โรคไข้ซิกา (Zika virus disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika virus -ZIKV) ตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค
เชื้อไวรัสซิกาถูกพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงที่ถูกนำมาจากป่าซิกา ที่ประเทศยูกันดา เมื่อปี พ.ศ. 2490 จึงกลายเป็นที่มาของชื่อไวรัสชนิดนี้
เชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อโดยยุงลายที่มีเชื้อและไปกัดคน ส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล Aedes aegypti
ซึ่งมีอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้ซิกา เป็นชนิดเดียวกับยุงที่เป็นพาหะของ
โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา(Chikungunya) และไข้เหลือง
ปัจจุบัน พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้ซิกามากกว่า 20 ประเทศ ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
• อาการ
ระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา ใช้เวลาประมาณ 3-12 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ ดังนี้
* มีไข้ต่ำๆ ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส
* หน้ามืด เวียนศีรษะบ่อย หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* มีผื่นแดงตามร่างกาย
* เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
* ปวดตามข้อ ข้อบวม และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ
* อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง
หากโดนยุงกัดและมีอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และเนื่องจากไวรัสซิกาจะส่งผลต่อการทำงานของสมอง เชื้อไวรัสจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ ส่งผลให้แคระแกร็น พัฒนาการช้า ไม่ปกติ
ในช่วงที่เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง ในหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย และประเทศบราซิล ใน พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ได้รายงานภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นจากการติดโรคไข้ซิกาต่อระบบประสาทในระบบภูมิคุ้มกัน
• การรักษา
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวใดใช้รักษาหรือป้องกันเชื้อไวรัสซิกาได้
ผู้ป่วยโรคไข้ซิกา ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง จึงสามารถรักษาตัวได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการปวด โดยรับประทานยาพาราเซตามอล
ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
หากอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์โดยด่วน
• การป้องกัน
ยุงและการขยายพันธุ์ของยุง เป็นสาเหตุและเป็นปัจจัยเสี่ยงของการติดต่อของโรคไข้ซิกา การป้องกัน และการควบคุมโรค ขึ้นอยู่กับการลดจำนวนของยุงตามแหล่งต่างๆ รวมถึงการป้องกันตนเองไม่ให้โดนยุงกัด สามารถทำได้ดังนี้
* กำจัดแหล่งน้ำขังภายในที่พักอาศัย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
* ใช้ยากำจัดยุง ยาจุดกันยุง หรือยาทาป้องกันยุง
* สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ปกคลุมร่างกายให้มิดชิด
* นอนกางมุ้ง หรือนอนในห้องปรับอากาศ ปิดประตูหน้าต่าง
* อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงสว่าง
* ทำความสะอาดที่พักอย่างสม่ำเสมอ
หากสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
(ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
เชื้อไวรัสซิกาถูกพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงที่ถูกนำมาจากป่าซิกา ที่ประเทศยูกันดา เมื่อปี พ.ศ. 2490 จึงกลายเป็นที่มาของชื่อไวรัสชนิดนี้
เชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อโดยยุงลายที่มีเชื้อและไปกัดคน ส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล Aedes aegypti
ซึ่งมีอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้ซิกา เป็นชนิดเดียวกับยุงที่เป็นพาหะของ
โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา(Chikungunya) และไข้เหลือง
ปัจจุบัน พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้ซิกามากกว่า 20 ประเทศ ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
• อาการ
ระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา ใช้เวลาประมาณ 3-12 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ ดังนี้
* มีไข้ต่ำๆ ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส
* หน้ามืด เวียนศีรษะบ่อย หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* มีผื่นแดงตามร่างกาย
* เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
* ปวดตามข้อ ข้อบวม และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ
* อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง
หากโดนยุงกัดและมีอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และเนื่องจากไวรัสซิกาจะส่งผลต่อการทำงานของสมอง เชื้อไวรัสจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ ส่งผลให้แคระแกร็น พัฒนาการช้า ไม่ปกติ
ในช่วงที่เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง ในหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย และประเทศบราซิล ใน พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ได้รายงานภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นจากการติดโรคไข้ซิกาต่อระบบประสาทในระบบภูมิคุ้มกัน
• การรักษา
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวใดใช้รักษาหรือป้องกันเชื้อไวรัสซิกาได้
ผู้ป่วยโรคไข้ซิกา ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง จึงสามารถรักษาตัวได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการปวด โดยรับประทานยาพาราเซตามอล
ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
หากอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์โดยด่วน
• การป้องกัน
ยุงและการขยายพันธุ์ของยุง เป็นสาเหตุและเป็นปัจจัยเสี่ยงของการติดต่อของโรคไข้ซิกา การป้องกัน และการควบคุมโรค ขึ้นอยู่กับการลดจำนวนของยุงตามแหล่งต่างๆ รวมถึงการป้องกันตนเองไม่ให้โดนยุงกัด สามารถทำได้ดังนี้
* กำจัดแหล่งน้ำขังภายในที่พักอาศัย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
* ใช้ยากำจัดยุง ยาจุดกันยุง หรือยาทาป้องกันยุง
* สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ปกคลุมร่างกายให้มิดชิด
* นอนกางมุ้ง หรือนอนในห้องปรับอากาศ ปิดประตูหน้าต่าง
* อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงสว่าง
* ทำความสะอาดที่พักอย่างสม่ำเสมอ
หากสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
(ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)