้ ต้องได้รับการผ่าตัดภายใน 1-2 อาทิตย์”
สำหรับแนวทางการรักษา แพทย์จะเน้นการรับประทานยา และการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง หากอาการยังไม่ทุเลา ก็อาจฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบ แต่หากยังไม่ได้ผล หรือมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เจ็บปวดเรื้อรังเกิน 3 เดือน ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระได้ แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดขั้นตอนการรักษาขั้นสุดท้าย
ในอดีตมีเพียงวิธีการผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ที่กลางหลัง ต้องเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกเป็นบริเวณกว้างเพื่อให้ทำการผ่าตัดได้สะดวก การเลาะกล้ามเนื้อนี่เองเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดจากการผ่าตัดมาก และทำให้ฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้ช้า อย่างไรก็ดี ประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา นพ.เซบาสเตียน รุทเทน แห่งศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลังและการบำบัดความปวดโรงพยาบาลเซนต์แอนนา ประเทศเยอรมนี ได้บุกเบิกเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปขึ้นมา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา
วิธีการนี้ แพทย์จะเปิดแผลเล็กๆ ที่บริเวณหลัง แล้วสอดกล้องเอ็นโดสโคปเข้าไปถึงจุดที่ทำการรักษา เช่น กรณีผ่าตัดหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หลังจากที่ผู้ป่วยดมยาสลบแล้ว แพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคปขนาด 7.9 มิลลิเมตรเข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับอยู่โดยตรง โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทอย่างชัดเจน สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อและเส้นเอ็นก็ตาม
“ข้อดีของเทคนิคนี้คือ ผู้ป่วยสามารถใช้เวลาฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดได้เร็ว ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลนานๆ และกลับไปอยู่กับครอบครัวได้รวดเร็ว อย่างไรก็ดี เทคนิคไม่สามารถใช้รักษาโรคกระดูกสันหลังได้ทุกประเภท เป็นเทคนิคที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนที่ค่อนข้างมาก เพื่อให้มีความชำนาญ และได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย”
ทั้งนี้ ในทางการแพทย์ การจะพิสูจน์ว่าเป็นเทคนิคมาตรฐานต้องผ่านเวลา 20-30 ปี แพทย์ส่วนใหญ่ต้องสามารถใช้เทคนิคนี้ในการรักษา และเมื่อรักษาแล้วต้องได้ผลใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันยังไปไม่ถึงจุดนั้น ดังนั้น ในขั้นแรกต้องทำให้แพทย์สามารถใช้เทคนิคผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปให้ได้มากๆ เสียก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และต้องมีการจัดฝึกอบรมเรื่อยๆ มีศัลยแพทย์จากหลายประเทศในเอเชียเข้าร่วมรับการอบรม เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมทั้งไทย
นพ.วีระพันธ์ กล่าวอีกว่าโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมในภูมิภาคเอเชีย เพราะตนได้เห็นเทคนิคนี้จาก นพ.รุทเทน เมื่อ 10 กว่าปีก่อนและได้นำกลับมาใช้ทำการรักษาคนไข้ในไทย ขณะเดียวกัน นพ.รุทเทน ก็ต้องการพาร์ทเนอร์เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในเอเชีย ประกอบกับนโยบายของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เองที่สนับสนุนการขยายองค์ความรู้ด้านการศึกษาและวิจัย เพื่อพัฒนาไปสู่ Gold Standard ในอนาคต มันอาจจะเป็นเทคนิคมาตรฐานในอีก 10-20 ปี ซึ่งหาก 70-80% ของโรงพยาบาลใหญ่ๆ สามารถทำได้ คนที่ได้ประโยชน์ก็คือคนไข้นั่นเอง