วันวาเลนไทน์ที่จะถึงนี้ คนมีความรักหลายคู่คงกำลังหาซื้อของขวัญ หรือเตรียมการวางแผนเพื่อเซอร์ไพรซ์คนรักอยู่ ซึ่งเด็กวัยรุ่นในยุคนี้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่เบื้องหลังของวันแห่งความรักทั้งหมด อาจดับลงเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กบางกลุ่มก็เป็นได้ นั่นก็คือ เพศสัมพันธ์
ทุกการกระทำย่อมมีผลตามมาเสมอ ถ้าเรายังไม่มั่นว่าจะสามารถรับผิดชอบตรงนี้ได้ ควรที่จะเดินถอยออกมา แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ผู้หญิงอย่างเราๆ ควรที่จะรู้วิธีการป้องกัน เพื่อการมีอนาคตที่สดใสในวันต่อไป และ “ยาคุมกำเนิด” ก็เป็นวิธีป้องกันได้อย่างหนึ่ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ายาคุมแบบไหนเหมาะสำหรับเรา
ยาคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
1.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบด้วยตัวยาทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มี 2 รูปแบบ คือ ชนิด 21เม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนทั้ง 21เม็ด และ ชนิด 28 เม็ด
วิธีการรับประทาน
การเริ่มรับประทานยาครั้งแรกควรเริ่มในวันที่ 1 - 5 ของการมีประจำเดือน มีผลในการคุมกำเนิดได้ทันที โดยไม่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย และยังลดการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน
การเริ่มรับประทานยาหลัง 5 วันแรกของประจำเดือนสามารถทำได้ แต่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัยอย่างน้อย 7 วันหลังกินยาเม็ดแรก โดยรับประทานยาคุมกำเนิดวันละ 1เม็ดในเวลาเดิมทุกๆวัน แนะนำให้รับประทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการลืม จากนั้นรับประทานเม็ดยาไล่ตามลูกศรจนหมดแผง ในกรณีที่เป็นแผงชนิด 28 เม็ดเมื่อหมดแผงสามารถเริ่มแผงใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมด ส่วนกรณีแผงชนิด 21 เม็ดให้เว้นระยะ 7 วันจึงเริ่มแผงใหม่ โดยชนิด 28 เม็ดจะประกอบด้วยเม็ดยาฮอร์โมน 21 เม็ดและเม็ดแป้งหรือวิตามินอีก 7 เม็ด
ข้อห้ามในการรับประทานยาคุมชนิดรวม เพราะยาจะเพิ่มโอกาสเกิดอาการต่างๆ และ/หรือเพิ่มความรุนแรงของอาการ คือ ประวัติโรคหลอดเลือดผิดปกติ, โรคไมเกรน ชนิดรุนแรง , โรคหัวใจบางชนิด , โรคตับ , โรคมะเร็งเต้านมและอวัยวะสืบพันธุ์, ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
2.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสตินอย่างเดียว
เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสติน วัตถุประสงค์เพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกข้นเหนียว รวมทั้งทำให้เยื่อบุมดลูกบางไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ข้อดีของยาคือ สามารถใช้ในสตรีให้นมบุตรได้ โดยไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม และสามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ข้อเสียของยาคือ มีอัตราการล้มเหลว ในการตั้งครรภ์ขณะใช้ยาสูงกว่าชนิดฮอร์โมนรวม
วิธีการรับประทาน
ต้องรับประทานให้ตรงเวลา การเริ่มรับประทานยาให้เริ่มรับประทานในวันแรกของการมีประจำเดือน โดยรับประทานยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดิมทุกวัน ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยใน 7 วันแรกหลังกินยาเม็ดแรก
เมื่อยาคุมกำเนิดหมดแผงให้เริ่มรับประทานยาแผงใหม่ต่อในวันถัดไปโดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนมา
3.ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินในขนาดสูง มีผลป้องกันหรือเลื่อเวลาการตกไข่ ป้องกันการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะในการฝังตัวของตัวอ่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกรณีที่ถูกข่มขืน หรือลืมคุมกำเนิด หรือคุมกำเนิดล้มเหลว
วิธีการรับประทาน
การรับประทานยาคุมฉุกเฉินจะได้รับประสิธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานยาทั้งหมดรวม 2 เม็ด โดย 1 เม็ดแรกรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 72-120 ชม.
หลังมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นรับประทานยาอีก 1 เม็ดอีก 12 ชม.
แต่อย่างไรก็ตาม ทางที่จะสามารถป้องกันได้ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรให้ได้มากที่สุด หรือไม่ก็อาจจะมีวิธีการป้องกันโดยสวมถุงยางอนามัย เพื่อลดภาวะความเสี่ยงที่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นในวันวาเลนไทน์
_________________________
ขอบคุณข้อมูลจาก : HaaMor.com. / แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา (สูตินรีแพทย์)
ทุกการกระทำย่อมมีผลตามมาเสมอ ถ้าเรายังไม่มั่นว่าจะสามารถรับผิดชอบตรงนี้ได้ ควรที่จะเดินถอยออกมา แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ผู้หญิงอย่างเราๆ ควรที่จะรู้วิธีการป้องกัน เพื่อการมีอนาคตที่สดใสในวันต่อไป และ “ยาคุมกำเนิด” ก็เป็นวิธีป้องกันได้อย่างหนึ่ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ายาคุมแบบไหนเหมาะสำหรับเรา
ยาคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
1.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบด้วยตัวยาทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มี 2 รูปแบบ คือ ชนิด 21เม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนทั้ง 21เม็ด และ ชนิด 28 เม็ด
วิธีการรับประทาน
การเริ่มรับประทานยาครั้งแรกควรเริ่มในวันที่ 1 - 5 ของการมีประจำเดือน มีผลในการคุมกำเนิดได้ทันที โดยไม่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย และยังลดการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน
การเริ่มรับประทานยาหลัง 5 วันแรกของประจำเดือนสามารถทำได้ แต่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัยอย่างน้อย 7 วันหลังกินยาเม็ดแรก โดยรับประทานยาคุมกำเนิดวันละ 1เม็ดในเวลาเดิมทุกๆวัน แนะนำให้รับประทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการลืม จากนั้นรับประทานเม็ดยาไล่ตามลูกศรจนหมดแผง ในกรณีที่เป็นแผงชนิด 28 เม็ดเมื่อหมดแผงสามารถเริ่มแผงใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมด ส่วนกรณีแผงชนิด 21 เม็ดให้เว้นระยะ 7 วันจึงเริ่มแผงใหม่ โดยชนิด 28 เม็ดจะประกอบด้วยเม็ดยาฮอร์โมน 21 เม็ดและเม็ดแป้งหรือวิตามินอีก 7 เม็ด
ข้อห้ามในการรับประทานยาคุมชนิดรวม เพราะยาจะเพิ่มโอกาสเกิดอาการต่างๆ และ/หรือเพิ่มความรุนแรงของอาการ คือ ประวัติโรคหลอดเลือดผิดปกติ, โรคไมเกรน ชนิดรุนแรง , โรคหัวใจบางชนิด , โรคตับ , โรคมะเร็งเต้านมและอวัยวะสืบพันธุ์, ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
2.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสตินอย่างเดียว
เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสติน วัตถุประสงค์เพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกข้นเหนียว รวมทั้งทำให้เยื่อบุมดลูกบางไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ข้อดีของยาคือ สามารถใช้ในสตรีให้นมบุตรได้ โดยไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม และสามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ข้อเสียของยาคือ มีอัตราการล้มเหลว ในการตั้งครรภ์ขณะใช้ยาสูงกว่าชนิดฮอร์โมนรวม
วิธีการรับประทาน
ต้องรับประทานให้ตรงเวลา การเริ่มรับประทานยาให้เริ่มรับประทานในวันแรกของการมีประจำเดือน โดยรับประทานยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดิมทุกวัน ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยใน 7 วันแรกหลังกินยาเม็ดแรก
เมื่อยาคุมกำเนิดหมดแผงให้เริ่มรับประทานยาแผงใหม่ต่อในวันถัดไปโดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนมา
3.ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินในขนาดสูง มีผลป้องกันหรือเลื่อเวลาการตกไข่ ป้องกันการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะในการฝังตัวของตัวอ่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกรณีที่ถูกข่มขืน หรือลืมคุมกำเนิด หรือคุมกำเนิดล้มเหลว
วิธีการรับประทาน
การรับประทานยาคุมฉุกเฉินจะได้รับประสิธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานยาทั้งหมดรวม 2 เม็ด โดย 1 เม็ดแรกรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 72-120 ชม.
หลังมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นรับประทานยาอีก 1 เม็ดอีก 12 ชม.
แต่อย่างไรก็ตาม ทางที่จะสามารถป้องกันได้ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรให้ได้มากที่สุด หรือไม่ก็อาจจะมีวิธีการป้องกันโดยสวมถุงยางอนามัย เพื่อลดภาวะความเสี่ยงที่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นในวันวาเลนไทน์
_________________________
ขอบคุณข้อมูลจาก : HaaMor.com. / แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา (สูตินรีแพทย์)