โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
ในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยถอยจม ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน คนเผาเมืองได้ดิบได้ดี สภา เสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ว่าเสื่อมแล้ว ยัง “เสื่อมได้อีก” หลังเกิดข่าวเสื่อมเสียว่า ส.ส.ผู้น่ารังเกียจคนสองคนก๊งเหล้าจนเมาแอ่นเป็นที่โด่งดังไปทั่ว
งานนี้แม้เจ้าตัว พวกพ้อง และลิ่วล้อจะออกมาแก้ข่าว นั่งยันนอนยันว่า “ผมม่ายมาว เอิ๊ก” แต่คงยากที่จะมีใครเชื่อ เพราะพฤติกรรมทั้งปัจจุบันและอดีตมันปรากฏชัด
ดังนั้นในสถานการณ์ข่าวสารบ้านเมืองที่ยังอวลไปด้วยกลิ่นสุราโชยคุ้ง ผมจึงขอหยิบยกบทเพลง “ขี้เมา”ต่างๆของวงคาราบาว มารำลึกความหลังคลอเคล้าไปกับการดื่มน้ำสีอำพัน เพื่อเฉลิม...และฉลอง ต่อการที่วิญญูคนไทยได้มีโอกาสรับรู้ถึงข่าวพฤติกรรมอันต่ำทรามของนักการเมืองบางคน ที่สุดท้ายกรรมก็ได้เผยให้เห็นถึงอีกหนึ่งในด้านมืดของพวกเขา
เหตุที่ผมเลือกเพลงของวงหัวควายมาเป็นเพราะที่ผ่านมาวงนี้ได้นำเสนอบทเพลงเกี่ยวกับสุรายาเสพติดและสิ่งมึนเมาออกมามากหลาย โดยบทเพลงขี้เมาที่ผมเลือกมานั้นเป็นเพลงในยุคคาราบาวคลาสสิคตั้งแต่ชุดแรกถึงชุดทับหลัง ซึ่งบทเพลงขี้เมาของพวกเขาจะมุ่งเน้นการสะท้อนปัญหาสังคมมากกว่าในยุคหลังที่มุ่งไปในด้านตัวตน และความสนุก ความบันเทิง
สำหรับบทเพลงแรกเริ่มกันด้วย เพลง “ลุงขี้เมา” ในผลงานชุดแรก “ขี้เมา”
เพลงนี้แม้น้าแอ๊ด คาราบาว จะนำทำนองมาจากเพลง Anak ของ Freddie Aguilar แต่ด้วยเนื้อหาที่กินใจ สะทกสะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทยว่าด้วยเรื่องราวของคนเล็กๆ ที่ชีวิตพลิกผันจากชาวนามาเป็นแรงงานก่อนกลายมาเป็นขอทาน ที่สุดท้ายชีวิตสิ้นหวังไร้ทางออกจึงต้องหันมาพึ่งเหล้า ก่อนจะจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ
ลุงขี้เมาแต่งขึ้นในช่วงที่แอ๊ดกำลังสด สามารถเล่าเรื่องได้อย่างมีมิติมีรสชาติ ใช้ภาษาเรียบง่ายแต่สื่อความชัดเจน ทำให้เพลงนี้เป็นอีกหนึ่งเพลงโดนของคาราบาวที่ยังคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
“เช้าวันหนึ่งมีคนพบศพขี้เมานอนตายอยู่ที่ใต้สะพานลอย”
ท่อนจบของเพลงลุงขี้เมา ที่ขี้เมาบางคนมันหัวไวร้องแปลงให้ฟังว่า
“เช้าวันหนึ่งมีคนพบศพเป็ดเมานอนตายอยู่ที่หน้ารัฐสภา”
มาถึงอัลบั้มที่สอง“แป๊ะขายขวด” คาราบาวมีเพลงขี้เมา 2 เพลงด้วยกัน เพลงแรก “เมากีตาร์” เพลงนี้ไม่ใช่เพลงดังของคาราบาว ต้องเป็นแฟนพันธุ์แท้ถึงจะรู้จักดี
เมากีตาร์ขับร้องโดยน้าเล็ก คาราบาว เป็นเพลงสนุกๆ สไตล์คันทรี มีเสียงสไลด์กีตาร์โฉบเฉี่ยว เนื้อเพลงว่าด้วยนักดนตรีขี้เมา กินแต่เหล้า ที่แม้จะตกงานไม่มีงานเล่นก็ยังอุตส่าห์ไปเซ็นเหล้ากิน จนเล่นกีตาร์เพี้ยนไป เพี้ยนมาไม่น่าฟัง
อย่างไรก็ดีเพลงนี้ได้เลือกจบแบบสวยงามด้วยการให้ข้อคิดว่าแม้นักดนตรีจะตกงาน แต่หากไม่ท้อแท้มัวกินแต่เหล้า หมั่นฝึกฝนฝึกปรือฝีมือ ย่อมมีอนาคตแน่นอน
เพลงขี้เมาอีกหนึ่งเพลงในอัลบั้มชุดนี้คือ “กัญชา” อีกหนึ่งเพลงคลาสสิคของคาราบาว และเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกแบนในยุคสมัยนั้น
เพลงนี้น้าแอ๊ดโชว์พลังเสียงสูงปรี๊ด แถมยังลากเสียงยาวเฟื้อยกินยาวไปถึง 5 ห้อง ส่วนในท่อนโซโลกีตาร์น้าเล็กก็ได้เริ่มฉายแววความเป็นยอดมือกีตาร์ในเวลาต่อมา
เพลงกัญชามี 2 อารมณ์คืออารมณ์เหงาเคลิ้มเหมือนคนดูดกัญชากับอารมณ์คึกคัก มีเสียงหัวเราะของคนเมากัญชามาเติมสีสัน เนื้อหาเพลงนี้เป็นการเตือนใจให้แก่ผู้ดูดกัญชา ก่อนที่สุดท้ายจะจบลงด้วยข้อคิดว่า
“คราบรอยยิ้มยังแต้มเติมตามใบหน้า สูบกัญชาหลอกหลอนจิตใจ ชั่วชีวิตคิดสั้นทำไม เส้นทางสุดท้าย นอนตายใต้ต้นกัญชา”
ข้ามไปชุดที่ 4 “ท.ทหารอดทน” ชุดนี้มีเพลงขี้เมาให้ฟัง 2 เพลงด้วยกัน เพลงแรก “ทินเนอร์”ที่ถูกแบนเหมือนกัน เพลงนี้สะท้อนปัญหาของเยาวชนในยุคนั้นที่มีปัญหาติดทินเนอร์กันมาก ดมกันจนเมาจมูกโหว่ จมูกแหว่ง
มาวันนี้ทินเนอร์เป็นของกระจอกสำหรับวัยรุ่นไทยไปแล้ว เพราะพวกเขามียาบ้า ไอซ์ เค แป๊ะ ให้เลือกเสพกันเกลื่อนเมือง ซึ่งถ้าจะถามว่าหาซื้อได้ที่ไหน ลองถามพวกสีกากีดูสิ พวกนี้รู้ดีทีเดียว
ส่วนเพลง “ขี้เมาใจดี”(ถึกควายทุย ภาค 4) เป็นโฟล์กร็อกฟังสบาย เป็นถึกควายทุยในเนื้อหาที่ไม่ซีเรียสหากเทียบกับ 3 ภาคที่ผ่านมา
โหนกในเพลงนี้เมื่อเมาแล้วไปเที่ยวเขาดิน แล้วเกิดอาการสงสารจึงให้ช้างร่วมร่ำสุราด้วย ซึ่งมาในวันนี้ผมไม่แน่ใจว่าเขาดินจะสามารถนำเหล้าเข้าไปได้หรือเปล่า แต่เมื่อสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ผมเคยไปนั่งจิบเบียร์กับเพื่อนที่เขาเปิดขายในเขาดินอยู่เหมือนกัน พอดึ่มกรึ่มๆได้ที่ก็เดินดูสัตว์เพลินดีเหมือนกัน แถมยังเห็นสัตว์บางตัวเลื้อยหลุดออกมาจากสภาด้วยสิ ไม่รู้ว่าวันนั้นตาฝาดหรือเปล่า
มาถึงชุดสุดดัง “เมดอินไทยแลนด์”(ชุด 5) ชุดนี้ไม่มีเพลงขี้เมาตรงๆ แต่มีเพลง“ลูกแก้ว” เป็นร็อกมันๆที่ให้อารมณ์และเนื้อหาตรงข้ามกับเพลง“ลูกหิน”ในแทรคก่อนหน้านั้น ที่ว่าด้วยการเลี้ยงลูกเหมือนกัน แต่เป็นการเลี้ยงลูกของคนจนที่ต้องดินรนต่อสู้ ผิดกับการเลี้ยงลูกของคนมีตังค์ในลูกแก้ว ที่เตือนใจพ่อแม่ที่เอาแต่ตามใจลูกจนไม่ลืมหูลืมตา สุดท้ายแล้วกลับกลายเป็นการทำร้ายลูกไปโดยปริยาย เพราะลูกชายคนเดียวที่มีแต่เงินทองแต่ไม่มีความอบอุ่น ได้คบเพื่อนเลว แล้วพากันเดินลงขวด เดินลงบ้องกัญชา และเดินลงเข็มฉีดยา ก่อนที่ความมึนเมาจะนำพาลูกแก้วไปสู่การปล้นฆ่าและข่มขืน
เพลงนี้หลายคนฟังแล้วบอกพฤติกรรมคุ้นๆอยู่นะ
จากเมดอินไทยแลนด์ข้ามไปยังชุดที่ 8 “เวลคัมทูไทยแลนด์”ที่คาราบาวทำยอดขายได้ทะลุล้านตลับเดินตามหลังเมดอินไทยแลนด์
ชุดนี้ไม่มีเพลงขี้เมาตรงๆเหมือนกัน แต่มีเพลงที่สื่อถึงความเมาอย่าง “คนหนังเหนียว”ที่คาราบาวนำเสนอเรื่องราวของกรรมกรหนุ่ม 2 คน ที่หลังจากประตูโรงงานปิดแล้วก็มาก๊งเหล้า บ่นปัญหาชีวิต สารพัดสารพัน ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาที่เป็นความจริงของสังคมที่แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมานานแล้วทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม
ยิ่งในยุคนี้ที่ค่าครองชีพแพงหูฉี่จากนโยบายกระชากค่าครองชีพของรัฐบาล แถมหลายคนยังโดนเลิกจ้างจากวิกฤติน้ำท่วมอีกต่างหาก
เพลงคนหนังเหนียวนี้สนุกมาก น้าเล็กร้องคู่กับน้าเทียรี่ได้อย่างเข้าขา แถมยังให้ซุ่มเสียงของขี้เมาได้อย่างออกรสชาติ ซึ่งไม่ว่าจะเดือดร้อนจากค่าข้าว ค่าบ้าน แต่ค่าที่สำคัญที่สุดของ 2 หนุ่มโรงงานก็คือ “ค่าเหล้า”
อีกเพลงหนึ่งที่อยู่ในแทรคถัดมาคือ “บาปบริสุทธิ์” ที่แต่งและขับร้องโดยน้าเล็ก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเพลงลายเซ็นของเขา
เพลงนี้น้าเล็กพูดถึงเหล้าเพียงวรรคเดียวคือท่อน “ผมไปกินเหล้ากับเพื่อนมานะ” แต่โดยรวมทั้งเพลงแล้วนี่คือบทเพลงสะท้อนปัญหาครอบครัว ที่ยังคงเป็นปัญหาแก้ไม่ตกมาจนถึงทุกวันนี้
ครับ และนั่นก็เป็นบทเพลงขี้เมาอันหลากหลายของคาราบาวในยุคคลาสสิค ซึ่งจะว่าไปการเมาเหล้าเข้าสภาของนักการเมือง แม้จะเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ แต่ก็ยังน่ารังเกียจน้อยกว่า การมัวเมาใน อำนาจ วาสนา เงินตรา ที่ส่งผลต่อวิบากกรรมของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้
*****************************************
คอลัมน์"เพลงวาน" จะนำเสนอบทเพลงน่าสนใจย้อนยุค สลับกับบทความแนะนำเพลงน่าสนใจในสมัยนิยม
*****************************************
ข่าวดนตรี
โอเปร่า “ผู้หญิงก็เป็นซะหยั่งงี้”
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอนำส่งข่าวประชาสัมพันธ์ ละครโอเปราแนวหรรษาเรื่อง "Cosi fan Tutte ผู้หญิงก็เป็นซะหยั่งงี้" จัดแสดงในวันที่ 8-10 มีนาคม 2555 ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Cosi fan Tutte เป็นโอเปร่าเรื่องสุดท้ายในสามเรื่องที่เป็นผลงานการทำงานร่วมกันระหว่างโมสาร์ทกับ Lorenzo da Ponte ผู้เขียนเนื้อ อีกสองเรื่องคือ The Marriage of Figaro และ Don Giovanni. เป็นโอเปร่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และได้ถูกนำมาแสดงมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากมีเรื่องราวที่สนุกสนาน ตลกขบขัน เซ็กซี่
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำโอเปร่าเรื่องนี้มานำเสนอ ในรูปแบบละครโอเปร่าแนวหรรษา ที่มีฉาก แสง สี เสียง พร้อมการบรรเลงสดจากวงออร์เคสตร้า โดยดัดแปลงให้การแสดงมีความทันสมัย สนุกสนาน เข้าใจง่าย มี subtitle ภาษาไทย
ทั้งนี้เรื่องย่อของโอเปร่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า จริงหรือ ที่ว่าผู้หญิงจะซื่อสัตย์ต่อคนรักเสมอ หรือเมื่อลับหลังคู่หมั้นหมาย แล้ว “ผู้หญิงก็เป็นซะหยั่งงี้” ตาแก่จอมวางแผนท้าพนันหนุ่มในเครื่องแบบสองนายผู้รักใคร่สวีทหวานอยู่กับแฟนสาวคนสวย ให้พิสูจน์ใจคนรักว่าจะยังมั่นคงหรือไม่ ถ้าแฟนอยู่ไกล แล้วมี กิ๊ก รูปหล่อ เข้ามาแทนที่ โดยมีผู้ช่วยเป็นสาวใช้เจ้าบทบาทผู้ถือคติว่า “ชีวิตแสนสั้นเกินกว่าที่จะจบชีวิตกับคนคนเดียว”
สำหรับกำหนดการแสดงมีดังนี้ พฤหัสบดีที่ 8, ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2555 รอบ 19.00 น. เสาร์ 10 มีนาคม 2555 รอบ 14.00 และ 19.00 น. ณ หอแสดงดนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา บัตรราคา 1,000, 750 , 500 , 200 (นักเรียน นักศึกษา 100 บาท)สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร 0-2800-2525 ต่อ 153, 154, 203
ในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยถอยจม ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน คนเผาเมืองได้ดิบได้ดี สภา เสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ว่าเสื่อมแล้ว ยัง “เสื่อมได้อีก” หลังเกิดข่าวเสื่อมเสียว่า ส.ส.ผู้น่ารังเกียจคนสองคนก๊งเหล้าจนเมาแอ่นเป็นที่โด่งดังไปทั่ว
งานนี้แม้เจ้าตัว พวกพ้อง และลิ่วล้อจะออกมาแก้ข่าว นั่งยันนอนยันว่า “ผมม่ายมาว เอิ๊ก” แต่คงยากที่จะมีใครเชื่อ เพราะพฤติกรรมทั้งปัจจุบันและอดีตมันปรากฏชัด
ดังนั้นในสถานการณ์ข่าวสารบ้านเมืองที่ยังอวลไปด้วยกลิ่นสุราโชยคุ้ง ผมจึงขอหยิบยกบทเพลง “ขี้เมา”ต่างๆของวงคาราบาว มารำลึกความหลังคลอเคล้าไปกับการดื่มน้ำสีอำพัน เพื่อเฉลิม...และฉลอง ต่อการที่วิญญูคนไทยได้มีโอกาสรับรู้ถึงข่าวพฤติกรรมอันต่ำทรามของนักการเมืองบางคน ที่สุดท้ายกรรมก็ได้เผยให้เห็นถึงอีกหนึ่งในด้านมืดของพวกเขา
เหตุที่ผมเลือกเพลงของวงหัวควายมาเป็นเพราะที่ผ่านมาวงนี้ได้นำเสนอบทเพลงเกี่ยวกับสุรายาเสพติดและสิ่งมึนเมาออกมามากหลาย โดยบทเพลงขี้เมาที่ผมเลือกมานั้นเป็นเพลงในยุคคาราบาวคลาสสิคตั้งแต่ชุดแรกถึงชุดทับหลัง ซึ่งบทเพลงขี้เมาของพวกเขาจะมุ่งเน้นการสะท้อนปัญหาสังคมมากกว่าในยุคหลังที่มุ่งไปในด้านตัวตน และความสนุก ความบันเทิง
สำหรับบทเพลงแรกเริ่มกันด้วย เพลง “ลุงขี้เมา” ในผลงานชุดแรก “ขี้เมา”
เพลงนี้แม้น้าแอ๊ด คาราบาว จะนำทำนองมาจากเพลง Anak ของ Freddie Aguilar แต่ด้วยเนื้อหาที่กินใจ สะทกสะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทยว่าด้วยเรื่องราวของคนเล็กๆ ที่ชีวิตพลิกผันจากชาวนามาเป็นแรงงานก่อนกลายมาเป็นขอทาน ที่สุดท้ายชีวิตสิ้นหวังไร้ทางออกจึงต้องหันมาพึ่งเหล้า ก่อนจะจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ
ลุงขี้เมาแต่งขึ้นในช่วงที่แอ๊ดกำลังสด สามารถเล่าเรื่องได้อย่างมีมิติมีรสชาติ ใช้ภาษาเรียบง่ายแต่สื่อความชัดเจน ทำให้เพลงนี้เป็นอีกหนึ่งเพลงโดนของคาราบาวที่ยังคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
“เช้าวันหนึ่งมีคนพบศพขี้เมานอนตายอยู่ที่ใต้สะพานลอย”
ท่อนจบของเพลงลุงขี้เมา ที่ขี้เมาบางคนมันหัวไวร้องแปลงให้ฟังว่า
“เช้าวันหนึ่งมีคนพบศพเป็ดเมานอนตายอยู่ที่หน้ารัฐสภา”
มาถึงอัลบั้มที่สอง“แป๊ะขายขวด” คาราบาวมีเพลงขี้เมา 2 เพลงด้วยกัน เพลงแรก “เมากีตาร์” เพลงนี้ไม่ใช่เพลงดังของคาราบาว ต้องเป็นแฟนพันธุ์แท้ถึงจะรู้จักดี
เมากีตาร์ขับร้องโดยน้าเล็ก คาราบาว เป็นเพลงสนุกๆ สไตล์คันทรี มีเสียงสไลด์กีตาร์โฉบเฉี่ยว เนื้อเพลงว่าด้วยนักดนตรีขี้เมา กินแต่เหล้า ที่แม้จะตกงานไม่มีงานเล่นก็ยังอุตส่าห์ไปเซ็นเหล้ากิน จนเล่นกีตาร์เพี้ยนไป เพี้ยนมาไม่น่าฟัง
อย่างไรก็ดีเพลงนี้ได้เลือกจบแบบสวยงามด้วยการให้ข้อคิดว่าแม้นักดนตรีจะตกงาน แต่หากไม่ท้อแท้มัวกินแต่เหล้า หมั่นฝึกฝนฝึกปรือฝีมือ ย่อมมีอนาคตแน่นอน
เพลงขี้เมาอีกหนึ่งเพลงในอัลบั้มชุดนี้คือ “กัญชา” อีกหนึ่งเพลงคลาสสิคของคาราบาว และเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกแบนในยุคสมัยนั้น
เพลงนี้น้าแอ๊ดโชว์พลังเสียงสูงปรี๊ด แถมยังลากเสียงยาวเฟื้อยกินยาวไปถึง 5 ห้อง ส่วนในท่อนโซโลกีตาร์น้าเล็กก็ได้เริ่มฉายแววความเป็นยอดมือกีตาร์ในเวลาต่อมา
เพลงกัญชามี 2 อารมณ์คืออารมณ์เหงาเคลิ้มเหมือนคนดูดกัญชากับอารมณ์คึกคัก มีเสียงหัวเราะของคนเมากัญชามาเติมสีสัน เนื้อหาเพลงนี้เป็นการเตือนใจให้แก่ผู้ดูดกัญชา ก่อนที่สุดท้ายจะจบลงด้วยข้อคิดว่า
“คราบรอยยิ้มยังแต้มเติมตามใบหน้า สูบกัญชาหลอกหลอนจิตใจ ชั่วชีวิตคิดสั้นทำไม เส้นทางสุดท้าย นอนตายใต้ต้นกัญชา”
ข้ามไปชุดที่ 4 “ท.ทหารอดทน” ชุดนี้มีเพลงขี้เมาให้ฟัง 2 เพลงด้วยกัน เพลงแรก “ทินเนอร์”ที่ถูกแบนเหมือนกัน เพลงนี้สะท้อนปัญหาของเยาวชนในยุคนั้นที่มีปัญหาติดทินเนอร์กันมาก ดมกันจนเมาจมูกโหว่ จมูกแหว่ง
มาวันนี้ทินเนอร์เป็นของกระจอกสำหรับวัยรุ่นไทยไปแล้ว เพราะพวกเขามียาบ้า ไอซ์ เค แป๊ะ ให้เลือกเสพกันเกลื่อนเมือง ซึ่งถ้าจะถามว่าหาซื้อได้ที่ไหน ลองถามพวกสีกากีดูสิ พวกนี้รู้ดีทีเดียว
ส่วนเพลง “ขี้เมาใจดี”(ถึกควายทุย ภาค 4) เป็นโฟล์กร็อกฟังสบาย เป็นถึกควายทุยในเนื้อหาที่ไม่ซีเรียสหากเทียบกับ 3 ภาคที่ผ่านมา
โหนกในเพลงนี้เมื่อเมาแล้วไปเที่ยวเขาดิน แล้วเกิดอาการสงสารจึงให้ช้างร่วมร่ำสุราด้วย ซึ่งมาในวันนี้ผมไม่แน่ใจว่าเขาดินจะสามารถนำเหล้าเข้าไปได้หรือเปล่า แต่เมื่อสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ผมเคยไปนั่งจิบเบียร์กับเพื่อนที่เขาเปิดขายในเขาดินอยู่เหมือนกัน พอดึ่มกรึ่มๆได้ที่ก็เดินดูสัตว์เพลินดีเหมือนกัน แถมยังเห็นสัตว์บางตัวเลื้อยหลุดออกมาจากสภาด้วยสิ ไม่รู้ว่าวันนั้นตาฝาดหรือเปล่า
มาถึงชุดสุดดัง “เมดอินไทยแลนด์”(ชุด 5) ชุดนี้ไม่มีเพลงขี้เมาตรงๆ แต่มีเพลง“ลูกแก้ว” เป็นร็อกมันๆที่ให้อารมณ์และเนื้อหาตรงข้ามกับเพลง“ลูกหิน”ในแทรคก่อนหน้านั้น ที่ว่าด้วยการเลี้ยงลูกเหมือนกัน แต่เป็นการเลี้ยงลูกของคนจนที่ต้องดินรนต่อสู้ ผิดกับการเลี้ยงลูกของคนมีตังค์ในลูกแก้ว ที่เตือนใจพ่อแม่ที่เอาแต่ตามใจลูกจนไม่ลืมหูลืมตา สุดท้ายแล้วกลับกลายเป็นการทำร้ายลูกไปโดยปริยาย เพราะลูกชายคนเดียวที่มีแต่เงินทองแต่ไม่มีความอบอุ่น ได้คบเพื่อนเลว แล้วพากันเดินลงขวด เดินลงบ้องกัญชา และเดินลงเข็มฉีดยา ก่อนที่ความมึนเมาจะนำพาลูกแก้วไปสู่การปล้นฆ่าและข่มขืน
เพลงนี้หลายคนฟังแล้วบอกพฤติกรรมคุ้นๆอยู่นะ
จากเมดอินไทยแลนด์ข้ามไปยังชุดที่ 8 “เวลคัมทูไทยแลนด์”ที่คาราบาวทำยอดขายได้ทะลุล้านตลับเดินตามหลังเมดอินไทยแลนด์
ชุดนี้ไม่มีเพลงขี้เมาตรงๆเหมือนกัน แต่มีเพลงที่สื่อถึงความเมาอย่าง “คนหนังเหนียว”ที่คาราบาวนำเสนอเรื่องราวของกรรมกรหนุ่ม 2 คน ที่หลังจากประตูโรงงานปิดแล้วก็มาก๊งเหล้า บ่นปัญหาชีวิต สารพัดสารพัน ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาที่เป็นความจริงของสังคมที่แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมานานแล้วทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม
ยิ่งในยุคนี้ที่ค่าครองชีพแพงหูฉี่จากนโยบายกระชากค่าครองชีพของรัฐบาล แถมหลายคนยังโดนเลิกจ้างจากวิกฤติน้ำท่วมอีกต่างหาก
เพลงคนหนังเหนียวนี้สนุกมาก น้าเล็กร้องคู่กับน้าเทียรี่ได้อย่างเข้าขา แถมยังให้ซุ่มเสียงของขี้เมาได้อย่างออกรสชาติ ซึ่งไม่ว่าจะเดือดร้อนจากค่าข้าว ค่าบ้าน แต่ค่าที่สำคัญที่สุดของ 2 หนุ่มโรงงานก็คือ “ค่าเหล้า”
อีกเพลงหนึ่งที่อยู่ในแทรคถัดมาคือ “บาปบริสุทธิ์” ที่แต่งและขับร้องโดยน้าเล็ก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเพลงลายเซ็นของเขา
เพลงนี้น้าเล็กพูดถึงเหล้าเพียงวรรคเดียวคือท่อน “ผมไปกินเหล้ากับเพื่อนมานะ” แต่โดยรวมทั้งเพลงแล้วนี่คือบทเพลงสะท้อนปัญหาครอบครัว ที่ยังคงเป็นปัญหาแก้ไม่ตกมาจนถึงทุกวันนี้
ครับ และนั่นก็เป็นบทเพลงขี้เมาอันหลากหลายของคาราบาวในยุคคลาสสิค ซึ่งจะว่าไปการเมาเหล้าเข้าสภาของนักการเมือง แม้จะเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ แต่ก็ยังน่ารังเกียจน้อยกว่า การมัวเมาใน อำนาจ วาสนา เงินตรา ที่ส่งผลต่อวิบากกรรมของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้
*****************************************
คอลัมน์"เพลงวาน" จะนำเสนอบทเพลงน่าสนใจย้อนยุค สลับกับบทความแนะนำเพลงน่าสนใจในสมัยนิยม
*****************************************
ข่าวดนตรี
โอเปร่า “ผู้หญิงก็เป็นซะหยั่งงี้”
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอนำส่งข่าวประชาสัมพันธ์ ละครโอเปราแนวหรรษาเรื่อง "Cosi fan Tutte ผู้หญิงก็เป็นซะหยั่งงี้" จัดแสดงในวันที่ 8-10 มีนาคม 2555 ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Cosi fan Tutte เป็นโอเปร่าเรื่องสุดท้ายในสามเรื่องที่เป็นผลงานการทำงานร่วมกันระหว่างโมสาร์ทกับ Lorenzo da Ponte ผู้เขียนเนื้อ อีกสองเรื่องคือ The Marriage of Figaro และ Don Giovanni. เป็นโอเปร่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และได้ถูกนำมาแสดงมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากมีเรื่องราวที่สนุกสนาน ตลกขบขัน เซ็กซี่
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำโอเปร่าเรื่องนี้มานำเสนอ ในรูปแบบละครโอเปร่าแนวหรรษา ที่มีฉาก แสง สี เสียง พร้อมการบรรเลงสดจากวงออร์เคสตร้า โดยดัดแปลงให้การแสดงมีความทันสมัย สนุกสนาน เข้าใจง่าย มี subtitle ภาษาไทย
ทั้งนี้เรื่องย่อของโอเปร่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า จริงหรือ ที่ว่าผู้หญิงจะซื่อสัตย์ต่อคนรักเสมอ หรือเมื่อลับหลังคู่หมั้นหมาย แล้ว “ผู้หญิงก็เป็นซะหยั่งงี้” ตาแก่จอมวางแผนท้าพนันหนุ่มในเครื่องแบบสองนายผู้รักใคร่สวีทหวานอยู่กับแฟนสาวคนสวย ให้พิสูจน์ใจคนรักว่าจะยังมั่นคงหรือไม่ ถ้าแฟนอยู่ไกล แล้วมี กิ๊ก รูปหล่อ เข้ามาแทนที่ โดยมีผู้ช่วยเป็นสาวใช้เจ้าบทบาทผู้ถือคติว่า “ชีวิตแสนสั้นเกินกว่าที่จะจบชีวิตกับคนคนเดียว”
สำหรับกำหนดการแสดงมีดังนี้ พฤหัสบดีที่ 8, ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2555 รอบ 19.00 น. เสาร์ 10 มีนาคม 2555 รอบ 14.00 และ 19.00 น. ณ หอแสดงดนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา บัตรราคา 1,000, 750 , 500 , 200 (นักเรียน นักศึกษา 100 บาท)สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร 0-2800-2525 ต่อ 153, 154, 203