มีคำกล่าวว่า “เส้นทางชีวิตของคนเรา ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป” เฉกเช่นรถยนต์ที่แล่นบนท้องถนน ซึ่งไม่ได้ราบเรียบตลอดเส้นทาง บางช่วงบางตอนอาจขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้รถสั่นสะเทือน ขณะที่ทิวทัศน์สองข้างทางมีทั้งสวยสดงดงามและแห้งแล้ง สลับสับเปลี่ยนกันไป
เส้นทางชีวิตคนเราก็เช่นกัน ต้องมีสุขและทุกข์ปะปนกันไป เมื่อมีสิ่งดีๆผ่านเข้ามา จงอ้าแขนรับอย่างเป็นสุข แต่หากมีวิกฤตร้ายมาเยือน จงตั้งสติและหาทางออก เพื่อให้ทุกอย่างคลี่คลายไปด้วยดี
1. วิกฤต 2 วัย
วิกฤตใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตเรามีอยู่ 2 ช่วง คือ วิกฤตวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ช่วงอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการค้นหาความหมายของชีวิต ว่าจะเลือกเดินทางใด จะใช้ชีวิตตามปรารถนาได้อย่างไร และไม่มั่นใจในอนาคต จึงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งความเครียด สับสน เบื่อหน่ายในชีวิต
แต่เมื่อถึงช่วงอายุ 40-50 ปี ก็จะเกิดวิกฤตวัยกลางคน อันเป็นช่วงเวลาที่ได้คิดทบทวนหรือประเมินชีวิตของตัวเองอย่างจริงจัง เพราะรู้ดีว่า เหลือเวลาในการใช้ชีวิตอีกไม่นาน เกิดความกลัวว่าจะจัดการกับชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างไร จึงจะมีความสุข
วิกฤตในช่วงวัยทั้งสอง อาจจะนำความกลัวและความเครียดมาให้ แต่การจะผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดีนั้น ต้องเข้าใจสัจธรรมที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของโลก ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเข้าใจเช่นนี้ก็จะทำให้มีสติ ไม่กลัว และพร้อมที่จะก้าวไปด้วยกันกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
2. เลิกราหรือหย่าร้าง
การเลิกราหรือหย่าร้างไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนสองคนที่ไม่อาจใช้ชีวิตร่วมทางกันต่อไปได้ คนที่ผ่านการเลิกราหรือหย่าร้างมาใหม่ๆ ไม่ควรกล่าวโทษตัวเองหรืออีกฝ่าย หรือจมอยู่กับความเศร้าโศกนานเกินไป
มีคำกล่าวของฝรั่งว่า “When you lose the one you love, you just lose someone. When you lose yourself, you lose everything. หากคุณสูญเสียคนที่คุณรัก คุณก็แค่สูญเสียบางคนจากชีวิต แต่หากคุณสูญเสียความเป็นตัวเอง คุณจะสูญเสียทุกอย่าง”
เพราะฉะนั้น จงเปลี่ยนความเจ็บปวดร้าวให้เป็นแรงผลักดันที่จะทำสิ่งดีๆในชีวิต เช่น ทำงานมากขึ้น ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว เข้าวัดปฏิบัติธรรม ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเยียวยาจิตใจให้เข้มแข็งขึ้นได้ในไม่ช้า
3. ความผิดพลาดล้มเหลว
ความผิดพลาดล้มเหลวเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดเล็กๆน้อย เช่น ทำงานบกพร่อง ไปจนถึงความล้มเหลวใหญ่ๆ เช่น เรียนไม่จบ หรือธุรกิจพังทลาย
เพราะความผิดพลาดล้มเหลวจะทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองหมดไป มีความกลัวเข้ามาแทนที่ ไม่กล้าทำอะไรอีกเลย จนทำให้สูญเสียโอกาสดีๆที่เข้ามาในชีวิต
เมื่อเกิดความล้มเหลวใดๆ ในชีวิต จงคิดว่า ในโลกนี้ทุกคนก็เคยผิดพลาดกันมาแล้ว เพราะคนไม่เคยทำอะไรผิด คือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
ขอให้นำความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน เพื่อให้เกิดความระมัดระวังมากขึ้น เพราะแท้จริงแล้ว ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั่นเอง
4. ตกงาน
การถูกให้ออกจากงาน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ถือเป็นฝันร้ายอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานประจำ ยิ่งเมื่อไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน แถมยังมีภาระดูแลครอบครัว หรือมีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ ก็จะยิ่งทำให้รู้สึกย่ำแย่ เครียดหนัก ไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี
คนที่หางานใหม่ได้เร็ว อาจรู้สึกกังวลแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนคนที่ยังตกงาน อาจรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ และนานวันเข้า อาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าได้
ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำเมื่อต้องออกจากงาน คือ อย่าเสียสติ แต่จงตั้งสติเตรียมรับมือ ด้วยการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หางานพิเศษทำ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อช่วยต่อยอดในการหางานใหม่ หรือจะลงมือทำธุรกิจเล็กๆเป็นของตัวเองก็ยิ่งดี
5. เจ็บป่วย
ยามที่โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียน เป็นห้วงเวลาที่ยากลำบาก แค่ปวดหัวตัวร้อน ก็ทำให้ร่างกายไม่ปกติ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึ่งทำให้เราเครียดและเป็นทุกข์แล้ว แต่หากเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่านี้ เชื่อว่าความทุกข์จะยิ่งทวีคูณ
หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เคยสอนไว้ว่า “...เมื่อร่างกายต้องเจ็บไข้ขึ้นมา พึงพยายามทำจิตใจให้แช่มชื่นเข้มแข็ง และรู้เท่าทันความจริง เพื่อจะได้มีกำลังใจไว้ต่อสู้ต้านทานความเจ็บไข้ทางร่างกาย ตามหลักที่ว่า 'ป่วยแต่ร่างกาย จิตใจไม่ป่วยด้วย' ก็จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานภายในขึ้นทางหนึ่ง
พร้อมกันนั้นก็ถือเอาภาวะที่ร่างกายเจ็บไข้และเป็นทุกข์นี้ เป็นเหตุและอุปกรณ์ในการศึกษาธรรมให้เข้าใจความจริง โดยธรรมชาติที่แสดงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เกิดสติปัญญาและความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจต่างๆ…
โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในร่างกายนั้น ถ้าเราใจดี ใจสงบ มันจะหายไว แต่ถ้าใจมีความวิตกกังวลทุกข์ร้อนเรื่องอะไรต่างๆ โรคมันจะหนักลงไป”
6. สูญเสียคนรัก
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสังสารวัฏที่ไม่มีใครหนีพ้น โดยเฉพาะความตาย ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ การต้องสูญเสียคนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย หรือแม้แต่คนรู้จัก ย่อมนำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจ เพราะการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากคนที่เรารักนั้น นับเป็นประสบการณ์เลวร้ายอย่างหนึ่งในชีวิต
แต่คนที่ยังมีลมหายใจก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป ด้วยการยอมรับความเป็นจริง แล้วทำงานของคนที่จากไปให้สำเร็จ เช่น ดูแลลูกให้ดีที่สุด หรือการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่ผู้จากไปได้ทำค้างไว้ ซึ่งจะช่วยให้จิตใจดีขึ้น มีความสุขขึ้น เพราะได้สานฝันให้คนที่เรารักนั่นเอง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบะบที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย ประกายรุ้ง)
เส้นทางชีวิตคนเราก็เช่นกัน ต้องมีสุขและทุกข์ปะปนกันไป เมื่อมีสิ่งดีๆผ่านเข้ามา จงอ้าแขนรับอย่างเป็นสุข แต่หากมีวิกฤตร้ายมาเยือน จงตั้งสติและหาทางออก เพื่อให้ทุกอย่างคลี่คลายไปด้วยดี
1. วิกฤต 2 วัย
วิกฤตใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตเรามีอยู่ 2 ช่วง คือ วิกฤตวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ช่วงอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการค้นหาความหมายของชีวิต ว่าจะเลือกเดินทางใด จะใช้ชีวิตตามปรารถนาได้อย่างไร และไม่มั่นใจในอนาคต จึงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งความเครียด สับสน เบื่อหน่ายในชีวิต
แต่เมื่อถึงช่วงอายุ 40-50 ปี ก็จะเกิดวิกฤตวัยกลางคน อันเป็นช่วงเวลาที่ได้คิดทบทวนหรือประเมินชีวิตของตัวเองอย่างจริงจัง เพราะรู้ดีว่า เหลือเวลาในการใช้ชีวิตอีกไม่นาน เกิดความกลัวว่าจะจัดการกับชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างไร จึงจะมีความสุข
วิกฤตในช่วงวัยทั้งสอง อาจจะนำความกลัวและความเครียดมาให้ แต่การจะผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดีนั้น ต้องเข้าใจสัจธรรมที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของโลก ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเข้าใจเช่นนี้ก็จะทำให้มีสติ ไม่กลัว และพร้อมที่จะก้าวไปด้วยกันกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
2. เลิกราหรือหย่าร้าง
การเลิกราหรือหย่าร้างไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนสองคนที่ไม่อาจใช้ชีวิตร่วมทางกันต่อไปได้ คนที่ผ่านการเลิกราหรือหย่าร้างมาใหม่ๆ ไม่ควรกล่าวโทษตัวเองหรืออีกฝ่าย หรือจมอยู่กับความเศร้าโศกนานเกินไป
มีคำกล่าวของฝรั่งว่า “When you lose the one you love, you just lose someone. When you lose yourself, you lose everything. หากคุณสูญเสียคนที่คุณรัก คุณก็แค่สูญเสียบางคนจากชีวิต แต่หากคุณสูญเสียความเป็นตัวเอง คุณจะสูญเสียทุกอย่าง”
เพราะฉะนั้น จงเปลี่ยนความเจ็บปวดร้าวให้เป็นแรงผลักดันที่จะทำสิ่งดีๆในชีวิต เช่น ทำงานมากขึ้น ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว เข้าวัดปฏิบัติธรรม ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเยียวยาจิตใจให้เข้มแข็งขึ้นได้ในไม่ช้า
3. ความผิดพลาดล้มเหลว
ความผิดพลาดล้มเหลวเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดเล็กๆน้อย เช่น ทำงานบกพร่อง ไปจนถึงความล้มเหลวใหญ่ๆ เช่น เรียนไม่จบ หรือธุรกิจพังทลาย
เพราะความผิดพลาดล้มเหลวจะทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองหมดไป มีความกลัวเข้ามาแทนที่ ไม่กล้าทำอะไรอีกเลย จนทำให้สูญเสียโอกาสดีๆที่เข้ามาในชีวิต
เมื่อเกิดความล้มเหลวใดๆ ในชีวิต จงคิดว่า ในโลกนี้ทุกคนก็เคยผิดพลาดกันมาแล้ว เพราะคนไม่เคยทำอะไรผิด คือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
ขอให้นำความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน เพื่อให้เกิดความระมัดระวังมากขึ้น เพราะแท้จริงแล้ว ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั่นเอง
4. ตกงาน
การถูกให้ออกจากงาน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ถือเป็นฝันร้ายอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานประจำ ยิ่งเมื่อไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน แถมยังมีภาระดูแลครอบครัว หรือมีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ ก็จะยิ่งทำให้รู้สึกย่ำแย่ เครียดหนัก ไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี
คนที่หางานใหม่ได้เร็ว อาจรู้สึกกังวลแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนคนที่ยังตกงาน อาจรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ และนานวันเข้า อาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าได้
ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำเมื่อต้องออกจากงาน คือ อย่าเสียสติ แต่จงตั้งสติเตรียมรับมือ ด้วยการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หางานพิเศษทำ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อช่วยต่อยอดในการหางานใหม่ หรือจะลงมือทำธุรกิจเล็กๆเป็นของตัวเองก็ยิ่งดี
5. เจ็บป่วย
ยามที่โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียน เป็นห้วงเวลาที่ยากลำบาก แค่ปวดหัวตัวร้อน ก็ทำให้ร่างกายไม่ปกติ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึ่งทำให้เราเครียดและเป็นทุกข์แล้ว แต่หากเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่านี้ เชื่อว่าความทุกข์จะยิ่งทวีคูณ
หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษดิ์ เคยสอนไว้ว่า “...เมื่อร่างกายต้องเจ็บไข้ขึ้นมา พึงพยายามทำจิตใจให้แช่มชื่นเข้มแข็ง และรู้เท่าทันความจริง เพื่อจะได้มีกำลังใจไว้ต่อสู้ต้านทานความเจ็บไข้ทางร่างกาย ตามหลักที่ว่า 'ป่วยแต่ร่างกาย จิตใจไม่ป่วยด้วย' ก็จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานภายในขึ้นทางหนึ่ง
พร้อมกันนั้นก็ถือเอาภาวะที่ร่างกายเจ็บไข้และเป็นทุกข์นี้ เป็นเหตุและอุปกรณ์ในการศึกษาธรรมให้เข้าใจความจริง โดยธรรมชาติที่แสดงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เกิดสติปัญญาและความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจต่างๆ…
โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในร่างกายนั้น ถ้าเราใจดี ใจสงบ มันจะหายไว แต่ถ้าใจมีความวิตกกังวลทุกข์ร้อนเรื่องอะไรต่างๆ โรคมันจะหนักลงไป”
6. สูญเสียคนรัก
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสังสารวัฏที่ไม่มีใครหนีพ้น โดยเฉพาะความตาย ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ การต้องสูญเสียคนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย หรือแม้แต่คนรู้จัก ย่อมนำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจ เพราะการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากคนที่เรารักนั้น นับเป็นประสบการณ์เลวร้ายอย่างหนึ่งในชีวิต
แต่คนที่ยังมีลมหายใจก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป ด้วยการยอมรับความเป็นจริง แล้วทำงานของคนที่จากไปให้สำเร็จ เช่น ดูแลลูกให้ดีที่สุด หรือการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่ผู้จากไปได้ทำค้างไว้ ซึ่งจะช่วยให้จิตใจดีขึ้น มีความสุขขึ้น เพราะได้สานฝันให้คนที่เรารักนั่นเอง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบะบที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย ประกายรุ้ง)