ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะกับหนุ่มๆ เท่านั้นสำหรับเรื่อง "ศีรษะล้าน" เพราะระยะหลังๆ ผู้หญิงก็เริ่มเป็นกันมากขึ้นและแถมอายุเฉลี่ยที่พบยังน้อยลง คือ 20 - 30 ปี ในระยะศีรษะล้านระดับแรก (วิธีสังเกต เส้นผมจะเริ่มบางลงและเล็กจนเห็นได้ชัดตามรอยแสกผม)
ซึ่งแม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ศีรษะล้านจะมาจากกรรมพันธุ์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้นส่วนที่เหลือ เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลักษณะอุปนิสัยและการบริโภค ก็มีส่วนไม่แพ้ที่จะทำให้ผมของเรานั้นเบาบางขึ้น ทั้งยังพบว่าช่วยกระตุ้นให้พันธุกรรมนั้นเห็นผลเร็วขึ้น
ได้ยินอย่างนี้แล้ว สาวๆ คนไหนไม่อยากขี้น้อยใจเป็น "หัวล้าน" ใจน้อย ก่อนวัยอันควร ต้องปรับและเปลี่ยนหันมาใส่ใจหนังศีรษะกันมากขึ้น
ลดน้ำหนักผิดวิธี
นอกจากจะทำให้ร่างกายคุณดูโทรม ผิวหนังเหี่ยวย่น ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา "เส้นผม" ก็เช่นกัน เพราะผมก็จำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารไปหล่อเลี้ยง ไม่เช่นนั้นจะเปราะบาง หลุดร่วงง่าย การลดน้ำหนักอย่างผิดวิธีทำอาจขาดโปรตีนที่เป็นอาหารที่สำคัญต่อเส้นผม หรือขาดธาตุเหล็ก ดังนั้นควรสารอาหารจำพวกโปรตีนในประมาณที่พอเพียง และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งในกรณีที่กลัวอ้วนอาจจะเลือกรับโปรตีนจากถั่วเหลืองทดแทน
เครียด
ไม่ใช่เพราะต้องเอามือกุมขมับหรือจิกหนังศีรษะ แต่สาเหตุเกิดเพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการแปรปรวน ขาดสมดุล ระบบต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงร่างกายทำงานบกพร่อง เส้นผมของเราจึงได้รับผลกระทบไปด้วย ทางที่ดีเมื่อเกิดอาการเครียดควรออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ เพื่อช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย และงดสุราและบุหรี่ตามความเชื่อที่ว่าช่วยคลายเครียด เพราะจะยิ่งซ้ำทำให้หนังศีรษะเราล้านขึ้น
ยาคุมกำเนิด
ไม่ใช้เฉพาะแบบชนิดรับประทานเพียงอย่างเดียว ทั้งยาคุมกำเนิดชนิดฝัง (Progestin Implants) ชนิดฉีด (Hormone Injections) ชนิดแปะที่ผิวหนัง (skin patch) หรือ ชนิดห่วงใส่ในช่องคลอด (Vaginal Ring) เนื่องจากมีแอนโดรเจนสูง ซึ่งจากข้อมูล งานวิชาการ "ไทยแฮร์เซ็นเตอร์" ระบุอาการผมร่วมจากยาคุมกำเนิดว่า ยาคุมกำเนิด ยับยั้งการตกไข่ โดยออกฤทธิ์ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน (estrogen and progestin) หรือในบางชนิดออกฤทธิ์ร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว คนที่มีพันธุกรรมที่มีแนวโน้มที่จะเกิดผมร่วงจากฮอร์โมน หรือคนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจเกิดอาการผมร่วงโดยที่มีความรุนแรงแตกต่างกันได้หลังจากใช้ฮอร์โมนไปซักระยะ ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่เริ่มใช้ได้ 2 - 3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนหลังใช้
นอกจากนี้ยังมียาบางชนิดที่ถ้าใช้เป็นประจำจะมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วง เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาคลายเครียด หรือยาที่มีส่วนผสมของกลุ่มฮอร์โมน
ซึ่งแม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ศีรษะล้านจะมาจากกรรมพันธุ์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้นส่วนที่เหลือ เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลักษณะอุปนิสัยและการบริโภค ก็มีส่วนไม่แพ้ที่จะทำให้ผมของเรานั้นเบาบางขึ้น ทั้งยังพบว่าช่วยกระตุ้นให้พันธุกรรมนั้นเห็นผลเร็วขึ้น
ได้ยินอย่างนี้แล้ว สาวๆ คนไหนไม่อยากขี้น้อยใจเป็น "หัวล้าน" ใจน้อย ก่อนวัยอันควร ต้องปรับและเปลี่ยนหันมาใส่ใจหนังศีรษะกันมากขึ้น
ลดน้ำหนักผิดวิธี
นอกจากจะทำให้ร่างกายคุณดูโทรม ผิวหนังเหี่ยวย่น ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา "เส้นผม" ก็เช่นกัน เพราะผมก็จำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารไปหล่อเลี้ยง ไม่เช่นนั้นจะเปราะบาง หลุดร่วงง่าย การลดน้ำหนักอย่างผิดวิธีทำอาจขาดโปรตีนที่เป็นอาหารที่สำคัญต่อเส้นผม หรือขาดธาตุเหล็ก ดังนั้นควรสารอาหารจำพวกโปรตีนในประมาณที่พอเพียง และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งในกรณีที่กลัวอ้วนอาจจะเลือกรับโปรตีนจากถั่วเหลืองทดแทน
เครียด
ไม่ใช่เพราะต้องเอามือกุมขมับหรือจิกหนังศีรษะ แต่สาเหตุเกิดเพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการแปรปรวน ขาดสมดุล ระบบต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงร่างกายทำงานบกพร่อง เส้นผมของเราจึงได้รับผลกระทบไปด้วย ทางที่ดีเมื่อเกิดอาการเครียดควรออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ เพื่อช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย และงดสุราและบุหรี่ตามความเชื่อที่ว่าช่วยคลายเครียด เพราะจะยิ่งซ้ำทำให้หนังศีรษะเราล้านขึ้น
ยาคุมกำเนิด
ไม่ใช้เฉพาะแบบชนิดรับประทานเพียงอย่างเดียว ทั้งยาคุมกำเนิดชนิดฝัง (Progestin Implants) ชนิดฉีด (Hormone Injections) ชนิดแปะที่ผิวหนัง (skin patch) หรือ ชนิดห่วงใส่ในช่องคลอด (Vaginal Ring) เนื่องจากมีแอนโดรเจนสูง ซึ่งจากข้อมูล งานวิชาการ "ไทยแฮร์เซ็นเตอร์" ระบุอาการผมร่วมจากยาคุมกำเนิดว่า ยาคุมกำเนิด ยับยั้งการตกไข่ โดยออกฤทธิ์ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน (estrogen and progestin) หรือในบางชนิดออกฤทธิ์ร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว คนที่มีพันธุกรรมที่มีแนวโน้มที่จะเกิดผมร่วงจากฮอร์โมน หรือคนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจเกิดอาการผมร่วงโดยที่มีความรุนแรงแตกต่างกันได้หลังจากใช้ฮอร์โมนไปซักระยะ ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่เริ่มใช้ได้ 2 - 3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนหลังใช้
นอกจากนี้ยังมียาบางชนิดที่ถ้าใช้เป็นประจำจะมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วง เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาคลายเครียด หรือยาที่มีส่วนผสมของกลุ่มฮอร์โมน
รวบผมมัดตึง สารเคมี และความร้อน การรั้งเส้นผมเป็นเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้เส้นผมเกิดขาดและหลุดร่วงเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ลองสังเกตเวลาที่เราแกะคลาย เส้นผมไม่หลุดติดยางมัดก็จะพันและขาดร่วง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการการถักเปียหรือมัดรวบที่แน่จนเกินไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงหลีกเลี่ยงสารเคมีจากการย้อม การยืด การจัดแต่งทรงผมด้วยความร้อน เพราะจะทำให้ผมแห้ง แตกปราย และทำให้สารเคลือบผมและโปรตีนที่หล่อเลี้ยงเส้นผมเสียหาย อย่าสักแต่ว่าแชมพูอะไรก็ได้ เพราะสภาพผิวหนังศีรษะและชนิดเส้นผมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนผมเส้นเล็กเส้นหนา ผมมัน ผมแห้ง การดูแลก็แตกต่างกัน กล่าวคือ "เส้นผมแห้ง" ควรเลือกใช้แชมพูและครีมนวดสูตรบำรุงเส้นผมแห้งเสียครีมนวดให้เลือกที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม อาทิ โปรตีน แคลเซียม และแร่ธาตุอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเส้นผม ช่วยบำรุงให้เส้นผมมีน้ำหนัก แต่ข้อควรระวังของสาวผมแห้งคืออย่าสระผมทุกวัน หลีกเลี่ยงการสระผมในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะยิ่งทำให้ผมยิ่งแห้งและฟูเสียมากกว่าเดิม ตรงกันข้ามกับสาว "เส้นผมมัน" ที่ต้องสระผมในทุกๆ วัน ดังนั้นควรใช้ยาสระผมชนิดสูตรอ่อนโยนส่วนประกอบแบบ organic และไม่เป็นด่างมากเกินไป หลีกเลี่ยงครีมนวดคอนดิชันเนอร์เพราะอาจจะทำให้ผมมันได้เร็วขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการคันและเกา ทำให้เกิดนอกจากการขาดหลุดร่วงยังทำมีบาดแผลซึ่งก็เป็นสาเหตุทางอ้อมที่ทำให้ผมหลุดร่วงแบบไม่รู้ตัวนั่นเอง ส่วน "เส้นผมบางขาด" หลุดร่วงง่าย แสดงว่าหนังศีรษะอ่อนแอ ควรใช้น้ำยาสระผมที่ช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม และควรระมัดระวังเบามือในทุกขั้นตอนโดยเฉพาะกับตอนที่ผมเปียกชื้นหรือหลังสระผม เพราะเส้นผมที่เปียกชื้นจะบอบบางกว่าปกติหลายเท่า ดังนั้นการหวีผมหรือใช้ผ้าขนหนูเช็ดผมแรง ๆ การผูกผมในขณะที่ผมยังเปียกอยู่ ก็สามารถทำให้สารเคลือบผมและโปรตีนในเส้นผมถูกทำลายไปได้ นอนทั้งๆ ที่ผมยังเปียกชื้น สุดท้ายสาเหตุที่ทำให้สาวๆ ผมร่วงและหนังศีรษะล้านบางเนื่องจากหลายต่อหลายคนเมื่อผมยาวยิ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเปาให้แห้งนาน และบ่อยครั้งที่ผมด้านนอกผมส่วนแห้ง ทว่าด้านในและส่วนโคนของผมยังคงมีความชื้น ซึ่งหากทำเป็นประจำจะเกิดเชื้อราบริเวณหนังศีรษะ ทำให้รากผมไม่แข็งแรง เส้นผมเปราะบาง หลุดร่วงง่าย ทั้งนี้ทั้งนั้นเชื้อรายังสามารถแพร่กระจายไปยังที่นอนหมอนมุ้ง ทำให้เกิดอาการคันและเป็นรังแคเพิ่มอีกด้วย ทางที่ดีในระหว่างที่ผมยังไม่แห้งควรนวดศีรษะด้วยมือเป็นประจำเบาๆ ร่วมด้วยวิตามินบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ หรือจะสลับนอนห้อยหัวเปาลม เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปที่บริเวณศีรษะ 10 นาที เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะ |