โดย นพวรรณ สิริเวชกุล
คลิกที่ไอคอนด้านบนเพื่อ ชม และ ฟัง ในรูปแบบ MULTIMEDIA
ดังเช่นเทศกาลชมจันทร์ของชาวญี่ปุ่น ที่สืบเนื่องกันมาหลายร้อยปี.....
เราอาจคุ้นชินกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่คนไทยได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมนี้มาจากชาวจีน เช่นเดียวกันกับที่ญี่ปุ่นก็ได้รับวัฒนธรรมนี้จากชาวจีนเช่นกัน กล่าวกันว่าวัฒนธรรมนี้เข้ามาเผยอิทธิพลในญี่ปุ่นตั้งแต่ระหว่างสมัยนาราและเฮอัน ราวปี ค.ศ.710 – 1185 และญี่ปุ่นเริ่มต้นเทศกาลนี้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ.909
เทศกาลชมจันทร์หรือทสุคิมิ บางคนอาจเรียก โอทัสคิมิ (Tsukimi ,Otsukimi) เกิดขึ้นในเดือนแปดขึ้น 15 ค่ำ บางทีเรียกวันนี้ว่า โจโกยะ jugoya ที่มีความหมายถึงค่ำคืนลำดับที่ 15 แน่นอนเราไม่อาจจำเฉพาะเจาะจงค่ำคืนนี้ในปฏิทินสากลได้ด้วยต้องยึดวันเวลาตามปฏิทินจันทรคติที่อาจเป็นช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมก็ได้
เทศกาลทสุคิมินี้จัดขึ้นเพื่อชมจันทร์ในช่วงเวลาที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าสวยงามและส่องแสงนวลตาที่สุดในรอบปี พวกเขาจะมีพิธีขอพรจากดวงจันทร์เพื่อให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี ในเทศกาลนี้จะมีขนมพิเศษที่เรียกว่า ดังโหงะ dango เป็นแป้งข้าวหนียวนึ่งใส่ไส้ถั่วแดง จัดเรียงเป็นทรงสามเหลี่ยมวางบนโต๊ะไม้เตี้ยที่เรียกว่าซัมโบ ประดับด้วยรูปกระต่าย ดอกหญ้าสึสึกิ ดอกคิเคียว ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้ขนมดังโหงะเปรียบดั่งผลผลิตที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นอาจมีผลไม้ในฤดูกาลอย่างลูกพลับ หรือเกาลัด แต่เดิมอาจมีเผือก มันและเห็ดมัตสุตาเกะร่วมในพิธีด้วย และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ สาเก...
ชาวญี่ปุ่นไม่ว่าจะอยู่ชนชั้นใด จะนั่งชมจันทร์ด้วยความสงบไม่ส่งเสียงอึกทึก สดับสรรพสำเนียงของธรรมชาติยามค่ำคืน ในความเงียบพวกเขาอาบแสงจันทร์....บ้างก็เขียนและขับกวี ที่ลานบ้าน บางคนพากันไปชมที่วัด บ้างก็ไปที่ชไรย์สถานที่ศักดิ์สิทธิของชินโต
นอกจากการดื่มด่ำความงามจากแสงจันทร์แล้ว ชาวญี่ปุ่นยังมีธรรมเนียมการเล่านิทานให้ลูกหลานฟังอีกด้วย นิทานส่วนใหญ่ที่จะเล่าให้วันนี้ ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระต่ายข่าวแห่งอินาบะ ทาเคโทริโมโนะกาตาริ หรือเรื่องเจ้าหญิงคางุยะขับเพลงชมจันทร์
และเพื่อจะทำการทดสอบจิตใจที่เปี่ยมเมตตา ชายชราผู้นั้นจึงจำแลงตัวกลายมาเป็นขอทานและลงมายังพื้นโลกและได้กล่าวขอให้สัตว์ทั้งสามนี้หาอาหารให้แก่ตน
ลิงได้นำเอาผลไม้มาให้ ส่วนหมาป่านำเอาปลามาให้แก่ขอทานเฒ่าผู้นี้ แต่สำหรับกระต่ายแล้วเขาได้เสนอให้กินเนื้อของเขาด้วยการโยนไปในกองไฟและนำมาทำเป็นอาหารสำหรับขอทาน
เมื่อได้ยินดังนั้น ขอทานเฒ่าจึงกลับร่างกลายเป็นชายชราจากดวงจันทร์และเชื้อเชิญให้กระต่ายขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ และนี่คือที่มาของความเชื่อของชาวญี่ปุ่นแต่ดั้งเดิมที่ว่า คืนใดที่ดวงจันทร์สาดแสงสวยงามกระจ่างตา พวกเขาจะเห็นกระต่ายกำลังตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์
คืนนี้ลองแหงนหน้ามองฟ้า สอดสายตาหาดวงจันทร์กันดูนะคะ บางที คุณอาจจะเห็นกระต่ายน้อยตัวนั้นกำลังตำข้าวอยู่ก็เป็นได้.