เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 ม.ค. ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าว ประเทศไทยพบผู้ต้องสงสัยป่วยโรคติดเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (MERS) รายใหม่ ซึ่งนับเป็นรายที่ 2 ที่พบในประเทศไทย
ทั้งนี้ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายชาวโอมาน อายุ 71 ปี มีอาการป่วยอยู่ก่อนที่จะเดินทางเข้ามายังประเทศไทยพร้อมบุตรชาย เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา เมื่อมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่พบอาการไข้ ทำให้ตรวจสอบจากเครื่องเทอร์โมสแกนไม่พบ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยนั่งแท็กซี่เพื่อจะไปเช็กอินที่โรงแรม แต่ยังไม่ทันเข้าพัก ก็มีอาการป่วยจึงเดินทางไปยังโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ช่วงประมาณตี 1 ของวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตรวจพบโรคอย่างรวดเร็ว และนำเข้าห้องแยกโรคทันที โดยได้ตรวจเชื้อซึ่งผลออกมาประมาณเวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ม.ค. จึงรายงานการพบเชื้อมาที่กรมควบคุมโรค ซึ่งได้ส่งตรวจยืนยันเพิ่มอีกครั้งที่สถาบันบำราศนราดูร จนพบผลเป็นบวก ยืนยันพบเชื้อเมอร์สเช่นกัน จึงประสานตัวให้รับเข้าสถาบันบำราศนราดูร เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่ 23 ม.ค.
ส่วนผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยรายอื่นๆ นั้น ทางการแพทย์จำเป็นต้องติดตามเพื่อเฝ้าระวังด้วย จึงติดตามตัวผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่คาดว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อทั้งหมด 37 ราย เพื่อนำมากักบริเวณเพื่อตรวจว่ามาการแพร่กระจายของเชื้อหรือไม่เป็นเวลา 14 วันในจำนวนนี้เป็นชาวไทย 13 ราย ชาวต่างประเทศ 24 ราย ซึ่งรวมถึงลูกชายของผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงแล้ว และให้อยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร เพื่อติดตามอาการแล้วเช่นกัน โดยส่วนใหญ่ผู้สัมผัสกับผู้ป่วยจะเป็นผู้โดยสารเครื่องบิน นับจากผู้ป่วยนั่งแถวหน้าและแถวหลังไป 2 แถว มีจำนวน 23 รายแต่ถือว่าโชคดีที่ผู้ป่วยนั่งริมหน้าต่าง โอกาสแพร่เชื้อจึงแคบลง
น.พ.ปิยะสกล กล่าวอีกว่า ส่วนแท็กซี่ที่รับผู้ป่วยไปโรงแรม 1 คน และพนักงานโรงแรมอีก 1 คนนั่น จัดอยู่ในความเสี่ยงสูง โดยทั้งหมดได้ประสานติดตามตัวแล้ว ส่วนผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินที่เสี่ยงไม่สูง ไม่ต้องกักตัวไว้ แต่ต้องติดตามและบอกแนวทางปฏิบัติตัวก็เพียงพอ
อย่างไรก็ตามขอแจ้งไปยังประชาชนว่าไม่ต้องหวาดกลัว เนื่องจากได้มีการควบคุมโรคเป็นอย่างดี และตรวจพบโรคได้อย่างรวดเร็ว สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะไม่มีการกระจายเชื้อโรคเมอร์สในประเทศไทยอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ประเทศไทยเคยพบผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส จากการคัดกรองผู้ป่วยรายแรกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเป็นชายชาวตะวันออกกลาง อายุ 75 ปี โดยสถาบันบำราศนราดูรรับตัวเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2558 ผู้ป่วยรายนี้เดินทางมาจากตะวันออกกลางถึงประเทศไทย วันที่ 15 มิ.ย. 2558 เพื่อมารักษาโรคหัวใจที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ขณะเดินทางและอยู่บนเครื่องบินไม่มีอาการไข้ แต่หลังจากเดินทางถึงประเทศไทยและเข้ารับการรักษาในรพ.เอกชนทันที พบว่ามีอาการไข้ เหนื่อย หอบ ไอ รพ.เอกชนดังกล่าวจึงแยกผู้ป่วยและญาติไปห้องแยกโรคโดยเฉพาะไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยรายอื่นทันที
ทั้งนี้ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายชาวโอมาน อายุ 71 ปี มีอาการป่วยอยู่ก่อนที่จะเดินทางเข้ามายังประเทศไทยพร้อมบุตรชาย เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา เมื่อมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่พบอาการไข้ ทำให้ตรวจสอบจากเครื่องเทอร์โมสแกนไม่พบ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยนั่งแท็กซี่เพื่อจะไปเช็กอินที่โรงแรม แต่ยังไม่ทันเข้าพัก ก็มีอาการป่วยจึงเดินทางไปยังโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ช่วงประมาณตี 1 ของวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตรวจพบโรคอย่างรวดเร็ว และนำเข้าห้องแยกโรคทันที โดยได้ตรวจเชื้อซึ่งผลออกมาประมาณเวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ม.ค. จึงรายงานการพบเชื้อมาที่กรมควบคุมโรค ซึ่งได้ส่งตรวจยืนยันเพิ่มอีกครั้งที่สถาบันบำราศนราดูร จนพบผลเป็นบวก ยืนยันพบเชื้อเมอร์สเช่นกัน จึงประสานตัวให้รับเข้าสถาบันบำราศนราดูร เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่ 23 ม.ค.
ส่วนผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยรายอื่นๆ นั้น ทางการแพทย์จำเป็นต้องติดตามเพื่อเฝ้าระวังด้วย จึงติดตามตัวผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่คาดว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อทั้งหมด 37 ราย เพื่อนำมากักบริเวณเพื่อตรวจว่ามาการแพร่กระจายของเชื้อหรือไม่เป็นเวลา 14 วันในจำนวนนี้เป็นชาวไทย 13 ราย ชาวต่างประเทศ 24 ราย ซึ่งรวมถึงลูกชายของผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงแล้ว และให้อยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร เพื่อติดตามอาการแล้วเช่นกัน โดยส่วนใหญ่ผู้สัมผัสกับผู้ป่วยจะเป็นผู้โดยสารเครื่องบิน นับจากผู้ป่วยนั่งแถวหน้าและแถวหลังไป 2 แถว มีจำนวน 23 รายแต่ถือว่าโชคดีที่ผู้ป่วยนั่งริมหน้าต่าง โอกาสแพร่เชื้อจึงแคบลง
น.พ.ปิยะสกล กล่าวอีกว่า ส่วนแท็กซี่ที่รับผู้ป่วยไปโรงแรม 1 คน และพนักงานโรงแรมอีก 1 คนนั่น จัดอยู่ในความเสี่ยงสูง โดยทั้งหมดได้ประสานติดตามตัวแล้ว ส่วนผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินที่เสี่ยงไม่สูง ไม่ต้องกักตัวไว้ แต่ต้องติดตามและบอกแนวทางปฏิบัติตัวก็เพียงพอ
อย่างไรก็ตามขอแจ้งไปยังประชาชนว่าไม่ต้องหวาดกลัว เนื่องจากได้มีการควบคุมโรคเป็นอย่างดี และตรวจพบโรคได้อย่างรวดเร็ว สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะไม่มีการกระจายเชื้อโรคเมอร์สในประเทศไทยอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ประเทศไทยเคยพบผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส จากการคัดกรองผู้ป่วยรายแรกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเป็นชายชาวตะวันออกกลาง อายุ 75 ปี โดยสถาบันบำราศนราดูรรับตัวเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2558 ผู้ป่วยรายนี้เดินทางมาจากตะวันออกกลางถึงประเทศไทย วันที่ 15 มิ.ย. 2558 เพื่อมารักษาโรคหัวใจที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ขณะเดินทางและอยู่บนเครื่องบินไม่มีอาการไข้ แต่หลังจากเดินทางถึงประเทศไทยและเข้ารับการรักษาในรพ.เอกชนทันที พบว่ามีอาการไข้ เหนื่อย หอบ ไอ รพ.เอกชนดังกล่าวจึงแยกผู้ป่วยและญาติไปห้องแยกโรคโดยเฉพาะไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยรายอื่นทันที