บทสวดมนต์ที่เราเปล่งวาจา เช่น สวดอิติปิโส ภควา อรหัง สัมมา สัมพุทโธ เป็นต้น เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ กำหนดตามรู้บทสวดที่กำลังสวดอยู่ ทำจิตให้มันรู้ชัดเจนว่า เราสวดไปอักษรไหน ทำจิตให้รู้ มีสติรู้ชัดๆ ได้ชื่อว่าเป็นการฝึกสมาธิเช่นเดียวกัน
แม้เราสวดมนต์อยู่ก็คือสมาธิ แม้เรานั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ก็คือการฝึกสมาธิ ต้องมีความเข้าใจให้มันสัมพันธ์กัน แม้ว่าเราทำธุรกิจอย่างอื่น ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ก็คือการฝึกสมาธิ
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
ธรรมชาติของการกระทำของมนุษย์ ถ้าหากเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล รักษาความถูกต้องโดยการกระทำ เรียกว่าโดยกุศล คือ ทั้งฉลาด ทั้งมีความถูกต้องในการกระทำ มันก็ไม่เดือดร้อน จิตใจสบาย เกิดความรู้สึกอิ่มใจ ความอิ่มใจก็ทำให้เกิดปีติ คือความปลาบปลื้มอยู่ในใจ
พระโพธิญาณวิเทศ (ปสันโนภิกขุ)
วัดอภัยคีรี สหรัฐอเมริกา
พระพุทธเจ้าไม่นิยมให้พุทธบริษัทประมาท สำคัญผิดว่าเรายังหนุ่มก็ดี ความไม่มีโรคที่เราแข็งแรงอยู่ก็ดี เห็นคนอื่นมีโรคมีภัยก็ดูถูกเหยียดหยาม กระหยิ่มในตัวของเราเอง ไม่เกิดสลดสังเวชในธรรมที่ควรสลดสังเวช แล้วมาสำรวมระวังรักษา ละความชั่ว ประพฤติความดี ไม่นำพาในเรื่องความดี ความผิด ความชอบ เรียกว่า เป็นผู้ประมาท
ประมาทในชีวิต สำคัญว่าเราคงจะอยู่ไปอีกนาน อยู่ได้นาน อันนี้ใครรับรองประกันชีวิตของเรา ประมาทในความมี เรามีบ้านมีช่องที่อยู่อาศัย มีเงินมีทอง เราจะเดือดร้อนอะไร เราไม่ปฏิบัติอบรมจิตใจ ไม่ต้องรักษาศีล ไม่ต้องภาวนา ไม่ต้องปฏิบัติทำบุญให้ทาน เพราะเรามีอยู่มีกินมีใช้สอยเหลือเฟือ มีลูกหลานคอยดูแลคอยรักษา
พระพุทธเจ้าว่า แม้แต่กายนี้ไม่เป็นของตน ขันธ์อันนี้ไม่เป็นตนของตนแล้ว ท่านว่า ปุตฺโต ปุตฺตา ปุตฺโต ธนํ บุตรก็ดี ทรัพย์ก็ดี จะเป็นเรา ของเราได้อย่างไร แม้แต่ร่างกายนี้ก็ไม่เป็นของเราเลย พึ่งไม่ได้ แล้วจะไปหวังพึ่งทรัพย์ พึ่งบุตรเอามาทำอะไร
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้คิดอย่างนั้น ล้วนแต่บุคคลผู้ประมาทในชีวิต
พระโพธิธรรมาจารย์เถระ(สุวัจน์ สุวโจ)
วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
แม้เราสวดมนต์อยู่ก็คือสมาธิ แม้เรานั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ก็คือการฝึกสมาธิ ต้องมีความเข้าใจให้มันสัมพันธ์กัน แม้ว่าเราทำธุรกิจอย่างอื่น ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ก็คือการฝึกสมาธิ
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
ธรรมชาติของการกระทำของมนุษย์ ถ้าหากเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล รักษาความถูกต้องโดยการกระทำ เรียกว่าโดยกุศล คือ ทั้งฉลาด ทั้งมีความถูกต้องในการกระทำ มันก็ไม่เดือดร้อน จิตใจสบาย เกิดความรู้สึกอิ่มใจ ความอิ่มใจก็ทำให้เกิดปีติ คือความปลาบปลื้มอยู่ในใจ
พระโพธิญาณวิเทศ (ปสันโนภิกขุ)
วัดอภัยคีรี สหรัฐอเมริกา
พระพุทธเจ้าไม่นิยมให้พุทธบริษัทประมาท สำคัญผิดว่าเรายังหนุ่มก็ดี ความไม่มีโรคที่เราแข็งแรงอยู่ก็ดี เห็นคนอื่นมีโรคมีภัยก็ดูถูกเหยียดหยาม กระหยิ่มในตัวของเราเอง ไม่เกิดสลดสังเวชในธรรมที่ควรสลดสังเวช แล้วมาสำรวมระวังรักษา ละความชั่ว ประพฤติความดี ไม่นำพาในเรื่องความดี ความผิด ความชอบ เรียกว่า เป็นผู้ประมาท
ประมาทในชีวิต สำคัญว่าเราคงจะอยู่ไปอีกนาน อยู่ได้นาน อันนี้ใครรับรองประกันชีวิตของเรา ประมาทในความมี เรามีบ้านมีช่องที่อยู่อาศัย มีเงินมีทอง เราจะเดือดร้อนอะไร เราไม่ปฏิบัติอบรมจิตใจ ไม่ต้องรักษาศีล ไม่ต้องภาวนา ไม่ต้องปฏิบัติทำบุญให้ทาน เพราะเรามีอยู่มีกินมีใช้สอยเหลือเฟือ มีลูกหลานคอยดูแลคอยรักษา
พระพุทธเจ้าว่า แม้แต่กายนี้ไม่เป็นของตน ขันธ์อันนี้ไม่เป็นตนของตนแล้ว ท่านว่า ปุตฺโต ปุตฺตา ปุตฺโต ธนํ บุตรก็ดี ทรัพย์ก็ดี จะเป็นเรา ของเราได้อย่างไร แม้แต่ร่างกายนี้ก็ไม่เป็นของเราเลย พึ่งไม่ได้ แล้วจะไปหวังพึ่งทรัพย์ พึ่งบุตรเอามาทำอะไร
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้คิดอย่างนั้น ล้วนแต่บุคคลผู้ประมาทในชีวิต
พระโพธิธรรมาจารย์เถระ(สุวัจน์ สุวโจ)
วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)