วัดนางนอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “บางนางนอง” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์ และสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อ พ.ศ. 2375 เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัด เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีของพระองค์
การบูรณปฏิสังขรณ์ใช้เวลาราว 10 ปีจึงแล้วเสร็จ และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง โดย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ. 2384
วัดนางนองมีความงดงามในรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ผสมผสานศิลปะจีน ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3
พระอารามแห่งนี้มีสิ่งสำคัญที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่
• พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบลายดอกไม้ร่วง บานประตูเป็นภาพเขียนประดับมุกลายมงคลของจีน
ภายในพระอุโบสถมีงานจิตรกรรมที่สวยสดงดงามมาก ที่ผนังพระอุโบสถส่วนบนเหนือกรอบหน้าต่างทุกด้าน เขียนเรื่องราวในพุทธประวัติตอนชมพูบดีสูตร ที่ผนังหลังพระประธานเขียนรูปพระจักรพรรรดิราช ส่วนที่บานแผละของประตูหน้าต่างเป็นภาพเครื่องราชูปโภค เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องยศ เครื่องสิริมงคล เครื่องศัตราวุธ และเครื่องดนตรี อันเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งรัตนะทั้งเจ็ดแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ตามคติพระพุทธศาสนาเถรวาท อันประกอบด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว นางแก้ว จักรแก้ว และดวงแก้ว ซึ่งเป็นสมบัติอันประเสริฐที่จะเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น และที่ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพเรื่องสามก๊ก และระหว่างบานประตูหน้าพระอุโสถเป็นภาพฮก ลก ซิ่ว
อาจกล่าวได้ว่า รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ในการสถาปนาอุโบสถวัดนางนอง ให้เป็นพระอุโบสถที่แสดงถึงคติแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยกลวิธีการออกแบบเรื่องราวภายในพระอุโบสถ ผูกเล่าเรื่องราวคติพระจักรพรรดิราช สัมพันธ์กันระหว่างองค์พระพุทธรูปประธาน และงานประดับภายในพระอุโบสถ โดยภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระเจ้าชมพูบดี กษัตริย์ที่มีบุญญาธิการมาก ไม่มีกษัตริย์พระนครใดใกล้เคียงจะหาญเข้ามาต่อต้านได้ รวมทั้งการประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นด้วย
• พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง ทรงเครื่องกษัตริย์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติเมตร มีนามว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” เครื่องทรงที่ประดับทุกชิ้น หล่อแยกออกจากองค์พระ และนำมาสวมทับไว้
สำหรับมงกุฎของพระประธานวัดนางนององค์ที่สวมอยู่นี้ เป็นองค์ที่ 2 กล่าวกันว่าเมื่อแรกสร้างมีความวิจิตรงดงามมาก กระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้อัญเชิญไปประดิษฐานบนยอดนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณ ดังนั้น จึงต้องหล่อมงกุฎขึ้นใหม่เพื่อถวายคืน
• พระวิหารคู่ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีพาไลล้อมรอบ ไม่มีเครื่องลำยอง ประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายจีน พระวิหารด้านทิศเหนือ เรียกกันว่า “วิหารหลวงพ่อผุด” สันนิษฐานว่า พระวิหารหลังนี้ เดิมน่าจะเป็นพระอุโบสถหลังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานในอุโบสถเดิมนั้น ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อผาด” เพื่อคล้องกับหลวงพ่อผุด ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินทรายจมดินอยู่ เล่ากันว่า สายฟ้าฟาดลงบริเวณที่องค์พระจมอยู่ ดินจึงเกิดรอยแยก มองเห็นพระพุทธรูป ชาวบ้านจึงเรียกว่าหลวงพ่อผุด ประดิษฐานอยู่หน้าหลวงพ่อผาด พระประธานองค์เดิม
ส่วนพระวิหารด้านทิศใต้ ภายในประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ และเป็นเก็บรักษาพระพุทธรูปจำนวนมาก
• พระปรางค์คู่ ตั้งอยู่หลังวิหารทั้ง 2 หลัง เป็นปรางค์ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ อยู่ในผังหกเหลี่ยม และยกเก็จขึ้นมาบริเวณซุ้มจรนำ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ ฐานปรางค์คร่อมอยู่บนกำแพงแก้ว
• พระเจดีย์ประธาน ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงเครื่องขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณซึ่งเป็นฐานสิงห์ ย่อมุมไม้ยี่สิบ มีทางขึ้นด้านหน้า ซึ่งมีแผงกั้นทางขึ้นเป็นซุ้มทรงฝรั่ง ประดับกระเบื้องปรุลายจีน
• กุฏิยอดเจดีย์ เป็นอาคารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในกำแพงแก้ววิหารด้านทิศใต้ อยู่ในผังกลมเจาะประตู ยอดแหลม และช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมโดยรอบ ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงเครื่องในผังแปดเหลี่ยม จุดประสงค์ของการออกแบบคล้ายคลึงกับการสร้างกุฏิวิปัสสนาสำหรับพระสงฆ์ เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยมีขนาดเล็กมาก พอดีสำหรับคนเพียงคนเดียว
• อาคารทรงกุฏิ เป็นอาคารในผังกลม หลังคาลาดสอบขึ้นคล้ายกระโจม สร้างขึ้นตามแบบฝรั่งผสมจีน เชื่อว่าอาจเป็นกุฏิวิปัสสนาสำหรับพระสงฆ์
พระอารามหลวงแห่งนี้ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครา เพื่อมิให้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และล่าสุด สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับวัดนางนอง ได้จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาอีกครั้ง โดยใน พ.ศ. 2559 จะดำเนินการสำรวจและจัดทำแผนงาน ก่อนเริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไป
ด้วยหวังว่าจะร่วมกันรักษาพระอารามหลวงแห่งนี้ ให้เป็นมรดกสำคัญและดำรงไว้ซึ่งคติแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ สืบไปอีกนานแสนนาน
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)
เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “บางนางนอง” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์ และสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อ พ.ศ. 2375 เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัด เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีของพระองค์
การบูรณปฏิสังขรณ์ใช้เวลาราว 10 ปีจึงแล้วเสร็จ และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง โดย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ. 2384
วัดนางนองมีความงดงามในรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ผสมผสานศิลปะจีน ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3
พระอารามแห่งนี้มีสิ่งสำคัญที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่
• พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบลายดอกไม้ร่วง บานประตูเป็นภาพเขียนประดับมุกลายมงคลของจีน
ภายในพระอุโบสถมีงานจิตรกรรมที่สวยสดงดงามมาก ที่ผนังพระอุโบสถส่วนบนเหนือกรอบหน้าต่างทุกด้าน เขียนเรื่องราวในพุทธประวัติตอนชมพูบดีสูตร ที่ผนังหลังพระประธานเขียนรูปพระจักรพรรรดิราช ส่วนที่บานแผละของประตูหน้าต่างเป็นภาพเครื่องราชูปโภค เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องยศ เครื่องสิริมงคล เครื่องศัตราวุธ และเครื่องดนตรี อันเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งรัตนะทั้งเจ็ดแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ตามคติพระพุทธศาสนาเถรวาท อันประกอบด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว นางแก้ว จักรแก้ว และดวงแก้ว ซึ่งเป็นสมบัติอันประเสริฐที่จะเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น และที่ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพเรื่องสามก๊ก และระหว่างบานประตูหน้าพระอุโสถเป็นภาพฮก ลก ซิ่ว
อาจกล่าวได้ว่า รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ในการสถาปนาอุโบสถวัดนางนอง ให้เป็นพระอุโบสถที่แสดงถึงคติแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยกลวิธีการออกแบบเรื่องราวภายในพระอุโบสถ ผูกเล่าเรื่องราวคติพระจักรพรรดิราช สัมพันธ์กันระหว่างองค์พระพุทธรูปประธาน และงานประดับภายในพระอุโบสถ โดยภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระเจ้าชมพูบดี กษัตริย์ที่มีบุญญาธิการมาก ไม่มีกษัตริย์พระนครใดใกล้เคียงจะหาญเข้ามาต่อต้านได้ รวมทั้งการประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นด้วย
• พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง ทรงเครื่องกษัตริย์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติเมตร มีนามว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” เครื่องทรงที่ประดับทุกชิ้น หล่อแยกออกจากองค์พระ และนำมาสวมทับไว้
สำหรับมงกุฎของพระประธานวัดนางนององค์ที่สวมอยู่นี้ เป็นองค์ที่ 2 กล่าวกันว่าเมื่อแรกสร้างมีความวิจิตรงดงามมาก กระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้อัญเชิญไปประดิษฐานบนยอดนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณ ดังนั้น จึงต้องหล่อมงกุฎขึ้นใหม่เพื่อถวายคืน
• พระวิหารคู่ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีพาไลล้อมรอบ ไม่มีเครื่องลำยอง ประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลวดลายจีน พระวิหารด้านทิศเหนือ เรียกกันว่า “วิหารหลวงพ่อผุด” สันนิษฐานว่า พระวิหารหลังนี้ เดิมน่าจะเป็นพระอุโบสถหลังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานในอุโบสถเดิมนั้น ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อผาด” เพื่อคล้องกับหลวงพ่อผุด ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินทรายจมดินอยู่ เล่ากันว่า สายฟ้าฟาดลงบริเวณที่องค์พระจมอยู่ ดินจึงเกิดรอยแยก มองเห็นพระพุทธรูป ชาวบ้านจึงเรียกว่าหลวงพ่อผุด ประดิษฐานอยู่หน้าหลวงพ่อผาด พระประธานองค์เดิม
ส่วนพระวิหารด้านทิศใต้ ภายในประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ และเป็นเก็บรักษาพระพุทธรูปจำนวนมาก
• พระปรางค์คู่ ตั้งอยู่หลังวิหารทั้ง 2 หลัง เป็นปรางค์ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ อยู่ในผังหกเหลี่ยม และยกเก็จขึ้นมาบริเวณซุ้มจรนำ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ ฐานปรางค์คร่อมอยู่บนกำแพงแก้ว
• พระเจดีย์ประธาน ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงเครื่องขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณซึ่งเป็นฐานสิงห์ ย่อมุมไม้ยี่สิบ มีทางขึ้นด้านหน้า ซึ่งมีแผงกั้นทางขึ้นเป็นซุ้มทรงฝรั่ง ประดับกระเบื้องปรุลายจีน
• กุฏิยอดเจดีย์ เป็นอาคารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในกำแพงแก้ววิหารด้านทิศใต้ อยู่ในผังกลมเจาะประตู ยอดแหลม และช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมโดยรอบ ด้านบนเป็นเจดีย์ทรงเครื่องในผังแปดเหลี่ยม จุดประสงค์ของการออกแบบคล้ายคลึงกับการสร้างกุฏิวิปัสสนาสำหรับพระสงฆ์ เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยมีขนาดเล็กมาก พอดีสำหรับคนเพียงคนเดียว
• อาคารทรงกุฏิ เป็นอาคารในผังกลม หลังคาลาดสอบขึ้นคล้ายกระโจม สร้างขึ้นตามแบบฝรั่งผสมจีน เชื่อว่าอาจเป็นกุฏิวิปัสสนาสำหรับพระสงฆ์
พระอารามหลวงแห่งนี้ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครา เพื่อมิให้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และล่าสุด สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับวัดนางนอง ได้จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาอีกครั้ง โดยใน พ.ศ. 2559 จะดำเนินการสำรวจและจัดทำแผนงาน ก่อนเริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไป
ด้วยหวังว่าจะร่วมกันรักษาพระอารามหลวงแห่งนี้ ให้เป็นมรดกสำคัญและดำรงไว้ซึ่งคติแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ สืบไปอีกนานแสนนาน
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)