น่าแปลก...มนุษย์บนโลกนี้ ไม่มีใครรังเกียจความสำเร็จ แต่ทุกคนต่างปฏิเสธความล้มเหลว ทั้งที่ความจริง ความสำเร็จและความล้มเหลว ก็มีจุดเริ่มต้นจากแหล่งเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่า ความล้มเหลวนั่นเองที่เป็นตัวบ่มเพาะความสำเร็จ เป็นนั่งร้านนำไปสู่ความสำเร็จ
คนที่ล้มเหลวแล้วเอาแต่ปิดหูปิดตาตัวเอง ไม่ยอมเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ก็เหมือนปฏิเสธครูตัวจริง ความล้มเหลวคือบทเรียนที่สอนด้วยภาษาใบ้ ทำให้หลายคนไม่เข้าใจ เลยพาลถอดใจไม่อยากเรียนรู้ แต่ข้อผิดพลาดเหล่านี้มิใช่หรือคือของจริง ทำให้เจ็บจริง เจ๊งจริง ถ้ามันไม่จริง เราก็คงไม่ทำผิดเช่นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ในทางกลับกัน บางคนผิดพลาดแล้วตระหนักว่านี่แหละครูตัวจริง เขาจึงได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ในความล้มเหลว แล้วที่สุดก็ก้าวข้ามไปได้ ด้วยการนำข้อผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม หรือะไรก็แล้วแต่ ที่ได้บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นมา ดังเช่น โธมัส เอดิสัน ผู้ให้กำเนิดหลอดไฟดวงแรกของโลก กว่าเอดิสันจะทำสำเร็จ เขาต้องผ่านความผิดพลาดล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เอดิสันไม่หยุด ไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจ ยังคงเรียนรู้จากข้อผิดพลาด พยายามต่อไป และต่อไป ในที่สุดก็สำเร็จ ทำให้ทุกวันนี้โลกสว่างไสวไปด้วยแสงไฟ นี่คือชัยชนะของเอดิสัน
ผู้ชนะตัวจริงคือผู้ที่เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เทพแห่งความสำเร็จจะเสด็จมาบนหลังของความล้มเหลว ถ้าไม่มีความล้มเหลวก็ไม่มีความสำเร็จ ความล้มเหลวต่างจากการล้มเลิก เพราะความล้มเหลวเป็นเพียงความพ่ายแพ้ชั่วคราว แต่การล้มเลิกคือยอมจำนนยกธงขาวไม่ทำเรื่องนั้นต่อไป ดังนั้น ความล้มเหลวจะไม่มีอยู่จริง หากเราไม่ยอมล้มเลิก แต่การจะยืนหยัดอยู่ได้ครบยก โดยที่ไม่ด่วนถอดใจยอมแพ้ได้นั้น ก็ต้องเรียนรู้
นักมวยที่น่าสนใจ คือ นักมวยที่มีทั้งชั้นเชิงและหมัดหนักพอที่จะเก็บคู่ต่อสู้ได้ เขาต้องมีทั้งชั้นเชิงคือกำลังปัญญา และมีหมัดหนักคือกำลังใจ รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันเรียกว่า “ความกล้าหาญ” ผู้ชนะตัวจริงต้องไม่รู้จักคำว่า “ขี้ขลาด”
ดังนั้น กำลังใจต้องมาคู่กับกำลังปัญญาเสมอ เหมือนที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวไว้
“คนมีกำลังใจ แต่ขาดกำลังปัญญา จะเป็นคนบ้าบิ่น
คนมีกำลังปัญญา แต่ขาดกำลังใจ จะเป็นคนขลาด
คนที่มีทั้งกำลังใจและกำลังปัญญา จึงจะเป็นคนกล้าหาญ”
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่มักมาคู่กับอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่ง เหมือนต้นไม้สูงใหญ่มักต้องผจญลมแรง ผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จะฉลาดและแข็งแกร่งขึ้น ดังนั้น คนที่ปรารถนาความสำเร็จต้องถือคติว่า “ว่าวขึ้นสูงได้เพราะมีลมต้าน คนขึ้นสูงได้เพราะเผชิญอุปสรรค”
แม้แต่พระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ก็ยังต้องผจญมาร เพราะไม่มีความสำเร็จใดที่ได้มาโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร”
ความสำเร็จนอกจากต้องอาศัยปัญญาแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยกำลังของวิริยะ คือความเพียรในการกระทำอย่างต่อเนื่อง ให้นานพอที่ความสำเร็จจะส่งผล เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จนั้น มักเป็นผู้ต่อสู้อุปสรรคอย่างไม่ย่อท้อ เพื่อให้บรรลุถึงจุดที่ความสำเร็จส่งผล เฉกเช่นพระพุทธเจ้า
ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะ จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้ไปเรียนกรรมฐานทำสมาธิกับอาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ก็ยังไม่บรรลุโพธิญาณ จึงเปลี่ยนวิธีหันมาบำเพ็ญเพียรอย่างหนักอยู่ ๖ ปี พบความผิดพลาดล้มเหลวหลายครั้ง แต่พระองค์ก็ไม่เลิกล้มการปฏิบัติกลางคัน หันมาอดอาหาร จนผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ถึงกระนั้นก็ยังไม่บรรลุ
ภายหลังพระองค์เกิดปัญญาคิดได้ว่า การปฏิบัติด้วยวิธีทรมานตัวเองแบบนี้มันตึงเกินไป จึงหันมาบำเพ็ญเพียรทางใจ ด้วยแนวคิดแบบทางสายกลาง กลับมาเสวยอาหารอีกครั้ง พวกปัญจวัคคีย์เข้าใจว่าพระองค์ล้มเหลว จึงทอดทิ้งพระองค์ หนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แต่พระองค์ก็ไม่ทรงเลิกล้มความเพียร วันนั้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ในปีที่ ๖ ของการบวช พระองค์ได้หญ้าคา ๘ กำ ปูลาดเป็นบัลลังก์ประทับนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เมื่อนั่งใต้ต้นโพธิ์ ก็ทรงอธิษฐานในใจว่า ขอนั่งเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต แม้ว่าหนัง เนื้อ เลือด จะเหือดแห้งไป กระดูกจะผุสลายไปก็ตาม หากยังไม่บรรลุพระโพธิญาณ เราก็จะไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งบัลลังก์นี้โดยเด็ดขาด แล้วทรงระดมความเพียรปฏิบัติอย่างเต็มกำลัง แต่การจะตรัสรู้ได้นั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะคืนนั้นมีพญามารมารบกวน ตอนที่พญามารยกทัพมา เทวดาและพระพรหมที่เคยมาเฝ้าตอนบ่าย ได้ลากลับไปหมด เหลือพระพุทธเจ้าอยู่องค์เดียว ไม่มีใครช่วย พญามารมาทวงบัลลังก์ที่นั่งว่า
“นี่บัลลังก์ของเรา ท่านจงลุกหนีออกไป เราขอทวงคืน”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “นี่เป็นบัลลังก์ของเรา”
มารถามว่า “ท่านมีพยานหรือไม่”
พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่แม่พระธรณี เมื่อพระองค์อ้างแม่พระธรณีเป็นพยาน มารจึงเลิกทวงบัลลังก์ แต่หันมารบกวนด้วยวิธีอื่น เรื่องราวยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น...
ในที่สุดเช้าวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ก็ทรงรบชนะมาร ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเพราะพระองค์ไม่ยอมถอย ทรงชนะมารได้โดยไม่มีเทวดาหรือพรหมมาช่วย นี่คือชัยชนะของพระพุทธเจ้า เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เป็นความสำเร็จในระดับจักรวาล
ถอดรหัสความสำเร็จของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ฝรั่งเรียกสั้นๆ ว่า “พุทธะ” (Buddha) เราทุกคนอยู่ในฐานะพุทธสาวก จิตแห่งพุทธะที่ฝึกดีแล้ว สะอาด สงบ บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปัญญา เป็นปัญญาที่มาจากการสังเกตระลึกรู้ ปัญญาชนิดนี้ไม่ใช่มาจากการเรียนการสอน แต่เป็นปัญญาที่มาจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง
ถ้าศรัทธาในความสำเร็จขององค์พุทธะผู้ชนะตัวจริง เราก็สามารถก็อปปี้ทำซ้ำความสำเร็จของพระองค์ได้ โดยอาจย่อส่วนหรือลดระดับความสำเร็จลงมา ให้ตรงกับความต้องการของตนเอง โดยที่ไม่ลืมจับคติเอาประโยชน์จากเรื่องนี้ว่า “มารไม่มี บารมีไม่แก่กล้า”
ดังนั้น อย่าใจเสาะยอมแพ้แก่มารง่ายๆ อย่าเลิกล้มความตั้งใจก่อนที่จะบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ต้องบอกกับตัวเองว่า “ถ้ายังทำไม่สำเร็จจะไม่ยอมแพ้ จะไม่มีทางล้มเลิกกลางคันแน่นอน” สมดังพุทธภาษิต ๒ บทควบที่ว่า
“เกิดเป็นคนควรพยายามร่ำไป
จวบกว่าจะได้ในสิ่งที่ปรารถนา
คนขยันแต่ขาดปัญญา มักประสบปัญหาในการทำงาน
คนขยันมีวิจารณญาณ ทำกิจการใดก็สำเร็จ”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย ทาสโพธิญาณ)
คนที่ล้มเหลวแล้วเอาแต่ปิดหูปิดตาตัวเอง ไม่ยอมเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ก็เหมือนปฏิเสธครูตัวจริง ความล้มเหลวคือบทเรียนที่สอนด้วยภาษาใบ้ ทำให้หลายคนไม่เข้าใจ เลยพาลถอดใจไม่อยากเรียนรู้ แต่ข้อผิดพลาดเหล่านี้มิใช่หรือคือของจริง ทำให้เจ็บจริง เจ๊งจริง ถ้ามันไม่จริง เราก็คงไม่ทำผิดเช่นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ในทางกลับกัน บางคนผิดพลาดแล้วตระหนักว่านี่แหละครูตัวจริง เขาจึงได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ในความล้มเหลว แล้วที่สุดก็ก้าวข้ามไปได้ ด้วยการนำข้อผิดพลาดนั้นมาปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม หรือะไรก็แล้วแต่ ที่ได้บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นมา ดังเช่น โธมัส เอดิสัน ผู้ให้กำเนิดหลอดไฟดวงแรกของโลก กว่าเอดิสันจะทำสำเร็จ เขาต้องผ่านความผิดพลาดล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เอดิสันไม่หยุด ไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจ ยังคงเรียนรู้จากข้อผิดพลาด พยายามต่อไป และต่อไป ในที่สุดก็สำเร็จ ทำให้ทุกวันนี้โลกสว่างไสวไปด้วยแสงไฟ นี่คือชัยชนะของเอดิสัน
ผู้ชนะตัวจริงคือผู้ที่เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เทพแห่งความสำเร็จจะเสด็จมาบนหลังของความล้มเหลว ถ้าไม่มีความล้มเหลวก็ไม่มีความสำเร็จ ความล้มเหลวต่างจากการล้มเลิก เพราะความล้มเหลวเป็นเพียงความพ่ายแพ้ชั่วคราว แต่การล้มเลิกคือยอมจำนนยกธงขาวไม่ทำเรื่องนั้นต่อไป ดังนั้น ความล้มเหลวจะไม่มีอยู่จริง หากเราไม่ยอมล้มเลิก แต่การจะยืนหยัดอยู่ได้ครบยก โดยที่ไม่ด่วนถอดใจยอมแพ้ได้นั้น ก็ต้องเรียนรู้
นักมวยที่น่าสนใจ คือ นักมวยที่มีทั้งชั้นเชิงและหมัดหนักพอที่จะเก็บคู่ต่อสู้ได้ เขาต้องมีทั้งชั้นเชิงคือกำลังปัญญา และมีหมัดหนักคือกำลังใจ รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันเรียกว่า “ความกล้าหาญ” ผู้ชนะตัวจริงต้องไม่รู้จักคำว่า “ขี้ขลาด”
ดังนั้น กำลังใจต้องมาคู่กับกำลังปัญญาเสมอ เหมือนที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวไว้
“คนมีกำลังใจ แต่ขาดกำลังปัญญา จะเป็นคนบ้าบิ่น
คนมีกำลังปัญญา แต่ขาดกำลังใจ จะเป็นคนขลาด
คนที่มีทั้งกำลังใจและกำลังปัญญา จึงจะเป็นคนกล้าหาญ”
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่มักมาคู่กับอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่ง เหมือนต้นไม้สูงใหญ่มักต้องผจญลมแรง ผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จะฉลาดและแข็งแกร่งขึ้น ดังนั้น คนที่ปรารถนาความสำเร็จต้องถือคติว่า “ว่าวขึ้นสูงได้เพราะมีลมต้าน คนขึ้นสูงได้เพราะเผชิญอุปสรรค”
แม้แต่พระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ก็ยังต้องผจญมาร เพราะไม่มีความสำเร็จใดที่ได้มาโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร”
ความสำเร็จนอกจากต้องอาศัยปัญญาแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยกำลังของวิริยะ คือความเพียรในการกระทำอย่างต่อเนื่อง ให้นานพอที่ความสำเร็จจะส่งผล เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จนั้น มักเป็นผู้ต่อสู้อุปสรรคอย่างไม่ย่อท้อ เพื่อให้บรรลุถึงจุดที่ความสำเร็จส่งผล เฉกเช่นพระพุทธเจ้า
ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะ จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้ไปเรียนกรรมฐานทำสมาธิกับอาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ก็ยังไม่บรรลุโพธิญาณ จึงเปลี่ยนวิธีหันมาบำเพ็ญเพียรอย่างหนักอยู่ ๖ ปี พบความผิดพลาดล้มเหลวหลายครั้ง แต่พระองค์ก็ไม่เลิกล้มการปฏิบัติกลางคัน หันมาอดอาหาร จนผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ถึงกระนั้นก็ยังไม่บรรลุ
ภายหลังพระองค์เกิดปัญญาคิดได้ว่า การปฏิบัติด้วยวิธีทรมานตัวเองแบบนี้มันตึงเกินไป จึงหันมาบำเพ็ญเพียรทางใจ ด้วยแนวคิดแบบทางสายกลาง กลับมาเสวยอาหารอีกครั้ง พวกปัญจวัคคีย์เข้าใจว่าพระองค์ล้มเหลว จึงทอดทิ้งพระองค์ หนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แต่พระองค์ก็ไม่ทรงเลิกล้มความเพียร วันนั้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ในปีที่ ๖ ของการบวช พระองค์ได้หญ้าคา ๘ กำ ปูลาดเป็นบัลลังก์ประทับนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เมื่อนั่งใต้ต้นโพธิ์ ก็ทรงอธิษฐานในใจว่า ขอนั่งเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต แม้ว่าหนัง เนื้อ เลือด จะเหือดแห้งไป กระดูกจะผุสลายไปก็ตาม หากยังไม่บรรลุพระโพธิญาณ เราก็จะไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งบัลลังก์นี้โดยเด็ดขาด แล้วทรงระดมความเพียรปฏิบัติอย่างเต็มกำลัง แต่การจะตรัสรู้ได้นั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะคืนนั้นมีพญามารมารบกวน ตอนที่พญามารยกทัพมา เทวดาและพระพรหมที่เคยมาเฝ้าตอนบ่าย ได้ลากลับไปหมด เหลือพระพุทธเจ้าอยู่องค์เดียว ไม่มีใครช่วย พญามารมาทวงบัลลังก์ที่นั่งว่า
“นี่บัลลังก์ของเรา ท่านจงลุกหนีออกไป เราขอทวงคืน”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “นี่เป็นบัลลังก์ของเรา”
มารถามว่า “ท่านมีพยานหรือไม่”
พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่แม่พระธรณี เมื่อพระองค์อ้างแม่พระธรณีเป็นพยาน มารจึงเลิกทวงบัลลังก์ แต่หันมารบกวนด้วยวิธีอื่น เรื่องราวยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น...
ในที่สุดเช้าวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ก็ทรงรบชนะมาร ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเพราะพระองค์ไม่ยอมถอย ทรงชนะมารได้โดยไม่มีเทวดาหรือพรหมมาช่วย นี่คือชัยชนะของพระพุทธเจ้า เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เป็นความสำเร็จในระดับจักรวาล
ถอดรหัสความสำเร็จของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ฝรั่งเรียกสั้นๆ ว่า “พุทธะ” (Buddha) เราทุกคนอยู่ในฐานะพุทธสาวก จิตแห่งพุทธะที่ฝึกดีแล้ว สะอาด สงบ บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปัญญา เป็นปัญญาที่มาจากการสังเกตระลึกรู้ ปัญญาชนิดนี้ไม่ใช่มาจากการเรียนการสอน แต่เป็นปัญญาที่มาจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง
ถ้าศรัทธาในความสำเร็จขององค์พุทธะผู้ชนะตัวจริง เราก็สามารถก็อปปี้ทำซ้ำความสำเร็จของพระองค์ได้ โดยอาจย่อส่วนหรือลดระดับความสำเร็จลงมา ให้ตรงกับความต้องการของตนเอง โดยที่ไม่ลืมจับคติเอาประโยชน์จากเรื่องนี้ว่า “มารไม่มี บารมีไม่แก่กล้า”
ดังนั้น อย่าใจเสาะยอมแพ้แก่มารง่ายๆ อย่าเลิกล้มความตั้งใจก่อนที่จะบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ต้องบอกกับตัวเองว่า “ถ้ายังทำไม่สำเร็จจะไม่ยอมแพ้ จะไม่มีทางล้มเลิกกลางคันแน่นอน” สมดังพุทธภาษิต ๒ บทควบที่ว่า
“เกิดเป็นคนควรพยายามร่ำไป
จวบกว่าจะได้ในสิ่งที่ปรารถนา
คนขยันแต่ขาดปัญญา มักประสบปัญหาในการทำงาน
คนขยันมีวิจารณญาณ ทำกิจการใดก็สำเร็จ”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย ทาสโพธิญาณ)