สนช. ศึกษาพบค่ารักษา รพ.รัฐ และ เอกชน สูงขึ้น ระบุตัวแปรที่ต่างกัน เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ เครื่องมือ และ เทคนิคต่างๆ เพิ่มขึ้น พ่วงเอกชนแบกรับความเสี่ยงเอง
วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่อาคารรัฐสภา 2 นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล สภานิติบัญญตัแห่งชาติ (สนช.) ได้นำเสนอผลการศึกษาค่ารักษาพยาบาลใน รพ.เอกชน ในงานสัมมนาเรื่อง “มาตรฐานค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน” จัดโดยคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สนช. และคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานฯ ว่า ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล 9 แห่ง แบ่งเป็น รพ.รัฐ และ โรงเรียนแพทย์ มี รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาลงกรณ์ และ รพ.เอกชน 6 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เอกชนหัวเมือง 2 แห่ง คือ รพ.ไทยนครินทร์ รพ.นครธน รพ.เอกชนที่มีมูลนิธิสนับสนุน 2 แห่ง คือ รพ.กรุงเทพคริสเตียน และรพ.หัวเฉียว และ รพ.เอกชน ชั้นนำที่เป็นเมดิคัล ฮับ 2 แห่ง คือ รพ.บำรุงราษฎร์ รพ.กรุงเทพ โดยการสอบถามผู้รับบริการจำนวน 4,320 คน ใน 5 โรค คือ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคผ่าข้อเข่า ผ่าต้อกระจก และ หวัด
“จริงๆ แล้วค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้นทั้ง รพ.รัฐ และ รพ.เอกชน แต่ตัวแปรของค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีการรักษา เครื่องมือ เทคนิคต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ จากการใช้ยาปกติในบางรายอาจไม่พอ แต่ต้องใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจด้วย ค่าใช้จ่ายจึงสูงขึ้น หรือ การผ่าตัดไส้ติ่ง เดิมทีใช้เพียงนิ้วคลำวินิจฉัย แต่ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์ ซีทีสแกน แม้แต่ไข้หวัด มีถึงตรวจชนิดของเชื้อหวัด ประกอบกับ รพ.เอกชน แบกรับความเสี่ยงของต้นทุนอยู่แล้ว อย่างผู้ป่วยเมอร์สในไทยมารักษา รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ปรากฏว่า หุ้นตก ซึ่งเป็นการรับความเสี่ยงของตัวเอง ยังไม่รวมกับค่าบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ ยิ่งเป็น รพ.กลุ่มเมดิคัล ฮับ ที่รับชาวต่างชาติจำนวนมาก ราคาก็สูงขึ้น” นพ.สรณ กล่าวและว่า ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้น แต่ยังไม่ได้ศึกษาถึงผลลัพธ์การรักษา มาตรฐานการรักษาว่า คุ้มค่ากับราคาหรือไม่ ซึ่งจะต้องศึกษาต่อไป โดยจะจัดทำรายงานเสนอ กมธ.สาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมเรื่องนี้ในอนาคต
น.ส.นิลทิตา ศรีไพบูลย์กิจ อนุกรรมาธิการ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายปี 2552 ถึงปี 2557 รวมค่าใช้จ่ายต่างๆ มีทั้งค่าห้องค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่าพยาบาล ค่ายา ค่าหัตถการ เป็นต้น สำหรับผลการศึกษา ยกตัวอย่าง การผ่าตัดไส้ติ่ง ในส่วน รพ.เอกชน ชั้นนำเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 รพ.เอกชนหัวเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 รพ.เอกชนที่มีมูลนิธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่อาคารรัฐสภา 2 นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล สภานิติบัญญตัแห่งชาติ (สนช.) ได้นำเสนอผลการศึกษาค่ารักษาพยาบาลใน รพ.เอกชน ในงานสัมมนาเรื่อง “มาตรฐานค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน” จัดโดยคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สนช. และคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรฐานฯ ว่า ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล 9 แห่ง แบ่งเป็น รพ.รัฐ และ โรงเรียนแพทย์ มี รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาลงกรณ์ และ รพ.เอกชน 6 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เอกชนหัวเมือง 2 แห่ง คือ รพ.ไทยนครินทร์ รพ.นครธน รพ.เอกชนที่มีมูลนิธิสนับสนุน 2 แห่ง คือ รพ.กรุงเทพคริสเตียน และรพ.หัวเฉียว และ รพ.เอกชน ชั้นนำที่เป็นเมดิคัล ฮับ 2 แห่ง คือ รพ.บำรุงราษฎร์ รพ.กรุงเทพ โดยการสอบถามผู้รับบริการจำนวน 4,320 คน ใน 5 โรค คือ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคผ่าข้อเข่า ผ่าต้อกระจก และ หวัด
“จริงๆ แล้วค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้นทั้ง รพ.รัฐ และ รพ.เอกชน แต่ตัวแปรของค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีการรักษา เครื่องมือ เทคนิคต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ จากการใช้ยาปกติในบางรายอาจไม่พอ แต่ต้องใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจด้วย ค่าใช้จ่ายจึงสูงขึ้น หรือ การผ่าตัดไส้ติ่ง เดิมทีใช้เพียงนิ้วคลำวินิจฉัย แต่ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์ ซีทีสแกน แม้แต่ไข้หวัด มีถึงตรวจชนิดของเชื้อหวัด ประกอบกับ รพ.เอกชน แบกรับความเสี่ยงของต้นทุนอยู่แล้ว อย่างผู้ป่วยเมอร์สในไทยมารักษา รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ปรากฏว่า หุ้นตก ซึ่งเป็นการรับความเสี่ยงของตัวเอง ยังไม่รวมกับค่าบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ ยิ่งเป็น รพ.กลุ่มเมดิคัล ฮับ ที่รับชาวต่างชาติจำนวนมาก ราคาก็สูงขึ้น” นพ.สรณ กล่าวและว่า ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้น แต่ยังไม่ได้ศึกษาถึงผลลัพธ์การรักษา มาตรฐานการรักษาว่า คุ้มค่ากับราคาหรือไม่ ซึ่งจะต้องศึกษาต่อไป โดยจะจัดทำรายงานเสนอ กมธ.สาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมเรื่องนี้ในอนาคต
น.ส.นิลทิตา ศรีไพบูลย์กิจ อนุกรรมาธิการ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายปี 2552 ถึงปี 2557 รวมค่าใช้จ่ายต่างๆ มีทั้งค่าห้องค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่าพยาบาล ค่ายา ค่าหัตถการ เป็นต้น สำหรับผลการศึกษา ยกตัวอย่าง การผ่าตัดไส้ติ่ง ในส่วน รพ.เอกชน ชั้นนำเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 รพ.เอกชนหัวเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 รพ.เอกชนที่มีมูลนิธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่