paulheng_2000@yahoo.com
ความลุ่มหลงในดนตรีอดีต เป็นความเบิกบานใจของคนรังสรรค์งานรุ่นใหม่ ที่รับอิทธิพลมาสร้างสรรค์ให้สดใหม่ร่วมสมัยขึ้นอีกครั้ง
‘มันคือเวลาสำหรับการปฏิวัติความรัก’
‘It Is Time for a Love Revolution’ เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของนักร้อง, นักแต่งเพลง, ผู้เชี่ยวชาญชิ้นดนตรีที่หลากหลาย โปรดิวเซอร์ และนักเรียบเรียงดนตรีและเสียงประสาน เช่นกันอัลบั้มที่มีบทเพลงทั้งหมด 14 เพลงเขาก็ทำหน้าที่ทำงานเองเกือบทั้งหมดในอัลบั้มแบบฉายเดี่ยวอีกครั้งอย่างที่เคยเป็นมาตามสัญชาตญาณแห่งอัตตาที่ครองงำของตัวเอง ของ เลนนี คราวิทซ์ (Lenny Kravitz)
แม้อัลบั้มชุดนี้จะออกมาสัก 2 ปีแล้ว แต่มีประเด็นที่น่าสนใจของดนตรีร็อคในยุคโพสต์โมเดิร์น ที่เรียกว่า ‘เรโทร-ร็อค’ (Retro-Rock) ซึ่งน่าพูดถึงอยู่ใช่น้อย
เพราะในช่วงยุคทศวรรษที่ 90 เลนนี คราวิทซ์ ได้เป็นจุดรวมนำแฟชั่นดนตรีเรโทร-ร็อค เข้าสู่วัฒนธรรมกระแสหลัก ทั้งดนตรีของเขาเอง ทั้งรูปลักษณ์ของดนตรีที่นำเสนอออกมา รวมทั้งภาพลักษณ์ของแฟชั่นเครื่องแต่งกายและทรงผม ถือได้ว่าเขาคือส่วนหนึ่งของเทรนด์เซ็ตเตอร์หรือเป็นผู้กำหนดกระแสของสังคมดนตรีที่โดดเด่นในช่วงนั้น โดยเฉพาะข่าวคราวที่เขาไปพัวพันกับ มาดอนน่า (Madonna) ราชินีแห่งวงการเพลงอีกคนหนึ่งที่ร้อนแรงมากอีกครั้งหนึ่ง
ในปี 1993 (2536) อัลบั้ม ‘Are You Gonna Go My Way’ ถือเป็นงานที่วิจิตรเฉียบแหลมและน่าทึ่งของเขา ซึ่งหลายคนบอกว่า น่าจะเป็นงานที่ดีที่สุดในอาชีพของเลนนี คราวิทซ์ ด้วยซ้ำ
นิวยอร์คเกอร์ อย่าง เลนนี คราวิทซ์ คลั่งไคล้และมีความกระตือรือร้นอย่างมหาศาลในการเรียนรู้ศึกษาดนตรีที่คนทั่วไปมองว่า เป็นของที่กำลังเก่าพ้นสมัยถูกกาลเวลากลืนกินไปจนกำลังจะสูญหายไป แนวดนตรีที่ผู้คนร่วมสมัยเหมาเรียกว่า ‘คลาสสิค ร็อค’ รวมถึงแนวดนตรีโซล, ฟังค์กี้ และไซเคเดลิค
เขาหลวมรวมจิตวิญญาณและบรรยากาศในอิทธิพลดนตรียุคนั้น ที่สื่อผ่านความรักและสันติภาพ โดยเฉพาะแนวทางของบรรดาซูเปอร์สตาร์ทางดนตรีและเสียงเพลงในยุคทศวรรษที่ 60 และ 70
เรโทร-ร็อค ในความหมายของตัวตนและบุคลิกของเลนนี คราวิทซ์ สิ่งที่เขาเพียรทำได้อย่างดีที่สุดก็คือ สุนทรียศาสตร์ของดนตรีร็อคในยุคทศวรรษที่ 70 ที่ถูกหยิบยืมมา โดยอย่างน้อยที่สุดก็สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐานที่สูงลิบของคนดนตรีในอดีตได้ ซึ่งอิทธิพลของดนตรีที่ผ่านมาจาก จิมี เฮนดริกซ์ (Jimi Hendrix), เดอะ เวลเว็ท อันเดอร์กราวด์ (The Velvet Underground), สไลย์ แอนด์ แฟมิลี สโตน (Sly & the Family Stone), พรินซ์ (Prince), เคอร์ติส เมย์ฟิลด์ (Curtis Mayfield), จอห์น เลนนอน (John Lennon), เลด เซพพลิน (Led Zeppelin), เลิฟ (Love), เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles) และ เอดดี ฮาเซล (Eddie Hazel)
การปรากฎตัวครั้งแรกของเลนนี คราวิทซ์ เริ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดยุคทศวรรษที่ 80 โดยในขณะนั้นแนวดนตรีแฮร์ เมทัล (ดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่หนักไปในทางความสำอางหน้าหล่อคมคาย ผมยาวนุ่มสลวยและดนตรีที่เน้นบัลลาดกรีดกินใจสาวๆ) และแฟชั่นแก๊งสเตอร์อยู่ในช่วงขาลงถูกหลงลืมอยู่ในซอกหลืบแทบจะไม่ได้ผุดได้เกิด
นักวิจารณ์เพลงต่างงงงวยกับรูปลักษณ์ของดนตรี และภาพลักษณ์ที่ย้อนยุคดิบกร้านของเขา รวมถึงการสร้างซาวด์ดนตรีที่ยอดเยี่ยมหลุดลอดเข้าสู่ยุคแห่งมหากาพย์การสร้างสรรค์ดนตรีร็อคที่ประวัติศาสตร์ทางดนตรีถือว่าหลากหลายและดีที่สุดในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ถึงทศวรรษที่ 70
เป็นการนำผู้คนกลับสู่ความหลังครั้งเก่า ด้วยดนตรีแบบเดิมแต่มีผลพวงของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยบรรยากาศของเพลงที่ทันสมัยกว่า เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวดนตรีแบบเก่าเก๋าเก็บแต่ใช้สัมผัสพิเศษแบบพ็อพโบราณที่อยู่ในสัญชาตญาณส่งเนื้อสารที่เกี่ยวกับความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา ด้วยเสียงที่คนเคยคุ้นชินและชื่นชอบ
จุดเด่นก็คือการบันทึกเสียงที่สดดิบลอยออกมาอย่างโดดเด่นและมีความเป็นตัวของตัวเองที่สูงมาก แม้จะใช้แนวทางดนตรีร็อคในอดีต แต่กลับไม่ใช่การเดินตามรอยทางที่กลืนกลายจนสูญเสียอัตลักษณ์เฉพาะตน แต่เลนนี คราวิทซ์ ทำได้อย่างนวลเนียนลื่นไหลและนิ่ง มีความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างสูงทีเดียว
เพราะฉะนั้นคำว่า ‘เรโทร’ (Retro) จึงเป็นคำนิยามที่ถูกขึ้นมาบัญญัติให้กับเลนนี คราวิทซ์ และตำแหน่งเจ้าพ่อเรโทร-ร็อคก็ตกเป็นของเขาไปโดยปริยาย
การทำความเข้าใจกับดนตรีของเลนนี คราวิทซ์ ก็ต้องมีความจำเป็นที่ต้องรู้ถึงรากศัพท์และที่มาของดนตรีเรโทร-ร็อค โดยมาจากการพลิกฟื้นอดีตของดนตรีร็อคยุคทศวรรษที่ 70 ให้เต้นเร่ามีชีวิตอีกครั้งอย่างใส่ใจ รวมถึงแฟชั่นเครื่องแต่งกายที่หวนกลับสู่ยุคนั้นแบบดูดีทันสมัย ไม่ได้เชยหรือหลงยุค
‘เรโทร’ เป็นคำนิยามที่ใช้บรรยายเพื่อเป็นเครื่องหมายหรือแบ่งแยกประเภทของช่วงเวลาที่รุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในแต่ละยุค กระแสหรือเทรนด์ตามสมัยนิยม ซึ่งรวมถึงแฟชั่นเครื่องแต่งตัว การดูหนังฟังเพลงและอีกจิปาถะร้อยแปดพันเก้า ทั้งหมดที่เคลื่อนคล้อยล้าหลังไปแล้วสามารถถูกนำมารื้อสร้างได้ในยุคโพสต์โมเดิร์นหรือหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะพวกนิวยอร์คเกอร์หัวก้าวหน้าที่ชื่นชอบวิธีการทำงานศิลปะในเชิงย้อนแย้งและยั่วแย้งอย่างมีสติสัมปชัญญะ เป็นการรื้อสร้างบทความคิดและวิธีการสร้างสรรค์เก่าๆ มารังสรรค์ด้วยเชิงชั้นศิลปะของตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากการมั่วนิ่มหรือมั่วซั่วของการทำงานตามกระแสแฟชั่นในยุคใหม่ตามครรลองเชิงธุรกิจ
ตั้งแต่วันเวลาของศิลปะโพสต์โมเดิร์นที่เข้ามาอยู่ในกระแสหลักของวงการดนตรีนั้นมีหลากหลาย และทำให้ที่ทางของเลนนี คราวิทซ์ ได้ปักหลักอย่างแน่นหนามั่นคง
ในส่วนของเรโทร แฟชั่น ที่ผูกติดกับดนตรีร็อคที่เชื่อมโยงอยู่กับภาพลักษณ์และรูปแบบเครื่องแต่งกาย ทรงผม และเครื่องประดับต่างๆ ก็เหมือนกับการย้อนกลับสู่อดีตอันรุ่งโรจน์ของภาพอดีต ความมีชีวิตชีวาในดนตรีสาขานี้ให้กลับมาอยู่ในการเพ่งความสนใจของคนฟังเพลงทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง เป็นความดิบเฟี้ยวเปลี่ยวอารมณ์ของจิ๊กโก๋รุ่นใหม่ที่ได้เสพสัมผัสอารมณ์ตรงนั้นอีกคราครั้งหนึ่ง
เชิงชั้นของดนตรี เรโทร-ร็อค โดยเฉพาะดนตรีที่สืบเนื่องมาจากยุคดอกไม้เบ่งบาน คนรุ่นบุปผาชนที่คลั่งไคล้ในดนตรีฮาร์ดร็อค, ไซเคเดลิคร็อค แรงเหวี่ยงจากโมเมนตัมทางดนตรีเรโทร-ร็อค ที่เลนนี คราวิทซ์ สร้างทำมาจนติดตลาดกระแสหลักในช่วงยุคทศวรรษที่ 90 ได้ส่งอิทธิพลและแรงบันดาลใจมาสู่คนดนตรีรุ่นใหม่
โดยเฉพาะในช่วงกลางของยุคทศวรรษ 2000 การเติบโตของดนตรีคลาสสิคร็อคได้ขยายวงเชื่อมกับดนตรีฮาร์ดร็อคอีกครั้งหนึ่ง โดยเชื่อมกับธาตุและจิตวิญญาณยุคไซเคเดลิค, เฮฟวี่เมทัล และ โมเดิร์น ฮาร์ดร็อค ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เด่นชัดออกมาของคนดนตรีในยุคเจเนอเรชั่นวาย (คนที่เกิดและเติบโตตั้งแต่ปี 1985 (2528) จนถึงปัจจุบัน อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย หรือ Yers ซึ่งเป็นกลุ่มทีนเอจวัยรุ่นในปัจจุบัน เบบี้ บูมเมอร์รุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในปี 2000 (2543) กลุ่มรุ่นใหม่นี้จะมีอายุประมาณ 18 ปี หรือต่ำกว่ามีจำนวนประมาณ 72 ล้านคน หรือประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมดในรุ่นปัจจุบัน)
วงดนตรีที่โดดเด่นอย่าง บัคเชอร์รี่ (Buckcherry), เจ็ท (Jet), เดอะ ซอร์ด (The Sword) และ วูล์ฟมาเธอร์ (Wolfmother) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจากกลุ่มคนฟังรุ่นใหม่ที่ได้เสพอรรถรสของดนตรีร็อคในยุคทศวรรษที่ 70 ว่ามีความขรึมขลังหนักแน่นเต็มไปด้วยทักษะฝีมืออย่างไร รสชาติของดนตรีในแบบของ เลด เซพพลิน (Led Zeppelin), แบล๊ค ซับบาธ (Black Sabbath), เดอะ จิมี เฮนดริกซ์ เอ็กซ์เพอเรียนซ์ (The Jimi Hendrix Experience), เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles) และ พิงค์ ฟลอยด์ (Pink Floyd) ถูกนำมาย่อยสังเคราะห์ใหม่ให้มีความร่วมสมัย ซึ่งพลังขับเคลื่อนและการเคลื่อนไหวของคนดนตรีกลุ่มนี้ถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในดนตรี ‘เรโทร-ร็อค’ และ ‘เฮอริเทจ เมทัล’ และปัจจุบันก็เป็นคำนิยามสามัยของดนตรีที่เป็นเทรนดี้ ฮาร์ดร็อครุ่นใหม่ไปแล้ว
นี่คือคุณูปการที่ได้รับการต่อยอดขึ้นมาจากดนตรีของเลนนี คราวิทซ์
เช่นกัน ‘It Is Time for a Love Revolution’ ก็เป็นอัลบั้มที่ดำรงอยู่ของจิตวิญญาณเหล่านั้นอย่างครบถ้วน
ในช่วงต้นปี 2003 (พ.ศ.2546) สงครามในอิรักได้เกิดขึ้น จากการยาตราของกองทัพสหรัฐอเมริกา เลนนี คราวิทซ์ ก็ได้ออกบทเพลงที่ ‘We Want Peace’ เพื่อเป็นการประท้วงและต่อต้านการรุกรานอิรักนามของสันติภาพ แต่เบื้องหลังมีผลประโยชน์ด้านพลังงานที่เกี่ยวกับน้ำมัน และความมั่นคงทางงตะวันออกกลางเป็นหลัก แน่นอนบทเพลงสามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 ในชาร์ตการดาวน์โหลดเพลงทางอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์ MP3.com
ที่ยอดเยี่ยมกว่านั้น บทเพลงนี้ถูกนำไปบรรจุเป็นหนึ่งในหลายเพลงใน ‘Unity’ อัลบั้มบทเพลงโอลิมปิคอย่างเป็นทางการที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
ทัศนคติแบบฮิปปี้ในยุคบุปผาชน สันติภาพและความรัก ของเลนนี คราวิทซ์ นั้น รับไม้มาจากคนรุ่นก่อนอย่างเข้มข้น อัลบั้ม ‘It Is Time For A Love Revolution’ ก็นับได้ว่าเป็นภาคขยายมาจากบทเพลง ‘We Want Peace’ จากท่อนประโยคที่ร้องว่า “It's time for the revolution!’ ที่สามารถสืบค้นถึงแรงผลักและแรงบันดาลใจถึงที่มาของงานชุดนี้
ความจัดเจนและจัดจ้านที่กระซวกกันแบบตรงๆ ผ่าน ‘Back in Vietnam’ ซึ่งเป็นบทเพลงที่พูดถึงสงครามในอิรักอย่างชัดแจ่มและสะท้อนความรู้สึกประดุจมองกระจกไปถึงวิกฤตการณ์เมื่อครั้งสงครามเวียดนามเป็นอย่างยิ่ง และสถานการณ์นั้นก็ได้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ถือเป็นบทเพลงที่พูดถึงการเมือง กู่ก้องประท้วงและต่อต้านการทำสงครามในอิรัก ‘Back in Vietnam’ มีคำร้องที่สื่อสารออกมาอย่างตรงไปตรงมาด้วยความจริงที่กลั่นกรองออกมาอย่างหลักแหลมด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
เสียงร้องของเขาจะเปล่งออกมาด้วยศรัทธาที่แรงกล้า ควบคู่ไปกับกีตาร์ที่พุ่งไปข้างหน้าอย่างกร้าวกร้าน และเสียงกลองที่กระหน่ำเป็นจังหวะจะโคนหนุนเนื่องทำให้มีพลังกระแทกกระทั้นทะลวงลึกเข้าสู่ภายในใจของคนฟัง
เมื่อมาผูกรวมกับบทเพลงที่จัดวางไว้ท้ายสุดในอัลบั้ม ‘I Want To Go Home’ กับเวลา 5:06 นาที แสดงถึงความหดหู่อ้างว้างสะท้านเยือกเย็นไปถึงรูขุมขนของเหล่าทหารที่เดินทางไปทำสงครามในอิรัก จะมีลมหายใจกลับมาหรือคลุมธงชาติกลับมา ดนตรีที่มีกลิ่นอายคันทรีโศกเหงา การร้องด้วยพยางค์ที่คร่ำครวญถึงชะตากรรม แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างยิ่งยวดของนักต่อต้านสงครามที่นำอารมณ์ของบทเพลงประท้วงมารังสรรค์สร้างให้มีพลวัตของยุคสมัยอีกครั้งอย่างยอดเยี่ยม
เพียง 2 บทเพลงที่มิอาจต้านทาน ด้วยพลังที่หนุนเนื่องด้วยจิตสำนึกทางสังคมในระดับโลก ของเลนนี คราวิทซ์ ในปัจจุบัน อัตตาในเชิงชั้นดนตรีที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เขาถือเป็นนักร้อง / นักแต่งเพลงเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ครอบรวมเหมาเล่นดนตรีทุกอย่าในห้องบันทึกเสียงเองเกือบทั้งหมด รวมทั้งเป็นโปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิต บันทึกเสียง เรียบเรียงดนตรีและเสียงประสานเอง เรียกว่าผลิตงานออกมาอัลบั้มหนึ่ง เขาเป็นคนลงมือทำตั้งแต่ต้นน้ำที่เป็นโครงร่างภาพความคิดทางดนตรีและเนื้อเพลงในหัวออกมาเป็นรูปธรรมจนถึงปลายน้ำ ด้วยสไตล์ดนตรีที่เขาถนัดคือ เรโทร-ร็อค ที่ขมวดรวมดนตรีในยุคทศวรรษที่ 70 นำซาวด์หรือเสียงอันเป็นเอกลักษณ์จากธาตุของดนตรี ร็อค, โซล, ฟังค์กี้, เร็กเก้, ฮาร์ดร็อค, ไซเคเดลิค, โฟล์ค และบัลลาด มาทำให้ร่วมสมัยในแบบของตัวเอง แต่ทำให้คนฟังสามาถย้อนกลับไปสู่ภาพจำหลักอันรุ่งเรืองของดนตรีในยุคนั้นได้แบบเข้าถึงจิตวิญญาณ
ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของเขา ‘It Is Time For A Love Revolution’ เขายังคงอัตตาไว้เต็มที่ โดยยังเป็นทั้งคนร้องนำ ร้องสนับสนุน เล่นชิ้นดนตรีทั้งกีตาร์ เบส กลอง คีย์บอร์ด และเพอร์คัสชั่นหรือเครื่องเคาะในกระบวนการบันทึกเสียง และพลังทางความคิดที่ส่งจิตสำนึกทางสังคมในแบบจริงจังแน่วแน่ของยุคบุปผาชน
เสน่ห์ของดนตรีอเมริกัน เทรดิชัน ร็อค ซึ่งเป็นดนตรีที่เชื่อมระหว่างบูกี้วูกี้และพื้นฐานของบลูส์ รวมถึงการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสดมีอยู่อบอวล ผนวกกับลูกริฟฟ์กีตาร์ในแบบวินเทจเก่าเก็บของยุค ’70 จังหวะฟังค์กี้ ผนวกอารมณ์ความรู้สึกในแบบฮิปปี้ฝันเฟื่องกระตุ้นสร้างจิตสำนึกของการเรียกร้องความรักและสันติภาพ
ดนตรีในแบบฉบับของเลนนี คราวิทซ์ อุดมมากล้นของริฟฟ์กีตาร์คู่ที่แข็งแกร่ง กับท่อนฮุคที่ติดหูติดใจ และเสียงสัมผัสของคำในรูปรสแบบกวีในเนื้อร้องของเพลง แต่ในอัลบั้ม ‘It Is Time for a Love Revolution’ เสียงดนตรีมีความสดมากขึ้นกว่าที่เป็นมาจากอดีต หวนเข้าสู่พลังและความคิดสร้างสรรค์ที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวาด้วยเรโทร-ร็อคที่มีท่อนฮุคอันหนักแน่นและขมวดเกลียวของความร่วมสมัย
ในส่วนของเนื้อร้องเลนนี คราวิทซ์ ยังเขียนเนื้อร้องยังทำงนในทางถนัดด้วยการเขียนทางคำที่มีถ้อยขับร้องสัมผัสรับของบทกวี และมีการย้ำวนหมุนเวียนให้ติดปากติดหู
ว่าไปแล้ว บทเพลงแรกเปิดหัว ไตเติ้ลแทร็ค ‘Love Revolution’ ก็ไม่ได้มีแนวทางดนตรีที่ฉีกหนีไปไหนไกล ยังคงคุณลักษณ์ดั้งเดิมที่เคยเป็นมาของดนตรีในแบบเลนนี คราวิทซ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงกีตาร์ที่หนักหน่วง การหมุนย้ำวนในรูปลักษณ์ดนตรีไซเคเดลิค
เช่นเดียวกันกับบทเพลงที่ 2 ‘Bring It On’ ที่ขับเคลื่อนด้วยท่อนริฟฟ์กีตาร์แสนโอ่อ่าในแนวทางของเลด เซพพลิน โดยเฉพาะบทเพลงที่ 2 นั้น ได้อนุชกา แชงการ์ (Anoushka Shankar) ลูกสาวของระวี แชงการ์ (Ravi Shankar) ปรมาจารย์ซีตาร์แห่งอินเดีย ซึ่งเธอก็มีฝีมือในการเล่นซีตาร์อย่างเอกอุมาร่วมแจม โดยเล่นซีตาร์บรรเลงเสียงอ่อนหวานอย่างละเมียดในเพลง แต่ได้ยินเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในบางช่วง
บทเพลง ‘Good Morning’ ใช้ลักษณะของเสียงดนตรีพ็อพไซเคเดลิคเขย่าสั่นไหวหัวใจคนฟังอย่างตรงๆ ส่วนบทเพลง ‘Love, Love, Love’ ก็ใช้ดนตรีฟังค์ร็อคสูตรสำเร็จ
บทเพลงซอฟต์ร็อคกรีดกินเข้าไปในหัวใจ ด้วยบัลลาดหวานปานน้ำเชื่อมให้คนฟังได้ซบแนบอิง ‘I'll Be Waiting’ แกล้มด้วยเมโลดี้จากเสียงเปียโนหวานแผ่วโหยหา
ความตายของการปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลง สร้างบทเพลงที่มีจังหวะและทำนองปานกลางอย่างเงื่องหงอยเซื่องซึม ‘I Love the Rain’ และ ‘A Long and Sad Goodbye’
สำหรับบทเพลงคึกคักกระฉับกระเฉงชวนขยับแข้งขาด้วยดนตรีฟังค์ร็อคที่สนุกสนาน อย่าง ‘Will You Marry Me?’ และ ‘Dancin' Till Dawn’ โดยเฉพาะเพลงหลังที่เพิ่มการโซโล่ด้วยแซ็กโซโฟนสร้างแรงกระตุ้นที่ลุกโพลงเร้าใจในร่องเสียงแบบโซลอันเพลิดเพลินสนุกสนาน
การบันทึกเสียงในอัลบั้มชุดนี้ทำได้เฉียบขาดครบถ้วนทุกมวลอณูของดนตรีเรโทร-ร็อค ได้กรุ่นกลิ่นอายความสดดิบของดนตรีที่มีความสวยงามหนักหน่วงอย่างครบถ้วน เสียงร้องที่ถูกมิกซ์เข้าไปไม่ถูกดูดกลืนจมหาย สามารถโดดเด่นเป็นพระเคียงคู่ไปกับอรรถรสทางดนตรี
แม้ว่าโดยบทสรุปทั้งหมด อัลบั้มชุดนี้ลดทอนความอึกทึกครึกโครมทางดนตรีลง เน้นอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น ถือเป็นงานที่ดีที่สุดอีกชุดก็ว่าได้ ซึ่งวัดได้จากการใช้สัญชาตญาณที่ฝังแฝงให้ปะทุไหลออกมา จากความเชี่ยวชาญช่องชำนาญตามรสนิยมของเลนนี คราวิทซ์ ในทางดนตรีที่เชื่อมผสมระหว่างเสียงดนตรีแห่งความรุ่งโรจน์ในยุคปลายทศวรรษที่ 60 และช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 70 มาแปลแปลงถ่ายความจากมวลเสียงงดงามแบบคลาสสิคร็อคสู่ความทันสมัยที่เหมาะกับวันและเวลา
.........
รายชื่อบทเพลงในอัลบั้ม ‘It Is Time for a Love Revolution’ ของ เลนนี คราวิทซ์
1. 'Love Revolution'
2. 'Bring It On'
3. 'Good Morning'
4. 'Love Love Love'
5. 'If You Want It'
6. 'I'll Be Waiting'
7. 'Will You Marry Me'
8. 'I Love the Rain'
9. 'A Long and Sad Goodbye'
10. 'Dancin' Til Dawn'
11. 'This Moment Is All There Is'
12. 'A New Door'
13. 'Back in Vietnam'
14. '"I Want to Go Home"
>>>>>>>>>>
………
ฟังมาแล้ว
‘I Dreamed A Dream’ / Susan Boyle
จากผู้หญิงทึนทึกธรรมดาที่ชอบร้องเพลงและไม่รู้ว่าตัวเองมีพรสวรรค์ กลับกลายเป็นพ็อพไอดอลในชั่วเพียงระยะเวลาเพียงพริบตาด้วยอำนาจของโซเชียล เน็ตเวิร์ค
ซูซาน บอยล์ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ในโลกดนตรีที่พุ่งทะลุด้วยการบอกต่อผ่านโลกไซเบอร์ แม้จะมาตามระบบการประกวดในเวทีบริติช ก็อท’ส ทาเลนจ์ ก็ตาม เธอได้รางวัลรองชนะเลิศบนเวทีแห่งนี้ และเป็นที่รู้จักมากกว่าคนชนะเลิศ
อัลบั้มชุดแรกของเธอ เป็นงานเพลงคอฟเวอร์ที่นำเพลงเก่าที่เธอชอบมาร้องใหม่ด้วยลีลาการร้องตามถนัดของเธอเอง ในแบบโวคอล พ็อพ โชว์พลังเสียงที่น่าฟัง เมื่อฟังเป็นเพลงๆ ก็ดูดีอยู่ แต่เมื่อฟังติดต่อกันทั้งอัลบั้มรู้สึกได้ว่า เธอร้องเป็นแต่ทางนี้ทางเดียว และการตีความบทเพลงทางอารมณ์ความรู้สึกยังไม่ดีเท่าไหร่ ขาดมิติของอารมณ์เพลงที่หลากหลาย ซึ่งคงต้องพัฒนากันต่อไป
Time After Time The Collection / Cyndi Lauper
นักร้อง/นักแต่งเพลงสาวที่เป็นตำนานและสีสันในยุคนิวเวฟ ห้วงทศวรรษที่ 80 ซึ่งดนตรีแขนงนี้เป็นแฟชั่นการฟังเพลงไปทั่วโลก ถือได้ว่า เธอเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตแฟชั่นการดูเพลงผ่านมิวสิควิดีโอของยุคเอ็มทีวี แต่อย่าหมิ่นแคลน บทเพลงของเธอสามารถจับหัวใจของยุคสมัยที่เปี่ยมด้วยการบูชาหลงใหลวัตถุของหนุ่มสาวยุคนั้นได้ชะงัด
บทเพลงอย่าง ‘Money Changes Everything’ ได้บ่งชี้ถึงทิศทางของคนหนุ่มสาวและผู้คนยุคนั้นได้ชัดเจน ดนตรีของเธอไม่น่าเบื่อแม้จะมีความเป็นลูกกวาดอยู่บ้าง สามารถผสมผสานเอาความเป็นโพสต์พังค์ เร็กเก้ ฟังค์ และพ๊อพ มาใช้ได้อย่างลงตัว เพลงฮิตมากมายของเธอที่ถูกหยิบนำมารวบรวมไว้ในอัลบั้มชุดนี้ ถือเป็นการรำลึกและย้อนถึงวันชื่นคืนสุขของบทเพลงและดนตรีเก่าก่อนของเธอได้เป็นอย่างดี
Sting in the Tail / Scorpions
งานสตูดิโออัลบั้มชุดสุดท้าย เต็มไปด้วยพลังและการสร้างสรรค์ ดึงจิตวิญญาณเก่าๆ ของดนตรีเฮฟวี่เมทัลในเอกลักษณ์ของตัวเองในยุครุ่งเรืองสุดกลับมาได้ หากเปรียบเทียบกับอัลบั้มชุดก่อนๆ ที่พยายามหาแนวทางการผสมผสานกับทางดนตรีต่างๆ โดยเฉพาะในสไตล์โปรเกรสสีพเมทัลที่ผนวกเข้ามา อัลบั้มชุดนี้กลายเป็นงานที่น่าขึ้นหิ้งและน่าชื่นชมอย่างไม่น่าเชื่อ
ความคมคายของการเขียนเพลงในพันธุกรรมแบบร็อคเยอรมันที่ถูกใจคนทั้งโลก เชิงชั้นและลีลาทางดนตรีที่คมกริบเข้มข้นแบบสกอร์เปี้ยนส์ลอยเด่น สนุกเข้มข้นเต็มพลัง ดึงวันชื่นคืนเก่าของการสร้างสรรค์บทเพลงและดนตรีที่ดีที่สุดกลับมาได้อีกครั้ง
คอเพลงวงนี้ไม่น่าพลาด
Two Against Nature / Steely Dan
วงดูโอที่โด่งดังมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 70 และเงียบหายไป ก่อนจะกลับมาอีกครั้งในยุค 2000 กับอัลบั้ม ‘Two Against Nature’ ที่คว้ารางวัลแกรมมี่ไปหลายรางวัล ในฐานะวงแจ๊ซร๊อคที่เล่นดนตรีอันมีกลิ่นอายอาร์แอนด์บีอยู่ไม่น้อย
จากความสำเร็จในจุดนี้ พวกเขาจึงบันทึกการแสดงสดกันที่สตูดิโอของโซนี่ ในนิวยอร์ค เพื่อแสดงถึงฝีมือและเชิงชั้นทางดนตรีที่ยอดเยี่ยมออกมาให้ได้สัมผัสว่า สุดยอดวงที่มีสัญชาตญาณและปฏิภาณทางดนตรีที่ไม่เคยตกยุคเป็นอย่างไร รวมถึงการนำเพลงในระดับคลาสสิคร๊อคของพวกเขามารื้อฟื้นให้มีชีวิตอย่างดงามกันอีกคำรบ บ่งชี้ถึงความเก๋าและประสบการณ์ที่วงดนตรีรุ่นใหม่ต้องนำไปเป็นแบบอย่าง
ความลุ่มหลงในดนตรีอดีต เป็นความเบิกบานใจของคนรังสรรค์งานรุ่นใหม่ ที่รับอิทธิพลมาสร้างสรรค์ให้สดใหม่ร่วมสมัยขึ้นอีกครั้ง
‘มันคือเวลาสำหรับการปฏิวัติความรัก’
‘It Is Time for a Love Revolution’ เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของนักร้อง, นักแต่งเพลง, ผู้เชี่ยวชาญชิ้นดนตรีที่หลากหลาย โปรดิวเซอร์ และนักเรียบเรียงดนตรีและเสียงประสาน เช่นกันอัลบั้มที่มีบทเพลงทั้งหมด 14 เพลงเขาก็ทำหน้าที่ทำงานเองเกือบทั้งหมดในอัลบั้มแบบฉายเดี่ยวอีกครั้งอย่างที่เคยเป็นมาตามสัญชาตญาณแห่งอัตตาที่ครองงำของตัวเอง ของ เลนนี คราวิทซ์ (Lenny Kravitz)
แม้อัลบั้มชุดนี้จะออกมาสัก 2 ปีแล้ว แต่มีประเด็นที่น่าสนใจของดนตรีร็อคในยุคโพสต์โมเดิร์น ที่เรียกว่า ‘เรโทร-ร็อค’ (Retro-Rock) ซึ่งน่าพูดถึงอยู่ใช่น้อย
เพราะในช่วงยุคทศวรรษที่ 90 เลนนี คราวิทซ์ ได้เป็นจุดรวมนำแฟชั่นดนตรีเรโทร-ร็อค เข้าสู่วัฒนธรรมกระแสหลัก ทั้งดนตรีของเขาเอง ทั้งรูปลักษณ์ของดนตรีที่นำเสนอออกมา รวมทั้งภาพลักษณ์ของแฟชั่นเครื่องแต่งกายและทรงผม ถือได้ว่าเขาคือส่วนหนึ่งของเทรนด์เซ็ตเตอร์หรือเป็นผู้กำหนดกระแสของสังคมดนตรีที่โดดเด่นในช่วงนั้น โดยเฉพาะข่าวคราวที่เขาไปพัวพันกับ มาดอนน่า (Madonna) ราชินีแห่งวงการเพลงอีกคนหนึ่งที่ร้อนแรงมากอีกครั้งหนึ่ง
ในปี 1993 (2536) อัลบั้ม ‘Are You Gonna Go My Way’ ถือเป็นงานที่วิจิตรเฉียบแหลมและน่าทึ่งของเขา ซึ่งหลายคนบอกว่า น่าจะเป็นงานที่ดีที่สุดในอาชีพของเลนนี คราวิทซ์ ด้วยซ้ำ
นิวยอร์คเกอร์ อย่าง เลนนี คราวิทซ์ คลั่งไคล้และมีความกระตือรือร้นอย่างมหาศาลในการเรียนรู้ศึกษาดนตรีที่คนทั่วไปมองว่า เป็นของที่กำลังเก่าพ้นสมัยถูกกาลเวลากลืนกินไปจนกำลังจะสูญหายไป แนวดนตรีที่ผู้คนร่วมสมัยเหมาเรียกว่า ‘คลาสสิค ร็อค’ รวมถึงแนวดนตรีโซล, ฟังค์กี้ และไซเคเดลิค
เขาหลวมรวมจิตวิญญาณและบรรยากาศในอิทธิพลดนตรียุคนั้น ที่สื่อผ่านความรักและสันติภาพ โดยเฉพาะแนวทางของบรรดาซูเปอร์สตาร์ทางดนตรีและเสียงเพลงในยุคทศวรรษที่ 60 และ 70
เรโทร-ร็อค ในความหมายของตัวตนและบุคลิกของเลนนี คราวิทซ์ สิ่งที่เขาเพียรทำได้อย่างดีที่สุดก็คือ สุนทรียศาสตร์ของดนตรีร็อคในยุคทศวรรษที่ 70 ที่ถูกหยิบยืมมา โดยอย่างน้อยที่สุดก็สามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐานที่สูงลิบของคนดนตรีในอดีตได้ ซึ่งอิทธิพลของดนตรีที่ผ่านมาจาก จิมี เฮนดริกซ์ (Jimi Hendrix), เดอะ เวลเว็ท อันเดอร์กราวด์ (The Velvet Underground), สไลย์ แอนด์ แฟมิลี สโตน (Sly & the Family Stone), พรินซ์ (Prince), เคอร์ติส เมย์ฟิลด์ (Curtis Mayfield), จอห์น เลนนอน (John Lennon), เลด เซพพลิน (Led Zeppelin), เลิฟ (Love), เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles) และ เอดดี ฮาเซล (Eddie Hazel)
การปรากฎตัวครั้งแรกของเลนนี คราวิทซ์ เริ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดยุคทศวรรษที่ 80 โดยในขณะนั้นแนวดนตรีแฮร์ เมทัล (ดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่หนักไปในทางความสำอางหน้าหล่อคมคาย ผมยาวนุ่มสลวยและดนตรีที่เน้นบัลลาดกรีดกินใจสาวๆ) และแฟชั่นแก๊งสเตอร์อยู่ในช่วงขาลงถูกหลงลืมอยู่ในซอกหลืบแทบจะไม่ได้ผุดได้เกิด
นักวิจารณ์เพลงต่างงงงวยกับรูปลักษณ์ของดนตรี และภาพลักษณ์ที่ย้อนยุคดิบกร้านของเขา รวมถึงการสร้างซาวด์ดนตรีที่ยอดเยี่ยมหลุดลอดเข้าสู่ยุคแห่งมหากาพย์การสร้างสรรค์ดนตรีร็อคที่ประวัติศาสตร์ทางดนตรีถือว่าหลากหลายและดีที่สุดในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ถึงทศวรรษที่ 70
เป็นการนำผู้คนกลับสู่ความหลังครั้งเก่า ด้วยดนตรีแบบเดิมแต่มีผลพวงของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยบรรยากาศของเพลงที่ทันสมัยกว่า เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวดนตรีแบบเก่าเก๋าเก็บแต่ใช้สัมผัสพิเศษแบบพ็อพโบราณที่อยู่ในสัญชาตญาณส่งเนื้อสารที่เกี่ยวกับความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา ด้วยเสียงที่คนเคยคุ้นชินและชื่นชอบ
จุดเด่นก็คือการบันทึกเสียงที่สดดิบลอยออกมาอย่างโดดเด่นและมีความเป็นตัวของตัวเองที่สูงมาก แม้จะใช้แนวทางดนตรีร็อคในอดีต แต่กลับไม่ใช่การเดินตามรอยทางที่กลืนกลายจนสูญเสียอัตลักษณ์เฉพาะตน แต่เลนนี คราวิทซ์ ทำได้อย่างนวลเนียนลื่นไหลและนิ่ง มีความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างสูงทีเดียว
เพราะฉะนั้นคำว่า ‘เรโทร’ (Retro) จึงเป็นคำนิยามที่ถูกขึ้นมาบัญญัติให้กับเลนนี คราวิทซ์ และตำแหน่งเจ้าพ่อเรโทร-ร็อคก็ตกเป็นของเขาไปโดยปริยาย
การทำความเข้าใจกับดนตรีของเลนนี คราวิทซ์ ก็ต้องมีความจำเป็นที่ต้องรู้ถึงรากศัพท์และที่มาของดนตรีเรโทร-ร็อค โดยมาจากการพลิกฟื้นอดีตของดนตรีร็อคยุคทศวรรษที่ 70 ให้เต้นเร่ามีชีวิตอีกครั้งอย่างใส่ใจ รวมถึงแฟชั่นเครื่องแต่งกายที่หวนกลับสู่ยุคนั้นแบบดูดีทันสมัย ไม่ได้เชยหรือหลงยุค
‘เรโทร’ เป็นคำนิยามที่ใช้บรรยายเพื่อเป็นเครื่องหมายหรือแบ่งแยกประเภทของช่วงเวลาที่รุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในแต่ละยุค กระแสหรือเทรนด์ตามสมัยนิยม ซึ่งรวมถึงแฟชั่นเครื่องแต่งตัว การดูหนังฟังเพลงและอีกจิปาถะร้อยแปดพันเก้า ทั้งหมดที่เคลื่อนคล้อยล้าหลังไปแล้วสามารถถูกนำมารื้อสร้างได้ในยุคโพสต์โมเดิร์นหรือหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะพวกนิวยอร์คเกอร์หัวก้าวหน้าที่ชื่นชอบวิธีการทำงานศิลปะในเชิงย้อนแย้งและยั่วแย้งอย่างมีสติสัมปชัญญะ เป็นการรื้อสร้างบทความคิดและวิธีการสร้างสรรค์เก่าๆ มารังสรรค์ด้วยเชิงชั้นศิลปะของตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากการมั่วนิ่มหรือมั่วซั่วของการทำงานตามกระแสแฟชั่นในยุคใหม่ตามครรลองเชิงธุรกิจ
ตั้งแต่วันเวลาของศิลปะโพสต์โมเดิร์นที่เข้ามาอยู่ในกระแสหลักของวงการดนตรีนั้นมีหลากหลาย และทำให้ที่ทางของเลนนี คราวิทซ์ ได้ปักหลักอย่างแน่นหนามั่นคง
ในส่วนของเรโทร แฟชั่น ที่ผูกติดกับดนตรีร็อคที่เชื่อมโยงอยู่กับภาพลักษณ์และรูปแบบเครื่องแต่งกาย ทรงผม และเครื่องประดับต่างๆ ก็เหมือนกับการย้อนกลับสู่อดีตอันรุ่งโรจน์ของภาพอดีต ความมีชีวิตชีวาในดนตรีสาขานี้ให้กลับมาอยู่ในการเพ่งความสนใจของคนฟังเพลงทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง เป็นความดิบเฟี้ยวเปลี่ยวอารมณ์ของจิ๊กโก๋รุ่นใหม่ที่ได้เสพสัมผัสอารมณ์ตรงนั้นอีกคราครั้งหนึ่ง
เชิงชั้นของดนตรี เรโทร-ร็อค โดยเฉพาะดนตรีที่สืบเนื่องมาจากยุคดอกไม้เบ่งบาน คนรุ่นบุปผาชนที่คลั่งไคล้ในดนตรีฮาร์ดร็อค, ไซเคเดลิคร็อค แรงเหวี่ยงจากโมเมนตัมทางดนตรีเรโทร-ร็อค ที่เลนนี คราวิทซ์ สร้างทำมาจนติดตลาดกระแสหลักในช่วงยุคทศวรรษที่ 90 ได้ส่งอิทธิพลและแรงบันดาลใจมาสู่คนดนตรีรุ่นใหม่
โดยเฉพาะในช่วงกลางของยุคทศวรรษ 2000 การเติบโตของดนตรีคลาสสิคร็อคได้ขยายวงเชื่อมกับดนตรีฮาร์ดร็อคอีกครั้งหนึ่ง โดยเชื่อมกับธาตุและจิตวิญญาณยุคไซเคเดลิค, เฮฟวี่เมทัล และ โมเดิร์น ฮาร์ดร็อค ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เด่นชัดออกมาของคนดนตรีในยุคเจเนอเรชั่นวาย (คนที่เกิดและเติบโตตั้งแต่ปี 1985 (2528) จนถึงปัจจุบัน อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย หรือ Yers ซึ่งเป็นกลุ่มทีนเอจวัยรุ่นในปัจจุบัน เบบี้ บูมเมอร์รุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในปี 2000 (2543) กลุ่มรุ่นใหม่นี้จะมีอายุประมาณ 18 ปี หรือต่ำกว่ามีจำนวนประมาณ 72 ล้านคน หรือประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมดในรุ่นปัจจุบัน)
วงดนตรีที่โดดเด่นอย่าง บัคเชอร์รี่ (Buckcherry), เจ็ท (Jet), เดอะ ซอร์ด (The Sword) และ วูล์ฟมาเธอร์ (Wolfmother) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจากกลุ่มคนฟังรุ่นใหม่ที่ได้เสพอรรถรสของดนตรีร็อคในยุคทศวรรษที่ 70 ว่ามีความขรึมขลังหนักแน่นเต็มไปด้วยทักษะฝีมืออย่างไร รสชาติของดนตรีในแบบของ เลด เซพพลิน (Led Zeppelin), แบล๊ค ซับบาธ (Black Sabbath), เดอะ จิมี เฮนดริกซ์ เอ็กซ์เพอเรียนซ์ (The Jimi Hendrix Experience), เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles) และ พิงค์ ฟลอยด์ (Pink Floyd) ถูกนำมาย่อยสังเคราะห์ใหม่ให้มีความร่วมสมัย ซึ่งพลังขับเคลื่อนและการเคลื่อนไหวของคนดนตรีกลุ่มนี้ถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในดนตรี ‘เรโทร-ร็อค’ และ ‘เฮอริเทจ เมทัล’ และปัจจุบันก็เป็นคำนิยามสามัยของดนตรีที่เป็นเทรนดี้ ฮาร์ดร็อครุ่นใหม่ไปแล้ว
นี่คือคุณูปการที่ได้รับการต่อยอดขึ้นมาจากดนตรีของเลนนี คราวิทซ์
เช่นกัน ‘It Is Time for a Love Revolution’ ก็เป็นอัลบั้มที่ดำรงอยู่ของจิตวิญญาณเหล่านั้นอย่างครบถ้วน
ในช่วงต้นปี 2003 (พ.ศ.2546) สงครามในอิรักได้เกิดขึ้น จากการยาตราของกองทัพสหรัฐอเมริกา เลนนี คราวิทซ์ ก็ได้ออกบทเพลงที่ ‘We Want Peace’ เพื่อเป็นการประท้วงและต่อต้านการรุกรานอิรักนามของสันติภาพ แต่เบื้องหลังมีผลประโยชน์ด้านพลังงานที่เกี่ยวกับน้ำมัน และความมั่นคงทางงตะวันออกกลางเป็นหลัก แน่นอนบทเพลงสามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 ในชาร์ตการดาวน์โหลดเพลงทางอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์ MP3.com
ที่ยอดเยี่ยมกว่านั้น บทเพลงนี้ถูกนำไปบรรจุเป็นหนึ่งในหลายเพลงใน ‘Unity’ อัลบั้มบทเพลงโอลิมปิคอย่างเป็นทางการที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
ทัศนคติแบบฮิปปี้ในยุคบุปผาชน สันติภาพและความรัก ของเลนนี คราวิทซ์ นั้น รับไม้มาจากคนรุ่นก่อนอย่างเข้มข้น อัลบั้ม ‘It Is Time For A Love Revolution’ ก็นับได้ว่าเป็นภาคขยายมาจากบทเพลง ‘We Want Peace’ จากท่อนประโยคที่ร้องว่า “It's time for the revolution!’ ที่สามารถสืบค้นถึงแรงผลักและแรงบันดาลใจถึงที่มาของงานชุดนี้
ความจัดเจนและจัดจ้านที่กระซวกกันแบบตรงๆ ผ่าน ‘Back in Vietnam’ ซึ่งเป็นบทเพลงที่พูดถึงสงครามในอิรักอย่างชัดแจ่มและสะท้อนความรู้สึกประดุจมองกระจกไปถึงวิกฤตการณ์เมื่อครั้งสงครามเวียดนามเป็นอย่างยิ่ง และสถานการณ์นั้นก็ได้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ถือเป็นบทเพลงที่พูดถึงการเมือง กู่ก้องประท้วงและต่อต้านการทำสงครามในอิรัก ‘Back in Vietnam’ มีคำร้องที่สื่อสารออกมาอย่างตรงไปตรงมาด้วยความจริงที่กลั่นกรองออกมาอย่างหลักแหลมด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
เสียงร้องของเขาจะเปล่งออกมาด้วยศรัทธาที่แรงกล้า ควบคู่ไปกับกีตาร์ที่พุ่งไปข้างหน้าอย่างกร้าวกร้าน และเสียงกลองที่กระหน่ำเป็นจังหวะจะโคนหนุนเนื่องทำให้มีพลังกระแทกกระทั้นทะลวงลึกเข้าสู่ภายในใจของคนฟัง
เมื่อมาผูกรวมกับบทเพลงที่จัดวางไว้ท้ายสุดในอัลบั้ม ‘I Want To Go Home’ กับเวลา 5:06 นาที แสดงถึงความหดหู่อ้างว้างสะท้านเยือกเย็นไปถึงรูขุมขนของเหล่าทหารที่เดินทางไปทำสงครามในอิรัก จะมีลมหายใจกลับมาหรือคลุมธงชาติกลับมา ดนตรีที่มีกลิ่นอายคันทรีโศกเหงา การร้องด้วยพยางค์ที่คร่ำครวญถึงชะตากรรม แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างยิ่งยวดของนักต่อต้านสงครามที่นำอารมณ์ของบทเพลงประท้วงมารังสรรค์สร้างให้มีพลวัตของยุคสมัยอีกครั้งอย่างยอดเยี่ยม
เพียง 2 บทเพลงที่มิอาจต้านทาน ด้วยพลังที่หนุนเนื่องด้วยจิตสำนึกทางสังคมในระดับโลก ของเลนนี คราวิทซ์ ในปัจจุบัน อัตตาในเชิงชั้นดนตรีที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เขาถือเป็นนักร้อง / นักแต่งเพลงเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ครอบรวมเหมาเล่นดนตรีทุกอย่าในห้องบันทึกเสียงเองเกือบทั้งหมด รวมทั้งเป็นโปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิต บันทึกเสียง เรียบเรียงดนตรีและเสียงประสานเอง เรียกว่าผลิตงานออกมาอัลบั้มหนึ่ง เขาเป็นคนลงมือทำตั้งแต่ต้นน้ำที่เป็นโครงร่างภาพความคิดทางดนตรีและเนื้อเพลงในหัวออกมาเป็นรูปธรรมจนถึงปลายน้ำ ด้วยสไตล์ดนตรีที่เขาถนัดคือ เรโทร-ร็อค ที่ขมวดรวมดนตรีในยุคทศวรรษที่ 70 นำซาวด์หรือเสียงอันเป็นเอกลักษณ์จากธาตุของดนตรี ร็อค, โซล, ฟังค์กี้, เร็กเก้, ฮาร์ดร็อค, ไซเคเดลิค, โฟล์ค และบัลลาด มาทำให้ร่วมสมัยในแบบของตัวเอง แต่ทำให้คนฟังสามาถย้อนกลับไปสู่ภาพจำหลักอันรุ่งเรืองของดนตรีในยุคนั้นได้แบบเข้าถึงจิตวิญญาณ
ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของเขา ‘It Is Time For A Love Revolution’ เขายังคงอัตตาไว้เต็มที่ โดยยังเป็นทั้งคนร้องนำ ร้องสนับสนุน เล่นชิ้นดนตรีทั้งกีตาร์ เบส กลอง คีย์บอร์ด และเพอร์คัสชั่นหรือเครื่องเคาะในกระบวนการบันทึกเสียง และพลังทางความคิดที่ส่งจิตสำนึกทางสังคมในแบบจริงจังแน่วแน่ของยุคบุปผาชน
เสน่ห์ของดนตรีอเมริกัน เทรดิชัน ร็อค ซึ่งเป็นดนตรีที่เชื่อมระหว่างบูกี้วูกี้และพื้นฐานของบลูส์ รวมถึงการอิมโพรไวเซชั่นหรือด้นสดมีอยู่อบอวล ผนวกกับลูกริฟฟ์กีตาร์ในแบบวินเทจเก่าเก็บของยุค ’70 จังหวะฟังค์กี้ ผนวกอารมณ์ความรู้สึกในแบบฮิปปี้ฝันเฟื่องกระตุ้นสร้างจิตสำนึกของการเรียกร้องความรักและสันติภาพ
ดนตรีในแบบฉบับของเลนนี คราวิทซ์ อุดมมากล้นของริฟฟ์กีตาร์คู่ที่แข็งแกร่ง กับท่อนฮุคที่ติดหูติดใจ และเสียงสัมผัสของคำในรูปรสแบบกวีในเนื้อร้องของเพลง แต่ในอัลบั้ม ‘It Is Time for a Love Revolution’ เสียงดนตรีมีความสดมากขึ้นกว่าที่เป็นมาจากอดีต หวนเข้าสู่พลังและความคิดสร้างสรรค์ที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวาด้วยเรโทร-ร็อคที่มีท่อนฮุคอันหนักแน่นและขมวดเกลียวของความร่วมสมัย
ในส่วนของเนื้อร้องเลนนี คราวิทซ์ ยังเขียนเนื้อร้องยังทำงนในทางถนัดด้วยการเขียนทางคำที่มีถ้อยขับร้องสัมผัสรับของบทกวี และมีการย้ำวนหมุนเวียนให้ติดปากติดหู
ว่าไปแล้ว บทเพลงแรกเปิดหัว ไตเติ้ลแทร็ค ‘Love Revolution’ ก็ไม่ได้มีแนวทางดนตรีที่ฉีกหนีไปไหนไกล ยังคงคุณลักษณ์ดั้งเดิมที่เคยเป็นมาของดนตรีในแบบเลนนี คราวิทซ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงกีตาร์ที่หนักหน่วง การหมุนย้ำวนในรูปลักษณ์ดนตรีไซเคเดลิค
เช่นเดียวกันกับบทเพลงที่ 2 ‘Bring It On’ ที่ขับเคลื่อนด้วยท่อนริฟฟ์กีตาร์แสนโอ่อ่าในแนวทางของเลด เซพพลิน โดยเฉพาะบทเพลงที่ 2 นั้น ได้อนุชกา แชงการ์ (Anoushka Shankar) ลูกสาวของระวี แชงการ์ (Ravi Shankar) ปรมาจารย์ซีตาร์แห่งอินเดีย ซึ่งเธอก็มีฝีมือในการเล่นซีตาร์อย่างเอกอุมาร่วมแจม โดยเล่นซีตาร์บรรเลงเสียงอ่อนหวานอย่างละเมียดในเพลง แต่ได้ยินเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในบางช่วง
บทเพลง ‘Good Morning’ ใช้ลักษณะของเสียงดนตรีพ็อพไซเคเดลิคเขย่าสั่นไหวหัวใจคนฟังอย่างตรงๆ ส่วนบทเพลง ‘Love, Love, Love’ ก็ใช้ดนตรีฟังค์ร็อคสูตรสำเร็จ
บทเพลงซอฟต์ร็อคกรีดกินเข้าไปในหัวใจ ด้วยบัลลาดหวานปานน้ำเชื่อมให้คนฟังได้ซบแนบอิง ‘I'll Be Waiting’ แกล้มด้วยเมโลดี้จากเสียงเปียโนหวานแผ่วโหยหา
ความตายของการปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลง สร้างบทเพลงที่มีจังหวะและทำนองปานกลางอย่างเงื่องหงอยเซื่องซึม ‘I Love the Rain’ และ ‘A Long and Sad Goodbye’
สำหรับบทเพลงคึกคักกระฉับกระเฉงชวนขยับแข้งขาด้วยดนตรีฟังค์ร็อคที่สนุกสนาน อย่าง ‘Will You Marry Me?’ และ ‘Dancin' Till Dawn’ โดยเฉพาะเพลงหลังที่เพิ่มการโซโล่ด้วยแซ็กโซโฟนสร้างแรงกระตุ้นที่ลุกโพลงเร้าใจในร่องเสียงแบบโซลอันเพลิดเพลินสนุกสนาน
การบันทึกเสียงในอัลบั้มชุดนี้ทำได้เฉียบขาดครบถ้วนทุกมวลอณูของดนตรีเรโทร-ร็อค ได้กรุ่นกลิ่นอายความสดดิบของดนตรีที่มีความสวยงามหนักหน่วงอย่างครบถ้วน เสียงร้องที่ถูกมิกซ์เข้าไปไม่ถูกดูดกลืนจมหาย สามารถโดดเด่นเป็นพระเคียงคู่ไปกับอรรถรสทางดนตรี
แม้ว่าโดยบทสรุปทั้งหมด อัลบั้มชุดนี้ลดทอนความอึกทึกครึกโครมทางดนตรีลง เน้นอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น ถือเป็นงานที่ดีที่สุดอีกชุดก็ว่าได้ ซึ่งวัดได้จากการใช้สัญชาตญาณที่ฝังแฝงให้ปะทุไหลออกมา จากความเชี่ยวชาญช่องชำนาญตามรสนิยมของเลนนี คราวิทซ์ ในทางดนตรีที่เชื่อมผสมระหว่างเสียงดนตรีแห่งความรุ่งโรจน์ในยุคปลายทศวรรษที่ 60 และช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 70 มาแปลแปลงถ่ายความจากมวลเสียงงดงามแบบคลาสสิคร็อคสู่ความทันสมัยที่เหมาะกับวันและเวลา
.........
รายชื่อบทเพลงในอัลบั้ม ‘It Is Time for a Love Revolution’ ของ เลนนี คราวิทซ์
1. 'Love Revolution'
2. 'Bring It On'
3. 'Good Morning'
4. 'Love Love Love'
5. 'If You Want It'
6. 'I'll Be Waiting'
7. 'Will You Marry Me'
8. 'I Love the Rain'
9. 'A Long and Sad Goodbye'
10. 'Dancin' Til Dawn'
11. 'This Moment Is All There Is'
12. 'A New Door'
13. 'Back in Vietnam'
14. '"I Want to Go Home"
>>>>>>>>>>
………
ฟังมาแล้ว
‘I Dreamed A Dream’ / Susan Boyle
จากผู้หญิงทึนทึกธรรมดาที่ชอบร้องเพลงและไม่รู้ว่าตัวเองมีพรสวรรค์ กลับกลายเป็นพ็อพไอดอลในชั่วเพียงระยะเวลาเพียงพริบตาด้วยอำนาจของโซเชียล เน็ตเวิร์ค
ซูซาน บอยล์ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ในโลกดนตรีที่พุ่งทะลุด้วยการบอกต่อผ่านโลกไซเบอร์ แม้จะมาตามระบบการประกวดในเวทีบริติช ก็อท’ส ทาเลนจ์ ก็ตาม เธอได้รางวัลรองชนะเลิศบนเวทีแห่งนี้ และเป็นที่รู้จักมากกว่าคนชนะเลิศ
อัลบั้มชุดแรกของเธอ เป็นงานเพลงคอฟเวอร์ที่นำเพลงเก่าที่เธอชอบมาร้องใหม่ด้วยลีลาการร้องตามถนัดของเธอเอง ในแบบโวคอล พ็อพ โชว์พลังเสียงที่น่าฟัง เมื่อฟังเป็นเพลงๆ ก็ดูดีอยู่ แต่เมื่อฟังติดต่อกันทั้งอัลบั้มรู้สึกได้ว่า เธอร้องเป็นแต่ทางนี้ทางเดียว และการตีความบทเพลงทางอารมณ์ความรู้สึกยังไม่ดีเท่าไหร่ ขาดมิติของอารมณ์เพลงที่หลากหลาย ซึ่งคงต้องพัฒนากันต่อไป
Time After Time The Collection / Cyndi Lauper
นักร้อง/นักแต่งเพลงสาวที่เป็นตำนานและสีสันในยุคนิวเวฟ ห้วงทศวรรษที่ 80 ซึ่งดนตรีแขนงนี้เป็นแฟชั่นการฟังเพลงไปทั่วโลก ถือได้ว่า เธอเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตแฟชั่นการดูเพลงผ่านมิวสิควิดีโอของยุคเอ็มทีวี แต่อย่าหมิ่นแคลน บทเพลงของเธอสามารถจับหัวใจของยุคสมัยที่เปี่ยมด้วยการบูชาหลงใหลวัตถุของหนุ่มสาวยุคนั้นได้ชะงัด
บทเพลงอย่าง ‘Money Changes Everything’ ได้บ่งชี้ถึงทิศทางของคนหนุ่มสาวและผู้คนยุคนั้นได้ชัดเจน ดนตรีของเธอไม่น่าเบื่อแม้จะมีความเป็นลูกกวาดอยู่บ้าง สามารถผสมผสานเอาความเป็นโพสต์พังค์ เร็กเก้ ฟังค์ และพ๊อพ มาใช้ได้อย่างลงตัว เพลงฮิตมากมายของเธอที่ถูกหยิบนำมารวบรวมไว้ในอัลบั้มชุดนี้ ถือเป็นการรำลึกและย้อนถึงวันชื่นคืนสุขของบทเพลงและดนตรีเก่าก่อนของเธอได้เป็นอย่างดี
Sting in the Tail / Scorpions
งานสตูดิโออัลบั้มชุดสุดท้าย เต็มไปด้วยพลังและการสร้างสรรค์ ดึงจิตวิญญาณเก่าๆ ของดนตรีเฮฟวี่เมทัลในเอกลักษณ์ของตัวเองในยุครุ่งเรืองสุดกลับมาได้ หากเปรียบเทียบกับอัลบั้มชุดก่อนๆ ที่พยายามหาแนวทางการผสมผสานกับทางดนตรีต่างๆ โดยเฉพาะในสไตล์โปรเกรสสีพเมทัลที่ผนวกเข้ามา อัลบั้มชุดนี้กลายเป็นงานที่น่าขึ้นหิ้งและน่าชื่นชมอย่างไม่น่าเชื่อ
ความคมคายของการเขียนเพลงในพันธุกรรมแบบร็อคเยอรมันที่ถูกใจคนทั้งโลก เชิงชั้นและลีลาทางดนตรีที่คมกริบเข้มข้นแบบสกอร์เปี้ยนส์ลอยเด่น สนุกเข้มข้นเต็มพลัง ดึงวันชื่นคืนเก่าของการสร้างสรรค์บทเพลงและดนตรีที่ดีที่สุดกลับมาได้อีกครั้ง
คอเพลงวงนี้ไม่น่าพลาด
Two Against Nature / Steely Dan
วงดูโอที่โด่งดังมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 70 และเงียบหายไป ก่อนจะกลับมาอีกครั้งในยุค 2000 กับอัลบั้ม ‘Two Against Nature’ ที่คว้ารางวัลแกรมมี่ไปหลายรางวัล ในฐานะวงแจ๊ซร๊อคที่เล่นดนตรีอันมีกลิ่นอายอาร์แอนด์บีอยู่ไม่น้อย
จากความสำเร็จในจุดนี้ พวกเขาจึงบันทึกการแสดงสดกันที่สตูดิโอของโซนี่ ในนิวยอร์ค เพื่อแสดงถึงฝีมือและเชิงชั้นทางดนตรีที่ยอดเยี่ยมออกมาให้ได้สัมผัสว่า สุดยอดวงที่มีสัญชาตญาณและปฏิภาณทางดนตรีที่ไม่เคยตกยุคเป็นอย่างไร รวมถึงการนำเพลงในระดับคลาสสิคร๊อคของพวกเขามารื้อฟื้นให้มีชีวิตอย่างดงามกันอีกคำรบ บ่งชี้ถึงความเก๋าและประสบการณ์ที่วงดนตรีรุ่นใหม่ต้องนำไปเป็นแบบอย่าง