โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
“ฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้”
ต่อมรับรู้รับรสทางดนตรีของผมมันเกิดอาการอย่างนี้กับผลงานเพลงของคาราบาวมานานแล้ว (เกือบๆ 20 ปีเห็นจะได้) หลังวงหัวควายวงนี้ก้าวผ่าน 10 ปีของยุคสร้างชื่อและยุคสุดยอด(ในช่วงปี 2524-2533) เข้าสู่ยุคถดถอยและเสื่อมสมรรถภาพทางเพลงลงตามลำดับ(ประเด็นเรื่องการเสื่อมถอยทางเพลงของคาราบาว ผมได้เคยนำเสนอผ่านทางคอลัมน์นี้แล้วจึงไม่ขอขยายความซ้ำ)
แต่กระนั้นในผลงานแต่ละชุดของคาราบาวยุคหลังก็ยังมีเพลงดีๆสอดแทรกมาให้ฟังกันบ้างพอสมควร หากเทียบเป็นสัดส่วนตัวเลขกลมๆกับเพลงพื้นๆของวงนี้ เพลงดีๆในยุคถดถอยจะอยู่ที่ประมาณ 20% ส่วนเพลงพื้นๆจะอยู่ที่ราวๆ 80% เป็นตัวเลขที่กลับกันกับคาราบาวในยุคเฟื่องฟู
อย่างไรก็ดีในความเป็นคาราบาวที่ผมขอยกย่องก็คือ การที่พวกเขาสามารถยืนหยัด ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านจุดสูงสุด จุดต่ำเตี้ย รับทั้งเงิน กล่อง ดอกไม้ กระถาง และก้อนอิฐ ประคองวงหัวควายให้โลดแล่นอยู่ในยุทธจักรวงการเพลงอย่างวงดนตรีที่มีลมหายใจ(ไม่ปิดตำนาน)มาได้อย่างยาวนานนับจนถึงวันนี้ก็เป็นปีที่ 30 แล้ว
สำหรับ 30 ปีคาราบาว นอกจากพวกเขาจะอัดบิ๊กอีเวนต์จัดคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดแล้ว ล่าสุดคาราบาวยังมีผลงานชุด“กำลังใจคาราบาว 30 ปี”ออกมา(ในสังกัด Warner Music) เป็นผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 27 ของวงหัวควาย มีบทเพลงเบ็ดเสร็จทั้งหมด 12 เพลงด้วยกัน
อัลบั้มนี้แม้จะเป็นผลงานครบรอบ 30 ปีของคาราบาว แต่เท่าที่ฟังจากเพลงทั้งหมด เท่าที่อ่านจากข้อเขียนความในใจ(ในปก) มันดูคล้ายเป็นอัลบั้มเดี่ยวของ“น้าแอ๊ด”(ยืนยง โอภากุล)กลายๆ ถึงขนาด“น้าเล็ก”(ปรีชา ชนะภัย)เขียนท่อนหนึ่งของความในใจออกมาว่า “...เสียดายตรงที่ว่าสามสิบปีคาราบาวทั้งที ไม่มีเนื้อที่ในอัลบั้มให้ผมได้แต่งสักเพลง เพราะช่วงนี้ผมรู้สึกคึกคักกับการทำงานเป็นอย่างมาก...”
เรื่องนี้สำหรับผมถือเป็นเรื่องปกติของคาราบาวมานานแล้วที่น้าแอ๊ดเป็นผู้กุมบังเหียนหลักของวง โดยเขาเป็นผู้เขียนเนื้อร้อง-ทำนอง ของบทเพลงแทบทั้งหมด ยกเว้นในเพลงสุดท้ายและเนื้อเพลงภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเอาไว้เมื่อถึงตอนนั้นผมค่อยบอกกล่าวกันอีกที
งานเพลงชุดนี้เปิดตัวกันในแทรคแรกด้วย “กำลังใจคาราบาว 30 ปี”บทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม เป็นสามช่าจังหวะไม่เร็วนัก มีความละเมียดพอตัว แต่ฟังไม่สดและมันเท่าคาราบาวสมัยหนุ่มๆ
เนื้อเพลงนี้กล่าวขอบคุณแฟนเพลงที่ยังคงเป็นกำลังใจให้กับคาราบาวมาตลอด 30 ปี แม้ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจะทำให้บทเพลงของวงหัวควายโดนก็อปโดนละเมิดลิขสิทธ์เป็นว่าเล่น ทั้งแผ่นผีซีดีเถื่อน ดิจิตอลดาวน์โหลด MP3 โฟร์แชร์ แต่พวกเขายังมีกำลังใจจากแฟนเพลงเป็นพลังในการทำเพลงต่อไป ซึ่งแม้ในยุคหลังๆวิถีวงหัวควายจะเปลี่ยนไปทำให้แฟนเพลงของพวกเขาหดหายไปเยอะ แต่กระนั้นคาราบาวก็ยังมีแฟนพันธุ์แท้กลุ่มหนึ่งเป็นกำลังใจให้อย่างเหนียวแน่นอยู่ไม่สร่างซา
เพลงกำลังใจคาราบาว 30 ปี น้าแอ๊ดใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านเพลงตามสไตล์ที่เขาถนัด เพียงแต่ว่าภาษาที่ใช้มันไม่คมคาย สัมผัสสละสลวย เหมือนเพลงของคาราบาวในอดีต ในขณะที่เสียงร้องของน้าแอ๊ดที่เป็นหัวใจของวงนั้น อ่อนล้า และอ่อนด้อยพลังลงอย่างฟังได้ชัด แม้ว่าช่วงหลังน้าแกจะปรับเปลี่ยนสไตล์การร้องมาออกแนวพร่ำรำพันผ่านเพลง แต่เมื่อยามขึ้นเสียงสูงในท่อนแยก เสียงของน้าแกมันเหมือนกำลังส่งไม่พอ ต้องบีบเค้น ฟังน่าอึดอัดพอตัว
ถัดมาเป็น“ผู้ปิดทองหลังพระ” บทเพลงกล่าวเทิดทูนพ่อหลวง ผู้ที่เป็นดังผู้ปิดทองหลังพระ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทรงงานหนักอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เพื่อพสกนิกรชาวไทย เพลงนี้น้าแอ๊ดจับประเด็นมานำเสนอผ่านบทเพลงได้ดีทีเดียว ฟังแล้วเห็นภาพซาบซึ้งใจตาม นอกจากนี้น้าแอ๊ดยังนำพระนามเต็มของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาร้องในเพลงนี้ได้แนบเนียน
ขณะที่ภาคดนตรี แม้จะฟังไม่ยิ่งใหญ่เท่าเพลง“ตามรอยพ่อ”และ “80 ปี พ่ออยู่หัว”ในชุด “ลูกลุงขี้เมา”แต่ว่าดนตรีที่ทำออกมาละเมียดสวยงาม มีเสียงพิคโคโลรับเชิญมาโซโลและเล่นสอดแทรก ก่อนที่ดนตรีจะทวีความอลังการขึ้นตามลำดับในช่วงท้าย ขณะที่ภาคเสียงร้องของน้าแอ๊ดนั้น ผมว่าการร้องเพลงด้วยน้ำเสียงเนิบนุ่มแบบรุ่นใหญ่เป็นไปตามธรรมชาติดังที่ปรากฏในเพลงนี้ เหมาะสมกับการร้องเพลงของน้าแอ๊ดในยุคพลังเสียงถดถอยเป็นที่สุด มันฟังเนียนและไม่รู้สึกอึดอัดขัดหูแต่อย่างใด
ต่อมาเป็น“ใจไม่ด้านพอ” ชื่อเหมือนเพลงดังในอดีตของ“พี่กี้ร์”นักร้องอมฮอลล์ ที่วันนี้กลายเป็น“ไอ้กีร์ ตะกายตึก”อมน้ำมันกระทะทองแดงหลบลี้หนีคดีอยู่ในต่างประเทศ เพลงนี้จะมองว่ามีนัยยะแอบแฝงกระทบชิ่งถึงใครบางคนก็มองได้ไม่ยาก เพราะครั้งหนึ่งน้าแอ๊ดเคยแต่งเพลงชื่นชมนักร้องอมฮอลล์คนนี้มาแล้วในเพลง“ก้นโด่ง”ชุด “พฤษภา”(แอ๊ด-อี๊ด โอภากุล) หรืออาจจะมองตรงตามเนื้อเพลงว่าด้วยเรื่องความรักที่โดนเขาหลอกก็มองกันได้อีกเช่นกัน
แต่น่าเสียดายตรงที่เพลงใจไม่ด้านพอไม่ด้านพอ เนื้อร้องมันฟังด้านไปหน่อย ภาษาไม่สละสลวย สัมผัสขาดหาย ผิดฟอร์มน้าแอ๊ดที่ในสมัยรุ่งโรจน์เคยได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการเขียนเพลงภาคภาษาไทยคนหนึ่ง
แทรคที่ 4 “ตากลม” เป็นคันทรีร็อกลีลาโจ๊ะๆ ฟังสนุกเพลินหู โซโลอะคูสติกกีตาร์ในท่อนกลาง ทางดนตรีเยี่ยมทีเดียว เพลงนี้น้าแอ๊ดตั้งใจกล่าวเตือนสติน้องๆเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้รู้จักต่อสู้ เรียนรู้โลก ลงมือทำด้วยตัวเอง มากกว่าที่จะมานั่งตา-กลม(ไม่ใช่ตาก-ลม)อยู่หน้าจอทีวีหรือหน้าคอมพิวเตอร์ แต่สัมผัสในภาษามันฟังขัดๆไปหน่อย(อีกแล้ว)
สลับอารมณ์มาฟังเพลงช้าๆเศร้าๆในเพลง“รางวัลของผู้พ่ายแพ้”กันบ้าง ใครจะตีความว่าเพลงนี้มีมีนัยยะทางการเมืองก็สุดแท้แต่ แต่น้าแอ๊ดแกเขียนเพลงนี้ได้ดีทีเดียว ให้กำลังใจแก่ผู้พ่ายแพ้ เป็นรางวัลสำหรับผู้พ่ายแพ้ เพื่อการก้าวสู่ชัยชนะในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังมีบางท่อนที่ฟังแล้วชวนให้คิดไม่ได้ ว่ากำลังแอบด่าใครอยู่หรือเปล่า(...โลกนี้ยังมีเหลือพอ ให้ทุกคนกินอยู่แบ่งปัน แต่ไม่พอต่อคนๆเดียว ที่เอาเปรียบเหยียบย่ำทำร้ายสังคม...)
รางวัลของผู้พ่ายแพ้ มีภาคดนตรีที่น่าฟังไม่แพ้กัน ดนตรีค่อนข้างละเมียด มีกีตาร์โปร่งเล่นนำเป็นตัวเดินเรื่อง พร้อมด้วยไลน์เบสสวยๆเล่นริทึ่มพร้อมสอดประสานเสียงไปในตัว(ฝีมือน้าเอ๊ดดี้-สุเทพ ปานอำพัน) ช่วงโซโลได้แซกโซโฟนเสียงหวานพลิ้วมาขับกล่อม
อันที่จริงเพลงนี้น่าจะได้รางวัลบทเพลงที่น่าฟังที่สุดในอัลบั้ม แต่มันติดตรงที่เสียงร้องของน้าแอ๊ด ซึ่งแม้แกจะพยายามร้องถ่ายทอดออกมาชวนให้นึกถึงคนพ่ายแพ้ แต่ด้วยน้ำเสียงที่ฟังอ่อนล้าและติดแหบเกินไป เมื่อฟังแล้วมันชวนให้ผมอดนึกถึงคนที่แพ้แล้วแพ้เลยไม่ได้
อารมณ์เพลงถูกดึงให้กระชับขึ้นกับ “เพลงแบบไหน?” อ้าวแล้วมันเป็นเพลงแบบไหนกันล่ะ ก็เพลงแบบนี้นี่แหละ เพลงที่มีทั้งเนื้อร้องภาษาไทย(ขับร้องโดยน้าแอ๊ด)และภาษาอังกฤษ(ขับร้องโดยน้าเทียรี่ เขียนเนื้อร้องโดยน้าแอ๊ดและ Bob Latini)ในเพลงเดียวกัน เปรียบเทียบความรักกับบทเพลง ซึ่งในภาคภาษาอังกฤษนั้นจะฟังชัดเจนในท่วงทำนองมากกว่า
ต่อมาเป็น “วันนั้นจะมาถึง” ขับร้อง เรียบเรียง โดยน้าเล็ก เป็นร็อกแอนด์โรลสนุกๆ เน้นซุ่มเสียงในแบบอะคูสติก มีเสียงสีซอและลูกโซโลกีตาร์ไฟฟ้าอันคมชัดเมโลดี้สวยงามของน้าเล็กมาแต่งเติมสีสัน ฟังแล้วให้ซาวน์ที่มีเอกลักษณ์ไม่น้อยเลย เนื้อเพลงว่าด้วยเด็กท้องนาที่ไม่ท้อแท้ ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้จะขาดโอกาสทางการศึกษา แต่มีความมานะพยายาม ร่ำเรียน กศน.จนสามารถเอ็นทรานต์ติดเข้ามหาวิทยาลัยได้
จากน้าเล็กมาถึงคิวของน้าเทียรี่(เทียรี่ เมฆวัฒนา)ขับร้องกันบ้างกับเพลง“ยาวไป” ที่ดึงจังหวะหน่วงเนิบลงมาหน่อย ภาคดนตรีต่ออารมณ์จากเพลงที่แล้วได้ดีทีเดียว มาในแนวโฟล์คร็อกฟังสบาย เน้นอะคูสติก ไลน์โซโลอะคูสติกกีตาร์สวย มีทอล์กบ็อกมาช่วยสร้างสีสันอีกทาง เนื้อเพลงแม้จะบอกให้เด็กน้อยต่อสู้ชีวิต สู้กับปัญหา แต่ว่าผู้ใหญ่ก็สามารถนำไปใช้เตือนตนเองได้ดีเช่นกัน
กลับมาสนุกกับสามช่าน้ำเสียงน้าแอ๊ดกันอีกครั้งใน “พอๆมาเพียง” ว่าด้วยแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ภาคดนตรีแม้ย่ำรอยตามสามช่าเก่าๆของคาราบาว แต่กีตาร์ไฟฟ้าในเพลงนี้เล่นได้มันสะใจทีเดียว พร้อมกันนี้ยังมีเสียงทรัมเป็ตจากน้าดุกมาช่วยเสริมสีสันอีกแรง ขณะที่น้าแอ๊ดร้องเพลงด้วยเสียงธรรมชาติ ไม่ต้องบีบเค้นดันเสียงให้สูงเกินพิกัดอย่างนี้ฟังสบายหูกว่าหลายๆเพลงเยอะเลย
ถัดมาเป็น 2 เพลงที่เนื้อหาว่าด้วยความเลวร้ายของสงคราม เพลงแรก “สงครามไม่ร้องไห้” มาในกลิ่นเร็กเก้สนุกๆ แต่ดนตรีโดดกว่าเพลงอื่นๆไปหน่อย เพลงต่อมาเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” เนื้อเพลงขยายรายละเอียดจากชื่อเพลง(ที่สามารถนำไปเป็นต้นธารของสงครามไม่ร้องไห้ได้) ดนตรีเป็นโฟล์คร็อกฟังสบาย
จากนั้นปิดท้ายอัลบั้มกันด้วย “ลำนำสามก๊ก” แต่งเนื้อร้องโดย “ทองแถม นาถจำนง” ว่าด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ดนตรีมาในอารมณ์เพลงจีน น้าเล็กสีซอโซโลเยี่ยมไม่เบา ฟังได้อรรถรสสามก๊กดีทีเดียว แต่มันดันมีสะดุดอารมณ์ตรงที่เสียงร้องของน้าแอ๊ด(ในบางช่วง)ยามโหนสูง ออกเสียงหลงและเพี้ยนอย่างฟังได้ชัดเจน
และนั่นก็คือ 12 บทเพลงจากกำลังใจคาราบาว 30 ปี อัลบั้มชุดล่าสุดของวงหัวควาย ที่มีข้อเด่นตรงภาคดนตรีที่เป็นเพลงโฟล์คและคันทรีร็อก ซึ่งเน้นในซุ่มเสียงอะคูสติกอันเรียบง่ายในหลายเพลง มีมิติ มีลีลา อารมณ์ มีความ“ลื่นไหล”และ“รื่นหู” ฟังเพลินไม่น้อย
ขณะเดียวกันอัลบั้มนี้ก็มีข้อด้อยที่ยังคงเป็นปัญหาแก้ไม่ตกสำหรับวงคาราบาวในยุคหลังๆก็คือ เรื่องของพลังทางเพลง พลังความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงกึ๋นในการมองปัญหาสังคมแล้วนำมานำเสนอเป็นบทเพลงของน้าแอ๊ดนั้นหดหายลงไปมาก บทเพลงส่วนใหญ่ที่บอกเล่าถ่ายทอดออกมาถือว่าธรรมดา ไม่ลึก ไม่แหลมคมทางความคิดเหมือนก่อน
เช่นเดียวกับบทเพลงวิพากษ์การเมืองที่เดี๋ยวนี้น้าแอ๊ดมีแตะบ้างเพียงผิวๆ ผิดกับแต่ก่อนที่อัดแบบเต็มๆ นั่นอาจเป็นเพราะการเมืองเป็นเรื่องไม่ดีที่ไม่ควรเกลือกกลั้วอย่างที่น้าแอ๊ดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ หรืออาจเป็นเพราะการที่เขาสนิทชิดเชื้อกับนักการเมืองหลายคน เคยร่วมงาน รับงาน แต่งเพลงให้กับหลายพรรคการเมืองจนมีสัมพันธ์อันดีต่อกัน สำหรับเรื่องนี้มีแต่น้าแอ๊ดเท่านั้นที่ให้คำตอบได้
นอกจากนี้ความซ้ำซากทางดนตรี(บางเพลงเมโลดี้ออกซ้ำแนวกับเพลงเก่าๆ) ความถดถอยอ่อนล้าในน้ำเสียงของน้าแอ๊ด ก็เป็นอีกปัญหาสำคัญของผลงานเพลงคาราบาวในพักหลังที่ผ่านมา โดยเฉพาะในบางเพลงที่ต้องโหนน้ำเสียงขึ้นสูง น้าแอ๊ดร้องเสียงหลงฟังเพี้ยนอย่างน่าใจหาย
ส่วนที่ผิดฟอร์มไปมากในอัลบั้มนี้ก็คือลีลาการเขียนเพลงของน้าแอ๊ด หลายเพลงความสวยงามสละสลวยของภาษาและความโดนใจของท่อนฮุคหายไป อีกทั้งการพยายามทำในสิ่งที่น้าแอ๊ดไม่ถนัด อย่างการนำภาษาวัยรุ่นมาใช้แต่ยังใช้ได้ไม่เนียนพอ หรือการตั้งใจเขียนเพลงแบบนักแต่งเพลงยุคใหม่ คือเป็นกลอนเปล่า ไม่เน้นสัมผัส แต่วรรคตอนของเพลงที่น้าแกเขียนออกมามันยังติดอยู่ในกับดักของกลอนแปด ทำให้ฟังขัดๆเขินๆพอตัว
และนั่นก็เป็นข้อเด่นและข้อด้อยในผลงานอัลบั้มชุดนี้ของคาราบาว ที่นอกจากจะฟังไม่แตกต่าง และไม่มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษไปจากผลงานเพลงเก่าๆของวงหัวควายในช่วงหลังแล้ว(แถมโดยรวมนี่ถือเป็นอัลบั้มที่ฟังดูด้อยกว่ามาตรฐานทั่วๆไปของคาราบาวเสียด้วยซ้ำ) ยังเป็นอัลบั้มที่ฟังไม่ค่อยสมศักดิ์ศรีเนื่องในวาระสำคัญครบรอบ 30 ปี(ผิดกับการโหมประโคมข่าวเรื่องคอนเสิร์ต30 ปีเสียใหญ่โต) ซึ่งสำหรับผมแล้วนี่ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงของคาราบาวที่
“ฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้”
“ฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้”
ต่อมรับรู้รับรสทางดนตรีของผมมันเกิดอาการอย่างนี้กับผลงานเพลงของคาราบาวมานานแล้ว (เกือบๆ 20 ปีเห็นจะได้) หลังวงหัวควายวงนี้ก้าวผ่าน 10 ปีของยุคสร้างชื่อและยุคสุดยอด(ในช่วงปี 2524-2533) เข้าสู่ยุคถดถอยและเสื่อมสมรรถภาพทางเพลงลงตามลำดับ(ประเด็นเรื่องการเสื่อมถอยทางเพลงของคาราบาว ผมได้เคยนำเสนอผ่านทางคอลัมน์นี้แล้วจึงไม่ขอขยายความซ้ำ)
แต่กระนั้นในผลงานแต่ละชุดของคาราบาวยุคหลังก็ยังมีเพลงดีๆสอดแทรกมาให้ฟังกันบ้างพอสมควร หากเทียบเป็นสัดส่วนตัวเลขกลมๆกับเพลงพื้นๆของวงนี้ เพลงดีๆในยุคถดถอยจะอยู่ที่ประมาณ 20% ส่วนเพลงพื้นๆจะอยู่ที่ราวๆ 80% เป็นตัวเลขที่กลับกันกับคาราบาวในยุคเฟื่องฟู
อย่างไรก็ดีในความเป็นคาราบาวที่ผมขอยกย่องก็คือ การที่พวกเขาสามารถยืนหยัด ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านจุดสูงสุด จุดต่ำเตี้ย รับทั้งเงิน กล่อง ดอกไม้ กระถาง และก้อนอิฐ ประคองวงหัวควายให้โลดแล่นอยู่ในยุทธจักรวงการเพลงอย่างวงดนตรีที่มีลมหายใจ(ไม่ปิดตำนาน)มาได้อย่างยาวนานนับจนถึงวันนี้ก็เป็นปีที่ 30 แล้ว
สำหรับ 30 ปีคาราบาว นอกจากพวกเขาจะอัดบิ๊กอีเวนต์จัดคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดแล้ว ล่าสุดคาราบาวยังมีผลงานชุด“กำลังใจคาราบาว 30 ปี”ออกมา(ในสังกัด Warner Music) เป็นผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 27 ของวงหัวควาย มีบทเพลงเบ็ดเสร็จทั้งหมด 12 เพลงด้วยกัน
อัลบั้มนี้แม้จะเป็นผลงานครบรอบ 30 ปีของคาราบาว แต่เท่าที่ฟังจากเพลงทั้งหมด เท่าที่อ่านจากข้อเขียนความในใจ(ในปก) มันดูคล้ายเป็นอัลบั้มเดี่ยวของ“น้าแอ๊ด”(ยืนยง โอภากุล)กลายๆ ถึงขนาด“น้าเล็ก”(ปรีชา ชนะภัย)เขียนท่อนหนึ่งของความในใจออกมาว่า “...เสียดายตรงที่ว่าสามสิบปีคาราบาวทั้งที ไม่มีเนื้อที่ในอัลบั้มให้ผมได้แต่งสักเพลง เพราะช่วงนี้ผมรู้สึกคึกคักกับการทำงานเป็นอย่างมาก...”
เรื่องนี้สำหรับผมถือเป็นเรื่องปกติของคาราบาวมานานแล้วที่น้าแอ๊ดเป็นผู้กุมบังเหียนหลักของวง โดยเขาเป็นผู้เขียนเนื้อร้อง-ทำนอง ของบทเพลงแทบทั้งหมด ยกเว้นในเพลงสุดท้ายและเนื้อเพลงภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเอาไว้เมื่อถึงตอนนั้นผมค่อยบอกกล่าวกันอีกที
งานเพลงชุดนี้เปิดตัวกันในแทรคแรกด้วย “กำลังใจคาราบาว 30 ปี”บทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม เป็นสามช่าจังหวะไม่เร็วนัก มีความละเมียดพอตัว แต่ฟังไม่สดและมันเท่าคาราบาวสมัยหนุ่มๆ
เนื้อเพลงนี้กล่าวขอบคุณแฟนเพลงที่ยังคงเป็นกำลังใจให้กับคาราบาวมาตลอด 30 ปี แม้ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจะทำให้บทเพลงของวงหัวควายโดนก็อปโดนละเมิดลิขสิทธ์เป็นว่าเล่น ทั้งแผ่นผีซีดีเถื่อน ดิจิตอลดาวน์โหลด MP3 โฟร์แชร์ แต่พวกเขายังมีกำลังใจจากแฟนเพลงเป็นพลังในการทำเพลงต่อไป ซึ่งแม้ในยุคหลังๆวิถีวงหัวควายจะเปลี่ยนไปทำให้แฟนเพลงของพวกเขาหดหายไปเยอะ แต่กระนั้นคาราบาวก็ยังมีแฟนพันธุ์แท้กลุ่มหนึ่งเป็นกำลังใจให้อย่างเหนียวแน่นอยู่ไม่สร่างซา
เพลงกำลังใจคาราบาว 30 ปี น้าแอ๊ดใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านเพลงตามสไตล์ที่เขาถนัด เพียงแต่ว่าภาษาที่ใช้มันไม่คมคาย สัมผัสสละสลวย เหมือนเพลงของคาราบาวในอดีต ในขณะที่เสียงร้องของน้าแอ๊ดที่เป็นหัวใจของวงนั้น อ่อนล้า และอ่อนด้อยพลังลงอย่างฟังได้ชัด แม้ว่าช่วงหลังน้าแกจะปรับเปลี่ยนสไตล์การร้องมาออกแนวพร่ำรำพันผ่านเพลง แต่เมื่อยามขึ้นเสียงสูงในท่อนแยก เสียงของน้าแกมันเหมือนกำลังส่งไม่พอ ต้องบีบเค้น ฟังน่าอึดอัดพอตัว
ถัดมาเป็น“ผู้ปิดทองหลังพระ” บทเพลงกล่าวเทิดทูนพ่อหลวง ผู้ที่เป็นดังผู้ปิดทองหลังพระ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทรงงานหนักอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เพื่อพสกนิกรชาวไทย เพลงนี้น้าแอ๊ดจับประเด็นมานำเสนอผ่านบทเพลงได้ดีทีเดียว ฟังแล้วเห็นภาพซาบซึ้งใจตาม นอกจากนี้น้าแอ๊ดยังนำพระนามเต็มของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาร้องในเพลงนี้ได้แนบเนียน
ขณะที่ภาคดนตรี แม้จะฟังไม่ยิ่งใหญ่เท่าเพลง“ตามรอยพ่อ”และ “80 ปี พ่ออยู่หัว”ในชุด “ลูกลุงขี้เมา”แต่ว่าดนตรีที่ทำออกมาละเมียดสวยงาม มีเสียงพิคโคโลรับเชิญมาโซโลและเล่นสอดแทรก ก่อนที่ดนตรีจะทวีความอลังการขึ้นตามลำดับในช่วงท้าย ขณะที่ภาคเสียงร้องของน้าแอ๊ดนั้น ผมว่าการร้องเพลงด้วยน้ำเสียงเนิบนุ่มแบบรุ่นใหญ่เป็นไปตามธรรมชาติดังที่ปรากฏในเพลงนี้ เหมาะสมกับการร้องเพลงของน้าแอ๊ดในยุคพลังเสียงถดถอยเป็นที่สุด มันฟังเนียนและไม่รู้สึกอึดอัดขัดหูแต่อย่างใด
ต่อมาเป็น“ใจไม่ด้านพอ” ชื่อเหมือนเพลงดังในอดีตของ“พี่กี้ร์”นักร้องอมฮอลล์ ที่วันนี้กลายเป็น“ไอ้กีร์ ตะกายตึก”อมน้ำมันกระทะทองแดงหลบลี้หนีคดีอยู่ในต่างประเทศ เพลงนี้จะมองว่ามีนัยยะแอบแฝงกระทบชิ่งถึงใครบางคนก็มองได้ไม่ยาก เพราะครั้งหนึ่งน้าแอ๊ดเคยแต่งเพลงชื่นชมนักร้องอมฮอลล์คนนี้มาแล้วในเพลง“ก้นโด่ง”ชุด “พฤษภา”(แอ๊ด-อี๊ด โอภากุล) หรืออาจจะมองตรงตามเนื้อเพลงว่าด้วยเรื่องความรักที่โดนเขาหลอกก็มองกันได้อีกเช่นกัน
แต่น่าเสียดายตรงที่เพลงใจไม่ด้านพอไม่ด้านพอ เนื้อร้องมันฟังด้านไปหน่อย ภาษาไม่สละสลวย สัมผัสขาดหาย ผิดฟอร์มน้าแอ๊ดที่ในสมัยรุ่งโรจน์เคยได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการเขียนเพลงภาคภาษาไทยคนหนึ่ง
แทรคที่ 4 “ตากลม” เป็นคันทรีร็อกลีลาโจ๊ะๆ ฟังสนุกเพลินหู โซโลอะคูสติกกีตาร์ในท่อนกลาง ทางดนตรีเยี่ยมทีเดียว เพลงนี้น้าแอ๊ดตั้งใจกล่าวเตือนสติน้องๆเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้รู้จักต่อสู้ เรียนรู้โลก ลงมือทำด้วยตัวเอง มากกว่าที่จะมานั่งตา-กลม(ไม่ใช่ตาก-ลม)อยู่หน้าจอทีวีหรือหน้าคอมพิวเตอร์ แต่สัมผัสในภาษามันฟังขัดๆไปหน่อย(อีกแล้ว)
สลับอารมณ์มาฟังเพลงช้าๆเศร้าๆในเพลง“รางวัลของผู้พ่ายแพ้”กันบ้าง ใครจะตีความว่าเพลงนี้มีมีนัยยะทางการเมืองก็สุดแท้แต่ แต่น้าแอ๊ดแกเขียนเพลงนี้ได้ดีทีเดียว ให้กำลังใจแก่ผู้พ่ายแพ้ เป็นรางวัลสำหรับผู้พ่ายแพ้ เพื่อการก้าวสู่ชัยชนะในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังมีบางท่อนที่ฟังแล้วชวนให้คิดไม่ได้ ว่ากำลังแอบด่าใครอยู่หรือเปล่า(...โลกนี้ยังมีเหลือพอ ให้ทุกคนกินอยู่แบ่งปัน แต่ไม่พอต่อคนๆเดียว ที่เอาเปรียบเหยียบย่ำทำร้ายสังคม...)
รางวัลของผู้พ่ายแพ้ มีภาคดนตรีที่น่าฟังไม่แพ้กัน ดนตรีค่อนข้างละเมียด มีกีตาร์โปร่งเล่นนำเป็นตัวเดินเรื่อง พร้อมด้วยไลน์เบสสวยๆเล่นริทึ่มพร้อมสอดประสานเสียงไปในตัว(ฝีมือน้าเอ๊ดดี้-สุเทพ ปานอำพัน) ช่วงโซโลได้แซกโซโฟนเสียงหวานพลิ้วมาขับกล่อม
อันที่จริงเพลงนี้น่าจะได้รางวัลบทเพลงที่น่าฟังที่สุดในอัลบั้ม แต่มันติดตรงที่เสียงร้องของน้าแอ๊ด ซึ่งแม้แกจะพยายามร้องถ่ายทอดออกมาชวนให้นึกถึงคนพ่ายแพ้ แต่ด้วยน้ำเสียงที่ฟังอ่อนล้าและติดแหบเกินไป เมื่อฟังแล้วมันชวนให้ผมอดนึกถึงคนที่แพ้แล้วแพ้เลยไม่ได้
อารมณ์เพลงถูกดึงให้กระชับขึ้นกับ “เพลงแบบไหน?” อ้าวแล้วมันเป็นเพลงแบบไหนกันล่ะ ก็เพลงแบบนี้นี่แหละ เพลงที่มีทั้งเนื้อร้องภาษาไทย(ขับร้องโดยน้าแอ๊ด)และภาษาอังกฤษ(ขับร้องโดยน้าเทียรี่ เขียนเนื้อร้องโดยน้าแอ๊ดและ Bob Latini)ในเพลงเดียวกัน เปรียบเทียบความรักกับบทเพลง ซึ่งในภาคภาษาอังกฤษนั้นจะฟังชัดเจนในท่วงทำนองมากกว่า
ต่อมาเป็น “วันนั้นจะมาถึง” ขับร้อง เรียบเรียง โดยน้าเล็ก เป็นร็อกแอนด์โรลสนุกๆ เน้นซุ่มเสียงในแบบอะคูสติก มีเสียงสีซอและลูกโซโลกีตาร์ไฟฟ้าอันคมชัดเมโลดี้สวยงามของน้าเล็กมาแต่งเติมสีสัน ฟังแล้วให้ซาวน์ที่มีเอกลักษณ์ไม่น้อยเลย เนื้อเพลงว่าด้วยเด็กท้องนาที่ไม่ท้อแท้ ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้จะขาดโอกาสทางการศึกษา แต่มีความมานะพยายาม ร่ำเรียน กศน.จนสามารถเอ็นทรานต์ติดเข้ามหาวิทยาลัยได้
จากน้าเล็กมาถึงคิวของน้าเทียรี่(เทียรี่ เมฆวัฒนา)ขับร้องกันบ้างกับเพลง“ยาวไป” ที่ดึงจังหวะหน่วงเนิบลงมาหน่อย ภาคดนตรีต่ออารมณ์จากเพลงที่แล้วได้ดีทีเดียว มาในแนวโฟล์คร็อกฟังสบาย เน้นอะคูสติก ไลน์โซโลอะคูสติกกีตาร์สวย มีทอล์กบ็อกมาช่วยสร้างสีสันอีกทาง เนื้อเพลงแม้จะบอกให้เด็กน้อยต่อสู้ชีวิต สู้กับปัญหา แต่ว่าผู้ใหญ่ก็สามารถนำไปใช้เตือนตนเองได้ดีเช่นกัน
กลับมาสนุกกับสามช่าน้ำเสียงน้าแอ๊ดกันอีกครั้งใน “พอๆมาเพียง” ว่าด้วยแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ภาคดนตรีแม้ย่ำรอยตามสามช่าเก่าๆของคาราบาว แต่กีตาร์ไฟฟ้าในเพลงนี้เล่นได้มันสะใจทีเดียว พร้อมกันนี้ยังมีเสียงทรัมเป็ตจากน้าดุกมาช่วยเสริมสีสันอีกแรง ขณะที่น้าแอ๊ดร้องเพลงด้วยเสียงธรรมชาติ ไม่ต้องบีบเค้นดันเสียงให้สูงเกินพิกัดอย่างนี้ฟังสบายหูกว่าหลายๆเพลงเยอะเลย
ถัดมาเป็น 2 เพลงที่เนื้อหาว่าด้วยความเลวร้ายของสงคราม เพลงแรก “สงครามไม่ร้องไห้” มาในกลิ่นเร็กเก้สนุกๆ แต่ดนตรีโดดกว่าเพลงอื่นๆไปหน่อย เพลงต่อมาเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” เนื้อเพลงขยายรายละเอียดจากชื่อเพลง(ที่สามารถนำไปเป็นต้นธารของสงครามไม่ร้องไห้ได้) ดนตรีเป็นโฟล์คร็อกฟังสบาย
จากนั้นปิดท้ายอัลบั้มกันด้วย “ลำนำสามก๊ก” แต่งเนื้อร้องโดย “ทองแถม นาถจำนง” ว่าด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ดนตรีมาในอารมณ์เพลงจีน น้าเล็กสีซอโซโลเยี่ยมไม่เบา ฟังได้อรรถรสสามก๊กดีทีเดียว แต่มันดันมีสะดุดอารมณ์ตรงที่เสียงร้องของน้าแอ๊ด(ในบางช่วง)ยามโหนสูง ออกเสียงหลงและเพี้ยนอย่างฟังได้ชัดเจน
และนั่นก็คือ 12 บทเพลงจากกำลังใจคาราบาว 30 ปี อัลบั้มชุดล่าสุดของวงหัวควาย ที่มีข้อเด่นตรงภาคดนตรีที่เป็นเพลงโฟล์คและคันทรีร็อก ซึ่งเน้นในซุ่มเสียงอะคูสติกอันเรียบง่ายในหลายเพลง มีมิติ มีลีลา อารมณ์ มีความ“ลื่นไหล”และ“รื่นหู” ฟังเพลินไม่น้อย
ขณะเดียวกันอัลบั้มนี้ก็มีข้อด้อยที่ยังคงเป็นปัญหาแก้ไม่ตกสำหรับวงคาราบาวในยุคหลังๆก็คือ เรื่องของพลังทางเพลง พลังความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงกึ๋นในการมองปัญหาสังคมแล้วนำมานำเสนอเป็นบทเพลงของน้าแอ๊ดนั้นหดหายลงไปมาก บทเพลงส่วนใหญ่ที่บอกเล่าถ่ายทอดออกมาถือว่าธรรมดา ไม่ลึก ไม่แหลมคมทางความคิดเหมือนก่อน
เช่นเดียวกับบทเพลงวิพากษ์การเมืองที่เดี๋ยวนี้น้าแอ๊ดมีแตะบ้างเพียงผิวๆ ผิดกับแต่ก่อนที่อัดแบบเต็มๆ นั่นอาจเป็นเพราะการเมืองเป็นเรื่องไม่ดีที่ไม่ควรเกลือกกลั้วอย่างที่น้าแอ๊ดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ หรืออาจเป็นเพราะการที่เขาสนิทชิดเชื้อกับนักการเมืองหลายคน เคยร่วมงาน รับงาน แต่งเพลงให้กับหลายพรรคการเมืองจนมีสัมพันธ์อันดีต่อกัน สำหรับเรื่องนี้มีแต่น้าแอ๊ดเท่านั้นที่ให้คำตอบได้
นอกจากนี้ความซ้ำซากทางดนตรี(บางเพลงเมโลดี้ออกซ้ำแนวกับเพลงเก่าๆ) ความถดถอยอ่อนล้าในน้ำเสียงของน้าแอ๊ด ก็เป็นอีกปัญหาสำคัญของผลงานเพลงคาราบาวในพักหลังที่ผ่านมา โดยเฉพาะในบางเพลงที่ต้องโหนน้ำเสียงขึ้นสูง น้าแอ๊ดร้องเสียงหลงฟังเพี้ยนอย่างน่าใจหาย
ส่วนที่ผิดฟอร์มไปมากในอัลบั้มนี้ก็คือลีลาการเขียนเพลงของน้าแอ๊ด หลายเพลงความสวยงามสละสลวยของภาษาและความโดนใจของท่อนฮุคหายไป อีกทั้งการพยายามทำในสิ่งที่น้าแอ๊ดไม่ถนัด อย่างการนำภาษาวัยรุ่นมาใช้แต่ยังใช้ได้ไม่เนียนพอ หรือการตั้งใจเขียนเพลงแบบนักแต่งเพลงยุคใหม่ คือเป็นกลอนเปล่า ไม่เน้นสัมผัส แต่วรรคตอนของเพลงที่น้าแกเขียนออกมามันยังติดอยู่ในกับดักของกลอนแปด ทำให้ฟังขัดๆเขินๆพอตัว
และนั่นก็เป็นข้อเด่นและข้อด้อยในผลงานอัลบั้มชุดนี้ของคาราบาว ที่นอกจากจะฟังไม่แตกต่าง และไม่มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษไปจากผลงานเพลงเก่าๆของวงหัวควายในช่วงหลังแล้ว(แถมโดยรวมนี่ถือเป็นอัลบั้มที่ฟังดูด้อยกว่ามาตรฐานทั่วๆไปของคาราบาวเสียด้วยซ้ำ) ยังเป็นอัลบั้มที่ฟังไม่ค่อยสมศักดิ์ศรีเนื่องในวาระสำคัญครบรอบ 30 ปี(ผิดกับการโหมประโคมข่าวเรื่องคอนเสิร์ต30 ปีเสียใหญ่โต) ซึ่งสำหรับผมแล้วนี่ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงของคาราบาวที่
“ฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้”