“...หากจะถามว่าพระพุทธศาสนาเป็นอะไรก็ต้องตอบว่า โดยเนื้อหาที่เป็นเรื่องความจริงของชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญา โดยวิธีการสอนที่ยึดหลักเหตุผล พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ หรือพูดให้ชัดลงไปอีกก็เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่า การสอนพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง คือการสอนให้คนสามารถพิจารณาขุดค้นหาหลักธรรมะจากชีวิต และนำหลักธรรมะนั้นมาปฏิบัติให้เป็นประโยชน์
เรื่องวิธีการสอนธรรมะ หรือที่พุทธสมาคมใช้คำว่า “เผยแพร่หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา” ให้เข้าถึงบุคคลประเภทต่างๆนั้น ความจริงมีปรากฏอยู่อย่างสมบูรณ์ในคัมภีร์ มีทั้งที่กล่าวไว้โดยตรงและโดยอ้อม ทั้งที่กล่าวโดยสรุปและโดยละเอียดพิสดาร ซึ่งเชื่อว่าท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นหลักวิชาการ ที่นำมาปฏิบัติให้ได้ผลจริงๆได้อย่างแน่นอน
ผู้มีปัญญา ที่ปรารถนาจะช่วยผู้อื่น จะต้องพยายามศึกษาพิจารณาเลือกสรรวิธีการนั้นๆจากตำรา นำมาใช้นำสอนให้เหมาะแก่บุคคล แก่กาลสมัย และแก่สภาพการณ์ในปัจจุบัน คนที่เรียกว่าเป็นคนสมัยใหม่นั้น ยึดหลักเหตุผลเป็นสำคัญ การสอนคนสมัยใหม่ จะต้องนำเหตุผลที่มีอยู่ในคัมภีร์มาพิจารณา และหยิบยกแต่เฉพาะเนื้อหามาอธิบาย การสอนให้ปฏิบัติตามแบบฉบับเฉยๆ โดยปราศจากเหตุอันสมควร จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ถูกอบรม และถูกบีบบังคับ” จนหมดความสนใจ
หน้าที่ของท่านในการเผยแพร่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงอยู่ที่การเลือกเฟ้นข้อธรรมะ และเลือกเฟ้นวิธีการสอน การใช้คำพูดที่เหมาะ อธิบายหลักธรรมะ เทียบเคียงกับตัวอย่างที่เป็นจริง จนเห็นชัดเจนได้ตามสภาพจิตใจของคนสมัยปัจจุบัน เพื่อช่วยให้แต่ละคนสามารถค้นหาและเข้าใจข้อธรรมะ ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามฐานะของตนๆ...”
พระราชดำรัส พระราชทานในการเสด็จ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560)
เรื่องวิธีการสอนธรรมะ หรือที่พุทธสมาคมใช้คำว่า “เผยแพร่หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา” ให้เข้าถึงบุคคลประเภทต่างๆนั้น ความจริงมีปรากฏอยู่อย่างสมบูรณ์ในคัมภีร์ มีทั้งที่กล่าวไว้โดยตรงและโดยอ้อม ทั้งที่กล่าวโดยสรุปและโดยละเอียดพิสดาร ซึ่งเชื่อว่าท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นหลักวิชาการ ที่นำมาปฏิบัติให้ได้ผลจริงๆได้อย่างแน่นอน
ผู้มีปัญญา ที่ปรารถนาจะช่วยผู้อื่น จะต้องพยายามศึกษาพิจารณาเลือกสรรวิธีการนั้นๆจากตำรา นำมาใช้นำสอนให้เหมาะแก่บุคคล แก่กาลสมัย และแก่สภาพการณ์ในปัจจุบัน คนที่เรียกว่าเป็นคนสมัยใหม่นั้น ยึดหลักเหตุผลเป็นสำคัญ การสอนคนสมัยใหม่ จะต้องนำเหตุผลที่มีอยู่ในคัมภีร์มาพิจารณา และหยิบยกแต่เฉพาะเนื้อหามาอธิบาย การสอนให้ปฏิบัติตามแบบฉบับเฉยๆ โดยปราศจากเหตุอันสมควร จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ถูกอบรม และถูกบีบบังคับ” จนหมดความสนใจ
หน้าที่ของท่านในการเผยแพร่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงอยู่ที่การเลือกเฟ้นข้อธรรมะ และเลือกเฟ้นวิธีการสอน การใช้คำพูดที่เหมาะ อธิบายหลักธรรมะ เทียบเคียงกับตัวอย่างที่เป็นจริง จนเห็นชัดเจนได้ตามสภาพจิตใจของคนสมัยปัจจุบัน เพื่อช่วยให้แต่ละคนสามารถค้นหาและเข้าใจข้อธรรมะ ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักการในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามฐานะของตนๆ...”
พระราชดำรัส พระราชทานในการเสด็จ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 193 มกราคม 2560)