• มองโกเลียสร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์ใหญ่
มองโกเลีย : เว็บไซต์ lionsroar.com รายงานว่า ประเทศมองโกเลียกำลังดำเนินการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์ใหญ่ ภายใต้โครงการ The Grand Maitreya Project ตามคำชี้แนะขององค์ทะไล ลามะ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในค.ศ. 2018
โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์โบราณของศาสนาพุทธแบบทิเบต ซึ่งเริ่มจากการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรยประทับยืนขนาดสูง 177 ฟุต เพื่อเป็นดวงประทีปแห่งสันติภาพ ตามประวัติศาสตร์มองโกเลียที่ถูกยึดครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ และเกิดการต่อต้านพุทธศาสนา
ทั้งนี้ ในช่วงค.ศ. 1920 มองโกเลียถูกครอบงำด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์จากสหภาพโซเวียต ประชาชนถูกแยกออกจากพุทธศาสนา วัดเก่าแก่และพระพุทธรูปจำนวนมากถูกทำลายลง จนกระทั่งค.ศ.1939 เหลือวัดอยู่เพียงแห่งเดียว ต่อมาในค.ศ. 1990 มีการประท้วงอย่างสันติ และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลง มองโกเลียจึงได้รับอิสรภาพในการนับถือศาสนาอีกครั้ง
โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่เนินเขาหัวใจ (Heart Hill) นอกเมืองหลวงอูลานบาตอร์ มีการก่อสร้างสถูปเชื่อมต่อกับองค์พระ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งองค์ทะไล ลามะ ทรงประทานจากของสะสมส่วนพระองค์ และเป็นสถานที่สอนธรรมะและทำสมาธิ รวมทั้งเก็บรักษาโบราณวัตถุด้วย และเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์กลางชุมชนพุทธนานาชาติไม่แยกนิกาย เป็นสถานที่ฝึกทำสมาธิและให้การศึกษาแก่คนทั่วไปทุกเชื้อชาติศาสนา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
“อาตมารู้สึกยินดีและเป็นสุขที่รู้ว่า โครงการพระศรีอริยเมตไตรยนี้ จะอุทิศเพื่อสนับสนุนการศึกษา” องค์ทะไล ลามะ กล่าว
อนึ่ง การสร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์ใหญ่ ถือเป็นประเพณีพุทธโบราณ ซึ่งแต่เดิมถือปฏิบัติกันในหมู่ลามะชั้นสูงของมองโกเลียและทิเบต โดยเชื่อว่า ยิ่งพระพุทธรูปมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งทำให้คนเข้าใจความหมายและหันเข้าหาพุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น
• องค์กรพุทธอินโด-มาเลย์-สิงคโปร์ จับมือจัดคอนเสิร์ตวิสาขบูชา
สิงคโปร์ : เว็บไซต์ The Buddhist Channel รายงานว่า เป็นครั้งแรกที่สมาชิกองค์กรพุทธในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ร่วมมือกันจัดงานคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า “Sadhu for the Music” เพื่อเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2016 ณ โรงละครเอสพลานาด ประเทศสิงคโปร์
โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ดนตรีเป็นสะพานเชื่อมไปยังกลุ่มคนที่สนใจในพุทธศาสนาซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่รู้วิธีการนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นศึกษาธรรมะอย่างไร ซึ่งคอนเสิร์ตนี้จะช่วยให้คนที่ยังไม่คุ้นเคยกับพุทธศาสนา ได้เข้าถึงธรรมะทั้งทางปัญญาและอารมณ์
งานนี้ “อิมี่ อุย” ซึ่งเป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์ และผู้ผลิตดนตรีธรรมะที่มีชื่อเสียงระดับสากล รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคอนเสิร์ต
อิมี่ ศิลปินสาวชาวมาเลเซีย ผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อมุ่งพัฒนาดนตรีในพุทธศาสนา จะเข้ามาดูแลการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การคัดเลือกเพลงที่เหมาะสม เพื่อให้ชวนติดตามและเกิดสุนทรียภาพในการชมอย่างสูงสุด อีกทั้งยังช่วยฝึกสอนบรรดานักร้องนักแสดงให้กลายเป็น “ผู้ส่งมอบธรรมะ” ผ่านท่วงทำนองและบทเพลง
• สวีเดนออกแสตมป์รูปพระพุทธเจ้าร่วมรำลึกยุคไวกิ้ง
สวีเดน : เว็บไซต์ lionsroar.com รายงานว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2015 ไปรษณีย์สวีเดนได้ออกแสตมป์ชุดร่วมรำลึกยุคไวกิ้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นแสตมป์ภาพพระพุทธรูปประทับนั่งบนดอกบัว
ทั้งนี้เมื่อ ค.ศ. 1954 ทีมนักโบราณคดีได้ขุดพบพระพุทธรูปดังกล่าวในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก อายุราวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 คาดว่าถูกนำมาจากรัฐแคชเมียร์ ทางตอนเหนือของอินเดีย
สายหนังรัดบนพระพุทธรูปชี้ให้เห็นว่า พ่อค้าได้พกพระพุทธรูปติดตัวไว้เป็นเครื่องราง นักประวัติศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานว่า พระพุทธรูปเดินทางมาหลายพันไมล์ ขึ้นล่องแม่น้ำ ผ่านที่ราบกว้างใหญ่ของยูเรเซีย ก่อนที่จะมาถึงบ้านเกิดของชนเผ่าไวกิ้งในสวีเดน รวมเวลาที่ใช้เดินทาง อาจนาน 200-300 ปี
ปัจจุบัน พระพุทธรูปถูกตั้งแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สวีเดน ซึ่งการค้นพบพระพุทธรูปนี้ ถือว่าพิเศษและมีชื่อเสียงมากที่สุดในแหล่งนั้น ดังนั้น จึงได้รับเกียรติพิเศษให้ปรากฏอยู่บนแสตมป์ดังกล่าว
• ไต้หวันลดมลพิษช่วงเทศกาลเช็งเม้ง แจกถุงใส่กระดาษเงินกระดาษทองพร้อมเผาฟรี
ไต้หวัน : เว็บไซต์ taipeitime.com รายงานว่า ช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2016 ซึ่งมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองจำนวนมหาศาล เทศบาลนครไทเป ประเทศไต้หวัน ได้ร่วมมือกับโรงเผาและเตาเผาสาธารณะ รับกระดาษเงินกระดาษทองจากประชาชน นำไปเผาให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
นางหยาน หลิง-เชน หัวหน้ากองพิทักษ์สภาวะแวดล้อมนครไทเป เผยว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ทางกองฯได้สั่งห้ามเผากระดาษเงินกระดาษทองที่เตาเผาสาธารณะต่างๆในนครไทเป ดังนั้น จึงได้นำ “ถุงใส่กระดาษเงินกระดาษทอง” ไปแจกให้ประชาชนที่เซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยกระดาษเงินกระดาษทองแล้ว นำใส่ถุงดังกล่าว และมอบให้เจ้าหน้าที่เพื่อนำไปเผาที่โรงเผา
โดยเทศกาลเช็งเม้งปีที่แล้ว ทางกองฯจัดเก็บกระดาษเงินกระดาษทองได้ 84.91 ตัน และนำไปเผาที่โรงเผา ช่วยลดมลพิษที่แพร่กระจายให้ลดน้อยลงได้ถึง 93% หรือ 7.4 ตัน เมื่อเทียบกับการที่ต่างคนต่างเผา
ทั้งนี้ การเผากระดาษเงินกระดาษทองก่อให้เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย อาทิ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ออกไซด์ และละอองต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดวงตาและทางเดินหายใจระคายเคือง รวมถึงเศษเถ้าถ่านจากการเผาที่ล่องลอยในอากาศ อาจทำให้เกิดไฟป่าได้
ขณะที่ นายวู คุน-ฮุง หัวหน้ากองกิจการพลเรือนได้เรียกร้องให้ประชาชนเลิกการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ตามประเพณีของลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา เพื่อช่วยลดมลพิษในอากาศ
อนึ่ง การเผากระดาษเงินกระดาษทองในที่สาธารณะ จะถูกปรับเป็นเงินประมาณ 5,000-100,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 5,500-110,000 บาท)
• พิพิธภัณฑ์เกาหลีใต้ จัดนิทรรศการพระรัตนตรัย
เกาหลีใต้ : เว็บไซต์ Koreatimes รายงานว่า พิพิธภัณฑ์ศิลปะโฮอัม เมืองยงอิน ประเทศเกาหลีใต้ กำลังจัดนิทรรศการพิเศษที่มีชื่อว่า “พระรัตนตรัย : พุทธศิลป์เกาหลี” เพื่อนำเสนอลักษณะเฉพาะและความสำคัญของพุทธศิลป์เกาหลี ไปจนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2016
นับเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ที่งานพุทธศิลป์ไม่เพียงสร้างขึ้นเพื่อสักการบูชา แต่ยังใช้เป็นตัวอย่างอธิบายสุนทรียภาพในแต่ละยุคสมัยที่งานพุทธศิลป์ถูกสร้างขึ้น นิทรรศการนี้จะมุ่งเน้นชิ้นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ “พระรัตนตรัย” ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ตัวนิทรรศการประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งจะจัดแสดงภาพวาดสี ประติมากรรม และงานช่าง ที่เกี่ยวข้องกับพระศากยมุนีและพระอมิตาภพุทธะ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นศูนย์กลางศรัทธาในพุทธศาสนาแบบเกาหลี ส่วนที่สองจัดแสดงสำเนาตำราพุทธศาสนาที่จัดพิมพ์ขึ้น และส่วนที่สามจัดแสดงเครื่องใช้ในพิธีกรรมของพระสงฆ์
• อนาถ...ชาวอัฟกันไร้บ้านยึดหมู่ถ้ำบามิยันเป็นที่อยู่อาศัย
อัฟกานิสถาน : เว็บไซต์ CCTV.com รายงานว่า เมื่อ ค.ศ.2001 รัฐบาลตาลีบันซึ่งปกครองประเทศอัฟกานิสถานขณะนั้น ได้ระเบิดทำลายพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ 2 องค์ รวมถึงอาคารบ้านเรือนในหุบเขาบามิยัน ส่งผลให้ราษฎรหลายพันคนกลายเป็นคนไร้บ้าน และพากันเข้ามาอาศัยในหมู่ถ้ำพุทธที่อยู่ใกล้เคียง
ในปีเดียวกัน แม้รัฐบาลตาลีบันถูกโค่นอำนาจลงแล้ว แต่ชาวบ้านกว่า 700 ครัวเรือนยังไร้ที่อยู่อาศัย เนื่องจากบ้านเรือนถูกเผาทำลาย จึงจำต้องยึดหมู่ถ้ำพุทธเป็นแหล่งพักพิงเรื่อยมา
ต่อมาใน ค.ศ. 2003 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนซากพระพุทธรูปและภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งหุบเขาบามิยันเป็นมรดกโลก ดังนั้น เพื่อคุ้มครองโบราณสถานแห่งนี้ รัฐบาลท้องถิ่นจึงได้จัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านที่อาศัยในหมู่ถ้ำ ได้สร้างบ้านหลังใหม่ แต่โครงการดังกล่าวไม่บรรลุผล เนื่องจากชาวบ้านยากจน ไม่มีเงิน
ปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นกำลังเผชิญสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้ชาวบ้านและการคุ้มครองโบราณสถาน
“หลายคนคิดว่า ต้องย้ายชาวบ้านออกจากหมู่ถ้ำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้กันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่เราต้องเจอปัญหาหลายอย่างในการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้พวกเขา ซึ่งไม่สามารถแก้ได้ในทันที อีกทั้งยังพบว่ามันยากที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากยูเนสโก” โมฮัมหมัด ตาเฮีย ซูแฮร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบามิยัน กล่าว
เขายังเสริมต่อว่า ได้ขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางในการนี้ แต่สภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ ทำให้ความคืบหน้าเป็นไปอย่างช้าๆ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 185 พฤษภาคม 2559 โดย เภตรา)
มองโกเลีย : เว็บไซต์ lionsroar.com รายงานว่า ประเทศมองโกเลียกำลังดำเนินการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์ใหญ่ ภายใต้โครงการ The Grand Maitreya Project ตามคำชี้แนะขององค์ทะไล ลามะ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในค.ศ. 2018
โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์โบราณของศาสนาพุทธแบบทิเบต ซึ่งเริ่มจากการก่อสร้างพระศรีอริยเมตไตรยประทับยืนขนาดสูง 177 ฟุต เพื่อเป็นดวงประทีปแห่งสันติภาพ ตามประวัติศาสตร์มองโกเลียที่ถูกยึดครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ และเกิดการต่อต้านพุทธศาสนา
ทั้งนี้ ในช่วงค.ศ. 1920 มองโกเลียถูกครอบงำด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์จากสหภาพโซเวียต ประชาชนถูกแยกออกจากพุทธศาสนา วัดเก่าแก่และพระพุทธรูปจำนวนมากถูกทำลายลง จนกระทั่งค.ศ.1939 เหลือวัดอยู่เพียงแห่งเดียว ต่อมาในค.ศ. 1990 มีการประท้วงอย่างสันติ และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลง มองโกเลียจึงได้รับอิสรภาพในการนับถือศาสนาอีกครั้ง
โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่เนินเขาหัวใจ (Heart Hill) นอกเมืองหลวงอูลานบาตอร์ มีการก่อสร้างสถูปเชื่อมต่อกับองค์พระ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งองค์ทะไล ลามะ ทรงประทานจากของสะสมส่วนพระองค์ และเป็นสถานที่สอนธรรมะและทำสมาธิ รวมทั้งเก็บรักษาโบราณวัตถุด้วย และเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์กลางชุมชนพุทธนานาชาติไม่แยกนิกาย เป็นสถานที่ฝึกทำสมาธิและให้การศึกษาแก่คนทั่วไปทุกเชื้อชาติศาสนา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
“อาตมารู้สึกยินดีและเป็นสุขที่รู้ว่า โครงการพระศรีอริยเมตไตรยนี้ จะอุทิศเพื่อสนับสนุนการศึกษา” องค์ทะไล ลามะ กล่าว
อนึ่ง การสร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์ใหญ่ ถือเป็นประเพณีพุทธโบราณ ซึ่งแต่เดิมถือปฏิบัติกันในหมู่ลามะชั้นสูงของมองโกเลียและทิเบต โดยเชื่อว่า ยิ่งพระพุทธรูปมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งทำให้คนเข้าใจความหมายและหันเข้าหาพุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น
• องค์กรพุทธอินโด-มาเลย์-สิงคโปร์ จับมือจัดคอนเสิร์ตวิสาขบูชา
สิงคโปร์ : เว็บไซต์ The Buddhist Channel รายงานว่า เป็นครั้งแรกที่สมาชิกองค์กรพุทธในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ร่วมมือกันจัดงานคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า “Sadhu for the Music” เพื่อเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2016 ณ โรงละครเอสพลานาด ประเทศสิงคโปร์
โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ดนตรีเป็นสะพานเชื่อมไปยังกลุ่มคนที่สนใจในพุทธศาสนาซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่รู้วิธีการนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นศึกษาธรรมะอย่างไร ซึ่งคอนเสิร์ตนี้จะช่วยให้คนที่ยังไม่คุ้นเคยกับพุทธศาสนา ได้เข้าถึงธรรมะทั้งทางปัญญาและอารมณ์
งานนี้ “อิมี่ อุย” ซึ่งเป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์ และผู้ผลิตดนตรีธรรมะที่มีชื่อเสียงระดับสากล รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคอนเสิร์ต
อิมี่ ศิลปินสาวชาวมาเลเซีย ผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อมุ่งพัฒนาดนตรีในพุทธศาสนา จะเข้ามาดูแลการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การคัดเลือกเพลงที่เหมาะสม เพื่อให้ชวนติดตามและเกิดสุนทรียภาพในการชมอย่างสูงสุด อีกทั้งยังช่วยฝึกสอนบรรดานักร้องนักแสดงให้กลายเป็น “ผู้ส่งมอบธรรมะ” ผ่านท่วงทำนองและบทเพลง
• สวีเดนออกแสตมป์รูปพระพุทธเจ้าร่วมรำลึกยุคไวกิ้ง
สวีเดน : เว็บไซต์ lionsroar.com รายงานว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2015 ไปรษณีย์สวีเดนได้ออกแสตมป์ชุดร่วมรำลึกยุคไวกิ้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นแสตมป์ภาพพระพุทธรูปประทับนั่งบนดอกบัว
ทั้งนี้เมื่อ ค.ศ. 1954 ทีมนักโบราณคดีได้ขุดพบพระพุทธรูปดังกล่าวในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก อายุราวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 คาดว่าถูกนำมาจากรัฐแคชเมียร์ ทางตอนเหนือของอินเดีย
สายหนังรัดบนพระพุทธรูปชี้ให้เห็นว่า พ่อค้าได้พกพระพุทธรูปติดตัวไว้เป็นเครื่องราง นักประวัติศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานว่า พระพุทธรูปเดินทางมาหลายพันไมล์ ขึ้นล่องแม่น้ำ ผ่านที่ราบกว้างใหญ่ของยูเรเซีย ก่อนที่จะมาถึงบ้านเกิดของชนเผ่าไวกิ้งในสวีเดน รวมเวลาที่ใช้เดินทาง อาจนาน 200-300 ปี
ปัจจุบัน พระพุทธรูปถูกตั้งแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สวีเดน ซึ่งการค้นพบพระพุทธรูปนี้ ถือว่าพิเศษและมีชื่อเสียงมากที่สุดในแหล่งนั้น ดังนั้น จึงได้รับเกียรติพิเศษให้ปรากฏอยู่บนแสตมป์ดังกล่าว
• ไต้หวันลดมลพิษช่วงเทศกาลเช็งเม้ง แจกถุงใส่กระดาษเงินกระดาษทองพร้อมเผาฟรี
ไต้หวัน : เว็บไซต์ taipeitime.com รายงานว่า ช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2016 ซึ่งมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองจำนวนมหาศาล เทศบาลนครไทเป ประเทศไต้หวัน ได้ร่วมมือกับโรงเผาและเตาเผาสาธารณะ รับกระดาษเงินกระดาษทองจากประชาชน นำไปเผาให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
นางหยาน หลิง-เชน หัวหน้ากองพิทักษ์สภาวะแวดล้อมนครไทเป เผยว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ทางกองฯได้สั่งห้ามเผากระดาษเงินกระดาษทองที่เตาเผาสาธารณะต่างๆในนครไทเป ดังนั้น จึงได้นำ “ถุงใส่กระดาษเงินกระดาษทอง” ไปแจกให้ประชาชนที่เซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยกระดาษเงินกระดาษทองแล้ว นำใส่ถุงดังกล่าว และมอบให้เจ้าหน้าที่เพื่อนำไปเผาที่โรงเผา
โดยเทศกาลเช็งเม้งปีที่แล้ว ทางกองฯจัดเก็บกระดาษเงินกระดาษทองได้ 84.91 ตัน และนำไปเผาที่โรงเผา ช่วยลดมลพิษที่แพร่กระจายให้ลดน้อยลงได้ถึง 93% หรือ 7.4 ตัน เมื่อเทียบกับการที่ต่างคนต่างเผา
ทั้งนี้ การเผากระดาษเงินกระดาษทองก่อให้เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย อาทิ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ออกไซด์ และละอองต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดวงตาและทางเดินหายใจระคายเคือง รวมถึงเศษเถ้าถ่านจากการเผาที่ล่องลอยในอากาศ อาจทำให้เกิดไฟป่าได้
ขณะที่ นายวู คุน-ฮุง หัวหน้ากองกิจการพลเรือนได้เรียกร้องให้ประชาชนเลิกการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ตามประเพณีของลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา เพื่อช่วยลดมลพิษในอากาศ
อนึ่ง การเผากระดาษเงินกระดาษทองในที่สาธารณะ จะถูกปรับเป็นเงินประมาณ 5,000-100,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 5,500-110,000 บาท)
• พิพิธภัณฑ์เกาหลีใต้ จัดนิทรรศการพระรัตนตรัย
เกาหลีใต้ : เว็บไซต์ Koreatimes รายงานว่า พิพิธภัณฑ์ศิลปะโฮอัม เมืองยงอิน ประเทศเกาหลีใต้ กำลังจัดนิทรรศการพิเศษที่มีชื่อว่า “พระรัตนตรัย : พุทธศิลป์เกาหลี” เพื่อนำเสนอลักษณะเฉพาะและความสำคัญของพุทธศิลป์เกาหลี ไปจนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2016
นับเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ที่งานพุทธศิลป์ไม่เพียงสร้างขึ้นเพื่อสักการบูชา แต่ยังใช้เป็นตัวอย่างอธิบายสุนทรียภาพในแต่ละยุคสมัยที่งานพุทธศิลป์ถูกสร้างขึ้น นิทรรศการนี้จะมุ่งเน้นชิ้นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ “พระรัตนตรัย” ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ตัวนิทรรศการประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งจะจัดแสดงภาพวาดสี ประติมากรรม และงานช่าง ที่เกี่ยวข้องกับพระศากยมุนีและพระอมิตาภพุทธะ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นศูนย์กลางศรัทธาในพุทธศาสนาแบบเกาหลี ส่วนที่สองจัดแสดงสำเนาตำราพุทธศาสนาที่จัดพิมพ์ขึ้น และส่วนที่สามจัดแสดงเครื่องใช้ในพิธีกรรมของพระสงฆ์
• อนาถ...ชาวอัฟกันไร้บ้านยึดหมู่ถ้ำบามิยันเป็นที่อยู่อาศัย
อัฟกานิสถาน : เว็บไซต์ CCTV.com รายงานว่า เมื่อ ค.ศ.2001 รัฐบาลตาลีบันซึ่งปกครองประเทศอัฟกานิสถานขณะนั้น ได้ระเบิดทำลายพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ 2 องค์ รวมถึงอาคารบ้านเรือนในหุบเขาบามิยัน ส่งผลให้ราษฎรหลายพันคนกลายเป็นคนไร้บ้าน และพากันเข้ามาอาศัยในหมู่ถ้ำพุทธที่อยู่ใกล้เคียง
ในปีเดียวกัน แม้รัฐบาลตาลีบันถูกโค่นอำนาจลงแล้ว แต่ชาวบ้านกว่า 700 ครัวเรือนยังไร้ที่อยู่อาศัย เนื่องจากบ้านเรือนถูกเผาทำลาย จึงจำต้องยึดหมู่ถ้ำพุทธเป็นแหล่งพักพิงเรื่อยมา
ต่อมาใน ค.ศ. 2003 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนซากพระพุทธรูปและภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งหุบเขาบามิยันเป็นมรดกโลก ดังนั้น เพื่อคุ้มครองโบราณสถานแห่งนี้ รัฐบาลท้องถิ่นจึงได้จัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านที่อาศัยในหมู่ถ้ำ ได้สร้างบ้านหลังใหม่ แต่โครงการดังกล่าวไม่บรรลุผล เนื่องจากชาวบ้านยากจน ไม่มีเงิน
ปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นกำลังเผชิญสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ระหว่างการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้ชาวบ้านและการคุ้มครองโบราณสถาน
“หลายคนคิดว่า ต้องย้ายชาวบ้านออกจากหมู่ถ้ำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้กันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่เราต้องเจอปัญหาหลายอย่างในการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้พวกเขา ซึ่งไม่สามารถแก้ได้ในทันที อีกทั้งยังพบว่ามันยากที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากยูเนสโก” โมฮัมหมัด ตาเฮีย ซูแฮร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบามิยัน กล่าว
เขายังเสริมต่อว่า ได้ขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางในการนี้ แต่สภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ ทำให้ความคืบหน้าเป็นไปอย่างช้าๆ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 185 พฤษภาคม 2559 โดย เภตรา)