โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
"หวานเป็นลม ขมเป็นยา" เป็นคำโบราณที่ปู่ย่าตายายได้สอนต่อๆกันมา โดยไม่ได้รู้จากงานวิจัยว่าน้ำตาลเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ก่อให้เกิดสารพัดโรคในยุคปัจจุบัน
โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรตไต ฯลฯ โรคเหล่านี้เป็นโรคพื้นฐานที่หลายคนเริ่มรู้มากขึ้นว่าสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งก็คือการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป
น้ำตาลที่ค้างในหลอดเลือดมากเกินไปทำให้เกิดอนุมูลอิสระมาก และทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหาย เป็นจุดเริ่มต้นที่ร่างกายต้องทำการเยียวยาซ่อมแซม และนำไขมันไปพอกความเสียหายของหลอดเลือด
แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าน้ำตาลยังทำให้เราแก่ลงด้วย ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า ไกลเคชั่น (Glycation) หรือ ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Millard Reaction) คือ กลูโคสได้ทำปฏิกิริยาแบบสุ่มกับโปรตีนและรหัสพันธุกรรม และทำให้โปรตีนนั้นสูญเสียรูปทรง ทำให้โปรตีนนั้นไม่ละลายน้ำหรือไม่คงตัว ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้ด้วย
ผลเสียตามมาที่ยิ่งกว่าการเกิดกระบวนการไกลเคชั่นคือเกิดการเชื่อมข้ามสายโมเลกุล (Cross-Linking) ซึ่งเกิดจากการสร้างพันธะทางเคมีระหว่างโปรตีนด้วยกันหรือโปรตีกับโมเลกุลขนาดใหญ่ทั่วไป กลายเป็นสารประกอบตัวใหม่ที่แข็งกระด้างกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นน้อย แตกเปราะง่าย เป็นผลทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ส่งผลทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น ข้อต่อแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น
เมื่อเกิดการเชื่อมข้ามสายโมเลกุลผนังหลอดเลือดแดงจะแข็ง เปราะบางยืดหยุ่นน้อย จับชีพจรไม่ได้ และเส้นเลือดฝอยจะสูญเสียความสามารถในการปลดปล่อยสารอาหารและออกซิเจนผ่านเข้าสู่เซลล์ได้น้อย ผลที่ตามมาก็คือ เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ ทำให้แผลหายช้า เส้นประสาทถูกทำลาย และเกิดแผลอักเสบตามมา
ปฏิกิริยาของความเลวร้ายของน้ำตาลที่กล่าวมานั้น ยังรวมไปถึงเนื้อเยื่อบางอย่างเช่น สมอง ไต จอประสาทตา เนื้อเยื่อเหล่านี้กลูโคสสามารถดูดซึมผ่านเข้าไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอินซูลิน ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักมีอาการแทรกซ้อนที่พบทั่วไปก็คือ มีอาการปลายประสาทอักเสบ ไตวาย และตาบอด
นอกจากผลร้ายของน้ำตาลที่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว งานวิจัยยังระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของผิวหนังเหี่ยวย่นและผมหงอกด้วย !!!
ส่วนที่มีความสำคัญก็คือทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ดีเอ็นเอที่เป็นเหมือนหางอยู่ปลายสุดของโครโมโซม ที่เรียกว่า "เทโลเมียร์" จะทยอยสั้นลงไปเรื่อยๆ เมื่อความยาวของเทโลเมียร์สั้นลงจนหมดแล้วเซลล์ก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้ต่อไป หรือแบ่งตัวได้ก็จะเกิดความเสียหายต่อโครโมโซมเพื่อเข้าสู่การเสียชีวิตนั้นเอง ดังนั้นความลับสำคัญของการมีอายุขัยที่ยาวคือรักษาความยาวของเทโลเมียร์ให้สั้นลงช้าที่สุดนั่นเอง
งานวิจัยชิ้นนี้หนึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Longevity Healthspan เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในหัวข้อ "Consumption of a low glycemic Index diet in late life extends lifespan of Balb/c mice with different effects on DNA damage." โดย Nankervis และคณะ เพื่อศึกษาว่าเมื่อนำหนูทดลองมาบริโภคอาหารปกติ กับหนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index)นั้น หนูกลุ่มไหนมีอายุยืนยาวมากกว่ากัน
ผลปรากฏเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ หนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) มีอายุยืนยาวกว่า โดยหนูกลุ่มควบคุมอาหารปกติมีอายุประมาณ 110 สัปดาห์ก็เสียชีวิตทั้งหมด ในขณะที่หนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกลับมีอายุยืนถึง 130 สัปดาห์ หรือประมาณ 18% ซึ่งสอดคล้องกับการวัดความยาวของเทโลเมียร์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า หนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำนั้นเทโลเมียร์มีความยาวมากกว่า (อายุขัยยาวกว่า) หนูอีกกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไป 24 เดือน
จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราได้รับบทเรียนและเคล็ดลับ ว่าการที่จะแก่ช้า และอายุยืนได้นั้น ต้องบริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำที่สุด หันมาใช้น้ำตาลมะพร้าวแทน หยุดบริโภคข้าวขาวหอมมะลิมารับประทานข้าวกล้องแทน บริโภคขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว กินกับข้าวให้มากกว่ากินข้าว และกินหวานให้น้อยที่สุดนั่นเอง
"หวานเป็นลม ขมเป็นยา" เป็นคำโบราณที่ปู่ย่าตายายได้สอนต่อๆกันมา โดยไม่ได้รู้จากงานวิจัยว่าน้ำตาลเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ก่อให้เกิดสารพัดโรคในยุคปัจจุบัน
โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรตไต ฯลฯ โรคเหล่านี้เป็นโรคพื้นฐานที่หลายคนเริ่มรู้มากขึ้นว่าสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งก็คือการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป
น้ำตาลที่ค้างในหลอดเลือดมากเกินไปทำให้เกิดอนุมูลอิสระมาก และทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหาย เป็นจุดเริ่มต้นที่ร่างกายต้องทำการเยียวยาซ่อมแซม และนำไขมันไปพอกความเสียหายของหลอดเลือด
แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าน้ำตาลยังทำให้เราแก่ลงด้วย ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า ไกลเคชั่น (Glycation) หรือ ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Millard Reaction) คือ กลูโคสได้ทำปฏิกิริยาแบบสุ่มกับโปรตีนและรหัสพันธุกรรม และทำให้โปรตีนนั้นสูญเสียรูปทรง ทำให้โปรตีนนั้นไม่ละลายน้ำหรือไม่คงตัว ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้ด้วย
ผลเสียตามมาที่ยิ่งกว่าการเกิดกระบวนการไกลเคชั่นคือเกิดการเชื่อมข้ามสายโมเลกุล (Cross-Linking) ซึ่งเกิดจากการสร้างพันธะทางเคมีระหว่างโปรตีนด้วยกันหรือโปรตีกับโมเลกุลขนาดใหญ่ทั่วไป กลายเป็นสารประกอบตัวใหม่ที่แข็งกระด้างกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นน้อย แตกเปราะง่าย เป็นผลทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ส่งผลทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น ข้อต่อแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น
เมื่อเกิดการเชื่อมข้ามสายโมเลกุลผนังหลอดเลือดแดงจะแข็ง เปราะบางยืดหยุ่นน้อย จับชีพจรไม่ได้ และเส้นเลือดฝอยจะสูญเสียความสามารถในการปลดปล่อยสารอาหารและออกซิเจนผ่านเข้าสู่เซลล์ได้น้อย ผลที่ตามมาก็คือ เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ ทำให้แผลหายช้า เส้นประสาทถูกทำลาย และเกิดแผลอักเสบตามมา
ปฏิกิริยาของความเลวร้ายของน้ำตาลที่กล่าวมานั้น ยังรวมไปถึงเนื้อเยื่อบางอย่างเช่น สมอง ไต จอประสาทตา เนื้อเยื่อเหล่านี้กลูโคสสามารถดูดซึมผ่านเข้าไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอินซูลิน ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักมีอาการแทรกซ้อนที่พบทั่วไปก็คือ มีอาการปลายประสาทอักเสบ ไตวาย และตาบอด
นอกจากผลร้ายของน้ำตาลที่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว งานวิจัยยังระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของผิวหนังเหี่ยวย่นและผมหงอกด้วย !!!
ส่วนที่มีความสำคัญก็คือทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ดีเอ็นเอที่เป็นเหมือนหางอยู่ปลายสุดของโครโมโซม ที่เรียกว่า "เทโลเมียร์" จะทยอยสั้นลงไปเรื่อยๆ เมื่อความยาวของเทโลเมียร์สั้นลงจนหมดแล้วเซลล์ก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้ต่อไป หรือแบ่งตัวได้ก็จะเกิดความเสียหายต่อโครโมโซมเพื่อเข้าสู่การเสียชีวิตนั้นเอง ดังนั้นความลับสำคัญของการมีอายุขัยที่ยาวคือรักษาความยาวของเทโลเมียร์ให้สั้นลงช้าที่สุดนั่นเอง
งานวิจัยชิ้นนี้หนึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Longevity Healthspan เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในหัวข้อ "Consumption of a low glycemic Index diet in late life extends lifespan of Balb/c mice with different effects on DNA damage." โดย Nankervis และคณะ เพื่อศึกษาว่าเมื่อนำหนูทดลองมาบริโภคอาหารปกติ กับหนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index)นั้น หนูกลุ่มไหนมีอายุยืนยาวมากกว่ากัน
ผลปรากฏเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ หนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) มีอายุยืนยาวกว่า โดยหนูกลุ่มควบคุมอาหารปกติมีอายุประมาณ 110 สัปดาห์ก็เสียชีวิตทั้งหมด ในขณะที่หนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกลับมีอายุยืนถึง 130 สัปดาห์ หรือประมาณ 18% ซึ่งสอดคล้องกับการวัดความยาวของเทโลเมียร์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า หนูที่บริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำนั้นเทโลเมียร์มีความยาวมากกว่า (อายุขัยยาวกว่า) หนูอีกกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไป 24 เดือน
จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราได้รับบทเรียนและเคล็ดลับ ว่าการที่จะแก่ช้า และอายุยืนได้นั้น ต้องบริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำที่สุด หันมาใช้น้ำตาลมะพร้าวแทน หยุดบริโภคข้าวขาวหอมมะลิมารับประทานข้าวกล้องแทน บริโภคขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว กินกับข้าวให้มากกว่ากินข้าว และกินหวานให้น้อยที่สุดนั่นเอง