อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) ห่วงสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังประจำตัว เสี่ยงป่วยหรือเสียชีวิตจากอากาศหนาวเย็น ให้ อสม.ให้ความรู้และติดตามเยี่ยมบ้านเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เนื่องจากอากาศที่เย็นลง มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นลงเร็วกว่าปกติ เลือดหนืด หัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตจะสูงขึ้น แนะนำให้ดูแลร่างกายให้อบอุ่นเป็นพิเศษ ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ กินยาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูหนาวนี้ กรมสบส.มีความห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคไตวาย โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงป่วยหรือเสียชีวิต สูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงขอให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้วิธีการดูแลสุขภาพตัวเอง และให้ติดตามเยี่ยมเยียนอาการเป็นกรณีพิเศษ
นายแพทย์วิศิษฎ์กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องปฏิบัติ 3 เรื่องหลักอยู่แล้ว ได้แก่ 1. การกินยาควบคุมอาการตามแผนการรักษาของแพทย์ 2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 3. ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
แต่ในช่วงฤดูหนาวจะต้องเพิ่มการดูแลเป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งทั่วประเทศมีประมาณ 6 ล้านคน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศหนาวจะเย็นกว่าที่อื่น
นอกจากความเย็นและความชื้นในอากาศที่ลดลง จะส่งผลกระทบทำให้ผิวหนังแห้ง แตกคันแล้ว ความหนาวเย็นมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเร็วกว่าปกติ และทำให้เลือดมีความหนืด มีผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกาย จึงอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
โดยอุณหภูมิที่ลดลงทุก 1 องศาเซลเซียส จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน (Heart attack) ได้ถึงร้อยละ 2
สำหรับการดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาว ขอให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังปฏิบัติตัวดังนี้
1. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ สวมหมวกไหมพรม เสื้อคลุมกันหนาว ใส่ถุงมือถุงเท้า สวมรองเท้าที่ใส่สบาย
2. ทาผิวด้วยโลชั่นที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ วันละหลายๆครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้นผิวหนัง
3. หลีกเลี่ยงอยู่ในที่โล่งลมโกรก หรือสถานที่มีคนแออัด เนื่องจากอาจติดเชื้อไวรัสไข้หวัดจากคนอื่นได้ง่าย และหายช้ากว่าคนทั่วไป
4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ให้ได้วันละ 2 ลิตร หรืออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
5 รับประทานอาหารปรุงสุกแล้วให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารรสไม่จัด หลีกเลี่ยงขนมหวาน อาหารไขมันสูง เพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้สดที่หวานน้อย เนื่องจากมีแร่ธาตุสูง มีวิตามินเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคช่วงหน้าหนาว
6. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เพราะไม่สามารถแก้ความหนาวได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้โรคที่มีอยู่เดิมกำเริบขึ้นได้
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ผลของการออกกำลังกาย จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หัวใจมีความทนทาน สำหรับผู้สูงอายุควรออกกำลังกายโดยการเดินเร็วหรือยืดเหยียดร่างกาย
8. หมั่นตรวจเช็คค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
9. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
10. จัดการตนเองแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ไม่เครียด ไม่พึ่งสุรา สารเสพติด
11. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยสวมใส่ชุดนอนที่อบอุ่นและห่มผ้า ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูหนาวนี้ กรมสบส.มีความห่วงใยประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคไตวาย โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงป่วยหรือเสียชีวิต สูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงขอให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้วิธีการดูแลสุขภาพตัวเอง และให้ติดตามเยี่ยมเยียนอาการเป็นกรณีพิเศษ
นายแพทย์วิศิษฎ์กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องปฏิบัติ 3 เรื่องหลักอยู่แล้ว ได้แก่ 1. การกินยาควบคุมอาการตามแผนการรักษาของแพทย์ 2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 3. ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
แต่ในช่วงฤดูหนาวจะต้องเพิ่มการดูแลเป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งทั่วประเทศมีประมาณ 6 ล้านคน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศหนาวจะเย็นกว่าที่อื่น
นอกจากความเย็นและความชื้นในอากาศที่ลดลง จะส่งผลกระทบทำให้ผิวหนังแห้ง แตกคันแล้ว ความหนาวเย็นมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเร็วกว่าปกติ และทำให้เลือดมีความหนืด มีผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกาย จึงอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
โดยอุณหภูมิที่ลดลงทุก 1 องศาเซลเซียส จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน (Heart attack) ได้ถึงร้อยละ 2
สำหรับการดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาว ขอให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังปฏิบัติตัวดังนี้
1. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ สวมหมวกไหมพรม เสื้อคลุมกันหนาว ใส่ถุงมือถุงเท้า สวมรองเท้าที่ใส่สบาย
2. ทาผิวด้วยโลชั่นที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ วันละหลายๆครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้นผิวหนัง
3. หลีกเลี่ยงอยู่ในที่โล่งลมโกรก หรือสถานที่มีคนแออัด เนื่องจากอาจติดเชื้อไวรัสไข้หวัดจากคนอื่นได้ง่าย และหายช้ากว่าคนทั่วไป
4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ให้ได้วันละ 2 ลิตร หรืออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
5 รับประทานอาหารปรุงสุกแล้วให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารรสไม่จัด หลีกเลี่ยงขนมหวาน อาหารไขมันสูง เพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้สดที่หวานน้อย เนื่องจากมีแร่ธาตุสูง มีวิตามินเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคช่วงหน้าหนาว
6. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เพราะไม่สามารถแก้ความหนาวได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้โรคที่มีอยู่เดิมกำเริบขึ้นได้
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ผลของการออกกำลังกาย จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หัวใจมีความทนทาน สำหรับผู้สูงอายุควรออกกำลังกายโดยการเดินเร็วหรือยืดเหยียดร่างกาย
8. หมั่นตรวจเช็คค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
9. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
10. จัดการตนเองแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ไม่เครียด ไม่พึ่งสุรา สารเสพติด
11. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยสวมใส่ชุดนอนที่อบอุ่นและห่มผ้า ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)