โรคหลอดเลือดสมอง (จบ)
รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
การรักษา
การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับ
1.เวลา ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มากเท่านั้น
2.ความรุนแรงของโรคที่เป็น ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงน้อยจะมีโอกาสหายได้สูงกว่า
3.ความพร้อมของเทคโนโลยีในการรักษา โดยใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคที่เหมาะสมและยาที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นปัจจัยที่สำคัญของผลการรักษา
สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีชัดเจน ได้แก่
1.การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, TPA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากความพิการให้อาการกลับมาใกล้เคียงปกติได้ถึง 1.5 – 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับยา อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้มีความเสี่ยงของเลือดออกในสมองได้ประมาณร้อยละ 6
2.การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง แพทย์จะตัดสินใจให้การรักษาด้วยวิธีนี้ถ้าผู้ป่วยมีความ
พิการ เกิดอาการไม่เกิน 6 ชั่วโมง ตรวจพบหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองอุดตัน และยังมีเนื้อสมองส่วนที่ดีหลงเหลืออยู่
3.การให้รับประทานยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 mg ต่อวันภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วย
ลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลง
4.การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) นับเป็นการรักษา
ที่ช่วยลดอัตราการตายหรือพิการอีกวิธีหนึ่ง
5.การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงและมีการ
ตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่ Middle cerebral atery ในสมองเท่านั้น โดยมีหลักฐานการศึกษาว่าการผ่าตัดดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้
นอกจากนี้การควบคุมความดัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพฟื้นฟู การที่คนในครอบครัวร่วมมือกันในการดูแลยามที่ผู้ป่วยท้อแท้ การให้กำลังใจผู้ป่วย ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ดูแลอย่างไรไม่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
เรื่องการดูแล มีความสำคัญมากในการป้องกันไม่ให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
1.รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การรักษาความดันสูงที่ง่ายที่สุดคือ ลดอาหารเค็มลงและหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรือสารกระตุ้นหัวใจ เช่น กาแฟ
2.การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรักษาเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
3.การป้องกันการกลับเป็นซ้ำด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
4.การลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว อาหารเค็ม กินผักและผลไม้ให้มาก
5.การงดสูบบุหรี่ เป็นตัวการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ จำกัดการดื่มสุรา เบียร์ เป็นตัวการโรคหลอดเลือดสมองชนิดแตก
6.รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
7.ความเครียด เป็นตัวการโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบและชนิดแตก
และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีการกล่าวถึง คือ มลภาวะในอากาศโดยเฉพาะในเมืองใหญ่พบว่าเป็นปัจจัยให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
โรคหลอดเลือดสมอง รักษาได้ ทั้งนี้ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราช จัดกิจกรรมภาคประชาชน รับบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรค (ฟรี) ในงานวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน นี้ เวลา 08.00 -14.30 น. ณ โถง ชั้น 1 อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2414 1010
รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
การรักษา
การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับ
1.เวลา ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มากเท่านั้น
2.ความรุนแรงของโรคที่เป็น ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงน้อยจะมีโอกาสหายได้สูงกว่า
3.ความพร้อมของเทคโนโลยีในการรักษา โดยใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคที่เหมาะสมและยาที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นปัจจัยที่สำคัญของผลการรักษา
สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีชัดเจน ได้แก่
1.การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, TPA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากความพิการให้อาการกลับมาใกล้เคียงปกติได้ถึง 1.5 – 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับยา อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้มีความเสี่ยงของเลือดออกในสมองได้ประมาณร้อยละ 6
2.การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง แพทย์จะตัดสินใจให้การรักษาด้วยวิธีนี้ถ้าผู้ป่วยมีความ
พิการ เกิดอาการไม่เกิน 6 ชั่วโมง ตรวจพบหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองอุดตัน และยังมีเนื้อสมองส่วนที่ดีหลงเหลืออยู่
3.การให้รับประทานยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 mg ต่อวันภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วย
ลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลง
4.การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) นับเป็นการรักษา
ที่ช่วยลดอัตราการตายหรือพิการอีกวิธีหนึ่ง
5.การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงและมีการ
ตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่ Middle cerebral atery ในสมองเท่านั้น โดยมีหลักฐานการศึกษาว่าการผ่าตัดดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้
นอกจากนี้การควบคุมความดัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพฟื้นฟู การที่คนในครอบครัวร่วมมือกันในการดูแลยามที่ผู้ป่วยท้อแท้ การให้กำลังใจผู้ป่วย ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ดูแลอย่างไรไม่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
เรื่องการดูแล มีความสำคัญมากในการป้องกันไม่ให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
1.รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การรักษาความดันสูงที่ง่ายที่สุดคือ ลดอาหารเค็มลงและหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรือสารกระตุ้นหัวใจ เช่น กาแฟ
2.การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรักษาเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
3.การป้องกันการกลับเป็นซ้ำด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
4.การลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว อาหารเค็ม กินผักและผลไม้ให้มาก
5.การงดสูบบุหรี่ เป็นตัวการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ จำกัดการดื่มสุรา เบียร์ เป็นตัวการโรคหลอดเลือดสมองชนิดแตก
6.รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
7.ความเครียด เป็นตัวการโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบและชนิดแตก
และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีการกล่าวถึง คือ มลภาวะในอากาศโดยเฉพาะในเมืองใหญ่พบว่าเป็นปัจจัยให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
โรคหลอดเลือดสมอง รักษาได้ ทั้งนี้ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศิริราช จัดกิจกรรมภาคประชาชน รับบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรค (ฟรี) ในงานวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน นี้ เวลา 08.00 -14.30 น. ณ โถง ชั้น 1 อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2414 1010