เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต
มิถุนายน เข้าสู่ฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน จากร้อนเป็นฝน ลมฝนที่เข้ามาได้พัดพาเอาความร้อนออกไป เป็นสัจธรรมที่นำให้เห็นหลักไตรลักษณ์ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และไม่มีใครสามารถบังคับให้เป็นไปตามต้องการได้
การทำความเข้าใจหลักไตรลักษณ์อย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เราเข้าใจโลก เข้าใจชีวิต ไม่เป็นทุกข์เพราะธรรมชาติที่ไม่เป็นใจ อากาศร้อนก็บ่นว่า ฝนมาก็หวาดผวาเรื่องน้ำท่วม
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้เราเข้าใจชีวิตและธรรมชาติอย่างถูกต้อง และรู้ว่าต้องทำเช่นใดใจจึงจะไม่ทุกข์
มีเรื่องหนึ่งที่มีคนส่ง line มาให้ เห็นว่าน่าสนใจ เป็นอีกหนึ่งมุมมองในเรื่องของการเข้าใจชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เรื่องนี้บอกว่าเป็นพระเทศน์ (แต่มิได้บอกว่าเป็นพระรูปใด) ชื่อว่า กระดาษ 1 ใบ
“กระดาษ 1 ใบ เข้าใจชีวิต
ใบเกิด 1 ใบ เริ่มต้นชีวิต
ปริญญาบัตร 1 ใบ ต่อสู้ดิ้นรนทั้งชีวิต
ใบสมรส 1 ใบ ขาดอิสระทั้งชีวิต
บัตรข้าราชการ 1 ใบ แก่งแย่งชิงดีทั้งชีวิต
คำสั่งแต่งตั้ง 1 ใบ วิ่งเต้นวุ่นวายทั้งชีวิต
ธนบัตร 1 ใบ ลำบากทั้งชีวิต
ประกาศเกียรติคุณ 1 ใบ หลงตัวเองทั้งชีวิต
มรณบัตร 1 ใบ สิ้นสุดชีวิต”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น” เรื่องการรู้เท่าทันทุกข์ ความตอนหนึ่งว่า
“...พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ทุกขัง ปริญเญยยัง” ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน ภาษาพระแปลกันว่า “กำหนดรู้” ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้
“ปริญเญยยัง” นี่เป็นคุณศัพท์ ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็น “ปริญญา” ที่เราเอามาใช้เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา
ทุกข์ เรามีหน้าที่รู้จักมัน รู้ทันมัน เรียกว่า “ปริญญา” ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหา เป็นปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ “โรค”
ในทางร่างกายของเรานี่ เมื่อเรามีโรค เราก็จะแก้ไขบำบัดหรือกำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริง เรากำจัดโรคไม่ได้ แต่เราต้องเรียนรู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรค ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นที่ไหนตรงไหน เพราะฉะนั้น นอกจากต้องรู้โรคแล้ว ต้องรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย
ทำนองเดียวกัน ในข้อทุกข์นี้ จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา แต่เรียนชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย หมายความว่า ทุกข์คือปัญหา เกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือเกิดในโลก เราก็ต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิต
เหมือนกับแพทย์จะแก้ไขโรค เวลาเรียนเริ่มที่อะไร ก็ต้องไปเรียนตั้งแต่ Anatomy(กายวิภาค) ต้องไปเรียน Physiology(สรีรวิทยา) แทนที่จะเริ่มเรียนที่โรค ก็ไปเรียนที่ร่างกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรค
เช่นเดียวกับที่เราจะแก้ไขทุกข์ เราต้องเรียนรู้เข้าใจชีวิต ตลอดถึงโลกที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ซึ่งในที่สุดปัญหาเกิดที่ชีวิต ถ้าเราไม่เข้าใจชีวิต เราก็แก้โรคของมัน คือปัญหาหรือทุกข์ไม่ได้ เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกัน...”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560)
มิถุนายน เข้าสู่ฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน จากร้อนเป็นฝน ลมฝนที่เข้ามาได้พัดพาเอาความร้อนออกไป เป็นสัจธรรมที่นำให้เห็นหลักไตรลักษณ์ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และไม่มีใครสามารถบังคับให้เป็นไปตามต้องการได้
การทำความเข้าใจหลักไตรลักษณ์อย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เราเข้าใจโลก เข้าใจชีวิต ไม่เป็นทุกข์เพราะธรรมชาติที่ไม่เป็นใจ อากาศร้อนก็บ่นว่า ฝนมาก็หวาดผวาเรื่องน้ำท่วม
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้เราเข้าใจชีวิตและธรรมชาติอย่างถูกต้อง และรู้ว่าต้องทำเช่นใดใจจึงจะไม่ทุกข์
มีเรื่องหนึ่งที่มีคนส่ง line มาให้ เห็นว่าน่าสนใจ เป็นอีกหนึ่งมุมมองในเรื่องของการเข้าใจชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เรื่องนี้บอกว่าเป็นพระเทศน์ (แต่มิได้บอกว่าเป็นพระรูปใด) ชื่อว่า กระดาษ 1 ใบ
“กระดาษ 1 ใบ เข้าใจชีวิต
ใบเกิด 1 ใบ เริ่มต้นชีวิต
ปริญญาบัตร 1 ใบ ต่อสู้ดิ้นรนทั้งชีวิต
ใบสมรส 1 ใบ ขาดอิสระทั้งชีวิต
บัตรข้าราชการ 1 ใบ แก่งแย่งชิงดีทั้งชีวิต
คำสั่งแต่งตั้ง 1 ใบ วิ่งเต้นวุ่นวายทั้งชีวิต
ธนบัตร 1 ใบ ลำบากทั้งชีวิต
ประกาศเกียรติคุณ 1 ใบ หลงตัวเองทั้งชีวิต
มรณบัตร 1 ใบ สิ้นสุดชีวิต”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น” เรื่องการรู้เท่าทันทุกข์ ความตอนหนึ่งว่า
“...พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ทุกขัง ปริญเญยยัง” ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน ภาษาพระแปลกันว่า “กำหนดรู้” ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้
“ปริญเญยยัง” นี่เป็นคุณศัพท์ ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็น “ปริญญา” ที่เราเอามาใช้เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา
ทุกข์ เรามีหน้าที่รู้จักมัน รู้ทันมัน เรียกว่า “ปริญญา” ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหา เป็นปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ “โรค”
ในทางร่างกายของเรานี่ เมื่อเรามีโรค เราก็จะแก้ไขบำบัดหรือกำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริง เรากำจัดโรคไม่ได้ แต่เราต้องเรียนรู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรค ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นที่ไหนตรงไหน เพราะฉะนั้น นอกจากต้องรู้โรคแล้ว ต้องรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย
ทำนองเดียวกัน ในข้อทุกข์นี้ จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา แต่เรียนชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย หมายความว่า ทุกข์คือปัญหา เกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือเกิดในโลก เราก็ต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิต
เหมือนกับแพทย์จะแก้ไขโรค เวลาเรียนเริ่มที่อะไร ก็ต้องไปเรียนตั้งแต่ Anatomy(กายวิภาค) ต้องไปเรียน Physiology(สรีรวิทยา) แทนที่จะเริ่มเรียนที่โรค ก็ไปเรียนที่ร่างกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรค
เช่นเดียวกับที่เราจะแก้ไขทุกข์ เราต้องเรียนรู้เข้าใจชีวิต ตลอดถึงโลกที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ซึ่งในที่สุดปัญหาเกิดที่ชีวิต ถ้าเราไม่เข้าใจชีวิต เราก็แก้โรคของมัน คือปัญหาหรือทุกข์ไม่ได้ เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกัน...”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560)