วัดหนัง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อว่า “วัดหนัง” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2251-พ.ศ. 2275) แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้ทำการเฉลิมฉลองสมโภชพระอาราม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2380 พร้อมกับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง แต่มิได้พระราชทานนามใหม่
ภายในพระอารามแห่งนี้ มีสิ่งสำคัญต่างๆ มากมาย อาทิ
• พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 13.15 เมตร ยาว 20.40 เมตร สูง 16 เมตรเศษ หลังคาลด 2ชั้น ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา ที่น่าสนใจ คือ ชุกชีที่ประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถ เป็นฐานแว่นฟ้า 2 ชั้น ฐานพระ 1 ชั้น แบบชุกชีในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ แต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเหมาะแก่ขนาดพระอุโบสถ ก่อย่อไม้ 12 ปั้นลายปิดทองประดับกระจก ชั้นต้นประดิษฐานพระสาวก 3 องค์ ชั้นสอง 2 องค์
• พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ สูง 98.42 นิ้ว หน้าตักกว้าง 70.86นิ้ว มีจารึกอักษรไทยโบราณที่ฐาน อ่านได้ความว่า
“แต่แรกตั้งพระเจ้าองค์นี้ ศาสนาได้ ๑,๙๖๖ ปี ในปีเถาะ สามเดือน ในเดือนเก้า ยี่สิบสี่วัน ในวันอาทิตย์
พ่อพระยาเจ้าไทย พ่อขุนเมดทาเจ้า และไว้ให้นายลก คงบำเรอ เป็นข้าพระเจ้านี้ ชั่วลูก ชั่วหลาน แต่สิ้นศาสนาพระเป็นเจ้าแล”
ตามจารึกกล่าวว่า หล่อตั้งแต่ พ.ศ. 1966 ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือพระยาบาลเมือง พระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 1962-1989) จึงสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่เจ้านายราชวงศ์สมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระศรัทธาสร้างขึ้น และคงจะประดิษฐานไว้ในวัดสำคัญวัดใดวัดหนึ่งในแคว้นสุโขทัย โดยกำหนดให้มีผู้ดูแลรักษาพระพุทธรูปองค์นี้จนกว่าจะสิ้นพระศาสนา
มีผู้สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะเป็นพระพุทธรูปในจำนวน 1,248 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญลงมาจากวัดร้างในเมืองสุโขทัย และได้บูรณะสมบูรณ์งดงามดีแล้ว จึงได้โปรดพระราชทานมาประดิษฐานยังวัดหนัง แต่เมื่อครั้งยังเป็นวัดราษฎร์
• พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ มีขนาดและจิตรกรรมอย่างเดียวกับพระอุโบสถ แต่ที่ต่างกันคือมีประตูด้านละ 1ประตู กับภายในก่อเป็นสายบัวกระเบื้องปรุกั้นกลางเป็น 2 ห้อง ห้องหน้าก่อชุกชียาวเต็มส่วนกว้าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเรียงเป็นแถว 5 องค์ ส่วนห้องหลังประดิษฐาน “พระพุทธรูปศิลา”
• พระพุทธรูปศิลา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พอกปูนลงรักปิดทอง สูง 2.64 เมตร หน้าตักกว้าง 2.10 เมตร สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระประธานของวัดตั้งแต่ยังเป็นวัดราษฎร์ และพระวิหารก็สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถเก่า ก่อนที่จะได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3
• พระปรางค์ ประดิษฐานอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร มีความสูง 22.30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 13.60 เมตร มีลานประทักษิณ 3 ชั้นเป็นรูปแปดเหลี่ยม ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณหน้าพระปรางค์มีพระเจดียหินแบบจีน 1 คู่ ตุ๊กตาหินนักรบจีนโบราณ 1 คู่ ซึ่งเป็นสิ่งของพระราชทานจากรัชกาลที่ 3
• พระเจดีย์คู่ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระวิหาร ลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ประดับด้วยกระจกสีทอง สูง 6 เมตร 72 เซนติเมตร
• พระเจดีย์สี่มุม ตั้งอยู่บริเวณมุมกำแพงของพระอุโบสถและพระวิหารมาบรรจบกันทั้ง 4 มุม ก่อเป็นฐานประทักษิณสูง และมีองค์พระเจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสอง สูง 5 เมตร 78 เซนติเมตร
• หอไตร ก่ออิฐถือปูน เฉลียงรอบ หลังคาลดมุงกระเบื้องเคลือบ
• พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการศึกษา ซึ่งพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร ได้จัดทำขึ้น โดยมีสิ่งของทางพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูป ตู้พระไตรปิฎก ตาลปัตร พัดยศ หนังสือธรรมะหายาก สมุดข่อย ข้าวของเครื่องใช้ของพระสงฆ์ รวมทั้งตำรายาของหมอพระ และข้าวของเครื่องใช้โบราณที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแถบนี้ด้วย
นอกจากนี้ ภายในห้องยังจัดแสดงรูปปั้นและข้าวของเครื่องใช้ของพระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง ผู้มักน้อย สันโดษ รวมทั้งภาพถ่ายหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงถ่ายไว้เมื่อคราวเสด็จมาทอดพระเนตรการบูรณะวัดหนัง
หลวงปู่เอี่ยมเป็นพระเถระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูง เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรป ไปประเทศฝรั่งเศส พระองค์จะต้องทรงขี่ม้าพยศและดุร้ายตัวหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครกำราบได้ จึงทรงใช้คาถาของหลวงปู่เอี่ยมเสกหญ้าให้ม้ากิน จนม้าเชื่องสงบ และทรงขี่ม้าตัวนั้นได้อย่างสง่างาม
พระอารามแห่งนี้ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาเป็นลำดับนับแต่การสถาปนาขึ้นใหม่ กล่าวกันว่าในช่วงที่หลวงปู่เอี่ยมเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดหนังจนงดงาม แลดูเหมือนกับช่วงที่สถาปนาใหม่ๆ
และเพื่อให้วัดหนังราชวรวิหาร ดำรงไว้ซึ่งความสง่างาม สมค่าพระอารามหลวง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึงร่วมกับวัดหนังจัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัด โดย พ.ศ. 2559 จะเริ่มดำเนินการสำรวจ และ พ.ศ. 2560 จะดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิทอง และฐานชุกชีในพระอุโบสถ เพื่อธำรงไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)
เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อว่า “วัดหนัง” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2251-พ.ศ. 2275) แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้ทำการเฉลิมฉลองสมโภชพระอาราม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2380 พร้อมกับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง แต่มิได้พระราชทานนามใหม่
ภายในพระอารามแห่งนี้ มีสิ่งสำคัญต่างๆ มากมาย อาทิ
• พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 13.15 เมตร ยาว 20.40 เมตร สูง 16 เมตรเศษ หลังคาลด 2ชั้น ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา ที่น่าสนใจ คือ ชุกชีที่ประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถ เป็นฐานแว่นฟ้า 2 ชั้น ฐานพระ 1 ชั้น แบบชุกชีในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ แต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเหมาะแก่ขนาดพระอุโบสถ ก่อย่อไม้ 12 ปั้นลายปิดทองประดับกระจก ชั้นต้นประดิษฐานพระสาวก 3 องค์ ชั้นสอง 2 องค์
• พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ สูง 98.42 นิ้ว หน้าตักกว้าง 70.86นิ้ว มีจารึกอักษรไทยโบราณที่ฐาน อ่านได้ความว่า
“แต่แรกตั้งพระเจ้าองค์นี้ ศาสนาได้ ๑,๙๖๖ ปี ในปีเถาะ สามเดือน ในเดือนเก้า ยี่สิบสี่วัน ในวันอาทิตย์
พ่อพระยาเจ้าไทย พ่อขุนเมดทาเจ้า และไว้ให้นายลก คงบำเรอ เป็นข้าพระเจ้านี้ ชั่วลูก ชั่วหลาน แต่สิ้นศาสนาพระเป็นเจ้าแล”
ตามจารึกกล่าวว่า หล่อตั้งแต่ พ.ศ. 1966 ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือพระยาบาลเมือง พระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 1962-1989) จึงสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่เจ้านายราชวงศ์สมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระศรัทธาสร้างขึ้น และคงจะประดิษฐานไว้ในวัดสำคัญวัดใดวัดหนึ่งในแคว้นสุโขทัย โดยกำหนดให้มีผู้ดูแลรักษาพระพุทธรูปองค์นี้จนกว่าจะสิ้นพระศาสนา
มีผู้สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะเป็นพระพุทธรูปในจำนวน 1,248 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญลงมาจากวัดร้างในเมืองสุโขทัย และได้บูรณะสมบูรณ์งดงามดีแล้ว จึงได้โปรดพระราชทานมาประดิษฐานยังวัดหนัง แต่เมื่อครั้งยังเป็นวัดราษฎร์
• พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ มีขนาดและจิตรกรรมอย่างเดียวกับพระอุโบสถ แต่ที่ต่างกันคือมีประตูด้านละ 1ประตู กับภายในก่อเป็นสายบัวกระเบื้องปรุกั้นกลางเป็น 2 ห้อง ห้องหน้าก่อชุกชียาวเต็มส่วนกว้าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเรียงเป็นแถว 5 องค์ ส่วนห้องหลังประดิษฐาน “พระพุทธรูปศิลา”
• พระพุทธรูปศิลา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พอกปูนลงรักปิดทอง สูง 2.64 เมตร หน้าตักกว้าง 2.10 เมตร สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระประธานของวัดตั้งแต่ยังเป็นวัดราษฎร์ และพระวิหารก็สันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถเก่า ก่อนที่จะได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3
• พระปรางค์ ประดิษฐานอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร มีความสูง 22.30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 13.60 เมตร มีลานประทักษิณ 3 ชั้นเป็นรูปแปดเหลี่ยม ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณหน้าพระปรางค์มีพระเจดียหินแบบจีน 1 คู่ ตุ๊กตาหินนักรบจีนโบราณ 1 คู่ ซึ่งเป็นสิ่งของพระราชทานจากรัชกาลที่ 3
• พระเจดีย์คู่ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระวิหาร ลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ประดับด้วยกระจกสีทอง สูง 6 เมตร 72 เซนติเมตร
• พระเจดีย์สี่มุม ตั้งอยู่บริเวณมุมกำแพงของพระอุโบสถและพระวิหารมาบรรจบกันทั้ง 4 มุม ก่อเป็นฐานประทักษิณสูง และมีองค์พระเจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสอง สูง 5 เมตร 78 เซนติเมตร
• หอไตร ก่ออิฐถือปูน เฉลียงรอบ หลังคาลดมุงกระเบื้องเคลือบ
• พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการศึกษา ซึ่งพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร ได้จัดทำขึ้น โดยมีสิ่งของทางพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูป ตู้พระไตรปิฎก ตาลปัตร พัดยศ หนังสือธรรมะหายาก สมุดข่อย ข้าวของเครื่องใช้ของพระสงฆ์ รวมทั้งตำรายาของหมอพระ และข้าวของเครื่องใช้โบราณที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแถบนี้ด้วย
นอกจากนี้ ภายในห้องยังจัดแสดงรูปปั้นและข้าวของเครื่องใช้ของพระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง ผู้มักน้อย สันโดษ รวมทั้งภาพถ่ายหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงถ่ายไว้เมื่อคราวเสด็จมาทอดพระเนตรการบูรณะวัดหนัง
หลวงปู่เอี่ยมเป็นพระเถระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูง เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรป ไปประเทศฝรั่งเศส พระองค์จะต้องทรงขี่ม้าพยศและดุร้ายตัวหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครกำราบได้ จึงทรงใช้คาถาของหลวงปู่เอี่ยมเสกหญ้าให้ม้ากิน จนม้าเชื่องสงบ และทรงขี่ม้าตัวนั้นได้อย่างสง่างาม
พระอารามแห่งนี้ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาเป็นลำดับนับแต่การสถาปนาขึ้นใหม่ กล่าวกันว่าในช่วงที่หลวงปู่เอี่ยมเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดหนังจนงดงาม แลดูเหมือนกับช่วงที่สถาปนาใหม่ๆ
และเพื่อให้วัดหนังราชวรวิหาร ดำรงไว้ซึ่งความสง่างาม สมค่าพระอารามหลวง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึงร่วมกับวัดหนังจัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัด โดย พ.ศ. 2559 จะเริ่มดำเนินการสำรวจ และ พ.ศ. 2560 จะดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิทอง และฐานชุกชีในพระอุโบสถ เพื่อธำรงไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)