“...เพราะว่าทุกคน จะเป็นแพทย์หรือเป็นพยาบาล หรือมีอาชีพอื่น มีหน้าที่ทั้งนั้น และหน้าที่ในทางการรักษาและดูแลความเป็นความสุขของผู้อื่นนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งเป็น ไม่ใช่เป็นหน้าที่จะมานั่งรับราชการ หรือเดินรับราชการเช่นเดิม หากแต่เป็นหน้าที่ในทางศีลธรรมไปแล้ว
ฉะนั้น การที่แต่ละคนได้ทำหน้าที่ในด้านสาธารณสุข ในด้านแพทย์และพยาบาล ก็นับว่าเป็นการสร้างกรรมที่ดี นับว่าเป็นการสร้างตัวเองให้เป็นคนที่ดี มีอนาคต มีความเจริญ มีความสุขในใจได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสได้สร้างความดี ก็ขออย่าละเลยความดีที่จะสร้างได้... ”
เมื่อพิจารณาพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่คณะผู้แทนจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ นำให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแพทย์และพยาบาลที่มีต่อสังคม ส่องให้เห็นถึงการยกย่องและให้เกียรติแก่แพทย์และพยาบาลในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบัน แม้วิทยาการทางการแพทย์จะทันสมัย สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดีและทันต่อเหตุการณ์ แต่ก็ยังมีการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วย จากการระบาดของโรคที่มีวิวัฒนาการไปตามสภาวะแวดล้อมของโลก และทุพภิกขภัยยังเป็นสาเหตุแห่งการระบาดของโรค ที่ก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์เสมอมา
เมื่อมาศึกษา “รัตนสูตร” จะพบว่ามีการกล่าวถึงทุพภิกขภัย ที่สร้างความหายนะแก่ประชาชนในกรุงเวสาลี แคว้นวัชชีแห่งเจ้าลิจฉวี ซึ่งเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง คนยากคนจนตายก่อน พวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร แต่นั้นผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย ๓ อย่าง คือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และโรคภัยเบียดเบียน
ถ้าเป็นสมัยปัจจุบัน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ได้ทันท่วงที แต่ในครั้งนั้นเขาแก้ไขอย่างไร นี่คือสิ่งที่ควรแก่การศึกษาอดีต เพื่อเป็นบทเรียนในปัจจุบัน อันนำอนาคตที่ดีมาสู่สังคม
ในครั้งนั้น ชาวกรุงเวสาลีพากันไปร้องทุกข์กับพระราชา ว่า ขณะนี้เกิดภัย ๓ อย่างในพระนครนี้แล้ว แต่ก่อนนี้ นับได้ ๗ ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชะรอยพระองค์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น
พระราชารับเรื่องแล้ว ก็เรียกประชุมสภาเจ้าลิจฉวี ตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่ตนไม่ตั้งอยู่ในธรรมด้วย เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นพิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่ทรงเห็นข้อบกพร่องอะไร และไม่เห็นโทษของพระราชา ที่ประชุมจึงพากันคิดว่า ภัยนี้จะระงับไปได้อย่างไร
ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติว่าควรทูลเชิญพระพุทธเจ้ามายังกรุงเวสาลี เพื่อทรงแสดงธรรมอันยังประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อพระองค์ย่างพระบาทลงที่ใด ภัยทุกอย่างก็จะระงับไป และนี่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ หวังเพียงพุทธานุภาพมาดับภัยที่กำลังประสบอยู่
เมื่อทูตจากแคว้นวัชชีไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ เพื่อขออนุญาตทูลเชิญพระพุทธเจ้าไปยังกรุงเวสาลี พระเจ้าพิมพิสารก็ให้ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเอง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาว่า เมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลี การอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล เมื่อจบรัตนสูตร สัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรู้ธรรม จึงทรงรับอาราธนา
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่า พระพุทธเจ้ารับอาราธนาแล้ว ก็เข้าไปทูลขอให้ทรงรอก่อน เพื่อจะทรงจัดการหนทางเสด็จในเขตแคว้นมคธให้เรียบร้อย จากนั้นก็ทูลเชิญพระพุทธองค์เสด็จไปยังกรุงเวสาลี จนถึงฝั่งแม่น้ำคงคา พระเจ้าพิมพิสารทรงลุยน้ำถึงพระศอเพื่อส่งเสด็จ
ฝ่ายกรุงเวสาลี เมื่อทราบข่าวการเสด็จของพระพุทธเจ้า พระราชาแห่งกรุงเวสาลีก็มีรับสั่งให้ตกแต่งหนทางเสด็จจากแม่น้ำคงคาจนถึงกรุงเวสาลี โดยตั้งใจทำให้เป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อเรือที่ประทับมาถึงฝั่ง ก็ทรงลุยน้ำจนถึงพระศอออกไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า แล้วแห่แหนพระพุทธองค์เข้าสู่กรุงเวสาลี
เมื่อพระพุทธเจ้ายกพระบาทเหยียบริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้นเท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน
มีข้อสังเกตได้ประการหนึ่งว่า การทำหนทางเสด็จของพระเจ้าพิมพิสาร จากวัดเวฬุวัน ไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ก็เป็นการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ไม่สะอาดออกจากหนทาง เมื่อเจ้าลิจฉวีได้ทราบถึงการทำหนทางเช่นนี้ ด้วยใจที่ตั้งว่าจะทำสักการบูชาพระพุทธเจ้าเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร จึงต้องทำหนทางเสด็จจากฝั่งแม่น้ำคงคา ไปจนถึงกรุงเวสาลี ให้สะอาด เท่ากับว่าได้ชำระปฏิกูลที่เกิดจากซากศพออกไปจากหนทางและนอกพระนครไปด้วย และฝนโบกขรพรรษที่ตกลงมาก็นำซากศพที่ค้างอยู่ไปสู่แม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น นี่ก็คือการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงบริเวณประตูกรุงเวสาลี ทรงเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า “ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร”
พระอานนท์เมื่อเรียนรัตนสูตรแล้ว ได้นำเอาบาตรของพระพุทธองค์ตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร พอพระเถระกล่าวว่า “ยงฺกิญฺจิ..ฯ” เท่านั้น พวกอมนุษย์ในกรุงเวสาลีต่างหลบหนีออกไปทันที พอพวกอมนุษย์ไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป
เมื่อเหตุการณ์สงบดีแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสัณฐาคารที่เจ้าลิจฉวีจัดถวาย เมื่อทุกคนมาประชุมพร้อมเพรียงกันแล้ว ทรงแสดงรัตนสูตร พรรณนาถึงรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อจบเทศนา พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้ แล้วความสวัสดีก็ได้มีแก่ราชสกุล อุปัทวะทั้งปวงก็ระงับไป สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม
จากความในพระสูตรจะเห็นได้ว่า แม้จะมีความสะอาดในกรุงเวสาลีแล้ว พระพุทธองค์ทรงเพิ่มขวัญของชาวเมืองด้วยการให้พระอานนท์สวดพระปริตร พร้อมประพรมน้ำในบาตรไปทั่วกรุงเวสาลี ทำให้ขวัญและกำลังใจดีขึ้น เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ผู้คนในกรุงเวสาลี ทำให้ทุกคนเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรม เพิ่มพูนความเข้มแข็งของจิตใจ ยอมรับพระรัตนตรัยเป็นที่เคารพที่พึ่งอันประเสริฐไปตลอดชีวิต
ด้วยเหตุนี้ ในศาสนพิธีงานมงคล บรรพชนไทยจึงกำหนดธรรมเนียมปฏิบัติว่า เมื่อพระสวดบทมงคลสูตรจบแล้ว ให้สวดบทรัตนสูตรต่อไป เราสังเกตตอนที่สวดรัตนสูตรใกล้จบ พระท่านก็ยกเทียนหยดลงไปในบาตรน้ำมนต์ เมื่อถึงบทว่า “...นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป” ท่านก็ดับเทียนโดยจุ่มลงไปในน้ำมนต์
ในการสร้างกรรมดีตามพระบรมราโชวาท ย่อมเป็นการสร้างกรรมทางกายให้เป็นปกติสุข แต่ในรัตนสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ทราบว่า ถ้าเรามีดวงแก้วอันประเสริฐคือพระรัตนตรัย เราย่อมสร้างกรรมดีทางใจได้อยู่เสมอ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
ฉะนั้น การที่แต่ละคนได้ทำหน้าที่ในด้านสาธารณสุข ในด้านแพทย์และพยาบาล ก็นับว่าเป็นการสร้างกรรมที่ดี นับว่าเป็นการสร้างตัวเองให้เป็นคนที่ดี มีอนาคต มีความเจริญ มีความสุขในใจได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสได้สร้างความดี ก็ขออย่าละเลยความดีที่จะสร้างได้... ”
เมื่อพิจารณาพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่คณะผู้แทนจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ นำให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแพทย์และพยาบาลที่มีต่อสังคม ส่องให้เห็นถึงการยกย่องและให้เกียรติแก่แพทย์และพยาบาลในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบัน แม้วิทยาการทางการแพทย์จะทันสมัย สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดีและทันต่อเหตุการณ์ แต่ก็ยังมีการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วย จากการระบาดของโรคที่มีวิวัฒนาการไปตามสภาวะแวดล้อมของโลก และทุพภิกขภัยยังเป็นสาเหตุแห่งการระบาดของโรค ที่ก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์เสมอมา
เมื่อมาศึกษา “รัตนสูตร” จะพบว่ามีการกล่าวถึงทุพภิกขภัย ที่สร้างความหายนะแก่ประชาชนในกรุงเวสาลี แคว้นวัชชีแห่งเจ้าลิจฉวี ซึ่งเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง คนยากคนจนตายก่อน พวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร แต่นั้นผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย ๓ อย่าง คือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และโรคภัยเบียดเบียน
ถ้าเป็นสมัยปัจจุบัน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ได้ทันท่วงที แต่ในครั้งนั้นเขาแก้ไขอย่างไร นี่คือสิ่งที่ควรแก่การศึกษาอดีต เพื่อเป็นบทเรียนในปัจจุบัน อันนำอนาคตที่ดีมาสู่สังคม
ในครั้งนั้น ชาวกรุงเวสาลีพากันไปร้องทุกข์กับพระราชา ว่า ขณะนี้เกิดภัย ๓ อย่างในพระนครนี้แล้ว แต่ก่อนนี้ นับได้ ๗ ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชะรอยพระองค์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น
พระราชารับเรื่องแล้ว ก็เรียกประชุมสภาเจ้าลิจฉวี ตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่ตนไม่ตั้งอยู่ในธรรมด้วย เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นพิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่ทรงเห็นข้อบกพร่องอะไร และไม่เห็นโทษของพระราชา ที่ประชุมจึงพากันคิดว่า ภัยนี้จะระงับไปได้อย่างไร
ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติว่าควรทูลเชิญพระพุทธเจ้ามายังกรุงเวสาลี เพื่อทรงแสดงธรรมอันยังประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อพระองค์ย่างพระบาทลงที่ใด ภัยทุกอย่างก็จะระงับไป และนี่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ หวังเพียงพุทธานุภาพมาดับภัยที่กำลังประสบอยู่
เมื่อทูตจากแคว้นวัชชีไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ เพื่อขออนุญาตทูลเชิญพระพุทธเจ้าไปยังกรุงเวสาลี พระเจ้าพิมพิสารก็ให้ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเอง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาว่า เมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลี การอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล เมื่อจบรัตนสูตร สัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรู้ธรรม จึงทรงรับอาราธนา
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่า พระพุทธเจ้ารับอาราธนาแล้ว ก็เข้าไปทูลขอให้ทรงรอก่อน เพื่อจะทรงจัดการหนทางเสด็จในเขตแคว้นมคธให้เรียบร้อย จากนั้นก็ทูลเชิญพระพุทธองค์เสด็จไปยังกรุงเวสาลี จนถึงฝั่งแม่น้ำคงคา พระเจ้าพิมพิสารทรงลุยน้ำถึงพระศอเพื่อส่งเสด็จ
ฝ่ายกรุงเวสาลี เมื่อทราบข่าวการเสด็จของพระพุทธเจ้า พระราชาแห่งกรุงเวสาลีก็มีรับสั่งให้ตกแต่งหนทางเสด็จจากแม่น้ำคงคาจนถึงกรุงเวสาลี โดยตั้งใจทำให้เป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อเรือที่ประทับมาถึงฝั่ง ก็ทรงลุยน้ำจนถึงพระศอออกไปรับเสด็จพระพุทธเจ้า แล้วแห่แหนพระพุทธองค์เข้าสู่กรุงเวสาลี
เมื่อพระพุทธเจ้ายกพระบาทเหยียบริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้นเท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน
มีข้อสังเกตได้ประการหนึ่งว่า การทำหนทางเสด็จของพระเจ้าพิมพิสาร จากวัดเวฬุวัน ไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ก็เป็นการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ไม่สะอาดออกจากหนทาง เมื่อเจ้าลิจฉวีได้ทราบถึงการทำหนทางเช่นนี้ ด้วยใจที่ตั้งว่าจะทำสักการบูชาพระพุทธเจ้าเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร จึงต้องทำหนทางเสด็จจากฝั่งแม่น้ำคงคา ไปจนถึงกรุงเวสาลี ให้สะอาด เท่ากับว่าได้ชำระปฏิกูลที่เกิดจากซากศพออกไปจากหนทางและนอกพระนครไปด้วย และฝนโบกขรพรรษที่ตกลงมาก็นำซากศพที่ค้างอยู่ไปสู่แม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น นี่ก็คือการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงบริเวณประตูกรุงเวสาลี ทรงเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า “ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร”
พระอานนท์เมื่อเรียนรัตนสูตรแล้ว ได้นำเอาบาตรของพระพุทธองค์ตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร พอพระเถระกล่าวว่า “ยงฺกิญฺจิ..ฯ” เท่านั้น พวกอมนุษย์ในกรุงเวสาลีต่างหลบหนีออกไปทันที พอพวกอมนุษย์ไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป
เมื่อเหตุการณ์สงบดีแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสัณฐาคารที่เจ้าลิจฉวีจัดถวาย เมื่อทุกคนมาประชุมพร้อมเพรียงกันแล้ว ทรงแสดงรัตนสูตร พรรณนาถึงรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อจบเทศนา พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้ แล้วความสวัสดีก็ได้มีแก่ราชสกุล อุปัทวะทั้งปวงก็ระงับไป สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม
จากความในพระสูตรจะเห็นได้ว่า แม้จะมีความสะอาดในกรุงเวสาลีแล้ว พระพุทธองค์ทรงเพิ่มขวัญของชาวเมืองด้วยการให้พระอานนท์สวดพระปริตร พร้อมประพรมน้ำในบาตรไปทั่วกรุงเวสาลี ทำให้ขวัญและกำลังใจดีขึ้น เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ผู้คนในกรุงเวสาลี ทำให้ทุกคนเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรม เพิ่มพูนความเข้มแข็งของจิตใจ ยอมรับพระรัตนตรัยเป็นที่เคารพที่พึ่งอันประเสริฐไปตลอดชีวิต
ด้วยเหตุนี้ ในศาสนพิธีงานมงคล บรรพชนไทยจึงกำหนดธรรมเนียมปฏิบัติว่า เมื่อพระสวดบทมงคลสูตรจบแล้ว ให้สวดบทรัตนสูตรต่อไป เราสังเกตตอนที่สวดรัตนสูตรใกล้จบ พระท่านก็ยกเทียนหยดลงไปในบาตรน้ำมนต์ เมื่อถึงบทว่า “...นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป” ท่านก็ดับเทียนโดยจุ่มลงไปในน้ำมนต์
ในการสร้างกรรมดีตามพระบรมราโชวาท ย่อมเป็นการสร้างกรรมทางกายให้เป็นปกติสุข แต่ในรัตนสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ทราบว่า ถ้าเรามีดวงแก้วอันประเสริฐคือพระรัตนตรัย เราย่อมสร้างกรรมดีทางใจได้อยู่เสมอ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)