แม้การนั่งจะดูเหมือนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะไม่ได้ไปเดิน วิ่ง หรือกระโดดโลดเต้น ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า การนั่งก็มีอันตรายเช่นกัน หากนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะมีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่า การนั่งนานๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า “ยิ่งนั่งนาน ยิ่งอายุสั้น” ด้วยปัจจัยเสี่ยงตายต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. สมองทำงานช้าลง
เมื่อร่างกายอยู่นิ่งเป็นเวลานานๆ เลือดและออกซิเจนจะไหลเวียนผ่านสมองน้อยลง ส่งผลให้สมองทำงานช้าลง คนที่นั่งนานๆจึงรู้สึกสมองตื้อ เฉื่อยชา
ขณะที่การขยับร่างกายจะนำพาเลือดและออกซิเจนไปยังสมองเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเคมีที่ควบคุมการทำงานของสมองและสภาพอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น
2. ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง
บ่อยครั้งคนที่ชอบนั่งนานๆ มักนั่งไปกินไป ซึ่งการนั่งหลังกินอาหารเสร็จ บริเวณช่องท้องจะถูกบีบอัด ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องผูก จุกแน่นแสบร้อนหน้าอก ท้องอืด เป็นตะคริว และภาวะขาดสมดุลของแบคทีเรียที่ดีในทางเดินอาหาร หรือหากทำจนเป็นนิสัย อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
3. อวัยวะภายในเสี่ยงอันตราย
- หัวใจ: การนั่งทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง และกล้ามเนื้อเผาผลาญไขมันได้น้อยลง ส่งผลให้กรดไขมันอุดตันหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยงานวิจัยเผยว่า ผู้หญิงที่นั่งวันละ 10 ชั่วโมงหรือมากกว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจ มากกว่าผู้หญิงที่นั่งวันละ 5 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า
- ตับอ่อน : ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล แต่ร่างกายจะตอบสนองอินซูลินได้ไม่ดีเมื่อนั่งนานเกินไป การนั่งนานๆแค่เพียงวันเดียว ก็เป็นเหตุให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และอาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในที่สุด
- ลำไส้ใหญ่ : การนั่งนานๆอาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ เต้านม และเยื่อบุโพรงมดลูก แม้กระบวนการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินมากเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์เจริญเติบโต แต่ข้อเท็จจริงก็คือ การเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอจะกระตุ้นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ให้คอยกำจัดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดมะเร็ง
4. คอและไหล่ตึง
- คอและไหล่ตึง : ปกติเวลานั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือหนีบโทรศัพท์แนบหูขณะใช้คอมพิวเตอร์ เรามักเอนคอและศีรษะไปด้านหน้า ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอตึงตัวและเสียสมดุลถาวร อันอาจเป็นสาเหตุของอาการตึงบริเวณลำคอ ไหล่และเจ็บหลัง
- ปวดหลัง : การนั่งสร้างแรงกดที่กระดูกสันหลังมากกว่าการยืน และสุขภาพแผ่นหลังจะยิ่งแย่หากคุณนั่งหลังค่อมหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
5.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- หมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลัง : จะยืดและหดในขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้ดูดซึมเลือดและสารอาหารได้ แต่เมื่อคุณนั่ง หมอนรองกระดูกจะถูกบีบอัดและสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การนั่งนานๆ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
- กระดูกสันหลังคด : ขณะยืน กล้ามเนื้อหน้าท้องจะเกร็งเพื่อให้ตัวตรง แต่เมื่อนั่งลง กล้ามเนื้อหน้าท้องจะไม่ถูกใช้งาน แต่จะเกิดแรงกดที่กระดูกสันหลัง ซึ่งหากนั่งตัวงอเป็นเวลานานๆ จะทำให้กระดูกสันหลังคดในที่สุด
6. กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ
- กล้ามเนื้อช่องท้องอ่อนแอ : ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า การยืนต้องอาศัยการเกร็งกล้ามเนื้อช่องท้อง แต่การนั่งกล้ามเนื้อหน้าท้องจะไม่ถูกใช้งาน และเมื่อนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อช่องท้องอ่อนแอ
- สะโพกตึง : การนั่งนานเกินไปทำให้เจ็บสะโพก โดยมีอาการตึงและขยับไม่ค่อยได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหดและตึงขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวสะโพกลำบากนี่เอง ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ง่าย
- กล้ามเนื้อก้นอ่อนแรง : การนั่งทำให้กล้ามเนื้อก้นไม่ได้เคลื่อนไหว และเมื่อนั่งเป็นเวลานานๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อก้นอ่อนแรง ส่งผลให้ทรงตัวได้ไม่ดีเมื่อลุกขึ้นยืน หรือก้าวย่างขณะเดินและกระโดด
7. ขาผิดปกติ
“ใช้ขาเสียบ้าง ก่อนที่ไม่มีขาจะให้ใช้” เพราะการนั่งนานๆทั้งวัน ขาอาจบอกลา เพราะไม่อาจพาเจ้าของเดินได้อีกต่อไป
- เส้นเลือดขอด : การนั่งเป็นสาเหตุให้เลือดไหลเวียนที่ขาทั้งสองข้างไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ข้อเท้าบวม เส้นเลือดขอด และเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ
- กระดูกเปราะบาง : การเดิน วิ่ง และออกกำลังแบบลงน้ำหนัก ทำให้กระดูกแข็งแรง หนาแน่น การนั่งนานๆ ไม่ขยับเขยื้อน อาจทำให้กระดูกเปราะบาง ในกรณีเลวร้ายอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน ที่ทำให้ขาโก่งงอได้
• วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากการนั่งนานๆ
1. เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ จะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น
2. จอดรถให้ห่าง และเดินไปยังจุดหมาย
3. ในที่ทำงาน จงเดินไปพูดธุระกับเพื่อนร่วมงานแทนการส่งอีเมล
4. นั่งเก้าอี้ที่ไม่มีที่เท้าแขน ซึ่งจะบังคับให้คุณต้องนั่งตัวตรง
5. ตั้งนาฬิกาเตือนให้ต้องลุกขึ้นเดินไปมาอย่างน้อย 10 นาที ทุกๆชั่วโมง เพื่อยืดเหยียดขา
6. ยืดเหยียดร่างกายบ่อยๆ หรือเวลานั่งทำงาน ให้ยกเท้าขึ้นสูงเล็กน้อยแทนการวางบนที่พักเท้า
7. ยืนคุยโทรศัพท์ หรือยืนทานอาหารกลางวันในร้านจานด่วน
8. ขณะนั่งดูโทรทัศน์ เมื่อถึงช่วงพักโฆษณา ให้ลุกขึ้นเดินไปมา หรือลุกขึ้นเดินทุกๆ 1 ชม.
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย เบญญา)
1. สมองทำงานช้าลง
เมื่อร่างกายอยู่นิ่งเป็นเวลานานๆ เลือดและออกซิเจนจะไหลเวียนผ่านสมองน้อยลง ส่งผลให้สมองทำงานช้าลง คนที่นั่งนานๆจึงรู้สึกสมองตื้อ เฉื่อยชา
ขณะที่การขยับร่างกายจะนำพาเลือดและออกซิเจนไปยังสมองเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเคมีที่ควบคุมการทำงานของสมองและสภาพอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น
2. ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง
บ่อยครั้งคนที่ชอบนั่งนานๆ มักนั่งไปกินไป ซึ่งการนั่งหลังกินอาหารเสร็จ บริเวณช่องท้องจะถูกบีบอัด ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องผูก จุกแน่นแสบร้อนหน้าอก ท้องอืด เป็นตะคริว และภาวะขาดสมดุลของแบคทีเรียที่ดีในทางเดินอาหาร หรือหากทำจนเป็นนิสัย อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
3. อวัยวะภายในเสี่ยงอันตราย
- หัวใจ: การนั่งทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง และกล้ามเนื้อเผาผลาญไขมันได้น้อยลง ส่งผลให้กรดไขมันอุดตันหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยงานวิจัยเผยว่า ผู้หญิงที่นั่งวันละ 10 ชั่วโมงหรือมากกว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจ มากกว่าผู้หญิงที่นั่งวันละ 5 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า
- ตับอ่อน : ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล แต่ร่างกายจะตอบสนองอินซูลินได้ไม่ดีเมื่อนั่งนานเกินไป การนั่งนานๆแค่เพียงวันเดียว ก็เป็นเหตุให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และอาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในที่สุด
- ลำไส้ใหญ่ : การนั่งนานๆอาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ เต้านม และเยื่อบุโพรงมดลูก แม้กระบวนการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินมากเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์เจริญเติบโต แต่ข้อเท็จจริงก็คือ การเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอจะกระตุ้นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ให้คอยกำจัดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดมะเร็ง
4. คอและไหล่ตึง
- คอและไหล่ตึง : ปกติเวลานั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือหนีบโทรศัพท์แนบหูขณะใช้คอมพิวเตอร์ เรามักเอนคอและศีรษะไปด้านหน้า ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอตึงตัวและเสียสมดุลถาวร อันอาจเป็นสาเหตุของอาการตึงบริเวณลำคอ ไหล่และเจ็บหลัง
- ปวดหลัง : การนั่งสร้างแรงกดที่กระดูกสันหลังมากกว่าการยืน และสุขภาพแผ่นหลังจะยิ่งแย่หากคุณนั่งหลังค่อมหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
5.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- หมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลัง : จะยืดและหดในขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้ดูดซึมเลือดและสารอาหารได้ แต่เมื่อคุณนั่ง หมอนรองกระดูกจะถูกบีบอัดและสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การนั่งนานๆ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
- กระดูกสันหลังคด : ขณะยืน กล้ามเนื้อหน้าท้องจะเกร็งเพื่อให้ตัวตรง แต่เมื่อนั่งลง กล้ามเนื้อหน้าท้องจะไม่ถูกใช้งาน แต่จะเกิดแรงกดที่กระดูกสันหลัง ซึ่งหากนั่งตัวงอเป็นเวลานานๆ จะทำให้กระดูกสันหลังคดในที่สุด
6. กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ
- กล้ามเนื้อช่องท้องอ่อนแอ : ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า การยืนต้องอาศัยการเกร็งกล้ามเนื้อช่องท้อง แต่การนั่งกล้ามเนื้อหน้าท้องจะไม่ถูกใช้งาน และเมื่อนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อช่องท้องอ่อนแอ
- สะโพกตึง : การนั่งนานเกินไปทำให้เจ็บสะโพก โดยมีอาการตึงและขยับไม่ค่อยได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหดและตึงขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวสะโพกลำบากนี่เอง ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ง่าย
- กล้ามเนื้อก้นอ่อนแรง : การนั่งทำให้กล้ามเนื้อก้นไม่ได้เคลื่อนไหว และเมื่อนั่งเป็นเวลานานๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อก้นอ่อนแรง ส่งผลให้ทรงตัวได้ไม่ดีเมื่อลุกขึ้นยืน หรือก้าวย่างขณะเดินและกระโดด
7. ขาผิดปกติ
“ใช้ขาเสียบ้าง ก่อนที่ไม่มีขาจะให้ใช้” เพราะการนั่งนานๆทั้งวัน ขาอาจบอกลา เพราะไม่อาจพาเจ้าของเดินได้อีกต่อไป
- เส้นเลือดขอด : การนั่งเป็นสาเหตุให้เลือดไหลเวียนที่ขาทั้งสองข้างไม่ดี ซึ่งอาจทำให้ข้อเท้าบวม เส้นเลือดขอด และเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ
- กระดูกเปราะบาง : การเดิน วิ่ง และออกกำลังแบบลงน้ำหนัก ทำให้กระดูกแข็งแรง หนาแน่น การนั่งนานๆ ไม่ขยับเขยื้อน อาจทำให้กระดูกเปราะบาง ในกรณีเลวร้ายอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน ที่ทำให้ขาโก่งงอได้
• วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากการนั่งนานๆ
1. เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ จะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น
2. จอดรถให้ห่าง และเดินไปยังจุดหมาย
3. ในที่ทำงาน จงเดินไปพูดธุระกับเพื่อนร่วมงานแทนการส่งอีเมล
4. นั่งเก้าอี้ที่ไม่มีที่เท้าแขน ซึ่งจะบังคับให้คุณต้องนั่งตัวตรง
5. ตั้งนาฬิกาเตือนให้ต้องลุกขึ้นเดินไปมาอย่างน้อย 10 นาที ทุกๆชั่วโมง เพื่อยืดเหยียดขา
6. ยืดเหยียดร่างกายบ่อยๆ หรือเวลานั่งทำงาน ให้ยกเท้าขึ้นสูงเล็กน้อยแทนการวางบนที่พักเท้า
7. ยืนคุยโทรศัพท์ หรือยืนทานอาหารกลางวันในร้านจานด่วน
8. ขณะนั่งดูโทรทัศน์ เมื่อถึงช่วงพักโฆษณา ให้ลุกขึ้นเดินไปมา หรือลุกขึ้นเดินทุกๆ 1 ชม.
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย เบญญา)