การใช้ชีวิตของคนเรานั้น ย่อมต้องมีสี่ปัจจัยสำคัญที่เราควรทำอย่างยิ่ง นั่นคือ “รับประทาน - ขับถ่าย - ใช้ชีวิต และ นอนหลับ” เพราะนั่น คือสิ่งสำคัญในการดำรงกาย ดำรงใจ ไว้ให้ตัวเองนั้น ได้สู้ชีวิต และ สามารถใช้ชีวิตในวันที่รวดเร็วไวปานจรวด วันที่ช้าแสนช้ายิ่งกว่าเต่าคลาน หรือ วันที่สบายๆ ชิลด์เอาท์ ตามสภาวะของแต่บุคคลในช่วงเวลาดังกล่าวไป
ซึ่งหาก ‘ระบบขับถ่าย’ ของคุณหรือใครก็ตาม เกิดมีปัญหางานเข้าขึ้นมาล่ะ บางคนก็อาจจะคิดว่าเรื่องเล็กน้อย คงไม่มีอะไรหรอก แล้วยังใช้ชีวิตแบบขำๆ กันต่อไป แต่แท้ที่จริงแล้ว มันแทบจะไม่ขำเลย เพราะนั่นคือสัญญาณเตือนของ ‘อาการท้องผูก’ นั่นเอง
แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งด่วนตกใจไป เพราะ ‘อาการท้องผูก’ ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิดซักหน่อย และถ้าเรา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายไปได้ การใช้ชีวิตในแต่ละวัน ก็คงจะมีความสุขอยู่ อย่างแน่นอน ถ้าเราได้รู้ถึงสาเหตุของ ‘อาการท้องผูก’ อย่างแท้จริง
สาเหตุของโรค “อาการท้องผูก”
ด้านสาเหตุของ “อาการท้องผูก” มีหลายสาเหตุมากมายกันไป อาทิ
-การอั้นอุจจาระเป็นประจำ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้นิสัยการขับเสียไป
-การขาดการออกกำลังกาย
-ความเครียด
-รับประทานอาหารที่มีใยอาหารน้อยเกินไป
-การใช้ยาบางชนิด อาทิ ยาบำรุงเลือด, ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือฝิ่น, ยาแก้ชัก, ยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น
-การใช้ชีวิตแบบเรื่อยๆ เอื่อยๆ เฉื่อยๆ
อาการของ “การท้องผูก”
สำหรับอาการท้องผูกนั้นคือ การถ่ายอุจจาระออกจากร่างกายเป็นไปด้วยความยากลำบาก อาจเป็นเพราะ อุจจาระอยู่ในสภาพที่แห้ง แข็ง หรือ เป็นก้อนเล็กก้อนน้อยเหมือนขี้แพะ
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคนอาจมีความถี่ในการถ่านอุจจาระปกติ แต่ในการถ่ายแต่ละครั้งจะถ่ายด้วยความยากลำบากก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูกเช่นกัน ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคนที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะถือว่ามีอาการท้องผูก
ส่วนอาการท้องผูกมักสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลานานเบ่งนานกว่าปกติ หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง
วิธีการดูแลตนเอง และ การรักษา
วิธีการรักษาที่เป็นพื้นฐานที่สุด คือ รับประทานอาหารจำพวกที่มีเส้นใยอาหารมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ จำพวก พรุน ส้ม มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักโขม ข้าวกล้อง เพราะจะช่วยในเรื่องขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อย วันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้กากใยอาหารที่ได้รับเข้าไป ทำงานให้ได้ดีขึ้น และ เพื่อประสิทธิผลที่ดีขึ้น ควรที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว และสามารถขับเอากากอาหารออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น
และที่สำคัญที่สุด ต้องพยายามฝึกตนเองให้ขับถ่ายเป็นเวลา จะเป็นช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ เพื่อที่ลำไส้จะได้เกิดความเคยชินกับการขับถ่ายเป็นเวลา นั่นเอง
ซึ่งหาก ‘ระบบขับถ่าย’ ของคุณหรือใครก็ตาม เกิดมีปัญหางานเข้าขึ้นมาล่ะ บางคนก็อาจจะคิดว่าเรื่องเล็กน้อย คงไม่มีอะไรหรอก แล้วยังใช้ชีวิตแบบขำๆ กันต่อไป แต่แท้ที่จริงแล้ว มันแทบจะไม่ขำเลย เพราะนั่นคือสัญญาณเตือนของ ‘อาการท้องผูก’ นั่นเอง
แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งด่วนตกใจไป เพราะ ‘อาการท้องผูก’ ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิดซักหน่อย และถ้าเรา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายไปได้ การใช้ชีวิตในแต่ละวัน ก็คงจะมีความสุขอยู่ อย่างแน่นอน ถ้าเราได้รู้ถึงสาเหตุของ ‘อาการท้องผูก’ อย่างแท้จริง
สาเหตุของโรค “อาการท้องผูก”
ด้านสาเหตุของ “อาการท้องผูก” มีหลายสาเหตุมากมายกันไป อาทิ
-การอั้นอุจจาระเป็นประจำ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้นิสัยการขับเสียไป
-การขาดการออกกำลังกาย
-ความเครียด
-รับประทานอาหารที่มีใยอาหารน้อยเกินไป
-การใช้ยาบางชนิด อาทิ ยาบำรุงเลือด, ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือฝิ่น, ยาแก้ชัก, ยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น
-การใช้ชีวิตแบบเรื่อยๆ เอื่อยๆ เฉื่อยๆ
อาการของ “การท้องผูก”
สำหรับอาการท้องผูกนั้นคือ การถ่ายอุจจาระออกจากร่างกายเป็นไปด้วยความยากลำบาก อาจเป็นเพราะ อุจจาระอยู่ในสภาพที่แห้ง แข็ง หรือ เป็นก้อนเล็กก้อนน้อยเหมือนขี้แพะ
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคนอาจมีความถี่ในการถ่านอุจจาระปกติ แต่ในการถ่ายแต่ละครั้งจะถ่ายด้วยความยากลำบากก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูกเช่นกัน ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคนที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะถือว่ามีอาการท้องผูก
ส่วนอาการท้องผูกมักสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลานานเบ่งนานกว่าปกติ หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง
วิธีการดูแลตนเอง และ การรักษา
วิธีการรักษาที่เป็นพื้นฐานที่สุด คือ รับประทานอาหารจำพวกที่มีเส้นใยอาหารมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ จำพวก พรุน ส้ม มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักโขม ข้าวกล้อง เพราะจะช่วยในเรื่องขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อย วันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้กากใยอาหารที่ได้รับเข้าไป ทำงานให้ได้ดีขึ้น และ เพื่อประสิทธิผลที่ดีขึ้น ควรที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว และสามารถขับเอากากอาหารออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น
และที่สำคัญที่สุด ต้องพยายามฝึกตนเองให้ขับถ่ายเป็นเวลา จะเป็นช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ เพื่อที่ลำไส้จะได้เกิดความเคยชินกับการขับถ่ายเป็นเวลา นั่นเอง