อาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับร่างกายหรือจิตใจ ไม่จำเป็นว่า ต้องมีสิ่งผิดปกติอย่างรุนแรงเกิดขึ้นกับเราเสมอไป แต่ยังมีอาการเจ็บป่วยบางอย่างที่ไม่ควรมองข้าม และมีอันตรายมาก ซึ่งต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนี้
1. แขนขาอ่อนแรง
ถ้ารู้สึกอ่อนแรงหรือชาที่แขน ขา หรือใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง หรือมีอาการเดินเซ ทรงตัวไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง
หรือหากเกิดอาการเหล่านี้ฉับพลัน อาทิ ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ปวดศีรษะรุนแรง มึนงง พูดไม่ชัด หรือรู้สึกสับสน ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะเมื่อวินิจฉัยได้ทันท่วงที และได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมงภายหลังเกิดอาการครั้งแรก ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะพิการในระยะยาวจากโรคหลอดเลือดสมองได้
2. เจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออก แน่นหน้าอก หายใจหอบ หรือคลื่นไส้ ร่วมด้วย ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทันที เนื่องจากอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกที่คุณรู้สึกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดหลังการออกแรง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจวาย อีกทั้งยังอาจหมายถึงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
ดังนั้น เมื่อรู้สึกแน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรมากดทับที่อก นานเกิน 2-3 นาที หรือเป็นๆหายๆ อย่าทนเจ็บ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
3. หายใจหอบ
ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ควรได้รับการรักษาในทันที เมื่อหายใจหอบ หรือได้ยินเสียงวี๊ดๆขณะหายใจ อย่ารีรอที่จะพบแพทย์ เพราะถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ในไม่ช้าคุณจะหายใจลำบากขึ้น และอาจเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
อาการหายใจหอบ อาจมีสาเหตุจากโรคหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้รุนแรง หรือการสัมผัสสารเคมี หรือหากไอ มีเสมหะสีเหลืองหรือสีเขียว มีไข้ และหายใจหอบ นั่นอาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นโรคปอดบวมได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา
4. กดเจ็บและปวดบริเวณน่อง
อาการปวดน่องและขาบวม อาจมีสาเหตุมาจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งอาจเกิดจากการนั่งนานๆ เช่น นั่งโดยสารบนเครื่องบิน หรือนอนติดเตียงขณะป่วยเป็นเวลานานๆ โดยจะรู้สึกปวดขณะยืนหรือเดินเป็นส่วนใหญ่
หลังการออกกำลังกายก็เช่นเดียวกัน ที่คุณอาจรู้สึกเจ็บเมื่อกดน่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีรอยบวมแดงที่ทำให้ปวดหรือร้อนร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ หรือจะเช็คด้วยการเหยียดเข่าตรง และกระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ที่เรียกว่า “Homans sign” หากรู้สึกปวดน่อง แสดงว่าเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา
อย่างไรก็ตาม อย่านิ่งนอนใจ เมื่อพบว่าขาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการบวม แดง และร้อน ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะการตรวจเจอลิ่มเลือดก่อนที่มันจะแตกและไหลไปตามกระแสเลือด จนไปอุดตันเส้นเลือด เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา
5. ปัสสาวะมีเลือดปน
มีหลายสาเหตุที่ทำให้มีเลือดปนในปัสสาวะ ถ้าคุณรู้สึกปวดมากบริเวณสีข้างหรือด้านหลัง อาจเกิดจากก้อนนิ่วในไต ซึ่งเป็นก้อนตะกอนของของเสียที่ประกอบด้วยเกลือและแร่ธาตุต่างๆ หากเป็นก้อนเล็กๆ ก็จะถูกขับออกจากไตทางปัสสาวะ แต่หากไม่ถูกขับออก และตกตะกอนจนมีขนาดใหญ่ มันจะอุดทางเดินปัสสาวะ และเกิดอาการของโรคนิ่ว
แพทย์อาจใช้วิธีเอ็กซเรย์หรืออัลตราซาวด์ เพื่อดูขนาดและตำแหน่งของก้อนนิ่ว ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องนำก้อนนิ่วออก ด้วยการสลายนิ่วหรือวิธีการอื่นๆที่เหมาะสม
หรือหากมีอาการดังนี้คือ ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย หรือปวดแสบขณะปัสสาวะ นั่นอาจมีสาเหตุมาจากกระเพาะปัสสาวะหรือไตติดเชื้ออย่างรุนแรง จึงควรรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีไข้ร่วมด้วย
แต่หากมีเลือดปนในปัสสาวะ โดยไม่มีอาการปวดบั้นเอวหรือด้านหลัง มันอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งไต หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน
6. คิดฆ่าตัวตาย
เมื่อใดที่รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง อับจนหนทาง หรือเบื่อหน่าย ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป และความรู้สึกเหล่านี้มักเกิดวนเวียนซ้ำๆ มันคือสัญญาณอันตรายของโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยทางใจอย่างหนึ่ง
สิ่งที่ต้องทำคือ อย่าอยู่คนเดียวตามลำพัง จงพูดคุยและขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย ผู้ให้คำปรึกษา หรือจิตแพทย์ ที่จะช่วยให้คุณผ่านวิกฤตร้ายแรงนี้ไปได้
เพราะการได้พูดคุยกับผู้อื่น เป็นการเปิดเผยและระบายความรู้สึกเลวร้ายที่มีอยู่ออกมา ซึ่งหลายครั้งอาจพบว่า ยังมีคนอื่นที่มีปัญหาหนักหนาสาหัสกว่าเราอีก จึงทำให้รู้สึกดีขึ้น เกิดความอบอุ่นใจ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะรู้ว่ายังมีคนที่ยังห่วงใยและพร้อมให้การช่วยเหลืออยู่เสมอ จนไม่คิดฆ่าตัวตายอีกต่อไป
รายที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจมีการใช้ยาร่วมด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย เบญญา)
1. แขนขาอ่อนแรง
ถ้ารู้สึกอ่อนแรงหรือชาที่แขน ขา หรือใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง หรือมีอาการเดินเซ ทรงตัวไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง
หรือหากเกิดอาการเหล่านี้ฉับพลัน อาทิ ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ปวดศีรษะรุนแรง มึนงง พูดไม่ชัด หรือรู้สึกสับสน ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะเมื่อวินิจฉัยได้ทันท่วงที และได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมงภายหลังเกิดอาการครั้งแรก ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะพิการในระยะยาวจากโรคหลอดเลือดสมองได้
2. เจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออก แน่นหน้าอก หายใจหอบ หรือคลื่นไส้ ร่วมด้วย ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทันที เนื่องจากอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกที่คุณรู้สึกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดหลังการออกแรง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจวาย อีกทั้งยังอาจหมายถึงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
ดังนั้น เมื่อรู้สึกแน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรมากดทับที่อก นานเกิน 2-3 นาที หรือเป็นๆหายๆ อย่าทนเจ็บ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
3. หายใจหอบ
ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ควรได้รับการรักษาในทันที เมื่อหายใจหอบ หรือได้ยินเสียงวี๊ดๆขณะหายใจ อย่ารีรอที่จะพบแพทย์ เพราะถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ในไม่ช้าคุณจะหายใจลำบากขึ้น และอาจเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
อาการหายใจหอบ อาจมีสาเหตุจากโรคหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้รุนแรง หรือการสัมผัสสารเคมี หรือหากไอ มีเสมหะสีเหลืองหรือสีเขียว มีไข้ และหายใจหอบ นั่นอาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นโรคปอดบวมได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา
4. กดเจ็บและปวดบริเวณน่อง
อาการปวดน่องและขาบวม อาจมีสาเหตุมาจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งอาจเกิดจากการนั่งนานๆ เช่น นั่งโดยสารบนเครื่องบิน หรือนอนติดเตียงขณะป่วยเป็นเวลานานๆ โดยจะรู้สึกปวดขณะยืนหรือเดินเป็นส่วนใหญ่
หลังการออกกำลังกายก็เช่นเดียวกัน ที่คุณอาจรู้สึกเจ็บเมื่อกดน่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีรอยบวมแดงที่ทำให้ปวดหรือร้อนร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ หรือจะเช็คด้วยการเหยียดเข่าตรง และกระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ที่เรียกว่า “Homans sign” หากรู้สึกปวดน่อง แสดงว่าเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา
อย่างไรก็ตาม อย่านิ่งนอนใจ เมื่อพบว่าขาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการบวม แดง และร้อน ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะการตรวจเจอลิ่มเลือดก่อนที่มันจะแตกและไหลไปตามกระแสเลือด จนไปอุดตันเส้นเลือด เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา
5. ปัสสาวะมีเลือดปน
มีหลายสาเหตุที่ทำให้มีเลือดปนในปัสสาวะ ถ้าคุณรู้สึกปวดมากบริเวณสีข้างหรือด้านหลัง อาจเกิดจากก้อนนิ่วในไต ซึ่งเป็นก้อนตะกอนของของเสียที่ประกอบด้วยเกลือและแร่ธาตุต่างๆ หากเป็นก้อนเล็กๆ ก็จะถูกขับออกจากไตทางปัสสาวะ แต่หากไม่ถูกขับออก และตกตะกอนจนมีขนาดใหญ่ มันจะอุดทางเดินปัสสาวะ และเกิดอาการของโรคนิ่ว
แพทย์อาจใช้วิธีเอ็กซเรย์หรืออัลตราซาวด์ เพื่อดูขนาดและตำแหน่งของก้อนนิ่ว ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องนำก้อนนิ่วออก ด้วยการสลายนิ่วหรือวิธีการอื่นๆที่เหมาะสม
หรือหากมีอาการดังนี้คือ ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย หรือปวดแสบขณะปัสสาวะ นั่นอาจมีสาเหตุมาจากกระเพาะปัสสาวะหรือไตติดเชื้ออย่างรุนแรง จึงควรรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีไข้ร่วมด้วย
แต่หากมีเลือดปนในปัสสาวะ โดยไม่มีอาการปวดบั้นเอวหรือด้านหลัง มันอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งไต หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน
6. คิดฆ่าตัวตาย
เมื่อใดที่รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง อับจนหนทาง หรือเบื่อหน่าย ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป และความรู้สึกเหล่านี้มักเกิดวนเวียนซ้ำๆ มันคือสัญญาณอันตรายของโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยทางใจอย่างหนึ่ง
สิ่งที่ต้องทำคือ อย่าอยู่คนเดียวตามลำพัง จงพูดคุยและขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย ผู้ให้คำปรึกษา หรือจิตแพทย์ ที่จะช่วยให้คุณผ่านวิกฤตร้ายแรงนี้ไปได้
เพราะการได้พูดคุยกับผู้อื่น เป็นการเปิดเผยและระบายความรู้สึกเลวร้ายที่มีอยู่ออกมา ซึ่งหลายครั้งอาจพบว่า ยังมีคนอื่นที่มีปัญหาหนักหนาสาหัสกว่าเราอีก จึงทำให้รู้สึกดีขึ้น เกิดความอบอุ่นใจ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะรู้ว่ายังมีคนที่ยังห่วงใยและพร้อมให้การช่วยเหลืออยู่เสมอ จนไม่คิดฆ่าตัวตายอีกต่อไป
รายที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจมีการใช้ยาร่วมด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย เบญญา)