สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงนิพนธ์เรื่อง “จิตตนคร” ขึ้นสำหรับบรรยายทางรายการวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประจำวันอาทิตย์ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๒๓ และได้รวบรวมพิมพ์ครั้งแรกในเรื่อง การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑
พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงนำเอาเรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆมาผูกเป็นเรื่องราวทำนองปุคคลาธิษฐาน
ฝ่ายสมุทัยกับคู่อาสวะได้สังเกตเห็นการรวมพลังกันอย่างผิดสังเกตแห่งฝ่ายคู่บารมี จึงเห็นความจำเป็นว่า จะต้องรวมกำลังกันเป็นกองทัพใหญ่ให้เข้มแข็ง จะปล่อยให้แยกกำลังกันไปอย่างไม่มีระเบียบหาได้ไม่ อันที่จริงกำลังของฝ่ายสมุทัยก็มีอยู่เป็นอันมาก เช่นพวกหัวโจกต่างๆ ตลอดถึงกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด เป็นต้น
คู่อาสวะเองก็ยังมีอาสวะที่เป็นพรรคพวกอีกหลายคน ซึ่งล้วนแต่มีอำนาจพิเศษต่างๆ แต่ก็ปล่อยให้กระจัดกระจายกันอยู่ ทำให้กำลังอ่อน พวกคู่บารมีจึงได้แทรกแซงเข้ามาในจิตตนครได้มากยิ่งขึ้นทุกที ทั้งดูท่าทีจะส่งกำลังเสริมและรวมกำลังกันให้เข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว
สมุทัยจึงจัดรวมกำลังจัดเป็นกองทัพใหญ่ขึ้นเรียกว่า “สังโยชน์” แบ่งออกเป็นกองทัพน้อย ๑๐ กอง คือ
๑. สักกายทิฐิ (ความเห็นเป็นเหตุถืออัตตาตัวตนในสกนธ์กาย)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือศีลและวัตรต่าง ๆ ด้วยความปรารถนาผลมีลาภเป็นต้น หรือด้วยความเชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์)
๔. กามราคะ (ความติดใจด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกแต่เพียงราคะก็มี)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต หรือความหงุดหงิด เรียกโทสะตรงทีเดียวก็มี)
๖. รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในรูปธรรม เช่นชอบใจในบุคคลบางคนหรือในวัตถุบางสิ่ง หรือในรูปฌาน)
๗. อรูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม เช่นในสุขเวทนา หรือในอรูปฌาน)
๘. มานะ (ความสำคัญว่ายังมีเรา)
๙. อุทธัจจะ (ความคิดพล่านเป็นอันตรายแก่สมาธิ ตลอดถึงความคิดอะไรเพลินเกินไปกว่าเหตุ)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริงในสัจจะทั้งหลาย)
สมุทัยได้จัดกองทัพสังโยชน์ ๑๐ นี้เป็นกองทัพใหญ่ ประกอบด้วยกองกำลังต่างๆอีกหลายกอง แต่ก็สังกัดอยู่กับกองทัพใหญ่ เพื่อให้มีการปกครองสั่งการกันได้ทันท่วงทีทั้งหมด เป็นการผนึกกำลังกันอย่างมีระเบียบ คล้ายกับวิธีจัดของฝ่ายคู่บารมี และเพื่อผนึกกำลังให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ทั้งได้ซักซ้อมกลวิธีที่จะจัดส่งกำลังออกไปเผชิญข้าศึกน้อยหรือมากตามความจำเป็น
สมุทัยกับคู่อาสวะก็เข้าร่วมในกองทัพใหญ่ด้วย คู่อาสวะก็ระดมมิตรสหายทั้งหมด เป็นต้นว่า กามาสวะ (กิเลสเครื่องดองสันดานคือกาม) ภวาสวะ (เครื่องดองสันดานคือภพ) อวิชชาสวะ (เครื่องดองสันดานคืออวิชชา) และอนุสัยโอฆะ โยคะทั้งหลาย สมุทัยก็ระดมมิตรสหายเช่นเดียวกัน เช่น กามตัณหา (อยากในกาม) ภวตัณหา (อยากในความเป็นนั่นเป็นนี่) วิภวตัณหา (อยากในความไม่เป็นนั่นเป็นนี่ คืออยากให้สิ่งหรือภาวะที่ไม่ชอบหมดสิ้นไป) กับทั้งอุปาทาน (ความยืดถือ) กรรม (กรรมที่ทำอันจะส่งผลในภพชาติทั้งหลาย) เป็นต้น
สมุทัยได้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะไม่ทิ้งจิตตนคร จะยึดไว้ตลอดไป เมื่อได้เห็นกองทัพสังโยชน์ที่จัดตั้งขึ้น เป็นกองทัพใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ก็มีความอุ่นใจว่าจะรักษาจิตตนครไว้ได้แน่นอน
บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย แม้จินตนาการเห็นกองทัพสังโยชน์ในจิตตนคร ว่าน่าสะพึงกลัวเพียงใด ก็พึงเข้าใจว่า อำนาจของความชั่ว ของกิเลส ในใจตนเอง น่ากลัวเพียงนั้น พึงอบรมบารมี คือประกอบกรรมดีทุกประการ ให้เป็นกองทัพธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทรงพลังจนถึงอาจเอาชนะกิเลสและความชั่วทั้งปวงได้ อย่างน้อยก็จะสามารถมีความสุขสงบได้พอสมควร
• แม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่ทั้งสอง
ขณะที่กองทัพใหญ่ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งขึ้นนั้น จิตตนครก็ดูเหมือนกำลังเจริญรุ่งเรือง มีกำลังแสนยานุภาพเหมือนอย่างเป็นมหาอำนาจชั้นเอกในโลก เพราะมีกองทัพใหญ่ถึงสองกอง พร้อมที่จะปราบปรามศัตรูหมู่ปัจจามิตรให้พินาศ หรือที่จะรุกรานทุกประเทศในโลกให้อยู่ในอำนาจ ดูเป็นที่น่าสะพึงกลัวยิ่งนัก
จะกล่าวถึงแม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่ทั้งสอง “มรรคบดี” เป็นแม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่มรรค ส่วน “สังโยชนบดี” เป็นแม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่สังโยชน์ คู่อาสวะกับสมุทัยสนับสนุนสังโยชนบดี ชักนำให้เข้าหาใกล้ชิดสนิทสนมกับนครสามี จนเป็นที่โปรดปราน เพราะสังโยชนบดีกล่าวหว่านล้อมเป็นที่ถูกจิตใจนครสามี ส่วนคู่บารมีสนับสนุนมรรคบดี ชักนำให้เข้าใกล้ชิดนครสามีเหมือนกัน แต่มรรคบดีเป็นผู้มีนิสัยพูดตรงๆ พูดปดไม่เป็น ดีก็บอกว่าดี ชั่วก็บอกว่าชั่ว ทีแรกจึงยังไม่เป็นที่ชอบใจของนครสามีมากนัก
แต่ต่อมาเมื่อคุณของมรรคมากขึ้น ในขณะเดียวกันโทษของสังโยชนบดีก็ปรากฏมากขึ้น นครสามีจึงเริ่มพอใจและไว้วางใจมรรคบดีมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายจึงอาจตั้งกองทัพของตนขึ้นในจิตตนครได้ และพร้อมที่จะส่งกำลังหนุนมาเพิ่มเติมได้ทันท่วงที
นครสามีเองนั้นดูเหมือนเป็นผู้มีอำนาจเหนือกองทัพทั้งสอง และกองทัพทั้งสองเป็นกองทัพของนครสามี แต่ดูอีกทางหนึ่งก็เหมือนเป็นผู้ไม่มีอำนาจ เพราะไม่อาจจะขับไล่ฝ่ายไหนให้ออกไปจากจิตตนครได้ ด้วยเหตุที่ได้ยอมให้ทั้งสองฝ่ายตั้งกองทัพขึ้นในจิตตนครได้ และทั้งสองฝ่ายก็ได้ตั้งกองทัพขึ้นแล้ว ต่างก็มีกำลังยึดยันกันอยู่ ชาวจิตตนครทั้งปวงพากันวิตกอยู่เงียบๆ ว่าจะเกิดศึกกลางเมืองขึ้น แต่บางพวกก็พากันภูมิใจว่าจิตตนครกำลังรุ่งเรืองเป็นมหาอำนาจ มีแสนยานุภาพที่จะปราบปรามโลกทั้งหมดได้ ภูมิใจทั้งในตัวแม่ทัพใหญ่มรรคบดี ทั้งในตัวแม่ทัพใหญ่สังโยชนบดี
ในขณะที่จิตตนครกำลังเจริญเต็มที่ ถนนสายสำคัญทั้งสี่สายก็ตรงราบเรียบเหมือนอย่างถนนคอนกรีตชั้นหนึ่งในบ้านเมืองปัจจุบัน มีต้นไม้ปลูกสองข้างถนนร่มรื่น ระบบสื่อสารทั้งชั้นนอกชั้นในก็ว่องไวรวดเร็ว ครัวเมือง ระบบท่อต่างๆ ระบบการคมนาคม การขนส่งทางท่อต่างๆ ทั่วเมือง ก็สะดวกเรียบร้อย ไม่มีที่ติดขัด นครสามีก็ว่องไวกระฉับกระเฉง และออกปรากฏ ณ จุดเป็นที่บรรจบแห่งถนนสี่แพร่งเป็นครั้งคราว บางคราวก็ออกมาปรากฏพร้อมคู่อาสวะ สมุทัย และสังโยชนบดี
นครสามีจะมีร่างกายปรากฏเป็นสีดำหรือแดงหรือเขียว บางคราวก็ออกมาปรากฏพร้อมกับคู่บารมีและมรรคบดี นครสามีจะมีร่างกายขาวผ่องสะอาด นอกจากนี้ เป็นที่น่าประหลาด ที่ชาวจิตตนครทั้งสองเพศต่างพากันเห็นนครสามี ว่าเป็นเพศเดียวกันกับตน ที่จริงก็ไม่ใช่ของแปลก ใครเป็นหญิงก็ต้องว่าใจของตนเป็นหญิง ใครเป็นชายก็ต้องว่าใจของตนเป็นชายนั่นเอง
คู่อาสวะและสมุทัย เป็นพลเมืองฝ่ายชั่ว ฝ่ายสกปรก ผู้คบค้าสมาคมสนิทสนมด้วยจึงพลอยเปรอะเปื้อนความสกปรกไปด้วย เช่นนครสามีเมื่อปรากฏพร้อมกับคู่อาสวะ สมุทัย และสังโยชนบดี จึงมีผิวกายสกปรก เป็นสีดำหรือแดงหรือเขียว แต่เมื่อปรากฏพร้อมคู่บารมีและมรรคบดีซึ่งเป็นพลเมืองฝ่ายดี ฝ่ายสะอาดบริสุทธิ์ นครสามีจึงมีผิวกายขาวผ่องสะอาด
เห็นความบริสุทธิ์สะอาดกับความสกปรกโสมมแตกต่างกันชัดเจนเช่นนี้ บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลายล้วนต้องการปรารถนาความสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งจักสมปรารถนาได้ด้วยการพยายามปลีกกายปลีกใจ ให้พ้นจากความสกปรกโสมมของคู่อาสวะกับสมุทัย ขณะเดียวกันพยายามเข้าใกล้ชิดคู่บารมีให้สมํ่าเสมอมากที่สุด ผลที่บังเกิดขึ้นจักเป็นความผ่องใสตามควรแก่ความปฏิบัติ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงนำเอาเรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆมาผูกเป็นเรื่องราวทำนองปุคคลาธิษฐาน
ฝ่ายสมุทัยกับคู่อาสวะได้สังเกตเห็นการรวมพลังกันอย่างผิดสังเกตแห่งฝ่ายคู่บารมี จึงเห็นความจำเป็นว่า จะต้องรวมกำลังกันเป็นกองทัพใหญ่ให้เข้มแข็ง จะปล่อยให้แยกกำลังกันไปอย่างไม่มีระเบียบหาได้ไม่ อันที่จริงกำลังของฝ่ายสมุทัยก็มีอยู่เป็นอันมาก เช่นพวกหัวโจกต่างๆ ตลอดถึงกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด เป็นต้น
คู่อาสวะเองก็ยังมีอาสวะที่เป็นพรรคพวกอีกหลายคน ซึ่งล้วนแต่มีอำนาจพิเศษต่างๆ แต่ก็ปล่อยให้กระจัดกระจายกันอยู่ ทำให้กำลังอ่อน พวกคู่บารมีจึงได้แทรกแซงเข้ามาในจิตตนครได้มากยิ่งขึ้นทุกที ทั้งดูท่าทีจะส่งกำลังเสริมและรวมกำลังกันให้เข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว
สมุทัยจึงจัดรวมกำลังจัดเป็นกองทัพใหญ่ขึ้นเรียกว่า “สังโยชน์” แบ่งออกเป็นกองทัพน้อย ๑๐ กอง คือ
๑. สักกายทิฐิ (ความเห็นเป็นเหตุถืออัตตาตัวตนในสกนธ์กาย)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือศีลและวัตรต่าง ๆ ด้วยความปรารถนาผลมีลาภเป็นต้น หรือด้วยความเชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์)
๔. กามราคะ (ความติดใจด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกแต่เพียงราคะก็มี)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต หรือความหงุดหงิด เรียกโทสะตรงทีเดียวก็มี)
๖. รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในรูปธรรม เช่นชอบใจในบุคคลบางคนหรือในวัตถุบางสิ่ง หรือในรูปฌาน)
๗. อรูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม เช่นในสุขเวทนา หรือในอรูปฌาน)
๘. มานะ (ความสำคัญว่ายังมีเรา)
๙. อุทธัจจะ (ความคิดพล่านเป็นอันตรายแก่สมาธิ ตลอดถึงความคิดอะไรเพลินเกินไปกว่าเหตุ)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริงในสัจจะทั้งหลาย)
สมุทัยได้จัดกองทัพสังโยชน์ ๑๐ นี้เป็นกองทัพใหญ่ ประกอบด้วยกองกำลังต่างๆอีกหลายกอง แต่ก็สังกัดอยู่กับกองทัพใหญ่ เพื่อให้มีการปกครองสั่งการกันได้ทันท่วงทีทั้งหมด เป็นการผนึกกำลังกันอย่างมีระเบียบ คล้ายกับวิธีจัดของฝ่ายคู่บารมี และเพื่อผนึกกำลังให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันยิ่งขึ้น ทั้งได้ซักซ้อมกลวิธีที่จะจัดส่งกำลังออกไปเผชิญข้าศึกน้อยหรือมากตามความจำเป็น
สมุทัยกับคู่อาสวะก็เข้าร่วมในกองทัพใหญ่ด้วย คู่อาสวะก็ระดมมิตรสหายทั้งหมด เป็นต้นว่า กามาสวะ (กิเลสเครื่องดองสันดานคือกาม) ภวาสวะ (เครื่องดองสันดานคือภพ) อวิชชาสวะ (เครื่องดองสันดานคืออวิชชา) และอนุสัยโอฆะ โยคะทั้งหลาย สมุทัยก็ระดมมิตรสหายเช่นเดียวกัน เช่น กามตัณหา (อยากในกาม) ภวตัณหา (อยากในความเป็นนั่นเป็นนี่) วิภวตัณหา (อยากในความไม่เป็นนั่นเป็นนี่ คืออยากให้สิ่งหรือภาวะที่ไม่ชอบหมดสิ้นไป) กับทั้งอุปาทาน (ความยืดถือ) กรรม (กรรมที่ทำอันจะส่งผลในภพชาติทั้งหลาย) เป็นต้น
สมุทัยได้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะไม่ทิ้งจิตตนคร จะยึดไว้ตลอดไป เมื่อได้เห็นกองทัพสังโยชน์ที่จัดตั้งขึ้น เป็นกองทัพใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ก็มีความอุ่นใจว่าจะรักษาจิตตนครไว้ได้แน่นอน
บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย แม้จินตนาการเห็นกองทัพสังโยชน์ในจิตตนคร ว่าน่าสะพึงกลัวเพียงใด ก็พึงเข้าใจว่า อำนาจของความชั่ว ของกิเลส ในใจตนเอง น่ากลัวเพียงนั้น พึงอบรมบารมี คือประกอบกรรมดีทุกประการ ให้เป็นกองทัพธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทรงพลังจนถึงอาจเอาชนะกิเลสและความชั่วทั้งปวงได้ อย่างน้อยก็จะสามารถมีความสุขสงบได้พอสมควร
• แม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่ทั้งสอง
ขณะที่กองทัพใหญ่ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งขึ้นนั้น จิตตนครก็ดูเหมือนกำลังเจริญรุ่งเรือง มีกำลังแสนยานุภาพเหมือนอย่างเป็นมหาอำนาจชั้นเอกในโลก เพราะมีกองทัพใหญ่ถึงสองกอง พร้อมที่จะปราบปรามศัตรูหมู่ปัจจามิตรให้พินาศ หรือที่จะรุกรานทุกประเทศในโลกให้อยู่ในอำนาจ ดูเป็นที่น่าสะพึงกลัวยิ่งนัก
จะกล่าวถึงแม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่ทั้งสอง “มรรคบดี” เป็นแม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่มรรค ส่วน “สังโยชนบดี” เป็นแม่ทัพใหญ่ของกองทัพใหญ่สังโยชน์ คู่อาสวะกับสมุทัยสนับสนุนสังโยชนบดี ชักนำให้เข้าหาใกล้ชิดสนิทสนมกับนครสามี จนเป็นที่โปรดปราน เพราะสังโยชนบดีกล่าวหว่านล้อมเป็นที่ถูกจิตใจนครสามี ส่วนคู่บารมีสนับสนุนมรรคบดี ชักนำให้เข้าใกล้ชิดนครสามีเหมือนกัน แต่มรรคบดีเป็นผู้มีนิสัยพูดตรงๆ พูดปดไม่เป็น ดีก็บอกว่าดี ชั่วก็บอกว่าชั่ว ทีแรกจึงยังไม่เป็นที่ชอบใจของนครสามีมากนัก
แต่ต่อมาเมื่อคุณของมรรคมากขึ้น ในขณะเดียวกันโทษของสังโยชนบดีก็ปรากฏมากขึ้น นครสามีจึงเริ่มพอใจและไว้วางใจมรรคบดีมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายจึงอาจตั้งกองทัพของตนขึ้นในจิตตนครได้ และพร้อมที่จะส่งกำลังหนุนมาเพิ่มเติมได้ทันท่วงที
นครสามีเองนั้นดูเหมือนเป็นผู้มีอำนาจเหนือกองทัพทั้งสอง และกองทัพทั้งสองเป็นกองทัพของนครสามี แต่ดูอีกทางหนึ่งก็เหมือนเป็นผู้ไม่มีอำนาจ เพราะไม่อาจจะขับไล่ฝ่ายไหนให้ออกไปจากจิตตนครได้ ด้วยเหตุที่ได้ยอมให้ทั้งสองฝ่ายตั้งกองทัพขึ้นในจิตตนครได้ และทั้งสองฝ่ายก็ได้ตั้งกองทัพขึ้นแล้ว ต่างก็มีกำลังยึดยันกันอยู่ ชาวจิตตนครทั้งปวงพากันวิตกอยู่เงียบๆ ว่าจะเกิดศึกกลางเมืองขึ้น แต่บางพวกก็พากันภูมิใจว่าจิตตนครกำลังรุ่งเรืองเป็นมหาอำนาจ มีแสนยานุภาพที่จะปราบปรามโลกทั้งหมดได้ ภูมิใจทั้งในตัวแม่ทัพใหญ่มรรคบดี ทั้งในตัวแม่ทัพใหญ่สังโยชนบดี
ในขณะที่จิตตนครกำลังเจริญเต็มที่ ถนนสายสำคัญทั้งสี่สายก็ตรงราบเรียบเหมือนอย่างถนนคอนกรีตชั้นหนึ่งในบ้านเมืองปัจจุบัน มีต้นไม้ปลูกสองข้างถนนร่มรื่น ระบบสื่อสารทั้งชั้นนอกชั้นในก็ว่องไวรวดเร็ว ครัวเมือง ระบบท่อต่างๆ ระบบการคมนาคม การขนส่งทางท่อต่างๆ ทั่วเมือง ก็สะดวกเรียบร้อย ไม่มีที่ติดขัด นครสามีก็ว่องไวกระฉับกระเฉง และออกปรากฏ ณ จุดเป็นที่บรรจบแห่งถนนสี่แพร่งเป็นครั้งคราว บางคราวก็ออกมาปรากฏพร้อมคู่อาสวะ สมุทัย และสังโยชนบดี
นครสามีจะมีร่างกายปรากฏเป็นสีดำหรือแดงหรือเขียว บางคราวก็ออกมาปรากฏพร้อมกับคู่บารมีและมรรคบดี นครสามีจะมีร่างกายขาวผ่องสะอาด นอกจากนี้ เป็นที่น่าประหลาด ที่ชาวจิตตนครทั้งสองเพศต่างพากันเห็นนครสามี ว่าเป็นเพศเดียวกันกับตน ที่จริงก็ไม่ใช่ของแปลก ใครเป็นหญิงก็ต้องว่าใจของตนเป็นหญิง ใครเป็นชายก็ต้องว่าใจของตนเป็นชายนั่นเอง
คู่อาสวะและสมุทัย เป็นพลเมืองฝ่ายชั่ว ฝ่ายสกปรก ผู้คบค้าสมาคมสนิทสนมด้วยจึงพลอยเปรอะเปื้อนความสกปรกไปด้วย เช่นนครสามีเมื่อปรากฏพร้อมกับคู่อาสวะ สมุทัย และสังโยชนบดี จึงมีผิวกายสกปรก เป็นสีดำหรือแดงหรือเขียว แต่เมื่อปรากฏพร้อมคู่บารมีและมรรคบดีซึ่งเป็นพลเมืองฝ่ายดี ฝ่ายสะอาดบริสุทธิ์ นครสามีจึงมีผิวกายขาวผ่องสะอาด
เห็นความบริสุทธิ์สะอาดกับความสกปรกโสมมแตกต่างกันชัดเจนเช่นนี้ บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลายล้วนต้องการปรารถนาความสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งจักสมปรารถนาได้ด้วยการพยายามปลีกกายปลีกใจ ให้พ้นจากความสกปรกโสมมของคู่อาสวะกับสมุทัย ขณะเดียวกันพยายามเข้าใกล้ชิดคู่บารมีให้สมํ่าเสมอมากที่สุด ผลที่บังเกิดขึ้นจักเป็นความผ่องใสตามควรแก่ความปฏิบัติ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)