"นิ่วทอนซิล" หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "ทอนซิลโลลิท" ในช่องปาก อาจไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากใครที่เป็นนั้น เชื่อได้เลยว่าคนใกล้ตัวอาจจะกลั้นลมหายหรือเอามือปิดจมูก หรือไม่มีใครอยากเข้าใกล้ไปเลย
สาเหตุก็เพราะกลิ่นปากจากเม็ดหรือก้อนสีเหลืองๆ ซึ่งถ้าใครที่เป็นนิ่วทอนซิล จะสามารถสังเกตได้ว่าในช่องปากบริเวณหลังลิ้นไก่ ข้างลำคอและโคนลิ้น ซึ่งเป็นจุดของต่อมทอนซิลที่คอยทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรค บางครั้งหรือบ่อยครั้งจึงมีโอกาสที่เศษอาหารเข้าไปติด หรือเซลล์เนื้อเยื้อบริเวณนั้นอาจตายแล้วหลุดลอกออกมาไปฝังตามซอกและจุดนั้น เมื่อรวมกับกระบวนการของเอนไซน์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลาย ก็เกิดเป็นก้อนๆ ส่งกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นานๆ อาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งขึ้น ยากต่อการกำจัด และที่สำคัญคือ กลิ่นที่ติดทนยาวนาน
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากเป็น ดังนั้นเรามีวิธีการป้องกันเบื้องต้นป้องกันได้คือ หมั่นแปรงฟันและลิ้นให้สะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหารที่รับประทาน ไม่ควรปล่อยไว้นานเกินชั่วโมง แต่ถ้าไม่สะดวกหรือไม่มีเวลาควรกลั้วปากด้วยน้ำสะอาด น้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปาก เพื่อลดปริมาณการสะสมเศษอาหารที่จะมีโอกาสเสี่ยงไปติดตามซอกทำให้เรามีก้อนนิ่วทอนซิล
ส่วนสำหรับผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็น นอกจากมีกลิ่นปากผิดปกติหรือส่องช่องปากดูแล้วพบว่ามีก้อนๆ ติดอยู่ บางคนอาจจะรู้สึกว่าคล้ายมีอะไรติดอยู่ในลำคอ มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ รวมอยู่ด้วย
ซึ่งวิธีการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี วิธีที่เราสามารถทำด้วยตัวเองก็ อาทิ
การกลั้วคอแรงๆ ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อให้นิ่วทอนซิลหลุดด้วยแรงน้ำ และนอกจากนี้น้ำเกลือยังมีสรรพคุณบรรเทาอาการระคายเคืองคอจากต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งเป็นการป้องกันสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิลอีกด้วย
ใช้ที่พ่นน้ำ (water pick) ฉีด ทำความสะอาดให้ก้อนนิ่วทอนซิลหลุดออกมา
ใช้นิ้วมือที่ถนัด (ควรตัดเล็บมือและล้างมือให้สะอาด) ล้วงเข้าไปบริเวณที่มีก้อนนิ่วทอนซิล จากนั้นค่อยๆ ดันช้อนเบาๆ ให้นิ่วทอนซิลหลุดจากช่องปากติดออกมา วิธีนี้สามารถใช้ร่วมกับการนวดบริเวณใต้คางตรงมุมขากรรไกรล่างของคอ เพื่อช่วยให้นิ่วทอนซิลหลุดออกง่ายขึ้น
นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้ "แปรงสีฟัน" "ไม้พันสำลี" หรือ "คัตเติ้ลบัต" เขี่ยหรือกดออก แต่ควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงอุปกรณ์มีคมหรือปลายแหลมๆ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากวิธีการดังกล่าวข้างต้นไม่ประสบความสำเร็จ นิ่วทอนซิลหลุดออกไปแล้วก็กลับมาเป็นใหม่ ซ้ำๆ ไปมา หรือเกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่นๆ ในช่องปาก เราสามารถเข้ารับการรักษาจากแพทย์เพื่อให้หายขาดไม่กลับมาเป็นอีกได้ด้วย
โดยการใช้กรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic Acid) หรือการใช้เลเซอร์ (Laser Tonsillotomy) จี้ต่อมเปิดขอบร่องของทอนซิลให้กว้าง เศษอาหารจำพวกแป้งหรือเนื้อสัตว์ที่เป็นตัวการอุดตันและก่อนให้เกิดนิ่วทอนซิลจะได้ไม่มีตกหลงเหลือในช่องปาก
และวิธีการรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก วิธีนี้จะรักษาก็ต่อเมื่อการใช้กรดไตรคลอโรอะซิติกและการใช้เลเซอร์แล้วไม่สำฤทธิ์ผล ยังคงกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้ค่อนข้างทำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัด 2-3 วันมีอาการกลืนสิ่งต่างๆ ได้ลำบาก ร่วมด้วยกับอาการเจ็บคอ ดังนั้นทางทีดีเมื่อทำการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งจนหายแล้ว ควรจะรักษาความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีเคร่งครัด มิเช่นนั้นจะไม่ใช่เพราะนิ่วทอนซิลที่ทำให้มีกลิ่นปากไม่พึ่งประสงค์...
สาเหตุก็เพราะกลิ่นปากจากเม็ดหรือก้อนสีเหลืองๆ ซึ่งถ้าใครที่เป็นนิ่วทอนซิล จะสามารถสังเกตได้ว่าในช่องปากบริเวณหลังลิ้นไก่ ข้างลำคอและโคนลิ้น ซึ่งเป็นจุดของต่อมทอนซิลที่คอยทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรค บางครั้งหรือบ่อยครั้งจึงมีโอกาสที่เศษอาหารเข้าไปติด หรือเซลล์เนื้อเยื้อบริเวณนั้นอาจตายแล้วหลุดลอกออกมาไปฝังตามซอกและจุดนั้น เมื่อรวมกับกระบวนการของเอนไซน์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลาย ก็เกิดเป็นก้อนๆ ส่งกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นานๆ อาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งขึ้น ยากต่อการกำจัด และที่สำคัญคือ กลิ่นที่ติดทนยาวนาน
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากเป็น ดังนั้นเรามีวิธีการป้องกันเบื้องต้นป้องกันได้คือ หมั่นแปรงฟันและลิ้นให้สะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหารที่รับประทาน ไม่ควรปล่อยไว้นานเกินชั่วโมง แต่ถ้าไม่สะดวกหรือไม่มีเวลาควรกลั้วปากด้วยน้ำสะอาด น้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปาก เพื่อลดปริมาณการสะสมเศษอาหารที่จะมีโอกาสเสี่ยงไปติดตามซอกทำให้เรามีก้อนนิ่วทอนซิล
ส่วนสำหรับผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็น นอกจากมีกลิ่นปากผิดปกติหรือส่องช่องปากดูแล้วพบว่ามีก้อนๆ ติดอยู่ บางคนอาจจะรู้สึกว่าคล้ายมีอะไรติดอยู่ในลำคอ มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ รวมอยู่ด้วย
ซึ่งวิธีการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี วิธีที่เราสามารถทำด้วยตัวเองก็ อาทิ
การกลั้วคอแรงๆ ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อให้นิ่วทอนซิลหลุดด้วยแรงน้ำ และนอกจากนี้น้ำเกลือยังมีสรรพคุณบรรเทาอาการระคายเคืองคอจากต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งเป็นการป้องกันสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิลอีกด้วย
ใช้ที่พ่นน้ำ (water pick) ฉีด ทำความสะอาดให้ก้อนนิ่วทอนซิลหลุดออกมา
ใช้นิ้วมือที่ถนัด (ควรตัดเล็บมือและล้างมือให้สะอาด) ล้วงเข้าไปบริเวณที่มีก้อนนิ่วทอนซิล จากนั้นค่อยๆ ดันช้อนเบาๆ ให้นิ่วทอนซิลหลุดจากช่องปากติดออกมา วิธีนี้สามารถใช้ร่วมกับการนวดบริเวณใต้คางตรงมุมขากรรไกรล่างของคอ เพื่อช่วยให้นิ่วทอนซิลหลุดออกง่ายขึ้น
นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้ "แปรงสีฟัน" "ไม้พันสำลี" หรือ "คัตเติ้ลบัต" เขี่ยหรือกดออก แต่ควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงอุปกรณ์มีคมหรือปลายแหลมๆ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากวิธีการดังกล่าวข้างต้นไม่ประสบความสำเร็จ นิ่วทอนซิลหลุดออกไปแล้วก็กลับมาเป็นใหม่ ซ้ำๆ ไปมา หรือเกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่นๆ ในช่องปาก เราสามารถเข้ารับการรักษาจากแพทย์เพื่อให้หายขาดไม่กลับมาเป็นอีกได้ด้วย
โดยการใช้กรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic Acid) หรือการใช้เลเซอร์ (Laser Tonsillotomy) จี้ต่อมเปิดขอบร่องของทอนซิลให้กว้าง เศษอาหารจำพวกแป้งหรือเนื้อสัตว์ที่เป็นตัวการอุดตันและก่อนให้เกิดนิ่วทอนซิลจะได้ไม่มีตกหลงเหลือในช่องปาก
และวิธีการรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก วิธีนี้จะรักษาก็ต่อเมื่อการใช้กรดไตรคลอโรอะซิติกและการใช้เลเซอร์แล้วไม่สำฤทธิ์ผล ยังคงกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้ค่อนข้างทำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัด 2-3 วันมีอาการกลืนสิ่งต่างๆ ได้ลำบาก ร่วมด้วยกับอาการเจ็บคอ ดังนั้นทางทีดีเมื่อทำการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งจนหายแล้ว ควรจะรักษาความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีเคร่งครัด มิเช่นนั้นจะไม่ใช่เพราะนิ่วทอนซิลที่ทำให้มีกลิ่นปากไม่พึ่งประสงค์...