• บริโภคกรดโฟลิกมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลง
แม้ว่ากรดโฟลิกจะมีความสำคัญในการรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่โรคเหน็บชา จนถึงโรคเกี่ยวกับสมอง แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป ก็อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดความสามารถในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
มีการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารชีวเคมีทางโภชนาการ แสดงให้เห็นว่า ปริมาณกรดโฟลิกที่ร่างกายได้รับมากเกินไป จะลดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงตามอายุ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อและการเกิดโรคมะเร็ง
กรดโฟลิกมีในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ไข่ ธัญพืช และปลา ฯลฯ มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ สร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องใช้กรดโฟลิกทุกวัน
• เป็นเบาหวานอาจเพิ่มเสี่ยงโรคความจำเสื่อม
แค่เป็นเบาหวานก็แย่อยู่แล้ว แต่ยังต้องมาเสี่ยงโรคความจำเสื่อมอีก...
เพราะผลการศึกษาในออสเตรเลีย พบว่า โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความจำเสื่อม แบบที่เรียกว่าอัลไซเมอร์ ซึ่งกระทบต่อความสามารถด้านการใช้ความคิดและความทรงจำ และผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 60 เปอร์เซ็นต์
นักวิจัยบอกว่า ผู้เป็นเบาหวานประเภทสอง มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดอาการสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความบกพร่องทางการจดจำและความคิดอ่าน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปกติแล้วอาการเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยเป็นผลมาจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เป็นเบาหวาน ถึงสองเท่าตัว และผู้หญิงที่เป็นเบาหวานยังมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชายที่เป็นเบาหวานประเภทที่สองอีกด้วย
สำหรับอาการความจำเสื่อมเพราะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงนั้น เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีความบกพร่องและเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน
แต่เรื่องนี้ก็จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจว่าปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้น มีผลกระทบต่อเส้นเลือดในสมองอย่างไร โดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง
นักวิจัยยังแนะด้วยว่า การรักษาร่างกายให้เเข็งเเรงด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่สูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความบกพร่องของเส้นเลือดในสมอง ซึ่งเป็นผลจากอาการเบาหวานได้
• แพทย์แนะวิธีห่างไกลไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่อาจกลายเป็นมะเร็งตับได้
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า ไขมันพอกตับคือภาวะสะสมไขมัน ซึ่ง ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ดื่มสุราเป็นประจำ มีรูปร่างอ้วน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง
จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่ในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย อาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกอึดอัด ปวดแน่น เจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาในตำแหน่งที่อยู่ของตับ จากการมีตับโต และมักคลำพบได้ เบื่ออาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ แน่นท้อง อึดอัดท้อง อาจผอมลงโดยไม่ได้เกิดจากการอดอาหารหรือลดนํ้าหนัก
หากปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะไขมันพอกตับจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้เกิดภาวะตับแข็ง และอาจลุกลามเป็นโรคมะเร็งตับ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาไขมันพอกตับ ทำได้ด้วยการลดนํ้าหนักอย่างถูกวิธี โดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีแป้งและนํ้าตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็น ออกกำลังกายสมํ่าเสมอ ไม่ควรหักโหมลดนํ้าหนัก ด้วยการงดอาหารและเร็วจนเกินไป เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบอย่างรุนแรงได้ และควรรักษาระดับนํ้าตาล และควบคุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยสลายไขมันจากตับได้ดี
• ผู้ชายที่ดื่มกาแฟเยอะ ระวังปัสสาวะเล็ด
เรื่องปัสสาวะเล็ดดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ เวลาไอ จาม หัวเราะ หรือตอนที่กลั้นปัสสาวะ แต่ที่ไม่ธรรมดา เพราะอาการปัสสาวะเล็ดนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนในผู้ชายมักเกิดจากโรคต่อมลูกหมากโต
แต่ผลการวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารระบบทางเดินปัสสาวะ ในสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟประมาณสองถ้วยต่อวัน มีแนวโน้มที่จะมีกระเพาะปัสสาวะรั่วหรือปัสสาวะเล็ด มากกว่าผู้ชายที่ดื่มน้อยกว่า หรือไม่ดื่มเลย อย่างมีนัยสำคัญ
• นั่งทำงานนานๆ โรคร้ายมาเยือน
คนที่นั่งทำงานทั้งวัน ดูเหมือนสบาย แต่อาจต้องตายเร็ว เพราะสารพัดโรคร้ายที่เข้ามาเยือน
มีการศึกษามากมายที่ชี้ว่า ยิ่งนั่งอยู่กับที่นานเท่าใด ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังมากมาย ทั้งโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน ไปจนถึงโรคที่เกิดกับตับ
และสำหรับคนในวัยกลางคนขึ้นไป ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ทำให้ร่างกายพิการ เพิ่มขึ้นราว 50 เปอร์เซ็นต์ต่อทุกหนึ่งชั่วโมงของการนั่งอยู่กับที่
ล่าสุด ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาและประเมินความเสี่ยงจากการนั่งทำงานอยู่กับที่นานเกินไป พบว่าการนั่งอยู่กับที่นานราว 6 ชั่วโมง มีผลเสียอย่างมากต่อการทำงานของระบบการไหลเวียนโลหิต
หัวหน้าทีมวิจัยบอกว่า แค่การนั่งนานติดต่อกันเพียงครึ่งชั่วโมง ก็มีผลให้ระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ชะลอการทำงานลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ การนั่งนานทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่ขาน้อยลง และในระยะยาว อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย ธาราทิพย์)
แม้ว่ากรดโฟลิกจะมีความสำคัญในการรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่โรคเหน็บชา จนถึงโรคเกี่ยวกับสมอง แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป ก็อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดความสามารถในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
มีการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารชีวเคมีทางโภชนาการ แสดงให้เห็นว่า ปริมาณกรดโฟลิกที่ร่างกายได้รับมากเกินไป จะลดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงตามอายุ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อและการเกิดโรคมะเร็ง
กรดโฟลิกมีในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ไข่ ธัญพืช และปลา ฯลฯ มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ สร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องใช้กรดโฟลิกทุกวัน
• เป็นเบาหวานอาจเพิ่มเสี่ยงโรคความจำเสื่อม
แค่เป็นเบาหวานก็แย่อยู่แล้ว แต่ยังต้องมาเสี่ยงโรคความจำเสื่อมอีก...
เพราะผลการศึกษาในออสเตรเลีย พบว่า โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความจำเสื่อม แบบที่เรียกว่าอัลไซเมอร์ ซึ่งกระทบต่อความสามารถด้านการใช้ความคิดและความทรงจำ และผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 60 เปอร์เซ็นต์
นักวิจัยบอกว่า ผู้เป็นเบาหวานประเภทสอง มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดอาการสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความบกพร่องทางการจดจำและความคิดอ่าน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปกติแล้วอาการเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยเป็นผลมาจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เป็นเบาหวาน ถึงสองเท่าตัว และผู้หญิงที่เป็นเบาหวานยังมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชายที่เป็นเบาหวานประเภทที่สองอีกด้วย
สำหรับอาการความจำเสื่อมเพราะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงนั้น เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีความบกพร่องและเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน
แต่เรื่องนี้ก็จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจว่าปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้น มีผลกระทบต่อเส้นเลือดในสมองอย่างไร โดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง
นักวิจัยยังแนะด้วยว่า การรักษาร่างกายให้เเข็งเเรงด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่สูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความบกพร่องของเส้นเลือดในสมอง ซึ่งเป็นผลจากอาการเบาหวานได้
• แพทย์แนะวิธีห่างไกลไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่อาจกลายเป็นมะเร็งตับได้
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า ไขมันพอกตับคือภาวะสะสมไขมัน ซึ่ง ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ดื่มสุราเป็นประจำ มีรูปร่างอ้วน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง
จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่ในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วย อาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกอึดอัด ปวดแน่น เจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาในตำแหน่งที่อยู่ของตับ จากการมีตับโต และมักคลำพบได้ เบื่ออาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ แน่นท้อง อึดอัดท้อง อาจผอมลงโดยไม่ได้เกิดจากการอดอาหารหรือลดนํ้าหนัก
หากปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะไขมันพอกตับจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้เกิดภาวะตับแข็ง และอาจลุกลามเป็นโรคมะเร็งตับ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาไขมันพอกตับ ทำได้ด้วยการลดนํ้าหนักอย่างถูกวิธี โดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีแป้งและนํ้าตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็น ออกกำลังกายสมํ่าเสมอ ไม่ควรหักโหมลดนํ้าหนัก ด้วยการงดอาหารและเร็วจนเกินไป เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบอย่างรุนแรงได้ และควรรักษาระดับนํ้าตาล และควบคุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยสลายไขมันจากตับได้ดี
• ผู้ชายที่ดื่มกาแฟเยอะ ระวังปัสสาวะเล็ด
เรื่องปัสสาวะเล็ดดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ เวลาไอ จาม หัวเราะ หรือตอนที่กลั้นปัสสาวะ แต่ที่ไม่ธรรมดา เพราะอาการปัสสาวะเล็ดนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนในผู้ชายมักเกิดจากโรคต่อมลูกหมากโต
แต่ผลการวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารระบบทางเดินปัสสาวะ ในสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟประมาณสองถ้วยต่อวัน มีแนวโน้มที่จะมีกระเพาะปัสสาวะรั่วหรือปัสสาวะเล็ด มากกว่าผู้ชายที่ดื่มน้อยกว่า หรือไม่ดื่มเลย อย่างมีนัยสำคัญ
• นั่งทำงานนานๆ โรคร้ายมาเยือน
คนที่นั่งทำงานทั้งวัน ดูเหมือนสบาย แต่อาจต้องตายเร็ว เพราะสารพัดโรคร้ายที่เข้ามาเยือน
มีการศึกษามากมายที่ชี้ว่า ยิ่งนั่งอยู่กับที่นานเท่าใด ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังมากมาย ทั้งโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน ไปจนถึงโรคที่เกิดกับตับ
และสำหรับคนในวัยกลางคนขึ้นไป ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ทำให้ร่างกายพิการ เพิ่มขึ้นราว 50 เปอร์เซ็นต์ต่อทุกหนึ่งชั่วโมงของการนั่งอยู่กับที่
ล่าสุด ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาและประเมินความเสี่ยงจากการนั่งทำงานอยู่กับที่นานเกินไป พบว่าการนั่งอยู่กับที่นานราว 6 ชั่วโมง มีผลเสียอย่างมากต่อการทำงานของระบบการไหลเวียนโลหิต
หัวหน้าทีมวิจัยบอกว่า แค่การนั่งนานติดต่อกันเพียงครึ่งชั่วโมง ก็มีผลให้ระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ชะลอการทำงานลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ การนั่งนานทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่ขาน้อยลง และในระยะยาว อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย ธาราทิพย์)