จากที่มีการแชร์กันไปอย่างแพร่หลายว่า “ทุเรียนช่วยลดน้ำหนัก” จนหลายคนทึกทักตื่นเต้นกันไปยกใหญ่ และแชร์ต่อๆ กันไปแบบมันระห่ำ สุดท้าย เพจที่เกี่ยวกับสุขภาพอย่าง “ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว” ก็ออกมาโพสต์ไขข้อสงสัยดังกล่าว
“ในทางการวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษย์เราจะหาความเป็นไปได้ทุกๆ อย่างแม้ในสิ่งที่ดูไร้สาระ เพราะในทางวิทยาศาสตร์เราเชื่อว่ามีอีกหลายสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้
เรื่องทุเรียนลดน้ำหนักและลดเบาหวานก็เช่นกัน มีคนพยายามทำงานวิจัยเรื่องทุเรียนอยู่หลายอัน
1.ยังไม่มีงานวิจัยที่คนลดน้ำหนักจากการกินทุเรียน เท่าที่หาจาก Pubmed รวมไปถึงกูเกิ้ล ดังนั้น ใครงานวิจัย (ขอแค่ระดับจำนวนผู้ทดลอง10-20คนก็พอ) ถ้ามีรบกวนนำมาให้ดู จะเป็นพระคุณ
2.เบาหวานกับทุเรียน?
บางคนบอกว่า ทุเรียนมีค่าGlycemic index ต่ำกว่าผลไม้หวานๆอื่นๆ ดังนั้น คนเป็นเบาหวานกินได้สิ เรื่องนี้อธิบายง่ายๆครับ อาหารที่มีปริมาณไขมันในสัดส่วนสูงมันก็มีค่าGlycemic indexต่ำ
บางงานวิจัยบอกว่าทุเรียนช่วยเรื่องการทำงานของinsulin ด้วยสารอะไรไม่รู้ข้างใน...ก็เป็นงานวิจัยในระดับสั้นๆ วัดจากผลเลือด
3.ทุเรียนมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก
มีงานวิจัยบอกว่ามาก ซึ่งมากแล้วไง เพราะสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารอื่นๆก็มีมากเช่นกัน และไม่เสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องได้รับพลังงานเกินขนาด
4.ทุเรียนลดไขมันได้
ในหนู พบว่าการเพิ่มทุเรียน ทำให้ผลเลือดของหนูดีขึ้น โดยไม่ได้มีการติดตามดูสุขภาพของหนูในระยะยาว
5.ทุเรียนมีไขมันมาก
อาหารที่ไขมันมากทำให้เรากินคาร์โบไฮเดรตน้อยลง ดังนั้นช่วยลดความอ้วนได้
อาหารที่มีไขมันมากจะช่วยให้ลดความอ้วนได้ หากกินก่อนอาหารอื่น และเราเว้นช่วงพอ ที่สำคัญคือ แคลอรี่โดยรวมที่ได้รับทั้งวันต้องลดลงจากฤทธิ์ลดความอยากอาหาร
คำถามคือ ใครกินทุเรียนแบบนั้น ใครกินทุเรียนก่อนกินข้าว เพื่อลดข้าว พอซื้อทุเรียนมา กินแล้วเหลือ มีใครทิ้งทุเรียนบ้าง
ยังไม่นับปัญหาว่าทุเรียนมีคาร์โบไฮเดรตไม่น้อย ดังนั้น การกินทุเรียน คุณจะได้พลังงานจากสองทางเลย
การจะบอกว่าอาหารใดดีแล้วไปรณรงค์ให้กิน ต้องดูอย่างองค์รวมครับ ไม่ใช่มาดูผลเลือด
งานวิจัยที่เอามาอ้างๆกัน ต้องไปดูว่าทำในอะไร จัดการทดลองแบบไหน ทำในตัวอะไร
ต้องดูว่าผลที่ได้แปลผลได้หรือไม่
การรักษาแบบองค์รวมตามหลักการแพทย์แผนตะวันตกในปัจจุบัน คือ หาเหตุปัจจัย แล้วแก้อย่างเรื่องเบาหวาน ความดัน ไขมัน สิ่งที่การแพทย์แผนปัจจุบันรู้และทำกันคือแก้ที่กลไก
กลไกเกิดโรคเหล่านี้ โดยมากคือวงจรที่กินอาหารเข้าไปมากเกิน ทั้งในแง่ชนิด คุณภาพ และปริมาณ
ปริมาณแคลอรี่สูง ทำให้อ้วนมากขึ้น ชนิดอาหาร-คุณภาพ สัดส่วนสารอาหารบางชนิดที่มากในอาหาร ก็ทำให้มีโอกาสอ้วนได้มากกว่าในแคลอรี่ที่เท่ากัน
การกินน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตมาก ก็ไปทำให้ insulin ทำงานแย่ลง ระยะยาวเป็นเบาหวาน
น้ำตาล/ไขมัน หรืออาหารที่กินแล้วผลสุดท้ายแคลอรี่ที่ได้มากไปจะช่วยให้ร่างกายมีชั้นไขมันมากขึ้น
ไขมันที่มากขึ้น ส่งผลไปที่การทำงานของ insulin ทำให้แย่ลงไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์
พอเป็นเบาหวาน น้ำตาลและตัวเบาหวานเองเบาหวานไปทำให้เส้นเลือดเกิดการอักเสบน้อยๆ พอประกอบกับความอ้วน และมักออกกำลังกายน้อย เส้นเลือดก็แย่ เกิดความดันโลหิตสูง
การจะกินอะไรเพื่อไปคุมโรคที่มีความเชื่อมโยงแบบนี้ เราก็ต้องเลือกอาหารที่โอเคพอ พลังงานต้องไม่มากไป คุณภาพต้องไม่น้อยไป ถ้ามีสารที่ช่วยอะไรได้เป็นพิเศษยิ่งดี
ทุเรียน ก็เหมือนกับพืชผักอีกนับร้อยชนิดที่มีในไทย มีสารที่ช่วยเรื่องการลดไขมันและลดน้ำตาลได้
แต่ปัญหาอยู่ที่มันมีแคลอรี่สูง
และการกินแบบปกติของคนทั่วไป มักทำให้ได้รับแคลอรี่ที่เกินมากกว่าที่จะได้รับประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ของมัน มันจึงมีศักยภาพ ในการนำไปวิจัยต่อยอด เพื่อหาสารที่เอามาทำยา มันจึงมีศักยภาพ ในการนำไปวิจัยต่อยอด เพื่อหาวิธีกินให้ได้ประโยชน์
แต่มันไม่มีศักยภาพพอ ที่จะมาบอกว่ากินไปเลย ลดเบาหวาน ลดน้ำหนัก ลดไขมัน
การดูแลสุขภาพ ต้องดูร่างกายคนทั้งคน จะดึงงานวิจัยใดๆ มาแนะนำคนหมู่มากหรือถึงขั้นบอกว่าถูกหลอก ต้องดูให้องค์รวม
มิฉะนั้น โทษจะมากกว่าประโยชน์”
***ภาพและข้อมูล : Facebook "ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว"
_____________________________________
“ในทางการวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษย์เราจะหาความเป็นไปได้ทุกๆ อย่างแม้ในสิ่งที่ดูไร้สาระ เพราะในทางวิทยาศาสตร์เราเชื่อว่ามีอีกหลายสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้
เรื่องทุเรียนลดน้ำหนักและลดเบาหวานก็เช่นกัน มีคนพยายามทำงานวิจัยเรื่องทุเรียนอยู่หลายอัน
1.ยังไม่มีงานวิจัยที่คนลดน้ำหนักจากการกินทุเรียน เท่าที่หาจาก Pubmed รวมไปถึงกูเกิ้ล ดังนั้น ใครงานวิจัย (ขอแค่ระดับจำนวนผู้ทดลอง10-20คนก็พอ) ถ้ามีรบกวนนำมาให้ดู จะเป็นพระคุณ
2.เบาหวานกับทุเรียน?
บางคนบอกว่า ทุเรียนมีค่าGlycemic index ต่ำกว่าผลไม้หวานๆอื่นๆ ดังนั้น คนเป็นเบาหวานกินได้สิ เรื่องนี้อธิบายง่ายๆครับ อาหารที่มีปริมาณไขมันในสัดส่วนสูงมันก็มีค่าGlycemic indexต่ำ
บางงานวิจัยบอกว่าทุเรียนช่วยเรื่องการทำงานของinsulin ด้วยสารอะไรไม่รู้ข้างใน...ก็เป็นงานวิจัยในระดับสั้นๆ วัดจากผลเลือด
3.ทุเรียนมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก
มีงานวิจัยบอกว่ามาก ซึ่งมากแล้วไง เพราะสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารอื่นๆก็มีมากเช่นกัน และไม่เสี่ยงต่อสุขภาพในเรื่องได้รับพลังงานเกินขนาด
4.ทุเรียนลดไขมันได้
ในหนู พบว่าการเพิ่มทุเรียน ทำให้ผลเลือดของหนูดีขึ้น โดยไม่ได้มีการติดตามดูสุขภาพของหนูในระยะยาว
5.ทุเรียนมีไขมันมาก
อาหารที่ไขมันมากทำให้เรากินคาร์โบไฮเดรตน้อยลง ดังนั้นช่วยลดความอ้วนได้
อาหารที่มีไขมันมากจะช่วยให้ลดความอ้วนได้ หากกินก่อนอาหารอื่น และเราเว้นช่วงพอ ที่สำคัญคือ แคลอรี่โดยรวมที่ได้รับทั้งวันต้องลดลงจากฤทธิ์ลดความอยากอาหาร
คำถามคือ ใครกินทุเรียนแบบนั้น ใครกินทุเรียนก่อนกินข้าว เพื่อลดข้าว พอซื้อทุเรียนมา กินแล้วเหลือ มีใครทิ้งทุเรียนบ้าง
ยังไม่นับปัญหาว่าทุเรียนมีคาร์โบไฮเดรตไม่น้อย ดังนั้น การกินทุเรียน คุณจะได้พลังงานจากสองทางเลย
การจะบอกว่าอาหารใดดีแล้วไปรณรงค์ให้กิน ต้องดูอย่างองค์รวมครับ ไม่ใช่มาดูผลเลือด
งานวิจัยที่เอามาอ้างๆกัน ต้องไปดูว่าทำในอะไร จัดการทดลองแบบไหน ทำในตัวอะไร
ต้องดูว่าผลที่ได้แปลผลได้หรือไม่
การรักษาแบบองค์รวมตามหลักการแพทย์แผนตะวันตกในปัจจุบัน คือ หาเหตุปัจจัย แล้วแก้อย่างเรื่องเบาหวาน ความดัน ไขมัน สิ่งที่การแพทย์แผนปัจจุบันรู้และทำกันคือแก้ที่กลไก
กลไกเกิดโรคเหล่านี้ โดยมากคือวงจรที่กินอาหารเข้าไปมากเกิน ทั้งในแง่ชนิด คุณภาพ และปริมาณ
ปริมาณแคลอรี่สูง ทำให้อ้วนมากขึ้น ชนิดอาหาร-คุณภาพ สัดส่วนสารอาหารบางชนิดที่มากในอาหาร ก็ทำให้มีโอกาสอ้วนได้มากกว่าในแคลอรี่ที่เท่ากัน
การกินน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตมาก ก็ไปทำให้ insulin ทำงานแย่ลง ระยะยาวเป็นเบาหวาน
น้ำตาล/ไขมัน หรืออาหารที่กินแล้วผลสุดท้ายแคลอรี่ที่ได้มากไปจะช่วยให้ร่างกายมีชั้นไขมันมากขึ้น
ไขมันที่มากขึ้น ส่งผลไปที่การทำงานของ insulin ทำให้แย่ลงไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์
พอเป็นเบาหวาน น้ำตาลและตัวเบาหวานเองเบาหวานไปทำให้เส้นเลือดเกิดการอักเสบน้อยๆ พอประกอบกับความอ้วน และมักออกกำลังกายน้อย เส้นเลือดก็แย่ เกิดความดันโลหิตสูง
การจะกินอะไรเพื่อไปคุมโรคที่มีความเชื่อมโยงแบบนี้ เราก็ต้องเลือกอาหารที่โอเคพอ พลังงานต้องไม่มากไป คุณภาพต้องไม่น้อยไป ถ้ามีสารที่ช่วยอะไรได้เป็นพิเศษยิ่งดี
ทุเรียน ก็เหมือนกับพืชผักอีกนับร้อยชนิดที่มีในไทย มีสารที่ช่วยเรื่องการลดไขมันและลดน้ำตาลได้
แต่ปัญหาอยู่ที่มันมีแคลอรี่สูง
และการกินแบบปกติของคนทั่วไป มักทำให้ได้รับแคลอรี่ที่เกินมากกว่าที่จะได้รับประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ของมัน มันจึงมีศักยภาพ ในการนำไปวิจัยต่อยอด เพื่อหาสารที่เอามาทำยา มันจึงมีศักยภาพ ในการนำไปวิจัยต่อยอด เพื่อหาวิธีกินให้ได้ประโยชน์
แต่มันไม่มีศักยภาพพอ ที่จะมาบอกว่ากินไปเลย ลดเบาหวาน ลดน้ำหนัก ลดไขมัน
การดูแลสุขภาพ ต้องดูร่างกายคนทั้งคน จะดึงงานวิจัยใดๆ มาแนะนำคนหมู่มากหรือถึงขั้นบอกว่าถูกหลอก ต้องดูให้องค์รวม
มิฉะนั้น โทษจะมากกว่าประโยชน์”
***ภาพและข้อมูล : Facebook "ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว"
_____________________________________