ไม่ว่าร่างกายของคุณจะเสื่อมสภาพ เพราะอายุที่มากขึ้น ดำเนินชีวิตผิดจนสุขภาพพังเพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือภาวะออฟฟิศซินโดรม อุบัติเหตุ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่ถูกต้อง อันเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติบริเวณกระดูกสันหลังและคอ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือเรียกว่ากลุ่ม ‘โรคแห่งความเสื่อม’ ซึ่งกำลังคุกคาม ทั้งในผู้สูงอายุและกลุ่มคนหนุ่มสาววัยทำงานเพิ่มมากขึ้น
สำหรับอาการที่พบก็มีตั้งแต่เล็กน้อย สามารถรักษาได้ด้วยการกินยา ฉีดยา ทำกายภาพบำบัด หรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการดำเนินชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง รวมถึงรายที่มีภาวะกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกหลังหรือกระดูกคอ ทั้งจากอาการหมอนรองกระดูกปลิ้น มีหินปูนเกาะ หรือโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบจากการหนาตัวขึ้นของกระดูกหรือเส้นเอนจนบีบรัดเส้นประสาท
ผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถสังเกตอาการได้จากความเจ็บร้าวในส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นต้นว่าหากเป็นที่คอจะปวดร้าวแล่นลงแขน ส่วนที่บริเวณหลังจะแล่นลงขา ต่อมาจึงเริ่มมีอาการชาร่วมด้วย และเมื่อหนักเข้าก็จะทำให้แขนหรือขาอ่อนแรง อาการเหล่านี้นับว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มในการเข้ารับการผ่าตัด
แต่ทุกวันนี้ มีเทคนิคที่เรียกว่า ‘การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป’ โดยสอดกล้องผ่านแผลผ่าตัดขนาด 7.9 มิลลิเมตรสำหรับรักษากระดูกสันหลังช่วงเอวและคอ และ การกรอกระดูกสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มอาการโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบจากการเกิดหินปูนกดทับเส้นประสาท ด้วยกล้องขนาด 10.5 มิลลิเมตร พร้อมเลนส์ที่ปลายกล้องเพื่อช่วยให้แพทย์มองเห็นบริเวณที่ผิดปกติได้ชัดเจน และสามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาออกได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก คนไข้จึงใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดไม่นานและมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีการเดิม
และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ก็มิได้หมายถึงเพียงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในบริเวณหลังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระดูกสันหลังทุกส่วนตั้งแต่ต้นคอไล่ไปจนถึงปลายกระดูกสันหลังอีกด้วย ปัจจุบัน จึงได้มีการยกระดับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปไปอีกขั้น ด้วยเทคนิค ‘การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปเพื่อรักษาโรคกระดูกสันหลังช่วงคอ’ โดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปขนาด 5.5 มิลลิเมตร
ซึ่งเป็นระดับการรักษาที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทจากหินปูนเกาะ หรือการฉีกปลิ้นของหมอนรองกระดูกบริเวณคอ โดยเทคนิคและวิธีการรักษาจะทำในลักษณะเดียวกับการผ่าตัดบริเวณหลัง หากแตกต่างกันตรงตำแหน่งที่ผิดปกติจะมีขนาดเล็กและอาจสร้างความอันตรายให้กับคนไข้ได้มากกว่า เนื่องจากเป็นบริเวณที่ใกล้เคียงกับไขสันหลัง จึงต้องใช้กล้องที่มีขนาดเล็กกว่า และอาศัยความชำนาญของแพทย์เทคนิคดังกล่าวนี้จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังบริเวณคอ และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการนำกล้องเอ็นโดสโคปมารักษาอาการผิดปกติของกระดูกสันหลังให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย นพ.เซบัสเตียน รุสเทิ่น นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในนามโรงพยาบาล เซนต์ แอนนา โดยความร่วมมือของบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ ริชาร์ด วูล์ฟ ในประเทศเยอรมัน จนได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์อย่างกว้างขวางและนำมาสู่ความร่วมมือครั้งสำคัญของศัลยแพทย์กระดูกสันหลังนานาชาติ ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังและกระดูกคอขึ้นทุกปี ปีละ 3 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดที่ประเทศเยอรมัน 2 ครั้ง และในประเทศไทย 1 ครั้ง โดย นพ.รุทเทิ่น ได้มอบหมายให้สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ เป็นตัวแทนในการจัดฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปแห่งแรกและแห่งเดียวนอกประเทศเยอรมนี
จึงอาจกล่าวได้ว่า นี่คือความสำเร็จขั้นหนึ่งของการจัดการฝึกอบรมในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสนใจของแพทย์ได้กระจายออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น และนั่นก็หมายถึงแนวโน้มในอนาคตข้างหน้า ที่เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปจะไม่เพียงทำกันอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น หากยังแพร่หลายออกไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งผลสำเร็จที่แท้จริงในท้ายสุดก็จะหมายถึงการช่วยเหลือคนไข้ได้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับอาการที่พบก็มีตั้งแต่เล็กน้อย สามารถรักษาได้ด้วยการกินยา ฉีดยา ทำกายภาพบำบัด หรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการดำเนินชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง รวมถึงรายที่มีภาวะกดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกหลังหรือกระดูกคอ ทั้งจากอาการหมอนรองกระดูกปลิ้น มีหินปูนเกาะ หรือโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบจากการหนาตัวขึ้นของกระดูกหรือเส้นเอนจนบีบรัดเส้นประสาท
ผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถสังเกตอาการได้จากความเจ็บร้าวในส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นต้นว่าหากเป็นที่คอจะปวดร้าวแล่นลงแขน ส่วนที่บริเวณหลังจะแล่นลงขา ต่อมาจึงเริ่มมีอาการชาร่วมด้วย และเมื่อหนักเข้าก็จะทำให้แขนหรือขาอ่อนแรง อาการเหล่านี้นับว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มในการเข้ารับการผ่าตัด
แต่ทุกวันนี้ มีเทคนิคที่เรียกว่า ‘การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป’ โดยสอดกล้องผ่านแผลผ่าตัดขนาด 7.9 มิลลิเมตรสำหรับรักษากระดูกสันหลังช่วงเอวและคอ และ การกรอกระดูกสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มอาการโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบจากการเกิดหินปูนกดทับเส้นประสาท ด้วยกล้องขนาด 10.5 มิลลิเมตร พร้อมเลนส์ที่ปลายกล้องเพื่อช่วยให้แพทย์มองเห็นบริเวณที่ผิดปกติได้ชัดเจน และสามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาออกได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก คนไข้จึงใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดไม่นานและมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีการเดิม
และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ก็มิได้หมายถึงเพียงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในบริเวณหลังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระดูกสันหลังทุกส่วนตั้งแต่ต้นคอไล่ไปจนถึงปลายกระดูกสันหลังอีกด้วย ปัจจุบัน จึงได้มีการยกระดับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปไปอีกขั้น ด้วยเทคนิค ‘การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปเพื่อรักษาโรคกระดูกสันหลังช่วงคอ’ โดยใช้กล้องเอ็นโดสโคปขนาด 5.5 มิลลิเมตร
ซึ่งเป็นระดับการรักษาที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทจากหินปูนเกาะ หรือการฉีกปลิ้นของหมอนรองกระดูกบริเวณคอ โดยเทคนิคและวิธีการรักษาจะทำในลักษณะเดียวกับการผ่าตัดบริเวณหลัง หากแตกต่างกันตรงตำแหน่งที่ผิดปกติจะมีขนาดเล็กและอาจสร้างความอันตรายให้กับคนไข้ได้มากกว่า เนื่องจากเป็นบริเวณที่ใกล้เคียงกับไขสันหลัง จึงต้องใช้กล้องที่มีขนาดเล็กกว่า และอาศัยความชำนาญของแพทย์เทคนิคดังกล่าวนี้จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคกระดูกสันหลังบริเวณคอ และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการนำกล้องเอ็นโดสโคปมารักษาอาการผิดปกติของกระดูกสันหลังให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย นพ.เซบัสเตียน รุสเทิ่น นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในนามโรงพยาบาล เซนต์ แอนนา โดยความร่วมมือของบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ ริชาร์ด วูล์ฟ ในประเทศเยอรมัน จนได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์อย่างกว้างขวางและนำมาสู่ความร่วมมือครั้งสำคัญของศัลยแพทย์กระดูกสันหลังนานาชาติ ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังและกระดูกคอขึ้นทุกปี ปีละ 3 ครั้ง แบ่งเป็นการจัดที่ประเทศเยอรมัน 2 ครั้ง และในประเทศไทย 1 ครั้ง โดย นพ.รุทเทิ่น ได้มอบหมายให้สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ เป็นตัวแทนในการจัดฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปแห่งแรกและแห่งเดียวนอกประเทศเยอรมนี
จึงอาจกล่าวได้ว่า นี่คือความสำเร็จขั้นหนึ่งของการจัดการฝึกอบรมในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสนใจของแพทย์ได้กระจายออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น และนั่นก็หมายถึงแนวโน้มในอนาคตข้างหน้า ที่เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปจะไม่เพียงทำกันอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น หากยังแพร่หลายออกไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งผลสำเร็จที่แท้จริงในท้ายสุดก็จะหมายถึงการช่วยเหลือคนไข้ได้เพิ่มขึ้นด้วย