• วิธีการถนอมเสียง
เป็นการปฏิบัติตน เพื่อถนอมสายเสียงและลดอันตราย หรือความเสียหายต่อสายเสียง ซึ่งควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อให้เรามีเสียงพูดไว้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะถ้าเราต้องใช้เสียงในการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพทนาย ครู พนักงานขายของ พ่อค้าหรือแม่ค้า พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานประชาสัมพันธ์ นักแสดง นักร้อง หรือนักการเมือง
วิธีการถนอมสายเสียงนั้นต้องอาศัยเวลา ความตั้งใจจริง อดทน ความสม่ำเสมอในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย
• สิ่งที่ควรทำ
- ควรพูดด้วยเสียงดังพอเหมาะ ไม่ควรตะโกน กรีดร้อง ส่งเสียงเชียร์ หรือหัวเราะเสียงดัง
- ควรพูดด้วยระดับเสียงสูงต่ำที่เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง ไม่ควรพูดโดยใช้เสียงสูงหรือต่ำเกินไป
- ควรพูดแบบสบายๆ ไม่ควรเค้นเสียงพูดหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า คอ ไหล่ ขณะพูด
- ควรฝึกนิสัยการหายใจที่ถูกต้องขณะพูด โดยใช้กล้ามเนื้อท้องเป็นหลักในการหายใจ ขณะหายใจเข้าหน้าท้องควรจะค่อยๆ ป่องออก ขณะหายใจออกหน้าท้องควรยุบเข้าไป ไม่ควรพูดขณะหายใจเข้า หรือกลั้นหายใจพูด ควรพูดขณะหายใจออก และผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และควรหายใจเข้าและออกทางปากขณะพูด
- ควรขยันดื่มน้ำมากๆ และบ่อยๆ ในผู้ใหญ่ควรดื่มวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรต่อวัน การดื่มน้ำอุ่นจะทำให้สายเสียงและคอชุ่มชื้น ช่วยละลายเสมหะได้ดีขึ้น ไม่ควรรับประทานยาแก้แพ้ชนิดง่วง และยาแก้อาการคัดจมูก (ยาหดหลอดเลือด เช่น pseudoephedrine) ซึ่งจะทำให้สายเสียงและคอแห้ง
- ควรเข้าไปใกล้ผู้ฟังในขณะพูด เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดเสียงดัง
- ควรหาอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีอาชีพต้องใช้เสียง เช่น ไมโครโฟน จะได้ไม่ต้องตะโกน หรือตะเบ็งเสียงขณะพูด
- ถ้ารู้สึกแน่นๆ ในคอ เจ็บคอ ควรหายใจเอาไอน้ำร้อนเข้าไป (steam inhalation) จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ ทำให้คอโล่งขึ้น แล้วทำให้สายเสียงและคอชุ่มชื้น
- ถ้ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการออกเสียง หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะมีอาการไอ ควรรีบปรึกษาแพทย์
• สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- หลีกเลี่ยงการพูดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ควรมีเวลาสำหรับหยุดพักการใช้เสียงด้วย เช่น ทุกครึ่ง-1 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการพูดแข่งกับเสียงดังอื่นๆ หรือพูดในที่มีเสียงดังรบกวน เช่น เสียงเครื่องจักร เสียงเพลง เสียงรถยนต์ เสียงจอแจต่างๆ ถ้าจำเป็นควรเขยิบไปใกล้ๆ ผู้ฟัง หรือใช้เครื่องขยายเสียงช่วย
- หลีกเลี่ยงการร้องเพลงหรือพูดมาก ขณะป่วยร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลีย มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ (เช่น เป็นหวัด หรือเจ็บคอ) หรือขณะออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการพูดขณะอยู่ในสภาพจิตใจและอารมณ์ผิดปกติ เช่น โมโห ตกใจ กลัว
- หลีกเลี่ยงการพูดกระแทกเสียง เน้นคำ หลีกเลี่ยงการกระซิบ หรือบ่นพึมพำในลำคอ
- หลีกเลี่ยงการไอ กระแอม ขากเสมหะ หรือจามบ่อย เพราะจะทำให้สายเสียงกระทบกันอย่างรุนเเรง ถ้ามีอาการเหล่านี้บ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษา เมื่อใดรู้สึกว่ามีเสมหะ จำเป็นต้องกระแอม ควรกลืนหรือดื่มน้ำ ไอ กระแอม หรือขากเสมหะเบาๆ
- หลีกเลี่ยงการพูดดัดเสียง หรือเลียนเสียงแปลกๆ ควรใช้จังหวะการพูดที่ดี ไม่พูดเร็วเกินไปจนหายใจไม่ทัน ควรพูดช้าๆ และหยุดพักเป็นช่วงๆ เพื่อหายใจ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
- หลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้กับบุคคลที่กำลังสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด ร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวาน หรือมันจนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำลายหรือเสมหะเหนียวข้น รู้สึกระคายคอ ทำให้อยากไอกระแอมมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควันพิษ อากาศไม่บริสุทธิ์ หรือสารเคมีที่ที่มีอากาศแห้งหรือเย็นจนเกินไปเช่น ในห้องปรับอากาศที่เย็นจัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกล่องเสียงและสายเสียงได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ยาสเปรย์พ่นคอ ซึ่งมีส่วนผสมของยาชาจะทำให้ใช้เสียงได้มากขึ้น ทำให้การอักเสบของสายเสียงแย่ลง
• ข้อควรระวังมิให้สายเสียงอักเสบ
เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุของสายเสียงอักเสบแล้ว ควรป้องกันสาเหตุซึ่งบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างก็ทำไม่ได้หรือทำยาก เช่น
- สายเสียงอักเสบหลังจากเป็นหวัด ก็ป้องกันไม่ให้เป็นหวัด หรือเมื่อเป็นหวัดแล้วก็ต้องรีบรักษา โดยรับประทานยา ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้พอเพียง หรือในขณะที่อากาศร้อน อย่านอนเป่าพัดลมตรงมาที่ตัว เพราะการหายใจเอาลมที่แห้งและเย็นเข้าไปตลอดเวลาจะทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง และเกิดการอักเสบของสายเสียงตามมาได้ง่าย เมื่อเป็นหวัดหรือเจ็บคอ ถ้าทำได้ควรใช้เสียงให้น้อยลง
- ในเด็ก การเชียร์กีฬาด้วยเสียงที่ดัง เป็นการแสดงความพร้อมเพรียง และทำให้เกิดความสนุก แต่ก็ควรระมัดระวัง เมื่อรู้สึกคอแห้งมากก็ไม่ควรตะโกนต่อไป เพราะจะทำให้สายเสียงอักเสบตามมาได้
- การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุทำให้เกิดสายเสียงอักเสบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงจากการสูบบุหรี่ หรือพยายามสูบให้น้อยลงหรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ (กรณีไม่ได้สูบ) เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดสายเสียงอักเสบ
- ผู้ป่วยที่มีการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก ไซนัส หรือมีหลอดลมอักเสบเรื้อรัง สามารถทำให้สายเสียงอักเสบเรื้อรังได้ การไอบ่อยๆ ทำให้สายเสียงกระแทกกัน และเชื้อโรคที่อยู่ภายในเสมหะที่ไอออกมา อาจผ่านสายเสียงออกสู่ภายนอก ทั้งการไอและทั้งเชื้อโรคในเสมหะ ทำให้สายเสียงอักเสบได้
"เพียงเท่านี้…สายเสียงของเราก็ห่างไกลจากการอักเสบแล้วละครับ"
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)
เป็นการปฏิบัติตน เพื่อถนอมสายเสียงและลดอันตราย หรือความเสียหายต่อสายเสียง ซึ่งควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อให้เรามีเสียงพูดไว้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะถ้าเราต้องใช้เสียงในการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพทนาย ครู พนักงานขายของ พ่อค้าหรือแม่ค้า พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานประชาสัมพันธ์ นักแสดง นักร้อง หรือนักการเมือง
วิธีการถนอมสายเสียงนั้นต้องอาศัยเวลา ความตั้งใจจริง อดทน ความสม่ำเสมอในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย
• สิ่งที่ควรทำ
- ควรพูดด้วยเสียงดังพอเหมาะ ไม่ควรตะโกน กรีดร้อง ส่งเสียงเชียร์ หรือหัวเราะเสียงดัง
- ควรพูดด้วยระดับเสียงสูงต่ำที่เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง ไม่ควรพูดโดยใช้เสียงสูงหรือต่ำเกินไป
- ควรพูดแบบสบายๆ ไม่ควรเค้นเสียงพูดหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า คอ ไหล่ ขณะพูด
- ควรฝึกนิสัยการหายใจที่ถูกต้องขณะพูด โดยใช้กล้ามเนื้อท้องเป็นหลักในการหายใจ ขณะหายใจเข้าหน้าท้องควรจะค่อยๆ ป่องออก ขณะหายใจออกหน้าท้องควรยุบเข้าไป ไม่ควรพูดขณะหายใจเข้า หรือกลั้นหายใจพูด ควรพูดขณะหายใจออก และผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และควรหายใจเข้าและออกทางปากขณะพูด
- ควรขยันดื่มน้ำมากๆ และบ่อยๆ ในผู้ใหญ่ควรดื่มวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรต่อวัน การดื่มน้ำอุ่นจะทำให้สายเสียงและคอชุ่มชื้น ช่วยละลายเสมหะได้ดีขึ้น ไม่ควรรับประทานยาแก้แพ้ชนิดง่วง และยาแก้อาการคัดจมูก (ยาหดหลอดเลือด เช่น pseudoephedrine) ซึ่งจะทำให้สายเสียงและคอแห้ง
- ควรเข้าไปใกล้ผู้ฟังในขณะพูด เพื่อจะได้ไม่ต้องพูดเสียงดัง
- ควรหาอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีอาชีพต้องใช้เสียง เช่น ไมโครโฟน จะได้ไม่ต้องตะโกน หรือตะเบ็งเสียงขณะพูด
- ถ้ารู้สึกแน่นๆ ในคอ เจ็บคอ ควรหายใจเอาไอน้ำร้อนเข้าไป (steam inhalation) จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ ทำให้คอโล่งขึ้น แล้วทำให้สายเสียงและคอชุ่มชื้น
- ถ้ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการออกเสียง หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะมีอาการไอ ควรรีบปรึกษาแพทย์
• สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- หลีกเลี่ยงการพูดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ควรมีเวลาสำหรับหยุดพักการใช้เสียงด้วย เช่น ทุกครึ่ง-1 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการพูดแข่งกับเสียงดังอื่นๆ หรือพูดในที่มีเสียงดังรบกวน เช่น เสียงเครื่องจักร เสียงเพลง เสียงรถยนต์ เสียงจอแจต่างๆ ถ้าจำเป็นควรเขยิบไปใกล้ๆ ผู้ฟัง หรือใช้เครื่องขยายเสียงช่วย
- หลีกเลี่ยงการร้องเพลงหรือพูดมาก ขณะป่วยร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลีย มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ (เช่น เป็นหวัด หรือเจ็บคอ) หรือขณะออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการพูดขณะอยู่ในสภาพจิตใจและอารมณ์ผิดปกติ เช่น โมโห ตกใจ กลัว
- หลีกเลี่ยงการพูดกระแทกเสียง เน้นคำ หลีกเลี่ยงการกระซิบ หรือบ่นพึมพำในลำคอ
- หลีกเลี่ยงการไอ กระแอม ขากเสมหะ หรือจามบ่อย เพราะจะทำให้สายเสียงกระทบกันอย่างรุนเเรง ถ้ามีอาการเหล่านี้บ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษา เมื่อใดรู้สึกว่ามีเสมหะ จำเป็นต้องกระแอม ควรกลืนหรือดื่มน้ำ ไอ กระแอม หรือขากเสมหะเบาๆ
- หลีกเลี่ยงการพูดดัดเสียง หรือเลียนเสียงแปลกๆ ควรใช้จังหวะการพูดที่ดี ไม่พูดเร็วเกินไปจนหายใจไม่ทัน ควรพูดช้าๆ และหยุดพักเป็นช่วงๆ เพื่อหายใจ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
- หลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้กับบุคคลที่กำลังสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด ร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวาน หรือมันจนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำลายหรือเสมหะเหนียวข้น รู้สึกระคายคอ ทำให้อยากไอกระแอมมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควันพิษ อากาศไม่บริสุทธิ์ หรือสารเคมีที่ที่มีอากาศแห้งหรือเย็นจนเกินไปเช่น ในห้องปรับอากาศที่เย็นจัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกล่องเสียงและสายเสียงได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ยาสเปรย์พ่นคอ ซึ่งมีส่วนผสมของยาชาจะทำให้ใช้เสียงได้มากขึ้น ทำให้การอักเสบของสายเสียงแย่ลง
• ข้อควรระวังมิให้สายเสียงอักเสบ
เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุของสายเสียงอักเสบแล้ว ควรป้องกันสาเหตุซึ่งบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างก็ทำไม่ได้หรือทำยาก เช่น
- สายเสียงอักเสบหลังจากเป็นหวัด ก็ป้องกันไม่ให้เป็นหวัด หรือเมื่อเป็นหวัดแล้วก็ต้องรีบรักษา โดยรับประทานยา ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้พอเพียง หรือในขณะที่อากาศร้อน อย่านอนเป่าพัดลมตรงมาที่ตัว เพราะการหายใจเอาลมที่แห้งและเย็นเข้าไปตลอดเวลาจะทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง และเกิดการอักเสบของสายเสียงตามมาได้ง่าย เมื่อเป็นหวัดหรือเจ็บคอ ถ้าทำได้ควรใช้เสียงให้น้อยลง
- ในเด็ก การเชียร์กีฬาด้วยเสียงที่ดัง เป็นการแสดงความพร้อมเพรียง และทำให้เกิดความสนุก แต่ก็ควรระมัดระวัง เมื่อรู้สึกคอแห้งมากก็ไม่ควรตะโกนต่อไป เพราะจะทำให้สายเสียงอักเสบตามมาได้
- การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุทำให้เกิดสายเสียงอักเสบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงจากการสูบบุหรี่ หรือพยายามสูบให้น้อยลงหรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ (กรณีไม่ได้สูบ) เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดสายเสียงอักเสบ
- ผู้ป่วยที่มีการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก ไซนัส หรือมีหลอดลมอักเสบเรื้อรัง สามารถทำให้สายเสียงอักเสบเรื้อรังได้ การไอบ่อยๆ ทำให้สายเสียงกระแทกกัน และเชื้อโรคที่อยู่ภายในเสมหะที่ไอออกมา อาจผ่านสายเสียงออกสู่ภายนอก ทั้งการไอและทั้งเชื้อโรคในเสมหะ ทำให้สายเสียงอักเสบได้
"เพียงเท่านี้…สายเสียงของเราก็ห่างไกลจากการอักเสบแล้วละครับ"
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)