บ่น ด่า ดราม่า ระบาย เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้แทบทุกวันในโลกโซเชียล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทุกคนพร้อมจะปลดปล่อยทุกความรู้สึกนึกคิดออกมาผ่านสเตตัสให้คนอื่นได้อ่านหรือผ่านตา และบ่อยครั้ง มันกลายเป็นที่มาของความเครียดโดยไม่รู้ตัว ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
แม้จะยังไม่มีการระบุหรือตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ภาวะแบบ “เครียดออนไลน์” อันเป็นผลพวงมาจากการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับใครทุกคน “นายแพทย์ศิระ กิตติวัฒนโชติ” แพทย์ประจำโรงพยาบาลเจ้าพระยา ได้ชี้แนะแนวทางสำหรับการเสพสื่อโซเชียล โดยที่จิตใจไม่บูดเบี้ยวไปตามกระแสแห่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึก ความเห็น ที่หลั่งไหลอยู่ในโลกออนไลน์อย่างยุคปัจจุบัน
ที่มาของ ‘ภาวะเครียดบนโลกออนไลน์’
“การบริโภคสื่อมีผลนะครับ ผมว่าทางสายกลางนะ ไม่มากไปหรือเสพให้ไม่ก่อความเครียด คือถ้ามันมากไปจนเร้าอารมณ์ให้รุนแรง อารมณ์โกรธเกลียด หรือเร้าอารมณ์จนโกรธเกลียดบ่อยเข้าๆ อาจจะพัฒนาเป็นโรคเครียดหรือซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน”
“คือถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ล่ะก็ ผมคิดว่า อาจจะต้องมีสติ คือรู้ทันอารมณ์ตัวเองว่าถ้าเราโกรธ หรือมีอารมณ์อะไรขึ้นมา เราจะรู้สึกรู้ทันอารมณ์ตัวเองมั้ย แล้วความคิดเราคิดหรือมองยังไง เพราะคนเราบางทีจะชอบความคิดหรือเชื่อของตัวเองโดยที่ไม่ตรวจสอบก่อนว่ามีหลักฐานน่าเชื่อถือแค่ไหน”
วิธีแก้
“ผมคิดว่า แต่ละคนเลือกได้นะว่า เสพมากน้อยแค่ไหน คือต้องดูให้พอเหมาะ แต่ถ้าเริ่มมีความเครียด เราควรเริ่มมีสติเริ่มรู้ทันตัวเอง แล้วก็มีวิธีจัดการความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก คือผมคิดว่าก็ต้องดูตัวเองน่ะ ว่าเท่าไหร่ที่พอเหมาะสำหรับเรา ให้ไม่มากเกินไป สรุปว่า ใช้ชีวิตการเสพสื่ออย่างมีสติ ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะสามารถผ่านปัญหาเหล่านี้ได้”
“ส่วนการแก้ปํญหาด้วยการใช้หลักธรรมะเข้าช่วยนั้น ผมว่าดีมากๆ เลยครับ เพราะการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจตนเอง จะช่วยได้มากๆ บางคนก็สนใจ บางคนก็ไม่สนใจ อย่างธรรมะเนี่ย จะพูดถึงจิตใจของเรา การมีสติ มันเกี่ยวกับกายและใจเราเอง หรือคนที่เรียนจิตวิทยามา เขาก็จะมีความรู้เกี่ยวกับจิตใจ แต่หลายคนไม่รู้เรื่องนี้เลย เหมือนกับใช้ชีวิตรู้แต่หน้าที่การงาน ไม่มีหางเสือทางจิตใจ มัวแต่ตะลุยไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่สังคมและสื่อในตอนนี้ มันเร้ากว่าแต่ก่อนเยอะ คือผมว่าเป็นความน่ากลัวในสังคมยุคนี้”
แม้จะยังไม่มีการระบุหรือตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ภาวะแบบ “เครียดออนไลน์” อันเป็นผลพวงมาจากการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับใครทุกคน “นายแพทย์ศิระ กิตติวัฒนโชติ” แพทย์ประจำโรงพยาบาลเจ้าพระยา ได้ชี้แนะแนวทางสำหรับการเสพสื่อโซเชียล โดยที่จิตใจไม่บูดเบี้ยวไปตามกระแสแห่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึก ความเห็น ที่หลั่งไหลอยู่ในโลกออนไลน์อย่างยุคปัจจุบัน
ที่มาของ ‘ภาวะเครียดบนโลกออนไลน์’
“การบริโภคสื่อมีผลนะครับ ผมว่าทางสายกลางนะ ไม่มากไปหรือเสพให้ไม่ก่อความเครียด คือถ้ามันมากไปจนเร้าอารมณ์ให้รุนแรง อารมณ์โกรธเกลียด หรือเร้าอารมณ์จนโกรธเกลียดบ่อยเข้าๆ อาจจะพัฒนาเป็นโรคเครียดหรือซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน”
“คือถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ล่ะก็ ผมคิดว่า อาจจะต้องมีสติ คือรู้ทันอารมณ์ตัวเองว่าถ้าเราโกรธ หรือมีอารมณ์อะไรขึ้นมา เราจะรู้สึกรู้ทันอารมณ์ตัวเองมั้ย แล้วความคิดเราคิดหรือมองยังไง เพราะคนเราบางทีจะชอบความคิดหรือเชื่อของตัวเองโดยที่ไม่ตรวจสอบก่อนว่ามีหลักฐานน่าเชื่อถือแค่ไหน”
วิธีแก้
“ผมคิดว่า แต่ละคนเลือกได้นะว่า เสพมากน้อยแค่ไหน คือต้องดูให้พอเหมาะ แต่ถ้าเริ่มมีความเครียด เราควรเริ่มมีสติเริ่มรู้ทันตัวเอง แล้วก็มีวิธีจัดการความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก คือผมคิดว่าก็ต้องดูตัวเองน่ะ ว่าเท่าไหร่ที่พอเหมาะสำหรับเรา ให้ไม่มากเกินไป สรุปว่า ใช้ชีวิตการเสพสื่ออย่างมีสติ ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะสามารถผ่านปัญหาเหล่านี้ได้”
“ส่วนการแก้ปํญหาด้วยการใช้หลักธรรมะเข้าช่วยนั้น ผมว่าดีมากๆ เลยครับ เพราะการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจตนเอง จะช่วยได้มากๆ บางคนก็สนใจ บางคนก็ไม่สนใจ อย่างธรรมะเนี่ย จะพูดถึงจิตใจของเรา การมีสติ มันเกี่ยวกับกายและใจเราเอง หรือคนที่เรียนจิตวิทยามา เขาก็จะมีความรู้เกี่ยวกับจิตใจ แต่หลายคนไม่รู้เรื่องนี้เลย เหมือนกับใช้ชีวิตรู้แต่หน้าที่การงาน ไม่มีหางเสือทางจิตใจ มัวแต่ตะลุยไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่สังคมและสื่อในตอนนี้ มันเร้ากว่าแต่ก่อนเยอะ คือผมว่าเป็นความน่ากลัวในสังคมยุคนี้”