แพทย์พบคนไทยป่วยเป็นโรคตามากขึ้น จึงควรได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณาอาหารเสริมอวดอ้างสรรพคุณในการรักษา ชี้หากพบความผิดปกติกับดวงตาให้รีบพบจักษุแพทย์ พร้อมแนะวิธีดูแลดวงตาให้สดใสห่างไกลโรค
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัญหาตาบอดและสายตาเลือนลาง เป็นปัญหาที่สาคัญของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรมีปัญหาด้านการมองเห็นประมาณ 285 ล้านคน โดยมีผู้ที่ตาบอดถึง 39 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มประเทศที่กาลังพัฒนา เนื่องจากมาตรฐานและบริการสาธารณสุข ยังไม่ครอบคลุมและเข้าไม่ถึง
สำหรับประเทศไทย โรคตาที่พบบ่อย คือภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุ
โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และโรควุ้นตาเสื่อม มีสาเหตุจากอายุที่เพิ่มขึ้นทาให้เนื้อเยื่อของลูกตาเสื่อมไปตามธรรมชาติ
โรคตาแดง ตากุ้งยิง ริดสีดวงตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
โรคต้อกระจก ต้อเนื้อ ต้อลม จากการได้รับแสงแดดจัดเรื้อรัง เช่น ผู้ที่ทางานกลางแจ้งได้รับแสงแดดจ้าเป็นระยะเวลานานๆ
โรคเบาหวานขึ้นตา ที่เกิดจากความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย
โรคตาแห้ง เกิดการระคายเคืองอักเสบที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ เช่น การติดสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งการเพ่งหน้าจอเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระสะสมทาร้ายเซลล์ตา
และการเข้าสู่ยุคโลกออนไลน์นี้เอง ข้อมูลการโฆษณาทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า สามารถรักษาให้หายจากโรคตาได้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจัดเป็นอาหารประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ เพื่อเสริมสารบางอย่าง และมีจุดมุ่งหมายสาหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ มิใช่สำหรับผู้ป่วย และที่สำคัญไม่มีผลต่อการรักษาให้หายขาดจากโรค
ดังนั้น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพมัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นภาพซ้อนหรือแคบลง เช่น มองเห็นเฉพาะภาพตรงหน้า ไม่สามารถเห็นภาพด้านข้างได้ เห็นคล้ายมีจุดหรือแผ่นดำๆ ลอยในตา ให้รีบพบจักษุแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาให้รับประทานอาหารเสริม เพื่อรักษาโรคตา เพราะอาจทำให้ตาบอดถาวรได้
• การดูแลรักษาดวงตา
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการดูแลรักษาดวงตา ดังนี้
- ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ที่มีวิตามินเอ เช่น ผักบุ้ง แครอท ตำลึง ผักคะน้า ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอ
- ดื่มน้าสะอาดให้เพียงพอ
- หลับตาเพื่อพักสายตาทุก 1 ชั่วโมง เมื่อใช้สายตามากๆ หรือนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
- สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง เมื่อต้องเจอแสงแดด
- ลดพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้น้อยลง
- หากดูโทรทัศน์ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดจอ และปรับความสว่างของจอให้พอควรเพื่อถนอมสายตา
- เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าตา ห้ามใช้มือขยี้ตา ให้ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตาทำความสะอาด
- บริหารดวงตาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยวิธีหน้าตั้ง คอตรง กรอกลูกตาหมุนเป็นวงกลม ตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ทำต่อเนื่องกัน 10 ครั้ง ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพตาปีละครั้ง เพื่อรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีอยู่เสมอ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัญหาตาบอดและสายตาเลือนลาง เป็นปัญหาที่สาคัญของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรมีปัญหาด้านการมองเห็นประมาณ 285 ล้านคน โดยมีผู้ที่ตาบอดถึง 39 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มประเทศที่กาลังพัฒนา เนื่องจากมาตรฐานและบริการสาธารณสุข ยังไม่ครอบคลุมและเข้าไม่ถึง
สำหรับประเทศไทย โรคตาที่พบบ่อย คือภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุ
โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และโรควุ้นตาเสื่อม มีสาเหตุจากอายุที่เพิ่มขึ้นทาให้เนื้อเยื่อของลูกตาเสื่อมไปตามธรรมชาติ
โรคตาแดง ตากุ้งยิง ริดสีดวงตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
โรคต้อกระจก ต้อเนื้อ ต้อลม จากการได้รับแสงแดดจัดเรื้อรัง เช่น ผู้ที่ทางานกลางแจ้งได้รับแสงแดดจ้าเป็นระยะเวลานานๆ
โรคเบาหวานขึ้นตา ที่เกิดจากความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย
โรคตาแห้ง เกิดการระคายเคืองอักเสบที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ เช่น การติดสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งการเพ่งหน้าจอเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระสะสมทาร้ายเซลล์ตา
และการเข้าสู่ยุคโลกออนไลน์นี้เอง ข้อมูลการโฆษณาทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า สามารถรักษาให้หายจากโรคตาได้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจัดเป็นอาหารประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ เพื่อเสริมสารบางอย่าง และมีจุดมุ่งหมายสาหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ มิใช่สำหรับผู้ป่วย และที่สำคัญไม่มีผลต่อการรักษาให้หายขาดจากโรค
ดังนั้น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพมัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นภาพซ้อนหรือแคบลง เช่น มองเห็นเฉพาะภาพตรงหน้า ไม่สามารถเห็นภาพด้านข้างได้ เห็นคล้ายมีจุดหรือแผ่นดำๆ ลอยในตา ให้รีบพบจักษุแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาให้รับประทานอาหารเสริม เพื่อรักษาโรคตา เพราะอาจทำให้ตาบอดถาวรได้
• การดูแลรักษาดวงตา
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการดูแลรักษาดวงตา ดังนี้
- ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ที่มีวิตามินเอ เช่น ผักบุ้ง แครอท ตำลึง ผักคะน้า ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอ
- ดื่มน้าสะอาดให้เพียงพอ
- หลับตาเพื่อพักสายตาทุก 1 ชั่วโมง เมื่อใช้สายตามากๆ หรือนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
- สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง เมื่อต้องเจอแสงแดด
- ลดพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตให้น้อยลง
- หากดูโทรทัศน์ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดจอ และปรับความสว่างของจอให้พอควรเพื่อถนอมสายตา
- เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าตา ห้ามใช้มือขยี้ตา ให้ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตาทำความสะอาด
- บริหารดวงตาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยวิธีหน้าตั้ง คอตรง กรอกลูกตาหมุนเป็นวงกลม ตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา ทำต่อเนื่องกัน 10 ครั้ง ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพตาปีละครั้ง เพื่อรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีอยู่เสมอ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)