1. “ปรารถนาจะให้ประชาชนที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น” เป็นเป้าหมายและความพยายามหลักของผู้นำจีน
ในหนังสือ “สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3” กล่าวถึง “ความปรารถนาของประชาชนที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น” จะเป็นเป้าหมายหลักของความพยายามของผู้นำและพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยยึดถือจุดยืนพื้นฐานในการยืนเคียงข้างประชาชนและมุ่งมั่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน อันเป็นภารกิจสูงสุดของผู้นำและพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพราะประชาชน คือ นายของประเทศ
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมาจากประชาชน จึงเป็นพรรคเพื่อประชาชน และประสบความสำเร็จเพราะประชาชน พรรคต้องอยู่ใกล้ประชาชนเสมอและทำงานอย่างเข้มแข็งอยู่เคียงข้างประชาชน สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงข้อกำหนดใหม่ของสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีนในยุคใหม่ และเสริมสร้างการดำเนินการทั้งหมดของพรรคและรัฐอย่างต่อเนื่อง ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าความคิดเกี่ยวกับสังคมนิยมที่มีลักษณะของจีนสำหรับยุคใหม่และหลักการพื้นฐานนั้นได้รับการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์เพื่อยกระดับความเข้าใจเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์ภายในภาคีทั้งหมด สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการแสวงหาทางทฤษฎีอย่างเข้มงวดของพรรคและประชาชนจีน โดยอาศัยนวัตกรรมทางทฤษฎีและการปฏิบัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่มีการปฏิรูปและเปิดประเทศ นับเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ โครงการที่ยิ่งใหญ่ สาเหตุที่ยิ่งใหญ่ และความฝันอันยิ่งใหญ่กำลังเฟื่องฟูภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ทั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องปรับปรุงระบบและกลไกการนำของตน ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่กับความเข้มแข็งของผู้นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้กองทัพต้องปฏิบัติตามแนวคิดสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีนสำหรับยุคใหม่ และใช้หลักการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพิ่มความเข้มแข็งในการฝึกทหารและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิทธิของจีน กองทัพต้องปฏิบัติตามปรัชญาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการเสริมสร้างกองทัพสำหรับยุคใหม่ ใช้กลยุทธ์ใหม่สำหรับเงื่อนไขใหม่และความท้าทายใหม่ ๆ รัฐบาลที่นำโดยเลขาธิการสีจิ้นผิงในคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและในพรรคโดยรวม จะสนับสนุนอำนาจของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และความเป็นผู้นำแบบรวมศูนย์ รวมถึงหลักความเคารพ 4 ประการ คือ สมาชิกพรรคแต่ละคนคล้อยตามองค์กรของพรรค คนส่วนน้อยคล้อยตามเสียงข้างมาก องค์กรพรรค ระดับล่างคล้อยตามองค์กรพรรคระดับสูงกว่า และองค์กรและสมาชิกทั้งหมดของพรรคคล้อยตามสภาแห่งชาติและคณะกรรมการกลางพรรคในการเสริมสร้างรากฐานทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
2. เรียนรู้การทูตสาธารณะของจีนคำว่าการทูตสาธารณะนี้เป็นศัพท์ของตะวันตก เริ่มมีการกล่าวถึงครั้งแรกในปี 1856 และสหรัฐอเมริกานำมาใช้ในปี 1965 จีนนั้นเพิ่งนำมาใช้ในปี 1990 แต่จีนมีพัฒนาการทูตที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีนเอง โดนไม่เป็นแค่การทูตภาครัฐ ซึ่งใช้คำศัพท์ที่เรียกว่า การทูตพลเมืองและการทูตของประชาชน ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นการทูตระหว่างประชาชนและใช้จนมาถึงทุกวันนี้
ส่วนการทูตสาธารณะนั้นเริ่มเป็นที่สนใจมากในวงวิชาการจีนช่วงปี 2009-2010 หลังจากที่จีนได้จัดงานกีฬาโอลิมปิคและงาน Expo ทำให้ทั่วโลกต่างชื่นชมและประจักษ์ในความก้าวหน้าของจีน เป็นแบบอย่างของการดำเนินการทูตสาธารณะที่ดี จากนั้นค่อยๆพัฒนาจนกลายเป็นการทูตสาธารณะที่มีลักษณะเฉพาะแบบจีน ดังในคำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงที่เน้นย้าว่า “ในเรื่องระหว่างจีนกับต่างประเทศนั้น จีนจะต้องลุกขึ้นมานำเอง โดยผสมผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างประเทศ เล่าเรื่องจีนให้ดี นำเสนอเรื่องที่เป็นจริง ครบถ้วน ทุกมิติ และยกระดับ soft power ทางวัฒนธรรมของประเทศจีนให้ดีขึ้น”
ในยุคการนำของสี จิ้นผิง นี้ ยิ่งพยายามนำเสนอให้ชาวโลกเห็นว่า การบริหารประเทศของจีนมีปรัชญาสาคัญคือการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง มุ่งมั่นเพื่อสร้างหลักประกันและยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้กับประชาชน ให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ ด้วยการส่งเสริมปรับปรุงระบบสภาผู้แทนประชาชน สร้างพื้นฐานของระบบการเมืองที่มีพรรคเป็นผู้นา และใช้หลักนิติธรรมปกครองประเทศ ตลอดจนให้ความสำคัญกับสถานะและบทบาทหลักของประชาชน ด้วยการเรียนรู้จากประชาชน ฟังเสียงประชาชน สกัดภูมิปัญญาจากประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากประชาชน
การทูตสาธารณะในที่นี้หมายถึง การทูตที่รัฐพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนอื่น ๆ ของอีกรัฐ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ หรือประชาชนธรรมดา ขณะเดียวกัน นักธุรกิจ นักวิชาการ หรือประชาชนธรรมดาเหล่านี้ก็อาจมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินการทูตของรัฐให้เป็นไปด้วยดี
ใน หนังสือ “สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3” ก็ได้แนะนำแนะนำการทูตสาธารณะของประเทศด้วย โดยผู้นำจีนมองว่าการทูตสาธารณะจะส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนและความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย
3. ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจนความยากจนเป็นปัญหาสังคมมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจุบันนี้ ปัญหาความยากจนควบคู่กับการพัฒนาของสังคมมนุษย์ตลอดเวลา ประเทศจีนให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนอย่างยิ่ง โดยมองว่าการขจัดความยากจนเป็นความชอบธรรมของอำนาจรัฐและเป็นภารกิจของรัฐบาล หลังการเปิดประเทศเมื่อปลายศตวรรษที่ 20 ประเทศจีนมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลจีนต้องแก้ปัญหาความยากจนเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างสมดุล ต่อมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงประกาศจีนต้องบรรลุเป้าหมายขจัดความยากจนทั้งหมดในปีค.ศ.2020 ทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่หลุดพ้นจากปัญหาความยากจนได้ ซึ่งประสบการณ์จีนในทางด้านขจัดความยากจนเป็นบทเรียนที่ดีกับประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายรวมถึงประเทศไทย หนังสือ“สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3” ได้รวบรวมแนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนของประเทศจีน ในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงจุดของจีนและเป้มหมายการสร้างสรรคสังคมกินดีอยู่ดี
ประเทศจีนจากประเทศที่เป็นศักดินาได้ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมกึ่งศักดินาหลังปี พ.ศ. 2383 หลังจากนั้นท่านซุน ยัดเซ็น ได้เป็นผู้นำทำการปฏิวัติซินไห่เลิกล้มระบอบศักดินาราชาธิปไตย และได้สถาปนาประเทศสาธารณรัฐจีน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2454 ต่อมา ภายใต้การนำของท่านประธานเหมา เจ๋อ ตง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ทำการนำประชาชนชนชาติต่างๆ ของประเทศจีน ้ผ่านการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธและการต่อสู้รูปแบบอื่นๆ ด้วยความยากลำบากและยอกย้อนเป็นเวลายาวนานในที่สุดก็ได้โค่นล้มการปกครองของ จักรวรรดินิยม ศักดินานิยมและทุนขุนนางลง จนได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของการปฏิวัติ สามารถสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น โดยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประชาชนชาวจีนได้ยึดกุมอำนาจ ของประเทศ เป็นเจ้าของประเทศโดยแท้จริง เมื่อ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา
ประชาชนจีนได้ผ่านการต่อสู้ที่ยาวนาน ทั้งสงครามภายในและภายนอกประเทศ จนสามารถสถาปนาประเทศและพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศจีนให้เป็นประเทศสังคมนิยมที่มั่งคั่งจึงเป็นฉันทามติสำคัญที่สุดของประชาชน ด้วยอุดมการณ์การพัฒนาเหล่านี้ ประเทศจีนจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจน เพื่อประสบความสำเร็จทางด้านอุดมการณ์การพัฒนา
4. ทำไมจีนให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นผลงานสำคัญของประเทศจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ตั้งพันธกิจในการขจัดความยากจนตั้งแต่กำเนิด มุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน มุ่งแสวงหาแนวทางขจัดความยากจนโดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยม เติ้ง เสี่ยวผิงชี้ว่า สังคมนิยมต้อง“มั่งคั่งร่วมกัน” และลดความเหลื่อมล้ำสังคม
รัฐธรรมนูญจีนแสดงชัดเจนว่าประเทศจีนต้องพัฒนาเป็นประเทศที่มั่งคั่งและต้องส่งเสริมประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของมนุษยชาติ ตั้งแต่การประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้นำเสนอแนวคิดสำคัญ และเสนอทุกประเทศ “ร่วมมือสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของมนุษยชาติ” แบบประจักษ์ความยากจนและร่วมมือการพัฒนาซึ่งกันและกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเสนอหลักการที่ว่า “การผลักดันการขจัดความยากจนโลกอย่างเร่งด่วน การผลักดันความร่วมมือขจัดความยากจนอย่างเข้มแข็ง การผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบความหลากหลาย และ พึ่งพาตัวเองอย่างเป็นรูปธรรม และการผลักดันการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมการพัฒนาโลก”
ประเทศจีนจึงมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อพ.ศ.2561และนำเนื้อหา “ประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของมนุษยชาติ”เข้าไปในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การขจัดความยากจนจึงเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลจีน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ก็ได้บันทึกอยู่ที่ หนังสือ“สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3” ถ้าท่านใดสนใจสามารถไปติดตามอ่านได้ต่อไป สังคมจีนจึงมีการมีแรงจูงใจการขจัดความยากจนเพื่อมีชีวิตที่มั่งคั่ง เข้มแข็งและทันสมัย ระบบเศรษฐกิจกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบเศรษฐกิจ และการขจัดความยากจนเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์สร้างสรรค์ประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของมนุษยชาติของจีน จึงทำให้ประเทศจีนให้ความสำคัญและประสบความสำเร็จในด้านการขจัดความยากจน
5. ยุทธศาสตร์สำคัญของการขจัดความยากจนจีนประเทศจีนกำหนดวิสัยทัศน์การขจัดความยากจนอย่างชัดเจน ไม่เพียงแต่ให้คนยากจนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างเดียว แต่ยังต้องให้ผู้ที่หลุดพ้นแล้วไม่กลับมายากจนอีกครั้ง ประเทศจีนจึงกำหนดยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน โดยเน้นการขจัดความยากจนอย่างตรงจุด ซึ่งสาระสำคัญของการขจัดความยากจนอย่างตรงจุดสามารถไปอ่านในหนังสือ “สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3”
ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด เน้นการช่วยเหลือแบบหลากหลายมิติและตรงกับปัญหาความยากจน โดยรวมพลังระบบการเมือง เศรษฐกิจของสังคมเพื่อให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งต้องตรงกับการแก้ไชปัญหาคนยากจน แบบตรงกับปัญหา งบที่ใช้แบบตรงจุด มาตรการต้องตรงกับสถานการณ์ครัวเรือน เลขาธิการพรรคฯ ระดับต่างๆ ที่ดูแลเป็นหลักต้องรับผิดชอบโดย และให้มีประสิทธิผลอย่างตรงเป้า
ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด รวมถึงหลายยุทธศาสตร์ย่อยด้วยกัน อาทิ แบ่งเขตความยากจนอย่างชัดเจน ดูแล“กลุ่มคนข้ามยุค” ต่างยุคสมัย ต่างเชื้อชาติ เป็นพิเศษ และใช้มาตรการที่เหมาะสมตรงตามสภาพจริงในแต่ละพื้นที่ ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงจุดทำให้งานขจัดความยากจนมีข้อมูลที่สะท้อนสถานการณ์ความเป็นจริง สามารถกำหนดนโยบายและแผนตามคุณสมบัติของกลุ่มคนยากจน และให้หน่วยงานท้องถิ่นสามารถปฎิบัติตรงกับความต้องกัน
6.ทำไมประเทศจีนประสบความสำเร็จทางด้านการขจัดความยากจน
ประเทศจีนประสบความสำเร็จทางด้านการขจัดความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม คนยากจนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนด้วยรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ในการขจัดความยากจนของประเทศจีนจึงเป็นแนวทางและประสบการณ์การพัฒนาของหลายๆ ประเทศ
การขจัดความยากจนเป็นอำนาจหน้าที่และภารกิจของรัฐ โดยมีแรงจูงใจมาจากสังคมประวัติศาสตร์ และมีการกำหนดในรัฐธรรมนูญจีน ประเทศจีนจึงให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจน
ประเทศจีนใช้ยุทธศาตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงจุดในการขจัดความยากจน เน้นการแก้ปัญหาตามสถานการณ์จริง ประเทศจีนใช้นโยบายการพัฒนาระบบเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาระบบสังคม โดยเน้นการให้ทุนและบริการสาธารณะกับคนยากจน เพื่อให้คนยากจนหลุดพ้นจากความยากจนและมีกำลังใจอยู่ด้วยตัวเองได้
ประเทศจีนโดยให้พรรคอมมิวนิสต์จีน หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน จะมีส่วนร่วมในงานการแก้ไขปัญหาความยากจน พรรคอมมิวนิสต์จีนรณรงค์ให้เลขาธิการพรรคและสมาชิกพรรคผลักดันและรับผิดชอบงานขจัดความยากจน หน่วยงานรัฐกำหนดนโยบายและแผนการขจัดความยากจนและจัดสรรงบประมาณของรัฐเพื่อสนับสนุนนโยบายเหล่านี้ ภาคเอกชนโดยมี วิสาหกิจ มูลนิธิ และ องค์กรภาคเอกชนเข้ามาร่วม ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนยากจน
หนังสือ “สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3”ได้แนะนำนโยบาย แผนและยุทธศาตร์การขจัดความยากจนของจีน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประธานาธิบดี สี จิ้น ผิงมีความประสงค์หรือคาดหวังอยากให้ประชาชนชาวจีนกับประชาชนทั่วโลกมีโชคชะตาที่ผูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วต่างจับมือไปด้วยกันแบบมีสันติภาพ ช่วยเหลือกัน นี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากของทิศทางของโลกเรา ที่ถ่ายทอดผ่านแนวความคิดในการบริหารงานที่ทำให้ประชากร 1,400 ล้านคนสามารถมีกินมีใช้ อยู่อย่างมีความสุขแล้วก็สุขกายสบายใจ